สมาร์ทโฟนได้เข้ามามีบทบาทมากมายในแทบทุกด้านของชีวิต และมีอิทธิพลในการกำหนดพฤติกรรมการใช้ชีวิต ตั้งแต่ตอนตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน เราใช้แอปพลิเคชั่นในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่นๆ ใช้ในการฟังเพลง ชมภาพยนตร์ ซีรี่ย์ ใช้ในการทำงาน ใช้ในการสืบค้นข้อมูลที่ช่วยแก้ปัญหา ใช้ค้นหาสินค้าหรือบริการในบริเวณที่คุณอาศัยอยู่ เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ทุกที่ ทุกเวลา และอื่นๆอีกมากมาย
เทคโนโลยีสมาร์ทโฟนได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนเราไปอย่างสิ้นเชิง เราสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือกระทำสิ่งต่างๆได้ทุกที่ ทุกเวลา ส่งผลให้พฤติกรรมคนเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีการตัดสินใจซื้อที่เร็วขึ้นเมื่อได้เห็นสินค้าที่ตัวเองต้องการ จากที่เมื่อก่อนจะใช้เวลาในการตัดสินใจระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งถูกเรียกงว่า Micro-Moments
การตอบโจทย์ความคาดหวังของผู้บริโภคในยุคสมาร์ทโฟน
ช่องทางเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นของคุณ จะต้องสามารถสร้างช่วงเวลาในการตัดสินใจ
ให้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา เพราะผู้บริโภคมีความคาดหวังว่าแบรนด์จะตอบสนองความต้องการของตนแบบ Real-Time
พฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของผู้บริโภค
สถิติในช่วงเวลาของหนึ่งวันของผู้ใช้สมาร์ทโฟน
- 68% เช็คมือถือทุกเช้าภายใน 15 นาทีหลังตื่นนอน
- 30% เกิดความกังวลหากไม่ได้พกมือถือไว้กับตัวเอง
- 87% พกมือถือติดตัวตลอด ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าจะเห็นได้ว่าโทรศัพท์มือถือได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคน ในทุกช่วงเวลาของหนึ่งวัน ผู้คนเลือกจะพกสมาร์ทติดตัวตลอดเวลา เพราะสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูล การเข้าถึงช่องทางออนไลน์ สามารถแก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟน ได้ส่งผลถึงการทำการตลาดในยุคปัจจุบัน ที่ธุรกิจจะต้องปรับตัวแนวทางการทำการตลาดในรูปแบบใหม่ที่สามารถรองรับพฤติกรรมเหล่านี้
การใช้เครื่องมือค้นหาถูกใช้บนโทรศัพท์มือถือมากขึ้น ซึ่งในในสหรัฐอเมริกาผู้คนมีพฤติกรรมการค้นหาบนมือถือ มากกว่าการค้นหาบนคอมพิวเตอร์ถึง 4 เท่าตัว
โทรศัพท์มือถือได้ส่งผลถึงพฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมบนออนไลน์และการมีปฎิสัมพันธ์กับแบรนด์
ที่สามารถนำเสนอทางเลือกให้ผู้ชมเกิดการตัดสินใจซื้อได้
ตัวอย่างเช่น
- 82% ของผู้ใช้มือถือจะค้นหาข้อมูลของสินค้าที่พวกเขากำลังจะซื้อ โดยสามารถเกิดขึ้นในขณะที่กำลังชมสินค้าในร้าน
การเดินทางของผู้บริโภคก่อนที่จะค้นพบและตัดสินใจซื้อสินค้าของแบรนด์ มีความแตกต่างไปจากที่เมื่อก่อนจะต้องเดินไปเลือกสินค้าในร้าน การมาของสมาร์ทโฟนช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้จากทุกที่และทุกเวลา ผู้บริโภคสามารถอ่านรีวิวสินค้าบนเว็บไซต์หรือโซเชี่ยล ในตอนที่พวกเขาเห็นสินค้าในร้านได้ทันที ช่วยให้เกิดการตัดสินใจที่รวดเร็วขึ้น การเดินทางของผู้บริโภคจึงไม่ได้เกิดแค่ในโลกแห่งความจริงอีกต่อไป แต่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ไปพร้อมกัน
