Digital Marketing Trends 2025 : เทรนด์การตลาดออนไลน์ปี 2025

Digital Marketing Trends 2025

Digital Marketing Trends 2025 : วางแผนการตลาดปี 2025 ด้วย Live Commerce , Data Collection Plan , Omni-channel commerce , Marketing Automation และ AI for Marketing

ในปี 2024 ที่กำลังจะผ่านไป การทำการตลาดออนไลน์มีการเปลี่ยนแปลงที่เปลี่ยนวิถีทั้งการทำการตลาดและการทำธุรกิจไปอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นด้านของพฤติกรรมผู้บริโภค เทคโนโลยี ช่องทางการสื่อสาร 

เพราะฉะนั้นแล้วในปี 2025 ที่จะถึงเราจึงอยากรวบรวมประเด็นสำคัญที่จะทำให้ผู้ประกอบการ นักการตลาด และ Content Creator ได้เตรียมตัวไว้ก่อนล่วงหน้าผ่าน 5 องค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้ 

1. Live Commerce 

Live Commerce คืออะไร 

Live Commerce คือการเอาการถ่ายทอดสดที่ผู้ชมอาจจะดูเพื่อความบันเทิงมาสอดแทรกการขายสินค้าและเกิดธุรกรรมการค้าขายภายใน Live เกิดขึ้น 

Live Commerce  ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่เกิดขึ้นจากการมี Social Commerce อย่าง TikTok ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นๆ จะมีฟีเจอร์การ Live หรือถ่ายทอดสดก่อนหน้านี้ไม่ว่าจะเป็น Facebook และ Instagram แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า แพลตฟอร์มที่หยิบยกเรื่อง Live มาประกอบกับการขายสินค้าบนออนไลน์แบบเปลี่ยนกระแส และพฤติกรรมของผู้บริโภคได้จริงๆ นั้นก็คือ TikTok 

และแม้ว่า Live Commerce จะเกิดขึ้นมาพร้อมกับ Social Commerce นั้นเองก็ตามแต่ Live Commerce ก็ถูกประยุกต์และมีส่วนสำคัญ มาใช้กับ Marketplace อย่าง Shopee และ Lazada เป็นต้น 

Live Commerce ต่อจากนี้ก็จะถูกเริ่มนำมาใช้กับ Website E-Commerce ของแบรนด์ด้วยเช่นกัน 

Live Commerce กลายเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่รวบรวมการสร้างคอนเทนต์เพื่อตอบโจทย์ทุกจุดประสงค์ไม่ว่าจะเป็นการทำ 

  • Awareness ( การทำให้แบรนด์เข้าถึงและมองเห็นโดยวงกว้าง) 
  • Engagement ( การร่วมมีปฎิสัมพันธ์กับกิจกรรมที่เกิดขึ้นคอนเทนต์ ) 
  • Conversion ( การซื้อขาย ) 
  • Repurchase ( การซื้อซ้ำ ) 
Benefits of livestream ecommerce for sellers

ผลสำรวจจาก GoodFirms ถึงประโยชน์ของทำ Live Commerce

ซึ่งจากผลสำรวจของ GoodFirms เกี่ยวกับประโยชน์ของการทำ Live Commerce ได้ตอบโจทย์ทั้ง 4 จุดประสงค์เบื้องต้น ก่อนหน้านี้ประมาณ 3 ปี เรามีสูตรการทำคอนเทนต์เพื่อตอบโจทย์แบบเชื่อมโยงในแต่ละจุดประสงค์ของ Marketing Funnel 

เราอาจจะต้องทำคอนเทนต์ออกมา กว่า 4 ชิ้น สำหรับ 4 จุดประสงค์ 

แต่สำหรับ ณ ปัจจุบัน อย่างที่กล่าวไปข้างต้น Live Commerce คือการตอบโจทย์ Zero Moment of Truth ของจริง ตรงที่เรากดเข้าไปดู การ Live เพื่อความบันเทิง เพื่อการแก้เหงา หรือ เพื่ออัพเดทเทรนด์อัพเดทกระแส ก็อดไม่ได้ที่จะตื่นเต้นไปกับโปรโมชั่นสุดลุ้นในแต่ละช่วงเวลา บ้างก็มีการเล่นเกมส์เพื่อชิงของรางวัลต่างๆ และยังได้ฟังเรื่องเล่าจาก Live Entertainer อีกด้วย สุดท้ายได้จับจ่ายใช้สอยในการซื้อสินค้าผ่าน Live Commerce โดยจากผลสำรวจของ GoodFirms พบว่าผู้บริโภคกว่า 66.7% เลือกซื้อสินค้าผ่าน Live Commerce เนื่องจากมีโอกาสที่จะได้รับโปรโมชั่นส่วนลดพิเศษ มากกว่าซื้อหน้าร้าน ทั้งออนไลน์ และ ออฟไลน์ 

