5 ตำแหน่งซึ่งเป็นที่ต้องการในสายงานด้าน Digital Marketing สำหรับปี 2022

5 ตำแหน่งซึ่งเป็นที่ต้องการในสายงานด้าน digital marketing สำหรับปี 2022

ในยุคที่การตลาดดิจิทัลคืออาวุธสำคัญที่ช่วยผลักดันยอดขายและต่อยอดธุรกิจให้ไปได้ไกลขึ้น คนที่มีทักษะความสามารถหรือความเชี่ยวชาญด้าน Digital Marketing จึงเป็นที่ต้องการ เพราะจะช่วยให้วางกลยุทธ์การตลาดได้ตอบโจทย์ลูกค้า ท่ามกลางแต่ละแบรนด์ที่แข่งขันกันสูงมาก

แต่ปัจจุบันที่ไทยยังมีคนทำงานตำแหน่งเหล่านี้ไม่มาก ด้วยหลายเหตุผลค่ะ เช่น 

  • คนยังขาดทักษะด้านดิจิทัล อย่างบางคนเรียนจบมาไม่ตรงสายแล้วอยากเปลี่ยนมาทำงานด้าน Digital Marketing ก็ต้องอัปสกิลหลายอย่างเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วค่ะ 
  • การทำงานสายนี้ท้าทายตรงที่ต้องใช้หลายเครื่องมือประกอบการทำงาน จึงต้องอาศัยเวลาฝึกใช้แต่ละเครื่องมือให้เชี่ยวชาญ เช่น เครื่องมือของ Google หรือ Social Listening Tools ต่าง ๆ รวมถึงต้องฝึกวิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องมือเหล่านี้ให้เป็นด้วยนะคะ 
  • แม้จะทำงานด้าน Digital Marketing ก็ต้องเข้าใจหลักพื้นฐานของการตลาดทั่วไป ซึ่งมีเนื้อหาให้เรียนรู้พอสมควร ใครที่ยังไม่เคยมีความรู้ด้านการตลาดจึงต้องใช้เวลาในการศึกษา รวมถึงเก็บเกี่ยวประสบการณ์ถึงจะพร้อมต่อยอดมาทำงานด้านนี้ค่ะ

โดยเฉพาะตลาดออนไลน์ที่ไม่ว่าใครก็หันมาทำธุรกิจในนี้ งานด้าน Digital Marketing จึงต่างจากงานการตลาดทั่วไปตรงที่มีเทรนด์และการอัปเดตใหม่ ๆ ให้ติดตามตลอดเวลา และไม่แน่ว่าในอนาคตอาจจะมีอาชีพใหม่เกิดขึ้นมาอีกมากมายค่ะ 

ในครั้งนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าในปี 2022 นี้มีตำแหน่งอะไรเป็นที่ต้องการในสายงาน Digital Marketing บ้างค่ะ โดยเราขอแนะนำให้รู้จักทั้งหมด 5 อาชีพนะคะ 

5 ตำแหน่งซึ่งเป็นที่ต้องการในสายงานด้าน digital marketing สำหรับปี 2022

1.Content Strategist

โดยทั่วไปคนเรามีแนวโน้มรู้จักธุรกิจต่าง ๆ ผ่านคอนเทนต์ที่ทางแบรนด์ผลิตออกมา อาชีพด้านคอนเทนต์จึงเป็นอีกสายงานที่ขาดไม่ได้ เพราะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายคุ้นเคยและเชื่อใจในแบรนด์ของเรา นับเป็นการปูทางสำหรับสร้างยอดขายทั้งในปัจจุบันและอนาคตค่ะ 

ซึ่งคอนเทนต์ที่เราเห็นกันในปัจจุบันนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น งานเขียน งานกราฟิก งานภาพนิ่ง งานวิดีโอ แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน Content Strategists ควรเข้าใจพื้นฐานการวางกลยุทธ์คอนเทนต์เหล่านี้ เพื่อสามารถคอมเมนต์ว่างานแต่ละชิ้นงานยังบกพร่องในจุดไหน และพัฒนาอะไรได้อีกบ้างค่ะ

รายละเอียดงาน content strategist
รูปจาก helprocure

เราขอยกตัวอย่างคร่าว ๆ นะคะว่าถ้าอยากเป็น Content Strategists ควรพัฒนาทักษะอะไรบ้าง อย่างถ้าต้องวางกลยุทธ์ด้านงานเขียน เราควรเข้าใจพื้นฐานของระบบหลังบ้านเว็บไซต์ รวมถึงเข้าใจกลไกการทำงานของ SEO เพื่อให้คอนเทนต์ที่ลงทุนทำไปเข้าถึงผู้อ่านได้มากขึ้น

