รวม 5 Case Studies จากแบรนด์ดังที่นำ Data Analytics มาใช้ทำการตลาดดิจิทัล

5 กรณีศึกษาจากแบรนด์ดังที่ใช้ Data Analytics เพื่อธุรกิจดิจิทัล

รวม 5 กรณีศึกษา จากแบรนด์ดังที่นำData มาสร้างกลยุทธ์สำหรับธุรกิจ

 

จะเดินเกมธุรกิจให้ก้าวทันยุคดิจิตัลก็ต้องปรับแผนการกลยุทธ์ตลาดให้เท่าทันกับความต้องการของลูกค้า และ นำ Data มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดย Data ที่กล่าวถึง ไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทขนาดใหญ่ แต่บริษัทขนาดกลาง และ เล็ก ก็สามารถทำได้ หากเลือกข้อมูลที่มีในมือมาประยุกต์ใช้ได้ตอบโจทย์ โดยผลสำรวจจาก New Vantage Partners ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูล หรือ  Data Driven-Business เผยว่า 99% ของบริษัทในอเมริการลงทุนใช้ AI หรือ ลงทุนด้านการนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้โดยการใช้ระบบซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับแคมเปญทางการจตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สถิติจาก Marketing Charts ได้เผยว่า 60% ของนักการตลาดใช้ Customer Data ในการวิเคราะห์หาปัญหา และ นำมาใช้เพื่อช่วยในารตัดสินใจในการทำแคมเปญครั้งต่อไป และ 36% ของนักการตลาดใช้ Customer Data ในการช่วยตัดสินใจเป็นส่วนใหญ่

Marketing Charts ได้เผยว่า 60% ของนักการตลาดใช้ Customer Data ในการวิเคราะห์หาปัญหา และ นำมาใช้เพื่อช่วยในารตัดสินใจ
ภาพ และ ข้อมูลจาก marketingcharts

 

เราได้เห็นความสำคัญของการทำ Data Analytics กันแบบคร่าว ๆ และ เทรนด์การใช้ Data ของนักการตลาดกันจากตัวอย่างแล้ว ดังนั้นเราไปดูตัวอย่าง Case Study จากแบรนด์ดังที่สามารถนำ Data มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำการตลาดกันค่ะ

1 Tesco

Tesco เป็นแบรนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ตสัญชาติอังกฤษ ที่นำข้อมูลที่มีอยู่ในมือมาประยุกต์ใช้ เพื่อหา Loyal Customer หรือลูกค้าภักดีเพื่อทำแคมเปญโปรโมตการขาย โดยพิจารณาจาก

1.พฤติกรรมการซื้อสินค้า

2.ช่องทางในการสั่งซื้อ

3.ชนิดสินค้าที่ลูกค้านิยมบริโภค

โดยการจัดประเภทพฤติกรรมลูกค้า สามารถช่วยให้นักการตลาดสร้างแคมเปญให้ตรงกับความต้องการในการซื้อได้ค่ะ

 

Tesco เป็นแบรนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ตสัญชาติอังกฤษ ที่นำข้อมูลที่มีอยู่ในมือมาประยุกต์ใช้ เพื่อหา Loyal Customer หรือลูกค้าภักดีเพื่อทำแคมเปญโปรโมตการขาย
ภาพจาก Tesco

 

นอกจากนี้ Tesco ยังมี Clucard สำหรับลูกค้าประจำที่ซื้อสินค้าเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าอยากชอปปิ้งมากขึ้น ซึ่งยอดขายของลูกค้าที่มี Clubcard สูงกว่าลูกค้าทั่วไปกว่า 4% เนื่องจากมีโรปโมชันสำหรับซื้อสินค้าในช่วงเทศกาลพิเศษ การสะสมแต้ม และ การลดราคาแบบ Flashsale

 

2 DeepMind

 

DeepMind เป็นบริษัทที่โด่งดังในด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งอยู่ในเครือของ Google ที่สามารถประมวลข้อมูลขนาดใหญ่ และวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว ซับซ้อน
ภาพจาก Deepmind

 

Machine Learning ของ DeepMind สามารถนำข้อมูลมาประมวลผล เพื่อทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ เช่นการพยากรณ์อากาศที่จะเกิดขึ้นภายใน 90 นาที