Survey live streaming ecommerce future of ecommerce

ผลสำรวจจาก GoodFirms ถึงอนาคตของ Live Commerce

พบว่า 61.9% เชื่อว่า Live Commerce คืออนาคตของอีคอมเมิร์ซ ผลสำรวจนี้ยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่า Live Commerce เริ่มมีบทบาทสำคัญ และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นกลยุทธ์หลักของการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ที่ตอบโจทย์เหล่าผู้บริโภคโดยไม่ต้องสลับช่องทางไปไหนเลย

Top five categories most purchased via live commerce

ด้วยข้อมูลจาก Mckinsey บริษัทที่ปรึกษาระดับโลกมีข้อมูลที่กล่าวไว้ว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา 57% ของจำนวนผู้ชม Live Commerce นั้นมีการซื้อของผ่าน Live Commerce ต่อเนื่องมาแล้วถึง 3 ปี 

ข้อมูลจาก Research ของ Mckinsey มีการกล่าวถึง ประเภทของสินค้าที่ผู้บริโภคซื้อมากที่สุด 5 อันดับใน 4 ภาคพื้นจากทั่วโลก ที่น่าสนใจคือข้อมูลของในประเทศจีนมีการซื้อ Groceries ของอุปโภคบริโภคทั่วไปในหลายวันมีการถูกซื้อผ่าน Live Commerce มากที่สุดในประเทศจีน รองลงมาเป็นเสื้อผ้า รองเท้า สกินแคร์ และ ผลิตภันฑ์บำรุงเส้นผม ซึ่งอาจมีกการจัดอันดับที่แตกต่างจากโซนยุโรป ละตินอเมริกา และ สหรัฐอเมริกา 

คำถามถัดมาคือ เมื่อ Live Commerce เริ่มแสดงบทบาทที่ชัดเจนมากขึ้น แล้วก็ทำการตลาดแบบเรียงตาม Marketing Funnel ไปนั้นยังสำคัญอยู่หรือไม่ คำตอบคือแน่นอนว่ายังสำคัญ เพราะท้ายที่สุดแล้วผู้บริโภคต้องการความหลากหลาย ยังคงต้องการข้อมูลที่พิสูจน์ได้ แท้จริง จากหลายแพลตฟอร์มในเวลาเดียวกัน สำหรับสินค้าประเภทที่อาจจะต้องการ High Involvement หรือ การเกี่ยวข้องในการอธิบายด้วยข้อมูล และ ความน่าเชื่อถือเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพทางการแพทย์ ธุรกิจในเชิงบริการ และ ธุรกิจ B2B (Business to Business) รวมถึงธุรกิจที่ต้องการขยายไปสู่ตลาดโลกด้วยเช่นกัน จากข้อมูลตรงนี้ ในฐานะเจ้าของธุรกิจ หรือผู้บริหารนั้นสิ่งที่เราควรทำเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคควรทำอย่างไรสำหรับในบทความนี้เราเลยอยากขอสรุปประเด็นหลัก ๆ ที่น่าจะช่วยเป็นทิศทางให้วางแผนสำหรับ Marketing Plan ในปี 2025 ได้มากขึ้น คือ

Marketing plan 2025

1.1 จุดประสงค์ของการทำ Live Commerce 

แม้ว่าการทำ Live Commerce จะตอบโจทย์ และ จุดประสงค์ของ Marketing Funnel ในทุกๆ Funnel 

แต่การที่เราตั้งจุดประสงค์ในการ Live แต่ละครั้งยังคงสำคัญอยู่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตั้งจุดประสงค์ของการเปิดตัวสินค้า การลดกระหน่ำเพื่อเคลียร์ Stock จะเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้คอนเทนต์ในการ Live ของเรามีเรื่องราวและต่อเนื่องมากขึ้น คอนเทนต์ที่คมเพียงพอจะตอบจุดประสงค์ในการ Live พร้อมการตัดสินใจที่ลงแข่งอย่างฉลาดและรวดเร็ว 

