ทำความเข้าใจ 5 Stages ของ Digital Marketing Plan เพื่อการวางแผนธุรกิจของคุณ

5 Stages ของ Digital Marketing Plan

ทุกวันนี้ในโลกของ Digital Marketing มีเคสตัวอย่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และมีความน่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

 

Airtasker แพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงระหว่างแม่บ้านและผู้จ้างภาพจาก uplers.com

Airtasker แพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงระหว่างแม่บ้าน และผู้จ้างให้มาเจอกัน โดยมีผู้ใช้งานมากกว่า 6 แสนคน และสามารถสร้างมูลค่าไปมากกว่า 40 ล้านเหรียญค่ะ ซึ่งสิ่งที่ตัวแพลตฟอร์ม Airtasker มีความน่าสนใจเป็นเพราะมีการ Optimze website อยู่ตลอดเวลา ควบคู่ไปกับการผลิตคอนเทนต์ จึงทำให้ Airtasker มี Organic traffic หรือ ผู้ใช้งานที่เข้าสู่เว็บไซต์แบบไม่ผ่านโฆษณาเพิ่มขึ้นกว่า 7,000 เปอร์เซ็นต์

 

เครือข่ายมะเร็งเต้านมในออสเตรเลีย (BCNA)

ภาพจาก uplers.com

เครือข่ายมะเร็งเต้านมในออสเตรเลีย (BCNA) องค์กรระดับชาติ เนื่องจากชาวออสเตรเลียที่ได้รับผลกระทบจากมะเร็งเต้านมมีระดับสูง เป้าหมายขององค์กรจึงต้องการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม และเงินบริจาค จากการวางแผน Digital Marketing ด้วยการทำ SEO (Search Engine Marketing) ควบคู่ไปกับเคมเปญโฆษณา ส่งผลให้ประชากรกว่า 7 แสนคนในออสเตรเลียได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมภายในเวลาเพียง 240 วัน

 

5 Stages ของ Digital Marketing 

ในปัจจุบันเรียกได้ว่าเกือบทุกแบรนด์ที่เรารู้จักกันได้หันมาทำการตลาดในรูปแบบ Ommichannel หรือ เข้ามาในฝั่งของ Digital Marketing กันมากยิ่งขึ้น ซึ่งย่อมนำมาสู่ความท้าทายในการแข่งขันที่นักการตลาดต้องรับมือมากยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ ดังนั้นเรามาดูขั้นตอนในการวางแผนการทำ Digital Marketing ให้มีประสิทธิภาพกันค่ะ

1. Plan : ตั้งเป้าหมายที่ต้องการสำหรับธุรกิจ

 

Plan : ตั้งเป้าหมายที่ต้องการสำหรับธุรกิจ

ภาพจาก omarimc.com

ขั้นตอนแรกเริ่มสำหรับการวางแผน Digital Marketing คือ การกำหนดเป้าหมายที่แบรนด์ต้องการเพื่อนำไปสู่การวางกลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสมไปกับเป้าหมาย โดยข้อสำคัญในการกำหนดเป้าหมายจะต้องประกอบไปด้วย

  • การทำความเข้าใจแบรนด์ หรือ Brand Statement เพื่อนำไปสู่การสื่อสารของแบรนด์ และการกำหนด Value proposition หรือคุณค่าของแบรนด์ ซึ่งสามารถระบุได้ว่าสินค้า และบริการสามารถแก้ปัญหาของลูกค้าได้อย่างไร มีประโยชน์อย่างไร และทำไมลูกค้าควรซื้อจากบริษัทนี้และไม่ใช่บริษัทอื่น เพื่อนำ Brand Statement นี้เป็นหลักในการนำเสนอแบรนด์ต่อไป
  • การกำหนด KPI (Key Performance Indicator) บนช่องทางต่างๆ ที่ชัดเจนด้วยเป้าหมายที่เป็นไปได้จริง (SMART Goal) โดยการคำนึง
    • ความเฉพาะเจาะจงของ Goal ให้ไม่กว้างจนเกินไป (Specific)
    • สามารถวัดผลได้ (Measurable)
    • เป็นเป้าหมายที่เอื้อมถึงได้สอดคล้องไปกับ Resource ที่มีอยู่ (Achievable และ Relevant)
    • มีการกำหนดเวลาชัดเจนว่าต้องการบรรลุเป้าหมายภายในเวลาเท่าไหร่ (Timed)