ซึ่งเรื่องเกี่ยวกับ SEO นั้นมีรายละเอียดหลากหลายและมีศัพท์เฉพาะทางมากมาย อีกทั้งยังต้องอาศัยการใช้เครื่องมืออื่น ๆ ควบคู่ด้วย เช่น Google Keyword Planner, Google Search Console, Google Analytics เพื่อทำ SEO ให้ได้ผลมากขึ้น

ในขณะเดียวกัน ถ้าต้องพัฒนากลยุทธ์ด้านวิดีโอ ภาพนิ่ง หรือกราฟิก Content Strategists ก็ควรศึกษาจิตวิทยาของคนทั่วไปว่าน่าจะหยุดคลิกเมื่อเห็นกราฟิกแบบไหน หรือจะไม่ดูต่อตอนนาทีเท่าไร จะได้หาทางปรับก่อนปล่อยงานออกสู่สายตาสาธารณชนค่ะ 

อย่างเช่น ปรับ Copywrite ของแต่ละคอนเทนต์ให้น่าหยุดอ่านมากขึ้น ปรับกราฟิกของแต่ละโพสต์ให้เด่นหรือมีเอกลักษณ์ ปรับช่วงต้นวิดีโอให้คนอยากชมต่อ ปรับ Call to Action เพื่อดึงดูดใจให้คนลงมือทำบางอย่างได้ง่ายขึ้น เป็นต้น 

ที่สำคัญ Content Strategists ยังต้องวางแผนกลยุทธ์ของคอนเทนต์ในแต่ละเดือน ภายใต้งบประมาณและไทม์ไลน์ที่กำหนดไว้ เพราะฉะนั้นก่อนเริ่มเดือนใหม่ก็ควรมีเป้าหมายแล้วว่าอยากให้คอนเทนต์ที่ดูแลมีทิศทางเป็นอย่างไรในเดือนต่อไปค่ะ

2.Data Marketer

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า Data เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับนักการตลาดในยุคนี้ เพราะถ้าวิเคราะห์ Data อย่างความชอบ ความสนใจ พฤติกรรม สไตล์การใช้ชีวิตของลูกค้าได้ ทางทีมงานจะสามารถนำข้อมูลเชิงลึกไปพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจและสินค้าบริการให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายมากขึ้น อย่างในช่วงหลายปีมานี้ก็เริ่มมีการทำการตลาดแบบ Personalization ด้วยค่ะ 

ส่วนในภาพใหญ่ Data ยังช่วยให้คนในทีมเห็นภาพตรงกันว่าตอนนี้สถานการณ์ธุรกิจเป็นอย่างไร ดีขึ้นหรือแย่ลง กลยุทธ์ที่ใช้ได้ผลหรือไม่ได้ผล รวมถึงช่วยให้คาดเดาแนวโน้มของธุรกิจ จึงนับได้ว่า Data Analyst เป็นตำแหน่งที่ช่วยพัฒนาธุรกิจได้ทั้งทางตรงทางอ้อมเลยค่ะ

รายละเอียดงาน data marketer
รูปจาก owox

คำถามคือถ้าอยากทำงานตำแหน่งนี้ควรมีทักษะอะไรบ้าง เราขอแบ่งทักษะหลัก ๆ ออกเป็น 3 ด้านนะคะ

  • ทักษะการตั้งคำถาม

การตั้งคำถามถือเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การหาทางแก้ปัญหาหรือพัฒนาบางอย่างในธุรกิจที่ทำอยู่ เช่น ตั้งคำถามว่าทำไมแคมเปญนี้ถึงมี Engagement ดีกว่าอีกแคมเปญ หรือทำไมสินค้าที่ปล่อยออกไปในช่วงเวลาหนึ่งถึงมียอดขายมากกว่าสินค้าที่วางขายในช่วงเวลาอื่น

  • ทักษะการคิดวิเคราะห์

คำว่าคิดวิเคราะห์ในที่นี้หมายรวมถึงการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล การคิดเพื่อประเมินสถานการณ์ การคิดแก้ปัญหา และการคิดเพื่อตัดสินใจ ซึ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องคำนวณและวิเคราะห์ข้อมูลของแคมเปญต่าง ๆ มากมาย เพื่อปรับกลยุทธ์การตลาดให้ทันท่วงทีค่ะ

