รู้ไหมว่า Data จะช่วยสร้างและเพิ่มยอดขายให้กับคุณได้ หากรู้จักวิธีการจัดการที่ถูกต้อง
เมื่อพูดถึง Data หรือข้อมูลหลายคนอาจจะรู้สึกไม่คุ้นเคย หรือคิดว่าเป็นเรื่องซับซ้อนเกินกว่าจะเข้าใจ แต่ในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างปัจจุบันนี้ คงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้เพราะ Data กลายเป็นสิ่งที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กร และเพิ่มยอดขายของคุณในอนาคต
Data Analytics for marketing คือ การวางแผนการตลาดโดยอ้างอิงจากชุดข้อมูลของลูกค้า ซึ่งนักการตลาดจะสามารถวิเคราะห์ความต้องการ อุปนิสัย และทำความเข้าใจลูกค้าได้ตรงจุดมากขึ้นจากชุดข้อมูลที่เก็บมาเพื่อเพิ่มโอกาสการขายในอนาคต
ตัวอย่างการใช้ Data เพื่อการตลาดที่เข้าใจได้อย่างง่าย ๆ เช่น บริษัทมีการขออนุญาตและได้ทำการเก็บข้อมูลของลูกค้า เพื่อประโยชน์ทางการตลาด โดยมีการส่ง Personalised Email Marketing โปรโมชันของสินค้าผ่านทางอีเมล เนื้อหาในอีเมลนั้นจะเป็นข้อมูลตามความสนใจเฉพาะบุคคล อ้างอิงจากสินค้าที่ลูกค้าเคยซื้อไปก่อนหน้า โดยอาจจะเป็นสินค้าโปรโมชัน สินค้าที่มีความเกี่ยวข้อง หรือ สินค้าที่ลูกค้ามักจะซื้อไปพร้อม ๆ กัน
จากตัวอย่างด้านบนแสดงให้เห็นถึงข้อดีของการใช้ Data เพื่อสื่อสารกับลูกค้าดังนี้
- สามารถทำการตลาดเฉพาะบุคคลได้
- ทำการตลาดได้ตรงความต้องการลูกค้ามากขึ้น
- เพิ่มโอกาสในการสร้างลูกค้าใหม่
- แบรนด์สามารถวัดผลจากข้อมูล และปรับเปลี่ยนแผนการตลาดได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น
ความท้าทายของ Data Analytics for Marketing
1.การเก็บข้อมูลที่มีประโยชน์ และใช้งานได้ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด
หลายครั้งที่นักการตลาดเต็มไปด้วยไอเดียว่าจะใช้ข้อมูลลูกค้าอย่างไรดี แล้วก็พบปัญหาว่าเรามีข้อมูลไม่พอ และไม่พร้อมใช้งาน เพราะทุกอย่างอยู่กระจัดกระจายไปหมด ทั้งในแพลตฟอร์มเก็บข้อมูลอย่าง CRM, Google Analytics, E-commerce หรืออื่น ๆ ซึ่งทำให้เรารู้สึกว่าเรามีข้อมูลมากพอ แต่จริง ๆ แล้วข้อมูลที่มีอยู่นั้นไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้
ดังนั้น ก่อนที่เราจะเริ่มเก็บข้อมูลใหม่ เราควรย้อนกลับไปดูข้อมูลที่เรามีอยู่ และจัดการให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยเริ่มคิดว่าเราจะริเริ่มอะไร เพื่อให้ Data ใหม่ที่ได้มาสามารถนำไปใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้
2.ทุกข้อมูลต้องถูกต้อง เข้าใจง่าย ทันเวลา และนำไปใช้ต่อได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ในยุคที่ความสนใจของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นักการตลาดควรมีชุดข้อมูลที่สดใหม่ และหากเป็นไปได้ควรจะเป็นต่อวัน หรือต่อสัปดาห์ ดังนั้น นักการตลาดควรมีเครื่องมีที่ช่วยให้เห็น Data ได้ง่าย สะดวก และอัปเดต Real-time นั่นก็คือ Marketing Dashboard นั่นเอง
