อัปเดต เทรนด์คอนเทนต์ เน้นการสร้างยอดขาย สำหรับ Q2 ปี 2021

อัปเดต เทรนด์คอนเทนต์ เน้นการสร้างยอดขาย สำหรับ Q2 ปี 2021

เทรนด์การทำคอนเทนต์การตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ และ พฤติกรรมการบริโภคของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ทางสังคม ซึ่งเราจะเห็นว่ากระบวนการทำคอนเทนต์บางอย่างอาจจะเหมือนเดิมไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีบางส่วนที่มีการเปลี่ยนทิศทางไปได้เรื่อย ๆ ตามความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย ประกอบกับ ฟีเจอร์ และ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เพิ่มเติมเข้ามา ดังนั้นการสื่อสารด้วย Content Marketing จึงเป็นหัวใจสำคัญในการทำการตลาด ที่นักการตลาด และ ทีมผลิตคอนเทนต์ ต้องคอยติดตามกระแสความเคลื่อนไหว เพื่อจะได้นำไปปรับใช้กับธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลา และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงแบรนด์เราได้ง่ายที่สุด และเกิด Conversion ตามมา

ดังนั้น ในวันนี้ STEPS Academy ได้รวบรวมข้อมูลมาอัปเดต การทำคอนเทนต์ เน้นการสร้างยอดขาย สำหรับ Q2 ปี 2021 ด้วยกันทั้งหมด 8 ข้อ มาแนะนำให้สำหรับใครที่กำลังมองหาแนวทางการทำ Content Marketing แบบไม่ให้ตกเทรนด์และนำไปต่อยอดในการพัฒนา สร้างสรรค์คอนเทนต์ใหม่ ๆ กันค่ะ

 

1. การสร้าง Community

 

การสร้างสังคมบนสื่อออนไลน์เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้าไปพร้อม ๆ กับการสร้างความไว้วางใจ และ ทำให้เกิด Customer Loyalty และการเข้าถึงของผู้คนในวงกว้างอีกทั้ง การสร้าง Community เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่เป็นบล็อกเกอร์ หรือ คนที่มีชื่อเสียงได้มารวมตัวกัน เพื่อสร้างคอนเทนต์ที่ดี และตอบโจทย์กับผู้อ่าน โดย Community แหล่งข้อมูลที่จะทำมาต่อยอดให้การทำคอนเทนต์ได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดโอกาสในการสร้างเครือข่าย การสัมมนาผ่านเว็บไซต์ได้อีกด้วยค่ะ

 

ตัวอย่าง Community ของเว็บไซต์ ProBlogger.com
ภาพจาก: https://neilpatel.com

ตัวอย่าง Community ของเว็บไซต์ ProBlogger.com

 

2. ใช้ Long-Tail Keyword เพื่อให้ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายประเภท Niche

 

คอนเทนต์รูปแบบ Longform เป็นสิ่งผู้ทำการตลาดส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ถึงอย่างไรนั้นคอนเทนต์การตลาดมักจะมีการปรับเปลี่ยน ใส่ส่วนของรายละเอียด เช่น การเลือกใช้ Keyword โดยปัจจุบันมีแนวโน้มของการใช้ Long-Tail Keywords และกลุ่มคำที่มีความเฉพาะเจาะจง ในการเพิ่มโอกาสของเข้าถึงมากขึ้น ซึ่งถ้าหากธุรกิจได้นำกลยุทธ์นี้ไปใช้ จะช่วยให้ลดลงแข่งขันของคำที่ใช้ค้นหา และยังทำให้คอนเทนต์ติดอันดับบน Google ได้ง่ายขึ้น 

อีกทั้ง หากกลุ่มเป้าหมายเจอคอนเทนต์ของเราได้ง่ายขึ้น นั่นหมายความว่า เว็บไซต์ก็จะได้รับ Reach ที่เป็นแบบออร์แกนิคเพิ่มขึ้นจากการทำคอนเทนต์ 