DeepMind เป็นบริษัทที่โด่งดังในด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งอยู่ในเครือของ Google ที่สามารถประมวลข้อมูลขนาดใหญ่ และวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว ซับซ้อน และ มีความสามารถในการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดได้ด้วยตนเอง โดย DeepMind นำ Data มาวิเคราะห์ผ่านระบบ AlphaGo ที่เป็นโปรแกรมๆ หนึ่ง ของ DeepMind ที่สามารถพยากรณ์อากาศด้วยการจำลองสภาพอากาศผ่านระบบ ซึ่ง AI ของ DeepMind สามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้อย่างดีเยี่ยม

ยิ่งไปกว่านั้น AlphaGo ยังคงพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสมรรถภาพการทำงานให้มีประสิทธิภาพ โดยเวอร์ชันใหม่มีชื่อว่า AlphaGo Zero ซึ่งระบบไม่ต้องใช้มนุษย์ในการป้อนข้อมูลอีกต่อไป แต่ใช้วิธีการฝึกฝนตัวเองให้เก่งขึ้น ฉลาดขึ้น

AlphaGo ยังคงพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสมรรถภาพการทำงานให้มีประสิทธิภาพ โดยเวอร์ชันใหม่มีชื่อว่า AlphaGo Zero ซึ่งระบบไม่ต้องใช้มนุษย์ในการป้อนข้อมูลอีกต่อไป แต่ใช้วิธีการฝึกฝนตัวเองให้เก่งขึ้น ฉลาดขึ้น
ภาพจาก DeepMind

ภาพด้านบนเป็นการพัฒนาระบบ AI ของ AlphaGo ซึ่งเวอร์ชันปัจจุบันไม่จำเป็นต้องใช้มนุษย์ในการป้อนข้อมูลอีกต่อไป

 

3 Spotify

เชื่อว่าคุณผู้อ่านหลาย ๆ คนคงมีแอปพลิเคชัน Spotify ในโทรศัพท์มือถือเพื่อฟังเพลง และ พอดแคสต์กันอยู่แล้ว แต่ลองเคยสังเกตกันไหมคะ ว่า Spotify มักแนะนำเพลงได้ตรงใจ หรือตรงกับความชอบของเราอยู่บ่อย ๆ คำตอบคือ Spotify เก็บ Data พฤติกรรมของผู้ใช้งานเพื่อนำเสนอเพลงที่ผู้ฟังชอบ หรือ เลือกเพลงที่มีความคล้ายกับสไตล์ที่เรามักจะฟังให้เสมอ

Spotify Wrap
ภาพจาก Spotify

 

ในช่วงปลายปี 2022 ที่ผ่านมา Spotify ปล่อยแคมเปญ Spotify Wrap ให้ผู้ใช้งานได้ผลสรุป Data กันแบบคร่าว ๆ ว่าผู้ใช้งานแต่ละคนชอบฟังเพลงอะไร เป็นคนมีไลฟ์สไตล์แบบไหน และ ใช้เวลากับการฟังอะไรมากที่สุดกันแบบสถิติตัวเลข ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกสนุก ตื่นเต้น และแชร์แคมเปญกันผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลอื่น ๆ ทำให้ยอด Engagement พุ่งขึ้น แถมยังมียอด Download เพิ่มขึ้นด้วย ถึงแม้ว่า Spotify Wrap จะเป็นแคมเปญประจำปีที่มีมาตั้งแต่ปี 2016 แต่ระบบ Data Analytics ยังคงปรับปรุงให้ตอบโจทย์กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และ ตรงกับเทรนด์ในตอนนั้น ๆ เช่นภาพด้านล่างนี้ที่บ่งบอกว่า คุณมีออร่าเป็นอย่างไร ผ่านการประมวล Data จากการฟังเพลง หรือ พอตแคสต์ของเราตลอดปีที่ผ่านมา

สถิติจาก Sproutsocial ระบุว่า หลังจาก Spotify ได้ปล่อย Spotify Wrap ทำให้เกิด Engagement เพิ่มขึ้น 17% และ สร้าง Impression ที่มีประสิทธิภาพอีก 17%
ภาพจาก sproutsocial

สถิติจาก Sproutsocial ระบุว่า หลังจาก Spotify ได้ปล่อย Spotify Wrap ทำให้เกิด Engagement เพิ่มขึ้น 17% และ สร้าง Impression ที่มีประสิทธิภาพอีก 17%

 