  • ทักษะการนำเสนอ

เพราะต่อให้รวบรวม เรียบเรียง และวิเคราะห์ข้อมูลได้ดีแค่ไหน ถ้าไม่สามารถนำเสนอให้คนในทีมเข้าใจหรือเห็นภาพได้ คนในทีมก็จะไม่สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ค่ะ

3.Web Developer

ตำแหน่ง Web Developer เป็นที่นิยมมากในช่วงเวลานี้ เพราะธุรกิจส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับการพัฒนาเว็บไซต์ของตัวเอง อีกทั้งตำแหน่งนี้ยังต้องอาศัยความเชี่ยวชาญซึ่งเป็นทักษะเฉพาะทางมาก ค่ะ 

ตัวอย่างเช่น ทักษะการเขียนโปรแกรมหรือแอปพลิเคชัน ทักษะการพัฒนา Front-end ทักษะการพัฒนา Back-end ทักษะการพัฒนา Full Stack แต่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับทั้ง 3 คำนี้ เราขอไล่เล่าให้ฟังทีละอย่างนะคะ โดยทั้งสามอย่างนี้อยู่ภายใต้ตำแหน่งใหญ่ที่เรียกว่า Web Developer ค่ะ

รายละเอียดงาน web developer
รูปจาก tech9logy

มาเริ่มกันที่ตำแหน่งแรกเลยค่ะ โดย Front-end Developer จะพัฒนาโปรแกรมในส่วนที่ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นได้ เช่น หน้าตาและฟีเจอร์บนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน จึงต้องใส่ใจเรื่องประสบการณ์ใช้งานของลูกค้า โดยคนทำตำแหน่งนี้ควรใช้งานภาษา HTML, JavaScript และ CSS ได้เป็นอย่างดีค่ะ

ตำแหน่งต่อมาคือ Back-end Developer หรือผู้พัฒนาโปรแกรมในส่วนหลังบ้าน ซึ่งต้องเขียน Code ให้เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล (Database), ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า Code ที่เขียนไปมีความปลอดภัยหรือมีช่องโหว่อะไรไหม รวมถึงวางแผนว่าทำยังไงให้เซิร์ฟเวอร์รับส่งข้อมูลทีละมาก ๆ ได้ ซึ่งคนทำตำแหน่งนี้ควรใช้งานภาษา Python, Ruby และ PHP ได้อย่างเชี่ยวชาญค่ะ

ส่วนตำแหน่งสุดท้ายคือ Full Stack Developer ซึ่งพัฒนาโปรแกรมทั้งหน้าบ้านและหลังบ้าน เพื่อช่วยให้เจอปัญหาระหว่างใช้งานเว็บไซต์น้อยที่สุด นั่นหมายความว่าคนทำงานตำแหน่งนี้ต้องมีความสามารถรอบด้าน แก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ และมีความสามารถในการสื่อสารกับคนที่ดูแลทั้งด้าน  Front-end และ Back-end ค่ะ 

4. UI/UX Designer 

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทั้งสองตำแหน่งนี้มีหน้าที่อะไร รวมถึงมีความเกี่ยวข้องกับสายงาน Digital Marketing อย่างไรบ้าง เราขออธิบายให้ฟังง่าย ๆ ตามนี้ค่ะ

เริ่มกันที่ UI Designer นะคะ โดย UI ย่อมาจากคำว่า User Interface ซึ่งหมายถึงหน้าตาของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน เพราะฉะนั้น UI Designer จึงเป็นผู้ที่ออกแบบหน้าเว็บไซต์และหน้าแอปพลิเคชันให้ทั้งโทนสี ฟอนต์ ไอคอน และปุ่มคำสั่งต่าง ๆ ใช้งานง่ายที่สุด

ส่วนในฝั่งของ UX Designer คำว่า UX ย่อมาจาก User Experience หรือประสบการณ์ใช้งานของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน ดังนั้น UX Designer จึงมีหน้าที่ออกแบบทั้งสองส่วนนี้เพื่อให้ลูกค้ามีประสบการณ์ใช้งานที่น่าประทับใจ และเจอปัญหาติดขัดน้อยที่สุดค่ะ

