7 ขั้นตอน แนวทางการปรับเปลี่ยนองค์กรของท่านด้วยการใช้ Digital Transformation

เนื่องจากเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับการทำธุรกิจ E-Commerce ในทุกแวดวงอุตสหากรรม ซึ่งแน่นอนว่าทั้งองค์กรและตัว “บุคคล” ต่างได้รับผลกระทบจาก Digital Disruption หรือโมเดลธุรกิจในรูปแบบใหม่ ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเข้ามาบริหารธุรกิจในด้านต่าง ๆหากองค์กรต้องการสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจเพื่อนำเสนอสินค้าและบริการแล้ว การพัฒนา “ทรัพยากรมนุษย์” ด้วยการนำ AI และ HR Technology มาปรับใช้ให้เหมาะสม คือการลงทุนที่คุ้มค่าขององค์กร เช่นเดียวกัน

ในยุคดิจิทัลที่มีความท้าทาย และเต็มไปการด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนไปจากเดิม องค์กรมีความจำเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้ธุรกิจเท่าทันคู่แข่ง หรือเหนือกว่า และองค์กรจะต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างทักษะและทัศนคติให้แก่พนักงานของท่านเพื่อให้เติบโตไปพร้อมกับองค์กร และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราเรียกว่า Digital Transformation

หากใครที่คิดว่า Digital Transformation ฟังดูแล้วยังคงเป็นเรื่องใหม่ หรือไกลตัวสำหรับ HR เราไปดูตัวอย่างที่องค์กรส่วนใหญ่ เริ่มปรับใช้ HR Technology เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดขึ้นกันค่ะ

  • ฝ่ายบุคคลมีการโปรโมตบริษัทและกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านเว็บไซต์ และช่องทางออนไลน์ให้เป็นที่รู้จัก เพื่อภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร นอกจากการตั้งบูธจัดหางานในรูปแบบเดิม ๆ
  • การใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการรับสมัครงานและการสัมภาษณ์
  • การใช้โปรแกรม KPI เพื่อประเมิณคุณภาพการทำงานของพนักงาน
  • การสร้างความสุขและความยืดหยุ่นให้กับพนักงานด้วยการทำงานนอกออฟฟิศ ที่ไนหและเวลาใดก็ได้ แต่ยังคงสามารถสื่อสารกันได้ภายในทีม ด้วยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และโปรแกรมแชท

จากตัวอย่าง ท่านจะเห็นได้ว่า ความจริงแล้วองค์กรของท่านอาจมีการปรับใช้เทคโนโลยีบางอย่างไปบ้างแล้ว ไม่มากก็น้อย ซึ่งการทรานส์ฟอร์มองค์กรจะสามารถเพิ่มโอกาสให้แบรนด์อยู่ในแวดวงธุรกิจชั้นนำ และลดความยุ่งยากในการทำงานลงได้อีกด้วย ดังนั้นในวันนี้ผู้เขียนจะช่วยให้ทุกท่านได้เข้าใจถึงสำคัญของ  Digital Transformation ความสามารถ วิธีการนำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร รวมไปถึงกรณีศึกษาจากแบรนด์ชั้นนำ ที่ได้ปรับใช้ นวัตกรรรมและเทคโนโลยี AI ในการเสริมสร้างทักษะและเพิ่มความสุขให้กับพนักงานกันค่ะ

 

HR Digital Transformation คืออะไร

HR Digital Transformation คือการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับเปลี่ยนองค์กรด้านทรัพยากรมนุษย์ โดยการใช้ข้อมูลเชิงลึกในการวิเคราะห์แผนงาน เพื่อคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น และสามารถใช้โปรแกรมเพื่อประเมินผลได้อย่างถูกต้อง

HR Digital Transformation คือการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับเปลี่ยนองค์กรด้านทรัพยากรมนุษย์ โดยการใช้ข้อมูลเชิงลึกในการวิเคราะห์แผนงาน เพื่อคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น และสามารถใช้โปรแกรมเพื่อประเมินผลได้อย่างถูกต้อง ตรวจสอบได้และโปร่งใส นอกจากนี้ องค์กรสามารถพัฒนาการบริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการใช้เทคโนโลยีร่วมสมัย เพื่อมอบประสบการณ์ด้านดิจิทัลให้แก่พนักงาน และเสริมสร้างทักษะที่เป็นมีประโยชน์ต่อตัวบุคคลและองค์กรได้ในอนาคต