Marketing Dashboard คืออะไร
คือเครื่องมือที่ช่วยให้นักการตลาดสามารถอัปเดตข้อมูลได้ง่ายขึ้น เห็นภาพชัด เข้าใจง่าย ในรูปแบบของ Visual Display อย่างเช่นกราฟ ตารางภาพ หรือสถิติตัวเลข โดยเป็นการรวบรวม Report หรือข้อมูลของทุก Marketing Channel ไว้ในที่เดียว ซึ่งควรจะมีแต่ข้อมูลที่สำคัญ กระชับ เข้าใจง่าย เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานในเชิงการตลาดต่อได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
อาจจะมีกราฟที่แสดงผลข้อมูลอย่างเช่น ข้อมูล Leads หรือ ผู้ที่มีความสนใจในสินค้าของเรา มาจากทางไหน ใช้ระยะเวลาแรกที่เจอสินค้า ไปจนถึงกดซื้อสินค้านานเท่าไร เป็นต้น
เราจะสามารถสร้าง Marketing Dashboard ได้อย่างไร
การสร้าง Marketing Dashboard อาจเริ่มจากการนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาสร้างเป็นกราฟ จัดให้ดูง่ายขึ้น จากนั้นจึงค่อย ๆ ปรับตามการใช้งาน โดยระบบควรที่จะสามารถดูสรุปผลการทำงาน ดูการเติบโตของยอดขาย เปรียบเทียบกับ KPI หรือแม้กระทั่งทำการแจ้งเตือน ซึ่งนักการตลาดสามารถวิเคราห์ข้อมูลจาก Dashboard เพื่อให้ปรับแผนการตลาดได้ทันท่วงที
3.Data Silos หรือการกระจายข้อมูล
การเก็บข้อมูลไม่ใช่เพียงแค่การเก็บตัวเลข แต่มันมีทั้งรูปภาพ เสียง วีดีโอ หรืออื่น ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถูกจัดเก็บมาด้วยหลากหลายวิธี และมีการจัดเก็บที่กระจัดกระจาย บางข้อมูลถูกเก็บเอาไว้เฉพาะแต่ละแผนก ถึงแม้จะเป็นองค์กรเดียวกันก็ตาม และข้อมูลที่มีไม่ได้ถูกนำไปแชร์ให้ทีมอื่น ๆ ได้ใช้ประโยชน์ด้วย
ปัญหานี้เป็นเรื่องน่าปวดหัวของนักการตลาดที่จะต้องรวบรวมข้อมูลกระจัดกระจายเหล่านี้ และทำให้ไม่สามารถเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าได้เต็มที่
แต่ละองค์กรอาจจะใช้วิธีเหล่านี้ในการแก้ปัญหาได้
- ตั้งมาตรฐานในการเก็บข้อมูล
- มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแผนกหรือทีมอยู่เป็นประจำ
- ใช้ Marketing Analytics Platform ในการแก้ปัญหา
4.การสร้างทีมนักวิเคราะห์ข้อมูลภายในบริษัทเป็นเรื่องท้าทายมาก
การรวบรวมชุดข้อมูลจากหลากหลายแผนกเป็นเรื่องที่ต้องใช้พลังพอสมควร ดังนั้น บริษัทจำเป็นต้องมีนักวิเคราะห์ข้อมูล อย่าง Data Analyst ที่สามารถรวบรวมข้อมูลของแต่ละแผนกภายในองค์กร ตั้งมาตรฐานในการจัดเก็บข้อมูล และจะเป็นจุดศูนย์กลางในการจัดเก็บ จัดการ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
5 ขั้นตอนวางแผนการตลาดโดยใช้ข้อมูลธุรกิจ (Data) อย่างมืออาชีพ
1.Segmentation: การแบ่งกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน
เพราะกลุ่มเป้าหมายของเรามีความต้องการไม่เหมือนกัน การจัดกลุ่มเป้าหมายให้เป็นกลุ่มย่อย ๆ หรือการจัด Segment นั้นจะช่วยให้เราสามารถทำแผนการตลาดที่เหมาะสมไปยัง Segment นั้น ๆ ได้ โดยเฉพาะในยุคนี้ที่การตลาดแบบ Personalised มีผลมากกว่าการตลาดแบบหว่านแห การทำ Segment นั้นจะช่วยให้คุณสามารถส่งข้อมูลไปยังลูกค้าได้ถูกเวลา ถูกคน และตรงจุดมากขึ้น