รายละเอียดงาน ux/ui designer
รูปจาก creativestop

ทั้งสองตำแหน่งนี้สำคัญเพราะว่าในยุคที่ลูกค้าหันมาจับจ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ ประสบการณ์ใช้งานตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการจึงควรเป็นที่น่าพอใจ ลูกค้าถึงจะกลับมาซื้อซ้ำและบอกต่อ ช่วยให้ทำการตลาดต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นค่ะ

ซึ่งในต่างประเทศนั้นให้ความสำคัญกับ UX และ UI มาก เพราะจะช่วยเสริมให้ลูกค้าอยู่ในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของเราได้นาน จึงมีโอกาสสร้างยอดขายที่มากขึ้นด้วย 

ดังนั้น ถ้าอยากทำงานในสองตำแหน่งนี้ เราจึงควรเรียนรู้ด้านพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้าผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การทำ User Research หลังจากนั้นค่อยพัฒนาเป็น Prototype ให้กลุ่มเป้าหมายทดลองใช้งาน และนำฟีดแบ็กที่ได้กลับไปปรับปรุงค่ะ

5. Digital Marketing Manager

นอกเหนือจาก 4 อาชีพที่เล่ามา อีกหนึ่งอาชีพที่ขาดไม่ได้คือ Digital Marketing Manager เพราะคนทำตำแหน่งนี้จะช่วยดูภาพรวมของงานด้านการตลาดดิจิทัลทั้งหมด จึงควรมีความรู้เกี่ยวกับ Digital Marketing อย่างรอบด้าน เพื่อวางแผนและวางกลยุทธ์การตลาดให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าค่ะ

มาดูกันว่าเพื่อพัฒนาตัวเองให้เหมาะสำหรับตำแหน่งนี้เราควรมีทักษะอะไรบ้าง โดยเราขอแบ่งทักษะความรู้ต่าง ๆ เป็น 4 ด้านนะคะ

รายละเอียดงาน digital marketing manager
รูปจากเพจ digital marketing manager

ด้านที่ 1 : Online Marketing

Digital Marketing Manager ควรทราบว่าการยิงโฆษณาออนไลน์ในแต่ละช่องทางมีธรรมชาติที่ต่างกันอย่างไร เพื่อหาทางปรับกลยุทธ์การตลาดให้เหมาะสม เพราะการยิงโฆษณาใน Facebook มีเทคนิคแบบหนึ่ง แต่การยิงโฆษณาใน Twitter นั้นควรใช้อีกเทคนิคหนึ่ง เป็นต้นค่ะ

ด้านที่ 2 : Social Media

คำว่า Social Media ในที่นี้หมายถึงหลาย ๆ ช่องทางที่คนสมัยนี้ใช้กัน เช่น Facebook, Instagram, YouTube, TikTok, Twitter เพราะคนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับแพลตฟอร์มเหล่านี้ เลยนับว่าเป็นช่องทางที่เข้าถึงลูกค้าได้ดีค่ะ 

ด้านที่ 3 : Content 

ถ้าเน้นการลงคอนเทนต์ในเว็บไซต์ Digital Marketing Manager ควรเข้าใจเรื่องการทำ SEO เพื่อให้คอนเทนต์ติดอันดับบน Google หรือถ้าเน้นทำคอนเทนต์ลงโซเชียลมีเดียต่าง ๆ คนทำตำแหน่งนี้ก็ควรรู้ว่าทำอย่างไรให้คนอยากแชร์จนคอนเทนต์เป็นไวรัล 

ด้านที่ 4 : Data

สำหรับใครที่สนใจตำแหน่งงานเหล่านี้ ทาง STEPS Academy ขอแนะนำหลักสูตร Digital Marketing Strategy ที่จะช่วยให้คุณเพิ่มพูนทักษะความรู้เกี่ยวกับสายงานด้านการตลาด ผ่านการทำความเข้าใจการทำงานของแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ รวมถึงเคล็ดลับการวางกลยุทธ์บนโซเชียลมีเดียแต่ละช่องทางค่ะ

อ่านรายละเอียดคอร์สเรียนเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ 

https://stepstraining.co/digital-marketing-specialist

สำรองที่นั่งหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 

Facebook: Inbox STEPS Academy 

LINE OA: @STEPStraining https://lin.ee/jRRdsrN หรือโทร 065-494-6646

 

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

STEPS Sharing: CRM คืออะไร และทำไมถึงสำคัญต่อการทำธุรกิจในยุคนี้
อัปเดตสถิติและเทรนด์ Global E-Commerce ที่น่าจับตาในปี 2022