ยิ่งไปกว่านั้น Digital Transformation ยังสามารถปรับเปลี่ยนทิศทางของวัฒนธรรมในองค์กรให้เข้ากันกับยุคสมัยปัจจุบันมากขึ้น ด้วยการใช้เครื่องมืออุปกรณ์สื่อสาร หรือโปรแกรมการทำงาน ที่ทำให้พนักงานสามารถทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น ประหยัดเวลา และสามารถใช้ศักยภาพที่ตนเองมี เพื่อวางแผนงานที่ให้มีศักยภาพมากขึ้น

 

ข้อดีของ Digital HR Transformation มีอะไรบ้าง

  • การใช้โปรแกรมเพื่อวิเคราะห์ผลด้านทรัพยากรมนุษย์ จะทำให้พนักงานไม่เสียเวลาไปกับงานเอกสารบางอย่างที่นานจนเกินไป รวมไปถึงการวิเคราะห์ผลบางอย่างที่ต้องใช้เวลา
  • พนักงานสามารถทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วยการใช้โปรแกรมที่บริษัทติดตั้งเอาไว้ให้ และการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อติดต่อสื่อสาร
  • การจัดเก็บข้อมูลเป็นระเบียบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ผลได้ไวขึ้น
  • การสื่อสารภายในองค์กรที่สะดวกและรวดเร็ว ด้วยการใช้โซเชียลมีเดีย หรือระบบแชทภายในองค์กร
  • ความโปร่งใสในการตรวจสอบข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
  • สามารถลดทรัพยากรมนุษย์ด้วยการใช้โปรแกรมที่มีคุณภาพ แทนการใช้แรงงานจากพนักงาน
  • สามารถลดต้นทุนในด้านต่าง ๆ เช่น งบประมาณของพนักงานและเอกสาร
  • พนักงานใช้เวลาไปกับการวางแผนงานได้ดีขึ้น
  • การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการ HR ในด้านต่าง ๆ เช่น การสรรหาบุคลากรใหม่ ๆ

 

การเปรียบเทียบระหว่าง การบริหารงานด้านทรัพยากรมนุษย์แบบธรรมดา และการปรับเปลี่ยนระบบให้เป็นแบบดิจิทัล
ภาพจาก http://harver.com

 

จากภาพด้านบน เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง การบริหารงานด้านทรัพยากรมนุษย์แบบธรรมดา และการปรับเปลี่ยนระบบให้เป็นแบบดิจิทัล เพื่อให้เห็นข้อได้เปรียบเมื่อองค์กรหันมาบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบดิจิทัล

 

HR Digital Transformation สามารถนำไปปรับใช้กับองค์กรอย่างไรบ้าง

Digital Transformation ที่สามาถนำมาปรับใช้กับองค์กรและทรัพยากรบุคคลโดยภาพรวมแล้ว ทั้งหมด 4 ดานได้แก่

1: การใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน

การนำระบบ AI หรือการใช้โซเชียลมีเดียมาใช้เพื่อเป็นตัวกลางในการสื่อสาร เพื่อลดความซับซ้อนของการทำงาน จะช่วยให้พนักงานสามารถทำงานได้สะดวกขึ้น และประหยัดเวลา ซึ่งองค์กรสามารถเริ่มต้นการใช้เทคโนโลยีจากขั้นตอนนี้ก่อน

ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้ Digital Transformation

แบรนด์ Unilever กับการปรับใช้ Digital Transformation ให้เกิดประโยชน์กับองค์กร

แบรนด์ Unilever ในประเทศอังกฤษ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ใช้วิธีการรับสมัครงานและการสัมภาษณ์ด้วยการเปิดรับเรซูเมออนไลน์ การใช้เกมออนไลน์เพื่อทดสอบทักษะในสายอาชีพที่เปิดรับสมัครอยู่ และใช้โปรแกรม KPI เพื่อประเมิณผลงานประจำปี

 

2: สร้างนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ในการบริหารฝ่ายบุคคล

หากองค์กรได้เริ่มต้นนำเทคโนโลยีขั้นต้นมาใช้แล้ว สิ่งต่อมาคือการใช้นวัตกรรมที่เหมาะสมกับองค์กรเข้ามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น

