สร้างแบรนด์ให้สตรอง ต้องรู้ทัน Instagram Algorithm ในปี 2021

สร้างแบรนด์ให้สตรอง ต้องรู้ทัน Instagram Algorithm ในปี 2021

สำหรับใครที่เล่น Instagram อยู่เป็นประจำคงพอจะทราบว่า ในแต่ละแพลตฟอร์มของแอปฯ อย่างหน้าฟีดปกติ, Stories, IGTV, Reels และแม้กระทั่งหน้า Explore ไม่ได้เรียงตามลำดับเวลาอีกต่อไป แต่ไอจี มีการใช้อัลกอริทึมใหม่ ๆ เข้ามาพัฒนาตัวแอปฯ อยู่ตลอด ซึ่งในมุมของตัวผู้ใช้งาน ข้อดีก็คือ การได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป และ อาจเจอโพสต์ที่มีความน่าสนใจแบบเฉพาะเจาะจง มากกว่าโพสต์ที่เรียงตามเวลา แต่ในแง่ของการตลาด หรือการทำธุรกิจ นักการตลาดอาจต้องเรียนรู้กลไกการทำงานของเจ้าอัลกอริทึมนี้ให้ดีขึ้น เพื่อวางกลยุทธ์ให้ถูกจุด ซึ่ง หากคุณยังไม่เริ่มศึกษากลไกการทำงานของแอปฯ หรือยังไม่ได้เริ่มทำการตลาดผ่านไอจี แบรนด์ของคุณอาจพลาดกลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่ได้

เราอาจมีคำถามเหล่านี้ว่า…

ในปี 2021 นี้ ระบบอัลกอริทึมของ Instagram ทำงานอย่างไร?

แล้วนอกจากนี้ อัลกอริทึมของ Instagram ทำงานอย่างไร หากการโพสต์บนหน้าฟีด ไม่เรียงตามลำดับเวลา ?

ในวันนี้ STEPS Academy จะพาคุณไปดู 6 ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของระบบอัลกอริทึมใน Instagram กัน เพื่อสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพในการทำตลาดออนไลน์ และ สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในปี 2021 นี้ค่ะ

1: Interest

การพัฒนาอัลกอริทึมบน Instagram นั้น ระบบจะพิจารณาพฤติกรรมที่ผ่านมาของผู้ใช้เป็นหลักว่า เราได้กดติตตามใครบ้าง โดยการทำงานนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนที่คุณติดตามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับ Account และ ประเภทของโพสต์ที่เราไปกดถูกใจด้วยเช่นกัน เพื่อประมวลผลว่าคุณมีความสนใจสิ่งไหนเป็นพิเศษ ยิ่งคุณกดถูกใจประเภทโพสต์ที่คล้าย ๆ กันบ่อยมากแค่ไหน เจ้าอัลกอริทึมจะแสดงให้คุณเห็นบนหน้าฟีดบ่อยมากขึ้นเท่านั้น

หลักการทำงานของ Interact 

  • วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้งาน เพื่อประมวลผลหาความชอบ และความสนใจ
  • ยิ่ง Account ไหนที่ผู้ใช้มี Engagement ด้วยบ่อย ๆ ระบบอัลกอริทึมจะคอยเก็บข้อมูลของคุณเอาไว้ เพื่อแสดงผลลัพธ์ในภายหลัง โดยจะเน้นการนำเสนอโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับ Account นั้น ๆ หรือคอนเทนต์ที่คุณชอบเข้าไปดู( Engagement คือ การที่ผู้ใช้งาน มีปฏิสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ กับ Account อื่น ๆ )
  • Engagement ที่มีผลต่อการทำงานของระบบอัลกอริทึม มีประกอบด้วย
  1. การกดถูกใจ
  2. การแสดงความคิดเห็นบนโพสต์ต่าง ๆ
  3. การกดแชร์
  4. การเข้าไปดู Stories
  5. กาดกด Save

ตัวอย่าง Interest ที่แสดงผลบนหน้า Exploreตัวอย่าง Interest ที่แสดงผลบนหน้า Explore เราจะเห็นเลยว่า โพสต์ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับอาหาร ซึ่งการประมวลผลนั้นมาจาก Interest ที่เราเคยได้ไปกด Like หรือสร้าง Engagement กับ Account ที่เกี่ยวข้องกับอาหารนั่นเอง

