อัปเดต 14 เทรนด์การตลาดดิจิทัลและกลยุทธ์ธุรกิจปี 2023

อัปเดต 14 เทรนด์การตลาดดิจิทัล และ กลยุทธ์ธุรกิจ ปี 2023

ในโลกธุรกิจและการตลาดดิจิทัลในปี 2022 ที่ผ่านมา มีเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ช่วยให้การทำธุรกิจง่ายยิ่งขึ้น และ มีแนวทางการทำธุรกิจที่หลากหลายในทุกอุตสาหกรรม ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่า นักการตลาด หรือผู้ประกอบการในทุกกลุ่มธุรกิจ ต่างต้องปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค เพื่อให้แบรนด์ของตนเองเข้าใจ และ เข้าถึงลูกค้า รวมทั้งวางกลยุทธ์การตลาดให้ตอบโจทย์ โดยสำหรับบทความนี้ STEPS Academy จะพาคุณผู้อ่านไปดูเทรนด์การตลาดดิจิทัล และ รูปแบบแนวธุรกิจปี 2023 กัน เพื่อปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์และปรับใช้กับแคมเปญของเราได้อย่างเหมาะสมค่ะ

อัปเดต 14 เทรนด์การตลาดดิจิทัล และ กลยุทธ์ธุรกิจ ปี 2023

1. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาวกับ Influencer

ในอดีตการทำการตลาดในรูปแบบ Word of Mouth หรือการตลาดแบบบอกต่อ ถือว่าได้ผลตอบรับที่ดีมาก เนื่องจาก การบอกต่อระหว่างบุคคลที่เรามีความนับถือ และ เชื่อใจจะทำให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจซื้อสินค้ากับเรา แต่สำหรับยุคดิจิทัลนั้น กลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ คือบุคคลดังที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก และ อินฟลูเอนเซอร์บางกลุ่มก็ได้รับความไว้วางใจในฐานะนักรีวิว ดังนั้น การที่แบรนด์เลือกอินฟลูเอนเซอร์เพื่อโปรโมตหรือรีวิวสินค้าและบริการจะช่วยเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ ๆ ได้ โดยเฉพาะการวางกลยุทธ์ทำการตลาดกับอินฟลูเอนเซอร์ในระยะยาว เพื่อให้เกิด ความภักดีต่อแบรนด์ หรือ Brand Loyalty

นอกจากนี้สถิติจากเว็บไซต์ Influencer marketing ยังระบุอีกว่า 93% ของนักการตลาดทำการตลาดแบบ Influencer Marketing เพื่อผลลัพธ์ดังนี้

93% ของนักการตลาดทำการตลาดแบบ Influencer Marketing เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ สร้างความเชื่อใจ และความภักดีต่อแบรนด์
ภาพจาก Oberlo
  • เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์
  • สร้างความเชื่อใจ และความภักดีต่อแบรนด์
  • เข้าหากลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ
  • เพื่อเพิ่ม Conversions
  • Generating leads
  • Setting a new trend

2. เน้นคอนเทนต์วิดีโอและไลฟ์สตรีม

คอนเทนต์รูปแบบวิดีโอได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2020 และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะคอนเทนต์จากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียจาก Instagram และ TikTok โดยผลลัพธ์ที่ผ่านมา แบรนด์ส่วนใหญ่ได้รับทั้งการรับรู้แบรนด์ และ Engagement เพิ่มขึ้นสูงจากกลุ่ม Millennials และ Gen Z

ส่วนการไลฟ์สด หรือ ไลฟ์สตรีม เป็นเทรนด์การตลาดที่คุณผู้อ่านอาจได้เห็นกันในหลาย ๆ แพลตฟอร์มเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น Facebook, YouTube และ Instagram โดยรายงานจาก data.ai เผยว่า คอนเทนต์รูปแบบไลฟ์สตรีมนั้น ผู้ชมใช้เวลาผ่านสมาร์ทโฟนมากถึง 548 ล้านชั่วโมงในปี 2021 จากนี้ผลสำรวจจากทั่วโลก (ยกเว้นประเทศจีน) เผยว่าผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนใช้เวลาบนแอปฯโซเชียลมีเดียไปกับการดูไลฟ์สตรีมมากที่สุด