เมื่อคนต้องการค้นหาสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการ
ผู้บริโภคจะทำการค้นหาบนสมาร์ทโฟนในช่วงเวลานั้นๆทันที ทำให้เกิดช่วงเวลาในการตัดสินใจซื้อได้ง่าย ในทุกทีทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นตอนแต่งหน้า ในห้องครัว หรือกำลังเดินเล่นอยู่ในศูนย์การค้า
วีดีโอคอนเทนต์ เป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญ เพราะว่าผู้บริโภคจะสามารถเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอนได้
- 48% จะตัดสินใจซื้อสินค้าของแบรนด์ ที่มีวีดีโอคอนเทนต์บนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่น ซึ่งวิดิโอสามารถรองรับตามขนาดหน้าจอสมาร์ทโฟนได้บทบาทสำคัญของวิดิโอคอนเทนต์ คือการสามารถเชื่อมต่อผู้บริโภคกับแบรนด์ ผู้บริโภคที่เลือกรับชมวิดิโอจะรู้สึกได้ถึงความเป็นส่วนตัวในการเข้าถึงแบรนด์ ที่แสดงผ่านวีดิโอคอนเทนต์
วิดิโอคอนเทนต์ คือรูปแบบสื่อที่มีประสิทธิภาพ เพราะสามารถสื่อสารข้อมูลที่มีความละเอียดและน่าสนใจ สามารถเข้าถึงคนได้ง่ายกว่าการอ่านข้อความ หรือดูรูปภาพเพียงอย่างเดียว และสามารถสื่อสารถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ชัดเจน ผ่านการเล่าเรื่องผ่านภาพและเสียง ผู้ชมสามารถจดจำและซึมซับรายละเอียดต่างๆ ที่แบรนด์ต้องการนำเสนอได้ เช่นในกรณีของสินค้าประเภทกีฬา หากวิดิโอสามารถสื่อสารความเป็นนักกีฬาที่แข็งแกร่ง มุ่งมั่น มีวินัย และประสบความสำเร็จ ก็จะสามารถดึงความสนใจผู้ชมได้ เมื่อประกอบกับการรีวิวสินค้าผ่านวิดิโอ ที่ให้ข้อมูลตามที่ผู้บริโภคต้องการ จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
ลูกค้าควรมีช่องทางการซื้อสินค้าที่หลากหลาย
ไม่ว่าจะเป็นในร้านค้า หรือบนโทรศัพท์มือถือผ่านทางศูนย์บริการต่างๆ
- 58% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนมักจะซื้อสินค้าจากแบรนด์ ที่มีเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่น ที่ช่วยให้พวกเขาสามารถซื้อสินค้าได้อย่างรวดเร็ว
- 59% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนรู้สึกดีขึ้นต่อแบรนด์ ที่มีเว็บไซต์ไซต์หรือแอปพลิเคชั่น ที่ช่วยให้พวกเขาสามารถซื้อสินค้าได้อย่างรวดเร็ว
ผู้บริโภคมักตัดสินใจผ่านข้อมูลทีี่ได้ทำการศึกษา ค้นคว้า เปรียบเทียบ ช่องทางที่ง่ายที่สุดสำหรับพวกเขาคือการค้นหาบนโทรศัพท์ การที่แบรนด์มีตัวตนอยู่บนช่องทางออนไลน์ คือการเพิ่มโอกาสที่ผู้บริโภคสามารถพบเราและตัดสินใจซื้อ การซื้อบนช่องทางออนไลน์ คือ การลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก โดยฌแพาะสำหรับผู้บริโภคที่ไม่มีเวลาไปยังร้านค้าด้วยตัวเองหรือต้องการซื้อสินค้าที่หลากหลายในเวลาเดียวกัน ช่องทางออนไลน์คือสิ่งที่ทำให้พวกเขาตัดสินใจได้สะดวกขึ้น
ทำไมความเร็วบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นจึงสำคัญ
- 29% จะออกจากเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่น หากไม่สามารถหาข้อมูลที่ต้องการได้