  • การใช้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารระหว่าง พนักงานภายในออฟฟิศและพนักงานที่จะต้องทำงานนนอกสถานที่
  • การใช้เครื่องมือที่เป็นแพลตฟอร์มเดียวกันในการสื่อสารภายในทีมและดำเนินงานร่วมกัน
  • การใช้วิดีโอคอลเพื่อประชุมและสัมภาษณ์งาน

 

3: การเข้าถึงข้อมูลเพื่อการใช้งานและการตัดสินใจที่สำคัญ

ในขั้นตอนนี้องค์กรสามารถรวบรวมข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานภายในและภายนอกองค์กรด้วยการ ด้วยการหาผู้เชี่ยวชาญมาปฏิบัติงาน และการนำข้อมูลเชิงสถิติมาช่วยในการประเมิณประสิทธิภาพแทนการใช้ความรู้สึก ซึ่งการนำข้อมูลที่มีในมือมาใช้จะช่วยให้การบริหารฝ่ายบุคคลสามารถเข้าใจปัญหาได้ตรงจุด และเห็นผลได้ง่ายขึ้น ทำให้การพัฒนาฝ่ายทรัพยากรมนุษย์อาจได้มุมมองในด้านใหม่ ๆ เช่น

  • พนักงานที่มีประสิทธิภาพในการทำงานและเหมาะสมกับองค์กร
  • การติดตามคุณค่าตามอายุงานของพนักงาน

 

4: การใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่พนักงานและองค์กร

การเชื่อมโยงระบบการทำงานด้วยระบบปฏิบัติงานที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง (Digitalization Process) HR จะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพได้ตั้งแต่ระดับบุคคล

ตัวอย่าง

  • หาก HR พบว่าพนักงานมาสาย ตัวพนักงานจะได้รับข้อความอัตโนมัตเพื่อแจ้งเตือนผ่านแอป
  • การเรียกดูข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครสอบย้อนหลังเพื่อประเมิณผลว่า ผู้สมัครท่านนี้มีคุณสมบัติพอสำหรับการรับเข้าทำงานหรือไม่

 

นอกจากนี้  STEPS Acaemy จะพาคุณไปดู 7 ขั้นตอน แนวทางในการใช้ Digital Transformation เพื่อยกระดับความสามารถของบุคคลากรและองค์กรให้มีคุณภาพ และ Case Study จากองค์กรต่าง ๆ ที่ได้นำเทคโนโลยีไปปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจ รวมทั้งตัวอย่างวิธีการนำแนวทางไปใช้เพื่อให้องค์กรและบุคลากรเติบโตไปพร้อม ๆ กันค่ะ

7 ขั้นตอน แนวทางการปรับเปลี่ยนองค์กรของท่านด้วยการใช้ Digital Transformation

1. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน

อันดับแรก องค์กรควรตั้งเป้าหมายในการทำงานภายในก่อน เพื่อพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และเพื่อทำให้บุคลากรมีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันว่า การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร พร้อมเหตุผลที่ทำไมบุคลากรในองค์กรจึงต้องพัฒนาทักษะของตนเอง เพื่อให้สอดคล้องกันกับ Digital Transformation ที่จะมาถึง หากทุกคนมีความเข้าใจและมีเป้าหมายเดียวกัน จะทำให้องค์กรมีโอกาสขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ดีขึ้น เพราะทุกคนมีความเข้าใจในวัตุประสงค์ขององค์กร และตื่นตัวในการรับมือ

 

64% ของผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ กล่าวว่าหนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของการทำธุรกิจ คือการปรับปรุงการปฏิบัติงานที่ดี
64% ของผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ กล่าวว่าหนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของการทำธุรกิจ คือการปรับปรุงการปฏิบัติงานที่ดี

                                                                                                                                                 ภาพจาก http://harver.com

2. พัฒนากลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนงานโดยใช้กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสม คือกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงองค์กร ซึ่งทุกคนในทีมจะต้องมีการสื่อสารภายในองค์กร เพื่อสร้าง Mindset และความเข้าใจให้ตรงกันว่า กลยุทธ์ที่จะนำมาปรับใช้สำหรับองค์กรนั้น จะเป็นในรูปแบบใด และใช้เทคโนโลยีอะไรเพื่อให้เข้ากันกับแผนธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่ การวางแผนกลยุทธ์นี้จะต้องดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และมีการวางแผนทั้งแบบระยะสั้น และระยะยาว เพื่อให้ตอบโจทย์กันกับเป้าหมายขององค์กรที่สร้างไว้ และผลักดันพนักงานให้เกิดแรงจูงใหม่ ๆ