Live streaming Statistics 2022
ภาพจาก data.ai

3. Data ประเภท Third-Party Cookie จะค่อยๆ หมดไป

Third-Party Cookie คือข้อมูลที่มาจากแพลตฟอร์มต่างๆ หรือจากแหล่ง Ad Networks เช่น Facebook และ Google โดยข้อมูลเหล่านี้มีปริมาณมาก และเข้าถึงได้ง่าย ทำให้การทำการตลาดสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการยิงโฆษณา แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกฎหมาย PDPA ในประเทศไทยเริ่มมีข้อกำหนดให้ผู้ใช้งานบนโลกดิจิทัลสามารถตั้งค่าได้ว่า จะอนุญาตให้เว็บไซต์ หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ เก็บข้อมูลได้หรือไม่ ทำให้การเก็บข้อมูลมีประสิทธิภาพลดลง และ อาจทำให้การวัดผลลัพธ์ทางการตลาดไม่แม่นยำ อีกทั้งทาง Google ยังประกาศอีกว่าในปี 2023 ทาง Google เองก็จะเลิกเก็บคุ้กกี้ด้วยเช่นกันเพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ดังนั้น นักการตลาด และ “ผู้ประกอบการ ควรให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ Data แบบ Firs-Party Data  และใส่ใจกับการทำการตลาดแบบ Personalization เพื่อให้ตอบโจทย์และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของตนเอง”

ผู้ประกอบการ ควรให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ Data แบบ Firs-Party Data และใส่ใจกับการทำการตลาดแบบ Personalization เพื่อให้ตอบโจทย์และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของตนเอง
ภาพจาก cookiepro

4. Agile Marketing

โลกของเราก้าวหน้าไวทั้งในเรื่องเทรนด์การบริโภค เทคโนโลยี และความว่องไวในการตอบโจทย์ตลาด ดังนั้น การเข้าถึงลูกค้าจึงสำคัญเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดย Agile Marketing เป็นกลยุทธ์การตลาดที่สามารถตอบรับกับความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว และทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ข้อดีของการทำการตลาดแบบ Agile Marketing 

  • มีความยึดหยุ่น ไม่จำเป็นต้องทำตามขั้นตอนที่วางไว้เสมอไปเพื่อตอบโจทย์กับสถานการณ์
  • สามารถโฟกัสได้ถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแบบเรียลไทม์ ทำให้ได้ผลลัพธ์ไวขึ้น
  • ทำให้แบรนด์สามารถมัดใจลูกค้าไปดีขึ้น ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น
Agile Marketing Steps
ภาพจาก asana

จากภาพด้านบน เป็นการวางแผนทำ Agile Marketing ซึ่งมีทั้งหมด 6 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่

1 การวางเป้าหมายในการทำงาน โดยเลือกการวัดผลลัพธ์จะต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย

2 การเลือกทีมสำหรับทำ  Agile Marketing เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

3 การพัฒนาโปรเจกต์ หรือแคมเปญ ให้มีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ ทำให้ได้ผลลัพธ์ตอบโจทย์กับลูกค้ามากขึ้น

4 การทดสอบแคมเปญ ว่าได้ผลลัพธ์ตามที่วางไว้หรือไม่ เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์แล้วจะเห็นว่า มีส่วนไหนที่เราควรปรับปรุง

5 การปรับใช้ คือการนำผลลัพธ์ที่ได้มาปรับปรุงให้แคมเปญให้ดีขึ้น

6 การประเมิน การประเมินและทบทวนแคมเปญหลังจากการวิเคราะห์ และทดสอบ ว่าเราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง หรือ บรรลุวัตถุประสงค์ที่เราวางเป้าหมายของหรือไม่

 

5. ปรับปรุง User Experience อย่างต่อเนื่อง

User Experience หรือ UX คือการคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้งาน หรือกลุ่มเป้าหมายบนโลกดิจิทัล ถึงแม้ว่าสินค้า และ บริการของเราน่าสนใจ หรือมี โปรโมชันที่น่าดึงดูด แต่หน้าเว็บไซต์ออกแบบได้ไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ฟังก์ชันการใช้งานไม่สะดวกอาจทำให้เสียลูกค้าได้โดยง่าย และ กลายเป็นรองคู่แข่ง