2: Relationship 

หากเราสนิทกับใคร หรือมีความสัมพันธ์กับ Account ไหนบ่อย ๆ ระบบอัลกอริทึมจะจัดลำดับความสำคัญให้หน้าฟีดของคุณเห็นโพสต์ของกลุ่มคนเหล่านั้นก่อนโพสต์อื่นเสมอ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไม เราถึงเรียกปัจจัยตัวนี้ว่า Relationship ค่ะ

ตามหลักทฤษฎีการทำงานของระบบอัลกอริทึมนั้น วิศวกรที่พัฒนาระบบซอฟต์แวร์ของ Instagram ที่มีชื่อว่า ได้เผยว่า แอปฯ จะแสดงคอนเทนต์ที่เราสนใจ ให้ผู้ใช้งานได้เห็นโพสต์บนหน้าฟีด หน้า Stories หน้าการค้นหา ช่องทาง IGTV และ Stories มาเป็นอันดับต้น ๆ โดยวิเคราะห์จาก

  • Account ที่เราชอบกดถูกใจ รวมทั้งวิดีโอรูปแบบ Live  และ Stories
  • Account ที่เราส่งข้อความหา (Direct Message)
  • Account ที่เราค้นหาบ่อย ๆ หรือ การใช้คำค้นหาที่มีความคล้าย ๆ หรือเกี่ยวข้องกัน
  • Account คนที่เรารู้จักในชีวิตจริง
ตัวอย่างฟีดบน Instagram ที่ขึ้นโพสต์เกี่ยวกับของตกแต่งบ้าน

ตัวอย่างฟีดบน Instagram ที่ขึ้นโพสต์เกี่ยวกับของตกแต่งบ้าน เป็นอันดับแรก ๆ เมื่อผู้ใช้งานเข้ามาในแอปฯ โดยที่ผู้ใช้งานคนนั้น ๆ เคยมีประวัติติดตาม Account แต่งบ้าน หรือการกดถูกใจเฟอร์นิเจอร์ ก่อนหน้านี้ ซึ่ง Instagram มีความสามารถในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และระดับความสนใจจากสิ่งที่คุณติดตาม และคนที่คุณชื่นชอบ และนำเสนอคอนเทนต์ของ Account เหล่านั้น เพื่อให้คุณรู้สึกเพลิดเพลิน และได้ใช้เวลาอยู่ในแอปฯ ให้นานขึ้นค่ะ

 

3: Timeliness

Instagram โฟกัสช่วงเวลาที่เราโพสต์คอนเทนต์ต่าง ๆ ทั้ง Account ผู้ใช้ทั่วไป และ Business Account สำหรับธุรกิจ ซึ่ง Timeliness หมายถึง ช่วงเวลา และวันที่ ที่เราโพสต์คอนเทนต์ โดยปกติผู้ใช้งานอาจจะไม่ได้เห็นคอนเทนต์ที่โพสต์ไปแล้ว    2 – 3 วันก่อนหน้านี้ เนื่องจาก Instagram ต้องการนำเสนอคอนเทนต์ที่มีความน่าสนใจมากกว่า และอัปเดตกว่า คอนเทนต์เก่า ๆ

ดังนั้นหากนักการตลาดพอจะทราบคร่าว ๆ ว่า ช่วงเวลาในการโพสต์คอนเทนต์ ที่ดีที่สุดของแบรนด์เราเป็นช่วงเวลาไหน จะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายเห็นคอนเทนต์เราได้มากขึ้นนะคะ

เป็นตัวอย่างอ้างอิงจาก Later ที่แสดงให้เห็นว่าช่วงเวลาไหนในแต่ละวันมีผู้ใช้งานมากที่สุด
ภาพจาก Later

จากภาพด้านบน เป็นตัวอย่างอ้างอิงจาก Later ที่แสดงให้เห็นว่าช่วงเวลาไหนในแต่ละวันมีผู้ใช้งานมากที่สุด โดยที่ :

  • สีขาว เป็นช่วงเวลที่มีคนเล่น Instagram น้อยที่สุด
  • สีน้ำเงิน หากยิ่งเข้ม ก็ยิ่งมีคนเล่น Instagram ในวัน และเวลานั้นเป็นจำนวนมากค่ะ
วันและเวลาที่ดีที่สุด หากเราต้องการโพสต์คอนเทนต์ให้ได้ Engagement บนอินสตาแกรม
ภาพจาก Later