หากเรามีสินค้าที่ต้องการ Target คนอยากปลูกต้นไม้ แต่คนที่อยากปลูกต้นไม้สามารถแบ่งออกย่อย ๆ มาได้อีกหลายประเภท เช่น
- คนปลูกต้นไม้มืออาชีพ
- คนที่ไม่มีความรู้ในการปลูกต้นไม้เลย แต่กำลังสนใจ
- คนปลูกต้นไม้เพื่อค้าขาย
- มือใหม่เพิ่งเริ่มปลูกต้นไม้
จากที่กล่าวมาข้างต้น เราแบ่ง Segment จากอะไรได้บ้าง ? – การแบ่งกลุ่มลูกค้าไม่ได้มีแค่ จากอายุ เพศ หรือสถานที่ แต่รวมไปถึงความต้องการ และ painpoint ของลูกค้าแต่ละคนด้วย โดยเราสามารถเริ่มจากการทำ The buyer’s journey หรือการเดินทางของลูกค้าแต่ละคนก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าเรา
- Awareness Stage – การรับรู้ถึงการมีอยู่
- Consideration Stage – การเปรียบเทียบ
- Decision Stage – การตัดสินใจ
ซึ่งลูกค้าในสามกลุ่มที่กล่าวมาข้างต้น เราจะสามารถทำการตลาดได้ในแบบที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่ง Email Marketing, การทำ Social Media Marketing และการ Retargeting
2.Retargeting : กระตุ้นผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าเราซ้ำ ๆ
การ Retarget หรือ Remarketing เป็นการกำหนดกลุ่มเป้าหมายจากผู้ที่เคยแวะเวียนเข้ามาในเว็บไซต์ของเรา เป็นการ Cross-channel หรือการทำการตลาดแบบข้ามแพลตฟอร์ม ซึ่งการ Retarget ช่วยให้นักแบรนต์ยังอยู่ในสายตาลูกค้าอยู่เสมอ
เช่น มีคนค้นหาสินค้าบนเว็บไซต์ เมื่อทางแบรนด์ได้รับข้อมูลว่าผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าได้เข้ามาหน้าเว็บ และดูสินค้าชนิดนี้ แบรนด์สามารถใช้การตลาดผ่านทาง Social Media หรือ Email Marketing เพื่อกระตุ้นความต้องการ เพิ่มโอกาสให้ผู้เยี่ยมชมสินค้ากลายเป็นลูกค้าได้ในอนาคต
3.Optimisation: ปรับปรุงคอนเทนต์ และแคมเปญการตลาดโดยอ้างอิงจาก Data
การทำแผนการตลาด อย่างการเขียนคอนเทนต์ บล็อก หรือโฆษณาบน Social Media นั้น ควรมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้ โดย Data Marketing ช่วยให้นักการตลาดเข้าใจและนำเสนอข้อมูล คอนเทนต์ที่ลูกค้าต้องการได้ตรงจุด ตรงใจมากขึ้น โดยใช้ข้อมูล ความสนใจ และ painpoint จากคอนเทนต์เดิมที่เคยทำไปว่าอันไหนประสบความสำเร็จ หรือได้รับฟีดแบ็กจากผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าของเรา
ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเป็นเพจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ซึ่งก่อนหน้านี้เคยลงรีวิวเกี่ยวกับการเที่ยวคนเดียวแล้วได้รับผลตอบรับดีในเชิงของ Engagement, ยอด Like, ยอด Shares เราอาจจะนำข้อมูลส่วนนี้ไปต่อยอดเป็นคอนเทนต์ใหม่ที่ยังคงแก่นเดิมแต่เนื้อหาน่าสนใจมากขึ้น
4.Team Alignment : ทีมงานทั้งทีมควรมีความเข้าใจในข้อมูลของลูกค้าที่ตรงกัน