ดังนั้น เราไปดูเทรนด์ User Experience กันว่า ปี 2023 มีอะไรที่น่าจับตา

  • สร้าง Popup บนหน้าแอป หรือเว็บไซต์ เพื่อโปรโมตแคมเปญ หรือแจ้งข่าว เพื่อให้ผู้ใช้งานเห็นได้ง่าย
  • รูปแบบการใช้งานมีความเรียบง่าย
  • ใช้วิดีโอคอนเทนต์เข้าช่วยให้การแสดงสินค้า และ บริการ
  • ใช้กลยุทธ์ Scrollytelling หรือ การเล่าเรื่องต่าง ๆ ผ่านการเลื่อนฟีดให้ดูน่าติดตาม
  • ใช้สีโทนสดใส เพื่อดึงความสนใจ

6. พัฒนา Voice Search เพื่อต่อยอด SEO

การใช้คำสั่งเสียงยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่องในการทำการตลาดดิจิทัล เนื่องจากผู้บริโภคยุคใหม่นิยมใช้คำสั่งเสียงเพื่อหาข้อมูล เพื่อให้ได้คำตอบแบบรวดเร็ว อีกทั้ง Voice Search มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนา SEO ด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ เว็บไซต์ bloggingwizard เผยว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้งานบนโลกออนไลน์นิยมใช้คำสั่งเสียงเพื่อค้นหาข้อมูลมากกว่าการเสิร์ชในปี 2022 และ มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง

พัฒนา Voice Search เพื่อต่อยอด SEO
ภาพจาก bloggingwizard

7. VR มาแรงไม่แพ้กัน

ในปี 2021 บริษัท Meta (Facebook) ได้ออกแบบ Metaverse โดยผสานโลกจริง และ โลกเสมือนเข้าไว้ด้วยกัน ดังนั้นการทำการตลาดในรูปแบบ Virtual Reality (VR) ยังคงเป็นที่น่าจับตา และ พัฒนาต่อไป ซึ่งหลาย ๆ แบรนด์ดัง ก็ได้ใช้ VR เข้ามาทำการตลาดเพื่อโปรโมตสินค้าและบริการ เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนให้กับผู้ใช้งาน

ตัวอย่างจาก IKEA แบรนด์สินค้าตกแต่งบ้าน ตัวอย่างจาก IKEA แบรนด์สินค้าตกแต่งบ้าน และ สินค้าใช้งานทั่วไปได้ออกแบบแอปพลิเคชันแบบโลกเสมือน ผสมผสานกับโลกจริง เพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้กับลูกค้า เมื่อต้องการทดลองวางเฟอร์นิเจอร์ใหม่ในพื้นที่รอบบ้านของตนเอง

8. AI ยังคงเป็นปัจจัยในการปรับปรุงอัลกอริทึม

Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การทำธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมก้าวหน้าในยุคดิจิทัล เนื่องจาก AI สามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจได้หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่แม่นยำ การทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคล และ การปรับปรุงระบบอัลกอริทึม โดยเทรนด์การใช้ AI ในเชิงการตลาดดิจิทัลโดยทั่วไปในปี 2023 นั้น เราจะเห็นว่า นักการตลาดจะนำ AI มาเพื่อจุดประสงค์เหล่านี้

  • การยิงแอดไปยังกลุม่เป้าหมายที่ใช่มากขึ้น
  • การปรับปรุงอัลกอริทึมเพื่อพยากรณ์การตลาดในอนาคต
  • เข้าใจเทรนด์การบริโภคของลูกค้า
  • สามารถสร้าง customer retention เพื่อสานสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว
  • เพื่อปรับปรุง ROI ให้ดีขึ้น
Chat Bot ช่วยผู้ขายตอบแชทแบบอัตโนมัติได้ทันใจลูกค้า ไม่ต้องเสียเวลารอ
Chat Bot ช่วยผู้ขายตอบแชทแบบอัตโนมัติได้ทันใจลูกค้า ไม่ต้องเสียเวลารอ