สำหรับธุรกิจที่เป็น สินค้าอุปโภค บริโภค อะไรที่ต้องการการสื่อสารผ่านอารมณ์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อนั้น จะต้องรีบตัดสินใจลงเข้าสู่ Live Commerce อย่างมีกระบวนท่า ศึกษาข้อมูลที่คู่แข่งทำก่อนให้ดี และสำหรับ ธุรกิจไหนที่มีงบประมาณเพียงพอ อาจจะเริ่มต้นจากการปรึกษานักวางแผนกลยุทธ์ Digital Marketing หรือ ทีมทำงานผู้เชี่ยวชาญทางด้านการทำ Live Commerce 

STEPS Consulting banner (2)

1.2 เนื้อหาคอนเทนต์ใน Live Commerce ต้องตอบโจทย์ Marketing Funnel 

อย่าละทิ้งการทำการตลาดผ่านช่องทางอื่นๆ เพราะในช่วงต้นที่เราเกริ่นไปนั้น การทำคอนเทนต์ในการเชื่อมโยงแต่ละจุดประสงค์ของ Marketing Funnel นั้นยังสำคัญอยู่เช่นกัน เพียงแต่เราต้องใช้ประตูของ Live Commerce เพื่อให้ผู้บริโภค ค้นหาเราเพิ่มเติมในช่องทางอื่นๆ และเตรียมให้พร้อมเพื่อรองรับปริมาณการค้นหาที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจาก การตั้งจุดประสงค์ของการ Live ในแต่ละครั้งแล้ว ยังมีจุดประสงค์ในระหว่างที่กำลัง Live อีกด้วย

1.3 แบรนด์ต้องคิดต่อยอดในการเก็บข้อมูลจากการทำ Live Commerce 

ระบบหลังบ้านที่เชื่อมต่อไปถึงการซื้อสินค้าผ่านช่องทางข่องทางของแบรนด์มากขึ้น เพราะ Live Commerce มักจะเกิดธุรกรรมจำนวนมากในโซเชียลมีเดีย แต่ท้ายที่สุดแล้ว การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของพฤติกรรมของลูกค้านั้นอาจจะไม่ตอบโจทย์เท่ากับการมีช่องทางการซื้อขายของแบรนด์เองอย่างเช่น Website E-Commerce เป็นต้น 

2. Marketing Data Collection Plan 

สืบเนื่องจากส่วนที่ 3 ที่ไม่ว่าเราจะมีการใช้ Live Commerce / Social Commerce / หรือแม้แต่เว็บไซต์ของแบรนด์เพื่อเป็นช่องทางในการขายบนโลกออนไลน์ สิ่งสำคัญคือการเก็บข้อมูลลูกค้า ที่ไม่ใช่เพียงข้อมูล Demographic หรือเป็นข้อมูลพื้นฐานทั่วไปเท่านั้น แต่เป็นข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจของเราคาดเดาการทำการตลาดที่ถูกใจกลุ่มลูกค้ามากขึ้น 

data driven marketing

ผลสำรวจเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลในปี 2024 จาก Ascend2 

จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า 2 อันดับแรกที่มีการนำข้อมูลมาใช้แล้วช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้มากที่สุด คือ การตลาดผ่านอีเมล (47%) และการทำ Customer Journey / Journey Mapping ของลูกค้า (46%) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของการสื่อสารแบบเจาะจง และเป็นส่วนตัวในด้านการตลาด รองลงมาเป็น การซื้อโฆษณา (41%) และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ / บริการ (38%) ก็แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของข้อมูลในการปรับปรุงการใช้จ่ายด้านโฆษณา และการพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า

ที่น่าสนใจคือ การใช้ข้อมูลในการทำการตลาดแบบซื้อโฆษณานั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 29% ในปี 2022 เป็น 41% ในปี 2024 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ข้อมูลในการเพิ่มประสิทธิภาพ และผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ในการโฆษณามากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังมีหลายธุรกิจที่กำลังเผชิญกับปัญหาในการเก็บข้อมูลที่มีคุณภาพเพื่อนำไปต่อยอดในการทำ Digital Marketing ให้มีประสิทธิภาพ โดยปัญหาที่พบบ่อยในการเก็บข้อมูลมีดังต่อไปนี้

Digital Marketing Data Collection

2.1 ขาดข้อมูลของช่องทางที่ลูกค้าเลือกใช้เพื่อมาเจอแบรนด์ เพื่อไปต่อยอด Customers Journey 