ข้อมูลของลูกค้าที่เก็บมาได้นั้น ไม่ได้ใช้เฉพาะนักการตลาดเท่านั้น แต่รวมไปถึง เซลล์ ทีมซัพพอร์ต การขายด้วย ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ทั้งองค์กรเติบโตไปด้วยกันและมั่นใจได้ว่า ทีมงานมีความเข้าใจตรงกัน
หนึ่งวิธีที่น่าสนใจคือ Customer Data Platform (CDP) ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลของลูกค้า และการสร้างชุดข้อมูลที่สามารถใช้ร่วมกันได้ทั้งองค์กร เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีที่สุด และทำให้ลูกค้าอยู่กับแบรนด์ไปนาน ๆ
ตัวอย่างการทำ CDP เช่น ทีมงานต้องการรวบรวมข้อมูลในเชิงพฤติกรรมของลูกค้า (Consumer Behaviour) ทีมนักการตลาดจึงมีการเก็บข้อมูลว่าลูกค้ามีการเข้าเว็บไซต์อย่างไร มีความสนใจในสินค้าใดเป็นพิเศษ แล้วจึงนำข้อมูลเหล่านี้ไปแชร์กับทีมเซลล์เพื่อเสนอข้อมูลสินค้า ที่ตอบสนองความสนใจของลูกค้า และในขณะเดียวกัน ทีมซัพพอร์ตสามารถออกแบบคอนเทนต์ที่ตอบสนอง Painpoint ของลูกค้าไปพร้อม ๆ กัน
5.Customer Experiences: สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า
ทุกวันนี้ ลูกค้าค้นหาข้อมูลและซื้อของผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม หากแบรนด์สามารถรู้ได้ว่าลูกค้าคนนั้น ๆ ที่มาในหลากหลายช่องทางเป็นคนเดียวกัน จะเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้
Data for Marketing จึงเข้ามาตอบโจทย์ในส่วนตรงนี้ ที่จะช่วยแบรนด์ซัพพอร์ตลูกค้าได้ตรงตามความต้องการมากขึ้น ไม่ว่าจะไปในช่องทางไหนก็ตาม ลูกค้าจะได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดในแบบเดียวกัน
ตัวอย่างสถานการณ์เช่น หากลูกค้าติดต่อมาในช่องทางหนึ่ง มีการคุยให้ข้อมูลไว้แล้วส่วนนึง หากลูกค้าติดต่อกลับมาอีกครั้งในช่องทางอื่น แบรนด์สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมโดยไม่ติดขัด จะเพิ่มความน่าเชื่อถือและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าเป็นอย่างมาก
สรุป
การใช้ Data เป็นส่วนช่วยในการพัฒนาแผนการตลาด ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่ยากเกินกว่าจะทำได้ ควรมีการวางแผนในเป็นระบบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานต่อได้จริง สามารถแชร์กันภายในองค์กร และ มีการปรับเปลี่ยนปรับปรุงแผนการตลาดแผนการตลาดเพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายของเรา
หากคุณเป็นหนึ่งคนที่สนใจและอยากวางแผนกลยุทธ์การตลาดด้วย Data เราขอแนะนำหลักสูตร ‘Data Analytics for Marketers’ ที่จะช่วยให้คุณวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างแหลมคมขึ้น รวมถึงสร้างจุดแข็งที่โดดเด่นให้กับธุรกิจ พร้อมประหยัดเวลาลองผิดลองถูก
อ่านรายละเอียดคอร์สเรียนเพิ่มเติมได้ที่ :
https://stepstraining.co/data-analytics-marketer
สำรองที่นั่งหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
Facebook: Inbox STEPS Academy m.me/digitalmarketingacademythailand
LINE OA: @STEPStraining https://lin.ee/jRRdsrN
หรือโทร 065-494-6646