ตัวอย่างด้านบนเป็นการใช้ AI ทำการตลาดแบบอัตโนมัติ โดย Chat Bot ช่วยผู้ขายตอบแชทแบบอัตโนมัติได้ทันใจลูกค้า ไม่ต้องเสียเวลารอ

9. ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน

ในยุคดิจิทัลที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ยิ่งทำให้แบรนด์ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย และ ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน สำหรับเทรนด์การตลาดปี 2023 หลาย ๆ แพลตฟอร์มที่เปิดให้บริการ เช่น Facebook และ Google รวมทั้งระบบปฏิบัติการบนสมาร์ทโฟนจะทำการขออนุญาตก่อน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ว่าข้อมูลที่แพลตฟอร์มต่าง ๆ เก็บไปนั้นเป็นข้อมูลประเภทไหน และ จะอนุญาตให้ใช้หรือไม่

ส่วนการเตรียมตัวของธุรกิจดิจิทัลนั้น นักการตลาดควรเตรียมความพร้อมในเรื่องของหน้าเว็บไซต์ที่จะต้องขออนุญาตผู้ใช้งานเก็บข้อมูล และพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ให้ทันสมัยค่ะ

เว็บไซต์ rocket.chat ได้ระบุว่าภายในสิ้นปี 2023 มีแนวโน้มว่า 65 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วโลก จะได้รับความคุ้มครองด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูลบนโลกออนไลน์

ายในสิ้นปี 2023 มีแนวโน้มว่า 65 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วโลก จะได้รับความคุ้มครองด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูลบนโลกออนไลน์
ภาพจาก rocket.chat

10. ข้อความแบบ Real-Time คือกลยุทธ์การตลาดปี 2023

การสร้างแพลตฟอร์มข้อความเพื่อโต้ตอบกับลูกค้าแบบเรียลไทม์ หรือทันท่วงที คือการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เช่นเดียวกับการมีพนักงานคอยดูแล และตอบคำถามหน้าร้าน เนื่องจาก ลูกค้าในยุคดิจิทัล เน้นความว่องไว และ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น แบรนด์ควรหาช่องทางสร้างแชทบอท หรือมองหาแอดมินที่ยินดีคอยให้บริการลูกค้าแบบเรียลไทม์ เพื่อตอบคำถามลูกค้าได้ทันเวลา และ ไม่เสียโอกาสในการขาย

ข้อความแบบ Real-Time คือกลยุทธ์การตลาดปี 2023

11 Email Marketing ยังไม่ตกเทรนด์

Email marketing หรือการทำการตลาดผ่านอีเมลยังคงใช้ได้ผลเสมอ โดย 82% ของธุรกิจ B2B ระบุว่าการใช้อีเมลส่งโปรโมชัน และ ข่าวสารไปยังลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ ช่วยกระตุ้นการขาย และ เพิ่มอัตรา Conversion บนเว็บไซต์ได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม นักการตลาดควรวางแผนการส่งอีเมล และ คอนเทนต์ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และ หารูปแบบคอนเทนต์มานำเสนอใหม่ ๆ จะช่วยให้กลยุทธ์นี้บรรลุไปตามแผนที่วางไว้นะคะ

ตัวอย่าง Newsletter ทางอีเมล เพื่อส่งรายละเอียดให้ลูกค้า
ตัวอย่าง Newsletter ทางอีเมล เพื่อส่งรายละเอียดให้ลูกค้า

12 มองหาเอเจนซี่เพื่อปรับปรุงการตลาด

ปัจจุบันมีเอเจนซี่ที่คอยให้บริการด้านการตลาด การทำโฆษณา เป็นที่ปรึกษา และ ช่วยปรับปรุงกลยุทธ์อยู่มากมาย หากแบรนด์ไหนต้องการคำปรึกษาเฉพาะทางก็สามารถมองหาเอเจนซี่ที่ใช่ มาช่วยพัฒนาธุรกิจของเราให้ก้าวต่อไปในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสในตลาดอุตสาหกรรมของเราเองอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจ ขนาดใหญ่ หรือ ขนาดย่อม ก็สามารถขอรับคำปรึกษาเพื่อลับคมแผนการตลาดให้ดีขึ้น หรือจะเป็นการจัดอบรมเทรนนิ่งทักษะที่จำเป็นให้กับนักการตลาด เพื่อให้เครื่องมือใหม่ ๆ ให้เป็นมืออาชีพและเท่าทันต่อเทคโนโลยีในปี 2023