ตัวอย่างเช่น

  • การวางแผนระยะยาวที่เปลี่ยนแปลงระบบการสัมภาษณ์งาน ในขั้นแรกให้เป็นแบบวิดีโอคอล
การใช้เครื่องมือเข้าช่วยในการจัดการข้อมูลในการจัดการภายในองค์กร

ตัวอย่างโปรแกรม Workable ที่สามารถนำมาใช้เพื่อกระบวนการสัมภาษณ์งานตั้งแต่ขั้นตอนรับสมัคร จนถึงขั้นตอนการรับพนักงานเข้าทำงาน

  • การเริ่มใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ที่สามารถแชร์แผนงานกันได้ภายในทีม

ตัวอย่างโปรแกรมการทำ Payroll เพื่อคำนวณเงินเดือน ซึ่งมีทั้งรูปแบบหน้าจอคอมพิวเตอร์และรองรับการทำงานด้วย Mobile Friendly

ตัวอย่างโปรแกรมการทำ Payroll เพื่อคำนวณเงินเดือน ซึ่งมีทั้งรูปแบบหน้าจอคอมพิวเตอร์และรองรับการทำงานด้วย Mobile Friendly

ภาพจาก: https://www.bamboohr.com

  • การให้ความสำคัญกับพนักงานด้วยการปรับตัวจากการทำงานประจำ เป็นการทำงานแบบยืดหยุ่น ด้วยการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลเคลื่อนที่ในการทำงานและการสื่อสาร

ตัวอย่าง

Deloitte Leadership Academy (DLA) ในรูปแบบของ Gamification หรือการใช้รูปแบบของเกมไปปรับใช้ในการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้

แบรนด์ Deloitte จัดโปรแกรมการฝึกอบรมที่เรียกว่า  Deloitte Leadership Academy (DLA) ในรูปแบบของ Gamification หรือการใช้รูปแบบของเกมไปปรับใช้ในการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้จากการอบรมผ่านวิดีโอ การทำข้อสอบและการควิซสั้น ๆ เพื่อทดสอบความเข้าใจ

 

3. ใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการทำงาน

HR ในยุคดิจิทัลจำเป็นต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยี เพื่อพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ซึ่งผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ หรือฝ่ายบุคคลควรทราบว่า เทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับการขับเคลื่อนแผนงานควรมีอะไรบ้าง ซึ่งในแต่ละองค์กร ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมืออัปเดตใหม่ล่าสุด หรือสามารถใช้เครื่องมือให้ได้มากที่สุด แต่การปรับเปลี่ยนองค์กรในครั้งนี้ เราควรหาเครื่องมือที่เหมาะสมกับเนื้องาน และความต้องการของธุรกิจ เพื่อลงทุนไปกับเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการพัฒนาแผนงานจริง ๆ และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ต้องการได้ตรงจุด

ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช่นัวตกรรมเพื่อสนับสนุนการทำงาน: Walmart

Walmart เพิ่มเครื่องสแกนเพื่อให้ลูกค้าชำระเงินด้วยตนเอง ซึ่งองค์กรได้ลดจำนวนพนักงานแคชเชียร์ลง และเพิ่มการเทรนด์พนักงานให้มีทักษะเพื่อช่วยเหลือลูกค้าได้มากขึ้น ด้วยการใช้โปรแกรมที่ได้มตรฐานให้การจัดอบรม โดยตำแหน่งนี้เรียกว่า Personal Shopper

56% ของบริษัททั่วไปโดยเฉลี่ย มีการปรับเปลี่ยนโปรแกรมการทำงานด้านทรัพยากรบุคคล เพื่อใช้ประโยชน์จากสมาร์ทโฟนและเครื่องมือดิจิทัล

56% ของบริษัททั่วไปโดยเฉลี่ย มีการปรับเปลี่ยนโปรแกรมการทำงานด้านทรัพยากรบุคคล เพื่อใช้ประโยชน์จากสมาร์ทโฟนและเครื่องมือดิจิทัล
ภาพจาก http://harver.com

 

4. แพลตฟอร์ม Digital คือพื้นที่เพื่อการสื่อสาร

ในปัจจุบัน นักการตลาดใช้เครื่องมือดิจิทัล และโซเชียลมีเดียเพื่อสื่อสารไปยังผู้บริโภค เพื่อการซื้อขายสินค้าและบริการในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งในแง่มุมขององค์กร HR สามารถใช้พื้นที่ออนไลน์เพื่อรับสมัครพนักงาน และสื่อสารไปยังผู้ที่กำลังมองหางานได้