นอกจากนี้ Later ยังแนะนำ วันและเวลาที่ปังที่สุด หากเราต้องการโพสต์คอนเทนต์ให้ได้ Engagement มากที่สุด ซึ่งได้แก่

  • วันจันทร์:       6am, 10am, and 10pm
  • วันอังคาร:     2am, 4am, and  9am
  • วันพุธ:           7am, 8am, and 11pm
  • วันพฤหัสบดี: 9am, 12pm, and 7pm
  • วันศุกร์:         5am, 1pm, and 3pm
  • วันเสาร์:        11am, 7pm, and 8pm
  • วันอาทิตย์:    7am, 8am, and 4pm

สำหรับผู้ประกอบการที่มี Business Account เราสามารถเข้าไปดูได้ที่เมนู Insight เพื่อดูช่วงเวลา ผู้ติดตามของเราเข้ามาใช้งาน Instagram มากที่สุด จะช่วยให้คุณทราบว่า เวลาไหนเหมาะสมที่สุดค่ะ

เมนู Insight ที่แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ใช้งานที่ติดตามคอนเทนต์ของแบรนด์ หรือเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับคอนเทนต์

นอกจากการใช้เมนู Insight เพื่อดูช่วงเวลาของ Active Users แล้ว ใน Business Account ยังมีวิธีการวัดผลด้านอื่น ๆ ทั้ง 5 ปัจจัยด้วยเช่นกัน 

 

4: Frequency 

ความถี่ในการโพสต์คอนเทนต์ มีผลต่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยเช่นกัน หากคุณคือ Instagramer ตัวยงที่ชอบเข้าไปอัปเดตโพสต์อยู่บ่อย ๆ หน้าฟีดของคุณจะมีโพสต์ที่เรียงตามลำดับเวลา

 

5: Following

หากคุณติดตาม Account ต่าง ๆ ใน Instagram ค่อนข้างมาก คุณอาจไม่ได้เห็นโพสต์จาก Account เหล่านั้น ทุกโพสต์บนหน้าฟีด ซึ่งระบบอัลกอริทึมจะเลือกนำเสนอคอนเทนต์จากบุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุด และค่อย ๆ ลดหลั่นลงมา โดยเฉพาะเมื่อแบรนด์ หรือ Account ที่ไม่ได้ใช้เวลาสม่ำเสอในแอปฯ อาจตกอยู่ในความเสี่ยงที่กลุ่มเป้าหมายจะไม่ได้เห็นสินค้า และบริการจากคุณ วิธีแก้ไขก็คือ การโพสต์ให้บ่อยขึ้น หรือการสร้าง Hashtag ให้คนเข้ามาดูสินค้าในภายหลัง

 

ตัวอย่าง แบรนด์ Ikea ที่ใช้ Hashtag ในการทำการตลาด
ภาพจาก Later

ตัวอย่างการสร้าง Hashtag ของแบรนด์ Ikea ที่จะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายสามารถค้นเจอโพสต์ได้ในภายหลัง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องช่วงเวลาในการโพสต์ โดยในรูปเราจะเห็นเลยว่า Instagram แบ่งช่องทางการค้นหา จากรูปภาพล่าสุด (Recent) และ รูปภาพที่มี Engagement มากที่สุด (Top)

นอกจากนี้ ผู้เขียนจะมี Tips ในการช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างแบรนด์ให้สตรองขึ้นในตอนท้ายของบทความค่ะ

 

6: Usage

ระบบอัลกอริทึมจะมีวิธีการประเมิณผลแตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการใช้งาน

  • หากคุณใช้เวลาบนแอปฯ เป็นประจำ และใช้เวลาอยู่กับมันนาน คุณก็จะสามารถเห็นโพสต์ใหม่ ๆ จากการแนะนำของแอปฯ โดยขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้งานของเราก่อนหน้านี้ เช่น หากเราติดตาม Account ที่เป็นสินค้าเกี่ยวกับกีฬา อย่าง Adidas หรือ Nike อยู่เสมอ อาจเป็นไปได้ว่าคุณอาจจะเจอคอนเทนต์ที่คล้ายคลึงกัน แต่มาจากแบรนด์ Puma กับ Fitbit บนหน้าฟีด และ Stories ก็เป็นได้
  • หากคุณใช้เวลาบนแอปฯ ไม่บ่อยนัก เช่น 5 นาทีต่อวัน หรือ วันเว้นวัน ระบบอัลกอริทึมก็จะแสดงหน้าฟีดที่เป็นคอนเทนต์เด่น ๆ จาก Account ที่เราชอบติดตามค่ะ