ตัวอย่างด้านล่างนี้เป็นการค้นหาแบบ Long-Tail Keyword ของกลุ่ม Niche ที่เป็นคนที่รับประทานอาหารแบบคีโต

 

ตัวอย่างการค้นหาแบบ Long-Tail Keyword ของกลุ่ม Niche

 

เครื่องมือที่ใช้ในการหา Long-Tail Keyword:

หรือใช้ฟีเจอร์จาก Google:

  • Google Suggest
  • Google’s Related Search

 

3. หาทีมคอนเทนต์ที่มีทักษะหลากหลายด้าน

 

ทีมคอนเทนต์ที่มีทักษะหลากหลายด้าน

 

ในยุคดิจิทัลที่มีการใช้เครื่องมือการตลาด และเทคโนโลยีขั้นสูงที่หลากหลาย การผลักดันให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้นการทำคอนเทนต์แบบขายผลิตภัณฑ์อย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ธุรกิจจึงควรมีการสร้างทีมคอนเทนต์ที่มีทักษะหลากหลาย ซึ่งเราจะเห็นว่าแต่ละแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จนั้น ไม่เพียงใช้วิธีการเขียนคอนเทนต์เพื่อสื่อสารให้กับผู้คนเพียงรูปแบบเดียว แต่ยังมีกระบวนการผลิตคอนเทนต์ให้ลักษณะอื่น ๆ ที่แตกต่างกันออกไปด้วย

ลักษณะของทีมคอนเทนต์จะที่ช่วยเพิ่มคุณภาพของการขาย:

  • การตัดต่อวิดีโอ และ เสียง
  • การออกแบบกราฟิก และ ภาพประกอบ
  • การเพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหา
  • การกระจายเนื้อหา และ การส่งเสริมการขาย
  • การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินการ SEO และการจัดการแคมเปญ
  • การสื่อสาร และ การสร้างแบรนด์

ด้วยทักษะต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้คอนเทนต์ทางการตลาดนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นจุดแข็งในการสร้างยอดขายให้กับธุรกิจได้ 

 

4. Repost คอนเทนต์ที่มีอยู่แล้ว บนแพลตฟอร์มอื่น ๆ 

 

Repost คอนเทนต์

 

วิธีการทำคอนเทนต์เก่าที่ได้รับความนิยม หรือ เป็นเรื่องที่กลับมาเป็นเทรนด์ที่น่าสนใจ ซึ่งตรงส่วนนี้หากธุรกิจได้มีการนำคอนเทนต์เดิมที่มีอยู่แล้วมาต่อยอดและปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยกระจายคอนเทนต์ไปยังแพลตฟอร์มอื่น ๆ จะเป็นการช่วยประหยัดเวลา และ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการทำคอนเทนต์การตลาดได้ ไม่เพียงแต่การรีโพสต์คอนเทนต์ที่เป็นส่วนของบทความเท่านั้น แต่ยังสามารถทำได้หลากหลายวิธี ดังนี้

  • การนำคอนเทนต์แบบ Longform มาปรับให้เป็นแบบ E-book หรือ Email
  • การนำวิดีโอ YouTube มาใส่ในบล็อก
  • การนำเสียงบันทึกจาก YouTube มาทำเป็น Podcast และเผยแพร่ผ่าน Email หรือบล็อก
  • การสร้างอินโฟกราฟิก สรุปข้อมูลวิจัย และ สถิติต่าง ๆ จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย

 

5. ใช้ Google Discover ในการทำคอนเทนต์ใหม่ ๆ

 

Google Discover

 