แพลตฟอร์มออนไลน์ยอดนิยม ที่แบรนด์ดังทั่วโลกนิยมใช้ คือ Linkedin ซึ่งท่านสามารถใช้โซเชียลมีเดียช่องทางนี้ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่แบรนด์ด้วยนำเสนอข้อมูลในภาคธุรกิจต่าง ๆ การนำเสนอวัฒนธรรมองค์กร และการเปิดรับสมัครงานในตำแหน่งใหม่ ๆ และแบรนด์ยังสามารถใช้พื้นที่บนโซเชียลมีเดียนี้ เพื่อนำเสนอองค์กรเพื่อเปรียบเทียบกับแบรนด์คู่แข่งได้เช่นเดียวกัน

สถิติจาก hrcsuite.com ได้รายงานการใช้ Linkedin จากแบรนด์ต่าง ๆ เอาไว้ว่า…

  • 40% ของพนักงานที่มาจากการสมัครงานผ่าน Linkedin มีแนวโน้มลาออกภายใน 6 เดือน น้อยกว่าพนักงานที่สัมภาษณ์งานผ่านช่องทางอื่น
  • Linkedin มีอิทธิพลต่อการจ้างงาน มากกว่าการสรรหาบุคลากรโดยช่องทางอื่นถึง 2 เท่า
  • 60% ของ Recruiter ชั้นนำใช้เครื่องมือในการสรรหาบุคคลผ่าน linkedin มากขึ้น เมื่อเทียบกับ Recruiter ทั่วไป

เราจะเห็นว่า HR สามารถใช้แพลตฟอร์มออนไลน์จาก Linkedin ให้เกิดประโยชน์แก่ฝ่ายบุคลากรและองค์กร ได้มากกว่าการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งผู้สมัครยังสามารถใช้ Linkedin ในการติดต่อผู้บริหารหรือฝ่ายบุคคลได้โดยอีกด้วย

นอกจากนี้หากองค์กรต้องการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการสื่อสารภายในทีม ให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่วางไว้อย่างเป็นระบบ และมีคุณภาพ ท่านสามารถใช้ Trello เพื่อให้องค์กรได้เห็นภาพรวมของแต่ละโปรเจกต์ และสามารถกดเชิญทีมงานเข้าร่วมแต่ละโปรเจกต์เพื่อรับผิดชอบงาน เพื่อให้พนักงานได้เห็นภาพรวมของเนื้องาน ระยะเวลาปฏิบัติงานและหัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ใช้ Trello เพื่อให้องค์กรได้เห็นภาพรวมของแต่ละโปรเจกต์และสามารถกดเชิญทีมงานเข้าร่วมแต่ละโปรเจกต์เพื่อรับผิดชอบงาน เพื่อให้พนักงานได้เห็นภาพรวมของเนื้องาน ระยะเวลาปฏิบัติงานและหัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ภาพจาก https://blog.trello.com

 

5. คาดการณ์อนาคต ด้วยการใช้ HR Data Analytics

หนึ่งในประโยชน์ของการใช้ Digital Transformation คือการนำ Data ที่มีอยู่ในมือมาวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยการนำข้อมูลเชิงลึกของพนักงานที่เคยเก็บเอาไว้ ทั้งในรูปแบบเอกสารและไฟล์มาลองกรอกลงในโปรแกรมสำหรับ HR โดยเฉพาะเพื่อประเมินสถานการณ์ล่วงหน้า และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น

  • สามารถวางกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ให้เหมาะสมกับองค์กรของท่าน
  • การประเมินสถานการณ์การลาออกของพนักงาน
  • การเทรนด์งานเพื่อยกระดับศักยภาพในการทำงานของบุคลากร
  • การวางแผนจำนวนคน ให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กร
  • แนวทางในการดูแลสวัสดิภาพให้แก่บุคลากร
  • การสร้างสมดุลระหว่างงานและความสุขของพนักงานในองค์กร

 

6. โปร่งใสและได้มาตรฐานด้วยการใช้ระบบ KPI เพื่อประเมินผล

67% ของหัวหน้าฝ่ายบุคคลเชื่อว่า หากองค์กรไม่ปรับเปลี่ยนการบริหารให้เป็นแบบดิจิทัลในปี 2020 ธุรกิจจะไม่สามารถไปต่อได้