 

2. Reach : สร้างให้แบรนด์กลายเป็นที่รู้จัก (Brand Awareness)

หลังจากที่มีการกำหนดเป้าหมายที่ต้องการอย่างชัดเจนแล้ว จึงนำมาสู่ขั้นตอนถัดมาคือ การทำให้แบรนด์กลายมาเป็นที่รู้จัก ซึ่งจะนำมาสู่ความน่าเชื่อถือของแบรนด์และยอดขายที่ตามมาได้ค่ะ ซึ่งแนวทางในการสร้าง Brand awareness มีตัวอย่างดังต่อไปนี้

สร้างให้แบรนด์กลายเป็นที่รู้จัก

 

  • ทำคอนเทนต์ให้ความรู้อาจจะอยู่ในรูปแบบของบทความ, Infographic หรือ VDO ที่สามารถให้ความรู้แก่ผู้ติตตาม และเกิดการแชร์คอนเทนต์ต่อ
  • Give away หรือสร้างเคมเปญให้สินค้าทดลองใช้ได้ฟรี
  • ทำ SEO (Search Engine Optimization) ให้แบรนด์ติดอันดับแรกๆ ของการค้นหาเพิ่มโอกาสให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น

 

3. Act: สร้างความสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจกับแบรนด์

หลังจากที่กลุ่มเป้าหมายได้เริ่มรู้จักแบรนด์ของเราแล้ว ขั้นตอนต่อมาจึงเป็นการกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายกระทำบางสิ่งตามเป้าหมายที่แบรนด์ตั้งเอาไว้ โดยเป็นการทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการ Interact หรือว่ามีปฎิสัมพันธ์ต่อแบรด์นั่นเองค่ะ โดยอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้

  • การติดตามช่องทางต่างๆ ของแบรนด์
  • การกด Download E-book จากแบรนด์
  • การเข้ามาอยู่ในฐาน Database บน E-mail Marketing

 

4. Convert : เปลี่ยนความสนใจไปสู่ Conversion ที่นำไปสู่ยอดขาย

Conversion ที่นำไปสู่ยอดขาย

ภาพจาก digitalmarketer

ขั้นตอนต่อมาถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่หลายธุรกิจให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือการเปลี่ยนแปลงให้ความสนใจในแบรนด์จาก State ที่แล้วเปลี่ยนมาเป็น Conversion หรือ นำไปสู่การขายนั่นเองค่ะ  

ในขั้นตอนนี้จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงผู้ติดตามที่อาจจะกด Follow แบรนด์ของเราอยู่แล้วให้กลายมาเป็นลูกค้าที่ตัดสินใจซื้อสินค้าจากแบรนด์ของเรานั่นเองค่ะ โดยมีแนวทางในการทำหลากหลายรูปแบบเช่น

  • ออกโปรโมชั่นสำหรับสินค้าที่มีความคุ้มค่าและน่าสนใจ
  • ลงคอนเทนต์โปรโมทสินค้าบนช่องทาง Social Media ต่างๆ
  • ทำ UGC (User generated content) จากลูกค้าเก่าของแบรนด์

 

5. Engage : สร้างความสัมพันธ์ที่มีต่อแบรนด์ในระยะยาว

 

สร้างความสัมพันธ์ที่มีต่อแบรนด์ในระยะยาว

 

Engage เป็นส่วนของการสร้างการมีส่วนร่วมต่อแบรนด์เพื่อให้เกิดการพัฒนาความสัมพันธ์ในระยะยาว ที่เราเรียกว่า Loyalty Customer หรือกลุ่มลูกค้าที่กลายเป็นแฟนตัวยงเพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำในอนาคต โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

  • การทำ Retargeting 
  • สร้าง Community หรือ จัดกิจกรรมสำหรับลูกค้าประจำ
  • มอบสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าสมาชิก

สรุป

 

ที่มา

smartinsights.com

uplers.com

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

10 ข้อผิดพลาดในการยิงแอดบน Instagram และวิธีการแก้ไขเพื่อเพิ่มยอด Conversion
8 ประเภทแคมเปญสำหรับทำโฆษณาผ่าน Google Ads ที่ทำให้ Conversion & ยอดขายเพิ่มขึ้น