สนใจติดต่อขอรับคำปรึกษาด้านการทำการตลาดดิจิทัลกับ STEPS Academy

คลิก https://stepstraining.co/business

13 การทำ User-Generated Content

User-Generated Content คือการสร้างคอนเทนต์ออนไลน์ผ่านผู้บริโภคตัวจริงที่เกี่ยวข้องกับสินค้า และ บริการเราโดยตรง โดยไม่ได้มีการจ้าง ไม่ว่าจะเป็นการรีวิว การโพสต์ภาพถ่าย หรือข้อความที่กล่าวถึงแบรนด์ ซึ่งจะคล้ายกับการตลาดแบบบอกต่อ เพื่อให้แบรนด์เกิดความน่าเชื่อถือมากขึ้น ทำให้แบรนด์มียอดขายที่ดีขึ้นเมื่อมีการรีวิวสินค้าผ่านโซเชียลมีเดีย และสามารถสร้าง Engagement ได้เป็นอย่างดีในอีกช่องทาง

สิ่งที่แบรนด์ควรวางแผนในการทำ User-Generated Content คือการมองหาผู้ใช้งานตัวจริงมาช่วยรีวิวสินค้า โดยอาจทำแคมเปญ Challenge เข้าร่วมรีวิวสินค้าใหม่ หรือ หยิบยกคอนเทนต์ที่ลูกค้าชมสินค้ามาเป็นตัวอย่างบนเว็บไซต์

ตัวอย่างจาก GoPro ที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าส่งภาพจากกล้อง GoPro เข้าร่วมแคมเปญ Challenge เพื่อสร้าง User-Generated Content
ภาพจาก Rightmetrics

14 คำนึงถึง Page Speed

ความเร็วบนหน้าเว็บไซต์ เป็นเรื่องที่แบรนด์จะต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ เนื่องจากความเร็วของการประมวลผลบนเว็บไซต์มีผลต่อการทำ SEO และ ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน หากผู้ใช้งานมีปัญหาในการเข้าไปยังหน้าเว็บ หรือเว็บดาวน์โหลดช้า ก็อาจทำให้กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนใจไปเข้าเว็บไซต์คู่แข่งได้เช่นกัน

Websitebuilderexpert ระบุว่าความเร็วบนหน้าเว็บไซต์มีผลต่อธุรกิจดังนี้

  • 14% ของลูกค้ามักเปลี่ยนใจไปชอปปิงออนไลน์เว็บไซต์อื่นหากเว็บไซต์ที่ตนเองกำลังใช้งานล่าช้า
  • 18% ของนักชอปปิงออนไลน์จะยกเลิกการซื้อสินค้าหากหน้าเพจช้าเกินไป
  • 46% ของนักชอปออนไลน์กล่าวว่า ความเร็วในหน้าชำระสินค้าเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจซื้อ
  • 51% ของนักชอปปิงออนไลน์ในสหรัฐอเมริกากล่าวว่า ความล่าช้าของหน้าเว็บไซต์ คือเหตุผลหลักที่จะเปลี่ยนในไม่ซื้อสินค้าเหล่านั้น
Websitebuilderexpert ระบุว่าความเร็วบนหน้าเว็บไซต์มีผลต่อธุรกิจดังนี้
ภาพจาก websitebuilderexpert

 

 

ข้อมูลจาก

data.ai

asana

digitalmarketer

websitebuilderexpert

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

3 กรณีศึกษาของ SME ที่ใช้ Data มาวางกลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างประสบการณ์ รักษาฐานลูกค้า พัฒนาคอนเทนต์
6 เทรนด์ด้าน Digital Marketing สำหรับธุรกิจ SME ในปี 2023