 

แพลตฟอร์มมาแรงบน Instagram ปี 2021

1. Instagram Stories

Instagram Stories

โดยปกติแล้ว Instagram Stories จะมีกลไกการทำงานคล้ายกันกับ การนำเสนอบนหน้าฟีด ซึ่งก็คือ การแสดงโพสต์จาก Account ที่คุณมี Engagement มากที่สุด สำหรับผู้ประกอบการที่ทำการตลาดบนแอปฯ นี้ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าได้จาก เมนู Insight เพื่อช่วยให้คุณวางแผนสร้าง Stories ได้ เพื่อออกแบบคอนเทนต์ให้ตรงใจมากขึ้น และถูกเวลาขึ้นด้วย

 

2. Explore Page

สำหรับใครที่ชอบดูคอนเทนต์ใหม่ ๆ หรือ เป็นนักชอปปิงออนไลน์ อาจได้ใช้หน้า Explore เพื่อหาสินค้า และแบรนด์ที่เรายังไม่ได้ติดตาม ซึ่งการทำงานของระบบอัลกอริทึมจะเลือกคอนเทนต์ที่เราน่าจะชอบมากที่สุด มานำเสนอก่อนเสมอ โดยวิเคราะห์จาก ปฏิสัมพันธ์ที่เราเคยมีกับแบรนด์ การค้นหาโดยใช้ Keyword ต่าง ๆ รวมไปถึง Hashtag ที่มีความคล้ายคลึงกับคำค้นหาของเราก่อนหน้านี้

ภาพจาก Later
ภาพจาก Later

นอกจากพฤติกรรมการใช้งาน และความชอบแล้ว ระบบอัลกอริทึมจะนำเสนอ คอนเทนต์ที่คล้าย ๆ กัน คอนเทนต์ยอดนิยมที่มีคนกดถูกใจมากที่สุด เพื่อให้คุณได้เห็นโพสต์ใหม่ ๆ และ อาจกลายเป็น Account โปรดที่คุณจะติดตามในอนาคต

3. IGTV และ  Reels

ในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นแอปฯ ไหน ๆ ต่างก็ชอบคอนเทนต์วิดีโอมากเป็นพิเศษ ซึ่ง Instagram ก็ตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้ดีด้วยการนำเสนอแพลตฟอร์ม IGTV ให้เราได้ดูวิดีโอกันแบบจุใจ หรือหากคนที่ชอบใช้เวลาสั้น ๆ ดูคอนเทนต์ไฮไลต์ แพลตฟอร์ม Reel ที่แสดงคอนเทนต์ 15 วินาทีก็ตอบโจทย์ได้ดีเช่นกัน ซึ่งหลักการทำงานของอัลกอริทึม จะมีการนำเสนอคอนเทนต์ที่ผู้ใช้งานชอบ และมี Engagement สม่ำเสมอ รวมทั้ง แบรนด์ที่มีการอัปเดตคอนเทนต์อยู่บ่อย ๆ ก็จะมีโอกาสที่กลุ่มเป้าหมายจะได้เห็น IGTV และ Reels จากแบรนด์ของเราค่ะ

ตัวอย่างแพลตฟอร์ม Reels บน Instagram
ภาพจาก Later

 

Tips ในการสร้างแบรนด์ให้สตรองบน Instagram

 

1.  ใช้สติกเกอร์บน Stories เพื่อสร้าง Engagement รวมทั้งการใช้ Emoji และการสร้าง Poll เพื่อให้คนร่วมแสดงความเห็นในคอนเทนต์ของคุณ

กลยุทธ์การใช้สติ๊กเกอร์ อิโมจิ บนสตอรี่
ภาพจาก Later

2.   สร้างแคปชัน เพื่อกระตุ้นให้ Instagrammer ร่วมกันแสดงความเห็น เช่น การตั้งคำถามที่เกี่ยวกับแบรนด์ หรือเหตุการณ์ในกระแสช่วงนั้น ๆ และการเล่นเกม