- 70% จะออกจากเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่น เนื่องจากต้องใช้เวลาโหลดนานเกินไป
- 67% จะออกจากเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่น ถ้าใช้เวลามากเกินไปในขั้นตอนในการซื้อหรือรับข้อมูลที่ต้องการ
ผู้บริโภคคาดหวังความรวดเร็วจากการค้นหาบนสมาร์ทโฟน หากเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นของคุณไม่มีประสิทธิภาพด้านความเร็วที่เพียงพอ พวกเขาจะไม่สนใจและไปค้นหาแบรนด์อื่นๆแทน เพราะไม่ต้องการที่จะเสียเวลาในการรอ หากว่ามีช่องทางอื่นที่รวดเร็วกว่า ดังนั้นความเร็วจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทันทีที่พวกเขาต้องการ
3 วิธีทีทำให้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นใช้งานได้รวดเร็ว
3.1 จำกัดขั้นตอน
เป้าหมายของเว๊บไซต์หรือแอปพลิเคชั่น คือการกระตุ้นการมีส่วนร่วมการซื้อขายผ่านมือถือ การลงทะเบียน การโทรติดต่อ ผู้ใช้งานจะเลือกเข้าชมหรือไม่ อยู่ที่ว่าสามารถจำกัดขั้นตอนในการใช้งานได้อย่างไร อย่าลืมว่าแม้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นจะถูกออแบบมาได้สวยงาม แต่หากการใช้งานไม่เป็นมิตร ไม่สามารถทำความเข้าใจการใช้งานที่ซับซ้อน ผู้บริโภคจะไม่อยากต้องเสียเวลาไปกับขั้นตอนที่ยุ่งยาก จึงต้องจำกัดขั้นตอนให้สั้นกระชับที่สุด
- ฟังก์ชันการทำงานเพียงคลิ๊กเดียวคือวิธีที่เร็วที่สุด เพื่อลดขั้นตอนการใช้งานที่ซับซ้อนและเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน
3.2.ตอบโจทย์ความคาดหวัง
- รู้ว่าลูกค้าของคุณต้องการอะไร และใช้คีย์เวิร์ดใดในการค้นหา
- ใช้ภาพ วิดิโอ ข้อความกระตุ้นการตัดสินใจ
3.3 โหลดหน้าเว็บได้อย่างรวดเร็ว
40% ของผู้ซื้อจะรอไม่เกินสามวินาที ก่อนที่จะตัดสินใจออกจากเว็บไซต์
สามารถใช้เครื่องมือ PageSpeed Insights เพื่อประเมินความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ของคุณ และให้คำแนะนำเพื่อเพิ่มความเร็วเว็บไซต์
เชื่อมต่อโลกออนไลน์กับออฟไลน์
ไม่อาจปฏิเสธว่าช่องทางออฟไลน์ยังมีความสำคัญต่อการตลาด ซึ่งสมาร์ทโฟนจะเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ ที่จะเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างโลกออนไลน์และออฟไลน์ ทำให้เกิดการตัดสินใจที่จะการเข้าชมสินค้าของแบรนด์คุณผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน โดยจะส่งผลให้เกิดการตัดสินใจซื้อในเวลาอันรวดเร็ว
สถิติการค้นหาบนสมาร์ทโฟน เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
- 82% ของผู้บริโภคจะใช้มือถือหาข้อมูลเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจซื้อสินค้า
- 57% มีแนวโน้มเข้าร้านคุณ
- 40% มีแนวโน้มโทรติดต่อร้านโดยตรง
- 51% มีแนวโน้มซื้อสินค้าหรือบริการ
ในการเดินทางของผู้บริโภคของยุคปัจจุบัน ในการที่จะทำให้เขารับรู้การมีอยู่ของแบรนด์ ผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางออฟไลน์อย่างทีวี วิทยุ รวมถึงช่องทางออนไลน์อย่างหน้าจอคอมพิวเตอร์กับมือถือ ไม่ได้มีเส้นแบ่งแยกระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์อีกต่อไป
ที่มา: www.thinkwithgoogle.com/marketing-resources/micro-moments/