Copywriting จากร้านค้า A
“ 3 ข้อควรระวัง ในการเลือกจองโรงแรมสำหรับมือใหม่ ”
ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์แบบนี้ หลายท่านอาจจะกำลังมองหาโรงแรมสำหรับการพักผ่อน และใช้เวลาในวันหยุดกับคนที่เรารักกันอยู่ใช่ไหมคะ วันนี้ Traveltime เว็บไซต์จองที่พักของโรงแรมชั้นนำทั่วโลก ขอนำเสนอ 3 ข้อที่ควรระวังในการเลือกจองโรงแรมผ่านออนไลน์สำหรับนักท่องเที่ยวมือใหม่ มาฝากกันค่ะ
1 ตรวจสอบเงื่อนไขในการจองห้องพัก โดยควรเลือกเว็ปไซต์ที่มีการระบุเงื่อนไขในการจองอย่างชัดเจน
2 ดูรีวิวจากผู้ที่เคยเข้าพักก่อนทำการจอง
3 เลือกเว็ปไซต์เอเจ้นที่มีความน่าเชื่อถือ หรือ ได้รับการรับรองจากภาครัฐ
สำหรับผู้ที่กำลังมองหาโรงแรมในช่วงวันหยุดนี้สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: www.traveltime.co หรือแอดไลน์ @Traveltime เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Copywriting จากร้านค้า B
“ แนะนำขั้นตอนในการเลือกจองโรงแรมจาก Traveltime”
สำหรับผู้อ่านที่กำลังมองหาโรงแรม Traveltime ได้รวบรวมข้อแนะนำที่สำคัญมาให้ดังนี้
1 ตรวจสอบเงื่อนไขในการจองห้องพัก โดยควรเลือกเว็ปไซต์ที่มีการระบุเงื่อนไขในการจองอย่างชัดเจน
2 ดูรีวิวจากผู้ที่เคยเข้าพักก่อนทำการจอง
3 เลือกเว็ปไซต์เอเจ้นที่มีความน่าเชื่อถือ หรือ ได้รับการรับรองจากภาครัฐ
ผู้ที่สนใจสามารถเลือกจองโรงแรมได้ที่ Traveltime ค่ะ
เป็นยังไงกันบ้างค่ะ สำหรับตัวอย่างของ Copywriting ทั้ง 2 ตัวอย่างที่ได้นำมาฝากกันในวันนี้ แม้ว่าทั้ง 2 ตัวอย่างต้องการนำเสนอเนื้อหาที่เหมือนกัน แต่กลับให้ความรู้สึกแก่ผู้อ่านที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจจะนำไปสู่การปิดการขายที่ต่างกันไปด้วยเช่นเดียวกันค่ะ เป็นเพราะเหตุผลดังต่อไปนี้
- การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายในการสื่อสาร
- การเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
- ความน่าดึงดูดของ Headline
- และการใช้ Call to Action
ดังนั้นเรามาดูสิ่งที่ผู้เขียนทุกท่านควรทำในการเขียน Copywriting ของแบรนด์กันค่ะ
1. ทำ Customer personas
หัวใจที่สำคัญที่สุดของการเขียน Copywriting คือ การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มที่มีความชอบ ความสนใจ และ ประสบการณ์ที่แตกต่างกันต้องอาศัยการสื่อสารที่แตกต่างกันออกไปด้วย เทคนิคนี้จึงเป็นเทคนิคสำคัญที่หลายคนมักมองข้ามเพราะมัวแต่ไปให้ความสำคัญกับสิ่งที่ต้องการขายแต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามาอ่าน Copywriting ของเราค่ะ
การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายสามารถทำได้โดยการกำหนด Customer personas หรือ การกำหนดลักษณะของกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการวิเคราะห์จากข้อมูลโดยทั่วไปเช่น เพศ ลักษณะนิสัย งานที่ทำ เงินเดือนที่ได้รับ พฤติกรรมการใช้ชีวิต บุคคลที่ติดตามหรือชื่นชอบ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหนึ่งจุดสำคัญที่ทำให้ทราบว่า ลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการของคุณเป็นคนลักษณะยังไง
ตัวอย่างการทำ Customer personas