3.   ตาม Feature เทรนด์ใหม่ให้ทัน เพื่อทดลองโพสต์คอนเทนต์ และเป็นผู้นำในโลกออนไลน์ ซึ่งแบรนด์จะได้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในช่องทางใหม่ ๆ เช่น การใช้ Carousel Content เพื่อแสดงสินค้ามากกว่าหนึ่งอย่างในโพสต์เดียว

4.  กลยุทธ์การใช้ Hashtag ไม่มีตกเทรนด์บน Instagram ดังนั้น ยิ่งนักการตลาดรู้จักใช้ Keyword ที่ตรงกับการค้นหามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ว่าที่ลูกค้าเจอเราได้ง่ายขึ้นเท่านั้น

5.  สร้างโฆษณาบน Instagram Stories

วิธีการตั้งค่าเพื่อโฆษณาบน Instagram Story เริ่มต้นจากการเข้าไปที่หน้า Account เพื่อซิงก์บัญชีธุรกิจของคุณบน Facebook หลังจากนั้นเรามาเริ่มขั้นตอนแรกกันเลยค่ะ

5.1 ใช้ Ads Manager บน Facebook เพื่อสร้างโฆษณา

5.2 เลือก Objective

5.3 เลือกกลุ่มเป้าหมายของการโฆษณาและเลือกกลุ่มเป้าหมายที่คล้ายคลึงกัน เพื่อค้นหาลูกค้าใหม่ ๆ วิธีการตั้งค่าเพื่อโฆษณาบน Instagram Story

วิธีการติดตั้ง Instagram Ads
ภาพจาก adespresso

5.4 การตั้งค่า Instagram Story จะมีความคล้ายคลึงกับการคั้งค่า Facebook Ads ซึ่งต้องเลือกกลุ่มเป้าหมาย เมือง หรือ ประเทศที่ต้องการโฆษณา อายุ เพศ และภาษา เลือกกลุ่มเป้าหมาย เมือง หรือ ประเทศที่ต้องการโฆษณา อายุ เพศ และภาษา

วิธีการติดตั้ง Instagram Ads
ภาพจาก adespresso

5.5ใต้คำสั่ง Edit Placements เลือกคำสั่ง Instagram Stories. ใต้คำสั่ง Edit Placements

วิธีการติดตั้ง Instagram Ads
ภาพจาก adespresso

5.6 กดเลือกประเภทคอนเทนต์ระหว่าง “Single Image” หรือ “Single Video”

5.7 หลังจากนั้นกด Upload และ Preview เพื่อดูภาพ หรือวิดีโอที่อัปโหลดลงไป เพื่อตรวจเช็คข้อความให้เรียบร้อย ก่อนโพสต์คอนเทนต์

5.8  เลือกคำสั่ง A Call-to-Action (CTA) ซึ่งตรงนี้ ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละแบรนด์ว่าต้องการอะไรบ้าง และกด Publish ค่ะ

นอกจากนี้ คุณสามารถดูไอเดียการสร้างคอนเทนต์จากแบรนด์ต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ด้วยการ คลิกที่นี่

6.  ในกรณีที่คุณมี Business Account ควรใช้เมนู Insight เพื่อวิเคราะห์แผนการตลาดว่า ยอดเติบโตของแบรนด์เป็นอย่างไร โพสต์ประเภทไหนได้รับความสนใจมากที่สุด รวมไปถึงช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการโพสต์คอนเทนต์ เป็นต้น

สรุป

การทำการตลาดบน Instagram ในปี 2021 ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หากผู้ประกอบการ และนักการตลาดสามารถจับทิศทางการทำงานของระบบอัลกอริทึมได้ ซึ่งมีผลดีต่อธุรกิจของคุณเองเป็นอย่างมาก ในการสร้างแบรนด์ให้เกิด Brand Awareness และ Engagement ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างยอดขายอย่างมีกลยุทธ์ค่ะ

 

ที่มา

https://later.com

 

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

10 เทรนด์มาแรงในการทำการตลาดผ่าน Instagram 2021
เทรนด์การทำ Data Visualization เพื่อธุรกิจในปี 2021