67% ของหัวหน้าฝ่ายบุคคลเชื่อว่า หากองค์กรไม่ปรับเปลี่ยนการบริหารให้เป็นแบบดิจิทัลในปี 2020 ธุรกิจจะไม่สามารถไปต่อได้
ภาพจาก http://harver.com

การประเมินความสามารถของบุคลากรด้วยเครื่องมือดิจิทัล สามารถใช้ตัวชี้วัดได้อย่างยุติธรรมและตรวจสอบได้ โดยเครื่องมือวัดผล หรือระบบ KPI จะช่วยให้องค์กรของท่านรักษามาตรฐานที่เท่าเทียมกัน และมีความแม่นยำกว่าการใช้อารมณ์ความรู้สึก ซึ่งเป็นเรื่องยากในการวัดผล

KPI นั้นมาจากคำว่า  Key Performance Indicators  เป็นเครื่องมือที่ฝ่ายบุคคลใช้เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน และวัดความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ขององค์กร โดยการตั้ง KPI ในแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับธุรกิจที่ทำและวัตถุประสงค์ เช่น องค์กรที่ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ต จะมีการวัด KPI  จากจำนวนสายที่รับ และความพึงพอใจของลูกค้าหลังจากที่ได้ใช้บริการ และองค์กรที่เน้นการขายสินค้า จะมีการวัด KPI จากยอดขาย และกำไรในแต่ละไตรมาส เป็นต้น

ดังนั้น การที่ฝ่ายบุคคลสามารถนำเสนอข้อมูลที่แม่นยำและเป็นกลาง ด้วยการใช้ KPI คือวิธีการรักษามาตรฐานในการพัฒนาบุคคลภายในองค์กรให้ดีขึ้น พร้อมทั้งการให้คำแนะนำปรึกษาเรื่องาน ก็สามารถช่วยให้บุคลากรในทีมมีกำลังใจ และความตั้งใจในการทำงานให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้นค่ะ

 

7. เรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร

เมื่อองค์กรของท่านเริ่มมี Digital Transformation เข้ามาปรับใช้ในการพัฒนาธุรกิจ นอกจากการใช้เทคโนโลยี เข้ามาช่วยให้แผนงานดำเนินไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้น ลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และผลักดันศักยภาพพนักงานให้ก้าวหน้าให้เตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัล วัฒนธรรมภายในองค์กรย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน

สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารและบุคลากรในองค์กร ควรมีวิยสัยทัศน์ และ Mindset ที่ชัดเจน และไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

ตัวอย่าง

แบรนด์บริษัทตรวจสอบบัญชีชื่อดัง KPMG Belgium ใช้ระบบซอฟต์แวร์ เพื่อส่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อพนักงานงานใหม่ไปให้ทันที หลังจากที่มีการเซ็นต์สัญญา เพื่อใช้ช่วงเวลาที่พนักงานใหม่กำลังรอวันเริ่มต้นงานให้เป็นประโยชน์ ซึ่งข้อมูลที่พนักงานใหม่จะได้รับนั้น มีรายละเอียดผู้ร่วมทีมในอนาคต เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่นในอนาคตอีกด้วย

โดยหลังจากที่องค์กรมีการใช้ Onboarding App ไปแล้วสองปีพบว่าประสบการณ์การจ้างพนักงานดีขึ้น เป็น 4.45 คะแนนจากคะแนนเต็ม 5

80 % ขององค์กรที่ส่งเสริมวัฒนธรรมดิจิทัลรายงานว่าการดำเนินงานที่ก้าวหน้าขององค์กรมาจาก Digital Transformation

80 % ขององค์กรที่ส่งเสริมวัฒนธรรมดิจิทัลรายงานว่าการดำเนินงานที่ก้าวหน้าขององค์กรมาจาก Digital Transformation
ภาพจาก http://harver.com

 

ข้อมูล 

hrcsuite.com

harver.com

ryt9.com

digitalhrtech.com

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

ห้ามพลาด! เทคนิคการสร้างคอนเทนต์ออนไลน์ด้วยการใช้ Data Point ให้เกิดประโยชน์
Insight: ต้องทำ Branded Content อย่างไรให้ Traffic เพิ่มแบบปัง ๆ (ข้อมูลจาก Facebook)