โดย STEPS Academy ได้จัดทำแนวทางในการทำ Customer Personas เพื่อทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ข้อมูลเชิง Demographic หรือ ข้อมูลโดยทั่วไปเช่น ชื่อ อายุ ที่อยู่อาศัย สถานะ
- Education หรือ การศึกษา
- Occupation หรือ ตำแหน่งงานที่ทำอยู่
- Goal หรือ เป้าหมายในอนาคต
- Problem หรือ ปัญหาหรือประสบการณ์ที่ไม่ดีที่เคยมี
- Pain หรือ ปัญหาเรื้อรังที่ต้องการแก้ไข
- Wish หรือ ความคาดหวังที่ต้องการ
- Interest หรือ ความสนใจ
- Top 5 Application
- Top 5 Fanpage
- Top 5 Influencer
ตัวอย่างการนำ Customer personas ได้ที่มาต่อยอดในการเขียน Copywriting
หลังจากที่ทุกท่านได้ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายกันแล้ว ต่อไปอาจจะยังไม่ทราบว่าจะสามารถนำข้อมูลต่างๆ มาประยุกตร์ใช้ในการเขียน Copywriting ได้อย่างไรบ้างนะคะ ผู้เขียนจึงได้นำข้อมูลบางส่วนในการทำ Customer personas มายกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นกันค่ะ
Goal : คุณนิชาต้องการเปลี่ยนสายงานจาก Offline Marketing มาสู่ Digital Marketing เนื่องจากมีความต้องการของตลาดเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น
Problem : ยังไม่รู้ว่าควรเริ่มต้นศึกษาอย่างไรบ้างจึงยังไม่ทราบว่าคอร์สเรียนแบบไหนที่จะเหมาะกับตนเอง
ตัวอย่าง Introduction ของ Copywriting :
คอร์สเรียน Digital Marketing Strategy เข้าใจ Digital Marketing ‘รอบด้าน’ เพื่อการวางกลยุทธ์ที่ ‘ครบถ้วน’ ที่จะเปลี่ยนคุณนักการตลาดออนไลน์ ‘เต็มตัว’ จาก STEPS Academy
จะเห็นได้ว่าตัวอย่างของ Copywriting มีคีย์เวิร์ดสำคัญคือ “เปลี่ยนคุณนักการตลาดออนไลน์เต็มตัว” เพื่อให้สอดคล้องกับ Customer Personas ที่ต้องการเข้ามาสู่สายงานของ Digital Marketing
2. เลือกใช้ Headline ที่น่าดึงดูด
“โดยเฉลี่ยแล้ว 8 ใน 10 คน จะอ่าน Headline แต่มีเพียง 2 ใน 10 คนเท่านั้นที่จะอ่านส่วนที่เหลือ”
สิ่งแรกที่ผู้อ่านจะสามารถเห็น และเกิดความประทับใจได้จากการ Copywriting ของเราคือ Headline หรือ หัวข้อ ซึ่งเป็นส่วนที่นักการตลาดควรให้ความสำคัญเพื่อใช้ในการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยเทคนิคในการเขียน Headline ให้น่าดึงดูดมีดังต่อไปนี้
- คิด Headline หลังจากที่เขียนบทความเสร็จแล้วเพื่อดึงหัวข้อย่อยๆ หรือเนื้อหาที่น่าสนใจในบทความขึ้นมาเป็น Headline วิธีนี้จะทำให้คุณสามารถคิด Headline ให้สอดคล้องและน่าดึงดูดมากยิ่งขึ้น
- บอกประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับบนจากกการอ่านบทความใน Headline
- ใช้ Headline ให้เรียบง่ายและตรงไปตรงมาให้สามารถเข้าใจได้ง่าย
- ใช้ข้อความ หรือ คำขยาย ที่สามารถกระตุ้นอารมณ์หรือความรู้สึก เพื่อเพิ่มความน่าดึงดูดและความน่าสนใจ
- ใช้เทคนิคการเขียน Headline แบบ How to หรือ วิธีการ
- ใช้เทคนิค Listing หรือ การบอกจำนวนหัวข้อที่ผู้อ่านจะได้รับ
สำหรับเทคนิคในการเขียน Headline ที่น่าในสามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ : 3 เทคนิคการเขียน Headline ง่ายๆที่ทำให้คนอ่านอยากคลิกหัวข้อของคุณ
3. เลือกใช้ระดับภาษาที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า
ข้อสำคัญของการสื่อสารคือการคำนึงถึงผู้รับฟังสารของเรา ซึ่งหลายคนอาจจะลืมคำนึงถึงข้อสำคัญตรงนี้ไปค่ะ ดังนั้นหลังจากที่เราได้ทำความเข้าใจกับกลุ่มเป้าหมายของเราแล้ว ข้อสำคัญอีกอย่างคือการเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของเรา
เนื่องจากระดับภาษาที่เราเลือกใช้จะส่งผลต่อการสื่อสารคอนเทนต์ของเราไปยังกลุ่มเป้าหมายดังต่อไปนี้
- ความน่าเชื่อถือ ซึ่งนำไปสู่ความจูงใจให้เกิด Conversion หรือการซื้อบริการสินค้า
- ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าต่อแบรนด์ หากเราเลือกใช้ระดับภาษาที่มีความเป็นกันเองจะทำให้รู้สึกว่าแบรนด์มีความเข้าถึงได้ง่าย
- ความเข้าใจในการสื่อสารที่แบรนด์ต้องการให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้
4. สร้างความน่าเชื่อถือ
ในการเขียน Copywriting มีจุดประสงค์ที่นำไปสู่การเกิด Conversion ทำให้อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือ การสร้างความน่าเชื่อถือ ดังนั้นคอนเทนต์ของเราจึงควรมีข้อรองรับสำหรับสิ่งที่เรากำลังนำเสนอ แม้ว่าผู้อ่านยังไม่ได้ตัดสินใจซื้อสินค้าในขณะนั้นแต่ยังถือเป็นโอกาสที่จะทำให้ผู้อ่านมีปฎิสัมพันธ์กับแบรนด์ของเราได้
โดยเราสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้โดยการอ้างอิงข้อมูลดังต่อไปนี้
- ข้อมูลทางสถิติที่มีงานวิจัยรองรับ
- กรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ
- จำนวนปีที่ก่อตั้งของแบรนด์
- ข้อมูลที่แบรนด์ได้เก็บเอาไว้เอง
- ข้อคิดเห็นจากลูกค้า
- รางวัลที่แบรนด์ได้รับ
- การจัดอันดับจากหน่วยงาน
- ผลสำรวจที่น่าสนใจ
ในการนำข้อมูลมาอ้างอิงในงานของเราจะทำให้แบรนด์มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น โดยผู้เขียนอาจจะนำข้อมูลอ้างอิงมาใส่เพิ่มเติมเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการซื้อหรือการใช้บริการในแบรนด์ของเรา
5 จบด้วยการใส่ Call to action
ในส่วนสุดท้ายของการเขียน Copywriting คือ การใส่ Call to action หรือ การนำให้ผู้อ่านดำเนินการบางสิ่งบางอย่างตามจุดประสงค์ของการเขียนนั้นๆ หากต้องการเขียน Copy เพื่อการขายโดยการอธิบายถึงประโยชน์ของสินค้าหรือบริการที่น่าสนใจ แต่ในตอนจบไม่ได้มีการกล่าวถึงช่องทางการซื้อสินค้า หรือการใส่ลิงก์บนเว็บไซต์ไปยังหน้าสินค้า อาจทำให้แบรนด์เสียโอกาศในการปิดการขายสินค้าได้
ดังนั้นในส่วนท้ายของ Copywriting จึงจำเป็นต้องใส่ Call to action หรือ CTA โดยมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงดังต่อไปนี้
- ใส่ Call to action หรือ CTA ที่สอดคล้องไปกับ Stage of buying cycle ของกลุ่มเป้าหมาย
- ตรวจสอบว่ามีการใส่ Call to action หรือ CTA ที่ถูกต้อง เช่น ลิงก์ไปยังหน้า Sale page ที่ถูกต้อง, ลิงก์สามารถใช้งานได้, ข้อมูลการติดต่อมีความถูกต้อง
- หาก Call to action หรือ CTA อยู่บนรูปภาพควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
สรุป
ข้อแนะนำในการเขียน Copywriting มีดังต่อไปนี้
- ทำ Customer persona เพื่อทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
- เลือกใช้ Headline ที่น่าดึงดูดผู้อ่าน
- เลือกใช้ระดับภาษาให้เหมาะสมสำหรับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการทำการสื่อสารออกไป
- สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้อ่าน
- ใส่ Call to action เพื่อให้ผู้อ่านดำเนินการบางอย่างต่อไป
ที่มา