มีหลายธุรกิจที่กำลังเลือกใช้ช่องทางในการทำการตลาดโดยที่ไม่รู้ว่า กลุ่มลูกค้าตัวจริงมาจากช่องทางนั้นจริงหรือไม่ ทำให้เกิดการเลือกช่องทาง ที่ผิดพลาด เสียเงินทุน เสียเวลาและโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่แท้จริง

2.2 ขาดข้อมูลของผลลัพธ์ โฆษณา 

การไม่ได้สำรวจข้อมูลเชิงลึกว่าเราใช้เม็ดเงินในการซื้อโฆษณาบนโลกออนไลน์ไปกับแคมเปญไหนบ้าง ผลลัพธ์ สำหรับการสื่อสารในแต่ละกลุ่ม Target เป็นอย่างไรบ้าง ทำให้การใช้เงินของหลายธุรกิจในการซื้อโฆษณาออนไลน์ เปรียบเหมือนการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำไป

2.3 ขาดข้อมูล Customers Personas  

ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการทำคอนเทนต์ การวางแผนการซื้อโฆษณา การปล่อยโปรโมชั่น การใช้ Influencer การต่อยอดเรื่องของการทำ Affiliate Marketing และอีกมากมาย 

2.4 ขาดข้อมูลของลูกค้าที่เป็น Top Spender 

ในที่นี้หลายคนน่าจะเคยได้ยิน กฏ 20:80 กลุ่มลูกค้า 20% คือคนที่ซื้อสินค้าเรา 80% ของยอดขายซึ่ง ณ ปัจจุบันอาจจะเป็น 10 : 90 ก็เป็นได้ หากเราไม่รู้กลุ่มลูกค้าเหล่านั้นเลยเราจะไม่สามารถต่อยอดในเรื่องของการทำ CRM และ หากเรามีสินค้าใหม่ขึ้นมาเราอาจจะต้องออกแรงกันใหม่ตั้งแต่เริ่มในการทำ Product Marketing ตั้งแต่เริ่มต้น แต่หากมีข้อมูลเหล่านี้ก็จะทำให้เดินหน้าต่อได้ไวและเร็วมากยิ่งขึ้น 

และหากใครที่อยากเริ่มต้นเรื่องของการวางแผนเพื่อนำ Data กลับมาใช้สำหรับแผนการตลาด

สามารถอ่านบทความนี้เพื่อไปต่อยอดในการวางแผนได้เลยค่ะ 

วางแผนการตลาดด้วยหลักการ Data Therapy Canvas 

3. Omni-channel Commerce : Social Commerce / Marketplace / Website E-Commerce

เตรียมรับมือกับค่า GP ในช่องทาง Social Commerce และ Marketplace ที่เพิ่มขึ้น

แน่นอนว่าในข้อที่ 1 เราพูดถึงเรื่องของ Live Commerce และ Social Commerce แต่พอมาถึงจุดนี้

เรากำลังสื่อสารว่า การแข่งขันที่สูงขึ้นจนหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ทำให้พื้นที่และค่าโฆษณาของ Social Commerce และ Live Commerce ผ่านตัวกลาง สูงขึ้นด้วยในเวลาเดียวกัน โดย Shopee ได้มีการเพิ่มอัตราเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสูงขึ้นถึง 13% ในเดือนกรกฎาคม จากเดิม 10% ในขณะที่ TikTok เรียกเก็บค่าธรรมเนียมสูงถึง 8% และ Lazada สูงถึง 10%

Impact on Sellers of Amazon FBA Fee Changes

แผนภูมิแสดงผลอัตราค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นของ Amazon FBA จาก ThreeColts

จากแผนภูมิของ ThreeColts แสดงให้เห็นถึงอัตราค่าธรรมเนียบที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเดือนตุลาคม 2022 ผู้ขายต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสูงถึง 40% ของราคาขายต่อหน่วยให้กับ Amazon ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดในช่วงปีที่ผ่านมา

คำถามต่อมา E-Commerce ที่เป็นเว็บไซต์ของแบรนด์ยังสำคัญอยู่ไหม หากวันนี้แบรนด์มีเป้าหมาย อยากเติบโตในโลกออนไลน์ แบบแข็งแกร่งและยั่งยืน และ โตไปไกลได้ถึงตลาดระดับโลกนั้น ก็แน่นอนว่า Website E-Commerce ของแบรนด์ยังมีความสำคัญอยู่ เหตุผลหลักๆคือ 