4 HelloFresh

HelloFresh ทำธุรกิจจำหน่ายชุดอาหารสำหรับคนรักสุขภาพจากออสเตรเลีย ด้วยการจัดอาหารสดไปให้กับลูกค้าถึงบ้าน ตามสัดส่วนเมนูที่เหมาะสม ซึ่งความน่าสนใจของการทำ Data Analytics ของ HelloFresh นั้นคือการฟังความคิดเห็นลูกค้าผ่าน Social Listening Tool เพื่อปรับปรุงธุรกิจให้ดีขึ้น

ภาพจาก HelloFresh

 

Social Listening Tool คือเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าในช่องทางโซเชียลมีเดีย ด้วยการนำข้อมูลมาประมวลผล และ วิเคราะห์ปัญหา คำติชม และ รีวิวของลูกค้า ซึ่งแม้ว่าเครื่องมือจะมีคำว่า Listening หรือ การฟัง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระบบไม่ได้แอบฟังเราจริง ๆ นะคะ แต่เป็นการนำข้อมูลจากโซเชียลมีเดียที่ลูกค้ากล่าวถึงเรามาประมวลผลนั่นเอง โดย HelloFresh ใช้ระบบ AI จาก Talkwalker นั่นเอง

Talkwalker เป็นเครื่องมือดักฟังเสียงของลูกค้าแบรนด์หนึ่ง ที่คอยรวบรวมคำวิจารณ์ รีวิว หรือรายละเอยีดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกี่ยวกับแบรนด์​และ แคมเปญมาคัดกรอง และ สรุปสาระสำคัญในการปรับปรุงธุรกิจ โดย Talkwalker นั้นสามารถช่วยให้นักการตลาดสามารถเข้าใจถึงปัญหาของลูกค้า รวมถึงข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าที่เข้ามาสมัครสมาชิก ด้วยการวิเคราะห์ Data และ นำเสนอรายงานที่ถูกจุด ทำให้นักการตลาดแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น และ ออกแบบแคมเปญการตลาดได้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น แถมยังช่วยให้นักการตลาดเลือกช่องทางในการทำการตลาดผ่านช่องทางโวเชียลได้ตรงกับกลุ่มลูกค้าอีกด้วย

ภาพจาก andnowuknow

สิ่งที่ Talkwalker ช่วยให้แบรนด์ปัรปรุงแคมเปญ คือ

  • ช่วยรวบรวม Data มากถึง 400% จากการพูดถึงแบรนด์บนโลกโซเชียล
  • ช่วยแบรนด์ปรับปรุงเมนูอาหาร บรรจุภัณฑ์ และ เส้นทางการส่งสินค้าให้ดีขึ้น
  • สามารถนำเสนอข้อมูลแบบ Real-Time ได้

5 Tesla

การวิเคราะห์ Data ของ Tesla
ภาพจาก teslarati

 

แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Tesla นอกจากใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนารถยนต์แล้วยังใช้ Radar Data ที่อยู่ในรถยนต์ รวมทั้งเซนเซอร์ Ultrasonic Sonar และ ระบบ Fleet Learning ของ Tesla เอง เพื่อประมวลผลให้รถยนต์สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องใช้คนขับ

นอกจากนี้ การทำงานของ Fleet Learning ยังสามารถแชร์ข้อมูลระหว่างรถ Tesla ด้วยกันเมื่อขับผ่านกันบนท้องถนนเพื่อปรับปรุงระบบวิเคราะห์ข้อมูลให้ดีขึ้น

สรุป 

Data Analytics สามารถช่วยนักการตลาด และ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ตรงจุด และ ตัดสินใจได้ถูกต้อง และ รวดเร็วมากขึ้น จากตัวอย่างแบรนด์ที่ยกตัวอย่างด้านบนนี้ คุณผู้อ่านจะเห็นว่า ระบบ AI หรือ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถทำได้หลายรูปแบบ และ สร้างประโยชน์ได้มหาศาล ซึ่งหากใครสนใจเกี่ยวกับ Data Analytics เพื่อสร้างความความเข้าใจถึงกระบวนการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ไปจนถึงการนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจทางการตลาด สามารถคลิกลิงก์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://stepstraining.co/data-analytics-marketer

 

ข้อมูลจาก 

Talkwalker

Careerfoundry

marketingcharts

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

4 วิธีการจัดการข้อมูลลูกค้าให้เป็นระบบ (Customer Data Management)
ทำความรู้จักกับ Large Language Models (LLM)