Google Discover หรือชื่อเดิมคือ Google Feed เป็นอีกฟีเจอร์หนึ่งที่น่าสนใจ โดยระบบอัลกอริทึม ของ Google Google ใช้ AI และ  Machine Learning ในการทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้ใช้ทำการค้นหา พฤติกรรมการใช้งาน หรือประวัติการค้นหาต่าง ๆ มาประมวลผล และคัดสรรคอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจมาให้ ถ้าหากธุรกิจได้นำ Google Discover มาใช้ในการทำคอนเทนต์ จะทำให้ได้รับไอเดียใหม่ ๆ จากทั้งข้อมูลที่เป็นรูปภาพ สื่อวิดีโอ ซึ่งฟีเจอร์ตัวนี้เปรียบเสมือนแหล่งรวมแรงบันดาลใจที่ดีในการนำมาใช้ในการต่อยอดในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ดี ให้ประโยชน์กับคนอ่าน และติดตามการอัปเดตเทรนด์ใหม่ ๆ ได้อยู่เสมอ

 

6. การใช้ฟีเจอร์ Google Web Stories

 

การใช้ฟีเจอร์ Google Web Stories
ภาพจาก: https://developers.google.com

 

ฟีเจอร์ Stories เป็นอีกช่องทางการทำคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมบนโซเชียลมีเดีย และเติบโตขึ้นด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เป็นคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดียที่สร้างการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนบนออนไลน์ โดยการที่ Google ปล่อยฟีเจอร์ Story นี้จะปรากฎอยู่บนส่วนต่าง ๆ ของ Google Seacrh, Google Image และ Google App โดยเป็นฟีเจอร์ลักษณะ Visual Content ที่มีทั้งรูปภาพ และ วิดีโอ

สิ่งสำคัญที่นอกจากจะทำให้ดึงดูดความสนใจจากผู้ชมบนเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วจากการที่มีการแสดงเนื้อหาสั้น ๆ กระชับ ที่สามารถสร้าง Traffic เพิ่มขึ้นได้ และยังสามารถปรับปรุงด้วยการนำหลักการ SEO มาใช้เพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับได้อีกด้วย สามารถทำการปลั๊กอินได้ด้วย WordPress แต่ปัจจุบันอาจจะใช้งานได้ไม่เต็มรูปแบบ จึงต้องรอฟีเจอร์ออกมาให้ครบถึงจะสามารถพร้อมเปิดใช้งาน

 

7. คอนเทนต์ที่เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญ

 

การสร้างความน่าเชื่อถือโดยการให้ผู้ที่เป็น Expert ที่มีความรู้ในเรื่องเฉพาะทางในด้านนั้น ๆ มาเขียนคอนเทนต์ นับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีในการสร้างโอกาสที่ดีสำหรับแบรนด์ ช่วยสร้างเนื้อหาที่โดดเด่น เป็นประโยชน์ ทั้งในเรื่องของความสร้างความน่าเชื่อถือ และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ ตัวตนที่ชัดเจนให้กับเว็บไซต์ หรือ ช่องทางการตลาดที่ต้องการสร้างยอดขาย นอกจากนี้ธุรกิจสามารนำหลักการ E-A-T มาใช้เพื่อเพิ่มโอกาสการทำให้เว็บไซต์ให้อันดับการค้นหาบน Google ได้

 

ตัวอย่างจากการศึกษาของ Nielsen.com พบว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคมักมองหาเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญก่อนซื้อเป็นบ่อย ๆ และอีก 67 เปอร์เซ็นต์ของผู้ซื้อ หากสินค้า และ บริการนั้น ได้การรับรองจากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกลาง จะทำให้มีแนวโน้มที่จะพิจารณาซื้อมากขึ้น

 

ตัวอย่างของคอนเทนต์ที่ให้เครดิตผู้เขียน หรือใส่ชื่อผู้เชี่ยวชาญ

ตัวอย่างของคอนเทนต์ที่ให้เครดิตผู้เขียน หรือใส่ชื่อผู้เชี่ยวชาญ

 

3 สิ่งที่จะได้รับจากการมีคอนเทนต์ที่เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญ

  • สร้างความเชื่อมั่น เชื่อถือ และ ช่วยลดข้อสงสัย โดยการการันตีด้วยผลงานเขียนจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
  • เป็นการเริ่มต้นที่ดีในการแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับธุรกิจ เมื่อได้รับความเชื่อถือจากลูกค้าแล้ว
  • ยังคงสร้างความไว้วางใจผ่านคอนเทนต์ของผู้เชี่ยวชาญ และ ขอให้มีการรีวิว แสดงความคิดเห็นจากลูกค้าได้

 

8. ทำคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์โดยการใช้ Personalization

 

ลูกค้าแต่ละคนที่เข้ามายังเว็บไซต์ จะมีการเดินทางที่แตกต่างกัน หรือที่เรียกว่า Customer Journey โดยเป็นส่วนที่บ่งบอกประสบการณ์ของลูกค้า เช่น จากช่องทางใดที่ลูกค้านั้นเริ่มรู้จักแบรนด์ของเราคอนเทนต์จึงควรตอบสนองความต้องการเฉพาะของผู้คน และกระตุ้นให้ก้าวไปอีกขั้น ทำให้เกิดการสนใจซื้อสินค้า และนำมาสู่การซื้อซ้ำ รวมไปถึงการสร้างความภักดีต่อแบรนด์ได้

จากการวิจัยของ Salesforce ยังแสดงให้เห็นว่า 84% ของผู้บริโภคจะชอบการถูกเอาใจใส่ ปฏิบัติแบบฐานะคน ๆ นึง มากกว่าการถูกมองเป็นตัวเลขภาพรวมของการทำตลาดแบบกว้าง ซึ่งสิ่งที่แบรนด์สื่อสารออกมานั้นอาจจะไม่ได้ครอบคลุม ถูกต้อง และตรงใจกับตัวลูกค้าจริง ๆ

ตัวอย่างการแสดงผลของ Netflix จะมีความแตกต่างการออกไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าเคยดูหนัง หรือซีรีส์ประเภทไหนเอาไว้ก่อนหน้านี้ และระบบจะทำการวิเคราะห์แนวหนัง และซีรีส์ที่คล้ายกันออกมานำเสนอ

 

ตัวอย่างการแสดงผลของ Netflix ที่แตกต่างกันไปตามประวัติการรับชม

 

การทำการตลาดรูปแบบนี้ ธุรกิจจึงต้องใช้วิธีการทำคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์ให้เฉพาะเจาะจง และตรงใจผู้อ่าน โดยการใช้วิธีการทำการตลาดแบบ  Personalized Marketing ที่ทางธุรกิจจำเป็นต้องมีข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง จึงจะสามารถออกแบบการทำคอนเทนต์ที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารกับลูกค้า สร้างประสบการณ์ที่ดี และ มอบคุณประโยชน์ที่แท้จริงได้

 

สถิติการทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติง (Content Marketing) สำหรับปี 2021 ที่นักการตลาดไม่ควรพลาด

สุดท้ายนี้ ผู้เขียนได้นำสถิติดีๆ จาก semrush มาฝากกันเพื่อให้นักการตลาด Content Creator และผู้ประกอบการสามารถนำผลลัพธ์จากการทำคอนเทนต์ในแง่ของการตลาดไปปรับใช้กับกลุยทธ์ธุรกิจกันค่ะ

สถิติการทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติง (Content Marketing) สำหรับปี 2021 ที่นักการตลาดไม่ควรพลาด

 

สรุป

 

ข้อมูลจาก:

neilpatel.com

www.semrush.com

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

สรุปหนังสือ Niksen: The Dutch Art of Doing Nothing แนวคิดการอยู่เฉย ๆ ของชาวดัตช์ที่ช่วยกำจัดความเครียดได้
คอนเทนต์แบบไหนใช้แล้วเวิร์คกับธุรกิจแบบ B2B