1. การเก็บข้อมูลของลูกค้าเพื่อต่อยอดผ่านการติดต่อ GA4 หรือการ Track ด้วยข้อมูลเว็บไซต์ เพื่อหาโอกาสในการนำเสนอสินค้าได้เหมาะกับลูกค้ามากขึ้นทั้งบนเว็บไซต์แพลตฟอร์ม และ นอกแพลตฟอร์มของแบรนด์เองก็ตาม  

2. แม้ว่าเรื่องของ AI จะเข้ามามีบทบาทสำคัญกับมนุษย์ ในการค้นหาข้อมูลแต่ Search Engine ยังเป็นประตูบานสำคัญ ที่เข้าถึงกลุ่มคนในวงกว้างสำหรับการใช้งาน เพราะฉะนั้นแล้ว Website ยังคงเป็นช่องทางที่เปิดโอกาสให้คนเข้าหา ธุรกิจของคุณได้มากขึ้น  

3. สำหรับธุรกิจที่อยากเติบโตในต่างประเทศ การมีเว็บไซต์ ยังเป็นเรื่องตอบโจทย์ด้านความน่าเชื่อถือและรองรับความต้องการของลูกค้าต่างประเทศอีกด้วย  

เหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งสำคัญ ว่าหากเราเตรียมตัวแพลตฟอร์มของเราให้ดี ในการวิ่งระยะยาว เรื่องของ GP ก็ยังพอทางเฉลี่ยไปได้ แต่แน่นอนว่าการที่จะพาลูกค้าที่มีความเคยชินกับการซื้อผ่าน Marketplace และ Social Commerce มาอยู่ในแพลตฟอร์มของแบรนด์ก็ต้องอาศัยเรื่องของ Special Offer ในช่องทางเว็บของเรา

แต่คำว่า Special Offer นี้ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่ โปรโมชั่นเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงสิ่งดังต่อไปนี้

Special Offer Techniques

3.1 มีสินค้าจำหน่ายเฉพาะช่องทาง Ecommerce ของแบรนด์ 

สินค้าที่สามารถหาซื้อผ่านช่องทางนี้ได้เท่านั้น แต่ให้แน่ใจว่ามีการสร้าง Demand หรือความต้องการสินค้านั้นๆ ผ่านแผนการตลาดที่วางไว้ 

3.2 สิทธิพิเศษกับการเข้าซื้อครั้งแรกในเว็บ Ecommerce : First Time Purchase Offer 

การมาครั้งแรกยิ่งต้องสร้างความประทับใจไม่ว่าจะเป็น สิทธิพิเศษ หรือข้อแถมในการซื้อครั้งแรกก็ช่วยเพิ่มประสบการณ์แบบ Micro Experience หรือประสบการณ์เล็กๆ น้อยๆ และ ความรู้สึกที่ดีให้กับแบรนด์ได้ไม่มากก็น้อย

3.3 ส่วนลดสุดพิเศษที่ไม่มีช่องทางอื่น : Super Special Discount 

ลดแล้วลดอีก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ส่วนลดจากการเข้ามาซื้อครั้งแรก และลดเพิ่มจากช่วงเวลาของ Promotion และ แต้มลดพิเศษสำหรับสินค้าบางประเภท 

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นพื้นฐาน 3 สิ่งที่แบรนด์สามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที และ เป็นเรื่องที่เราเคยพบเห็นกัน แต่อาจจะลืมนำมาใช้ ทางทีม STEPS ยังเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญที่หากใช้อย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยดึงดูดลูกค้า กลับเข้ามาได้อย่างแน่นอน 

ยกตัวอย่างประสบการณ์ตรงจากผู้เขียนที่ช่วงนี้สนใจกีฬาเทนนิสเป็นพิเศษ และ หาซื้อรองเท้ากีฬาเทนนิส แน่นอนว่าแบรนด์ที่เราสนใจ ก็หนีไม่พ้นแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักกันไม่ว่าจะเป็น Nike, Asics รวมถึง ON 

แต่อีกปัจจัยที่ต้องพิจารณาก็คือราคา และ โปรโมชั่นที่เราก็ต้องเริ่มฉลาดซื้อเนื่องจากยุคเศรษฐกิจที่แปรผัน อีกส่วนหนึ่งก็ยังรู้สึกว่าได้ใส่แบรนด์เป็นที่รู้จัก เลยลองพิจารณา Nike แต่รองเท้าสำหรับเทนนิสนั้นสามารถหาซื้อได้เฉพาะตามร้านกีฬา และอีกช่องทางคือเว็บไซต์ 

ผู้เขียนจึงลองเข้าไปในเว็บไซต์ของ Nike ตามคำแนะนำของผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอีกที

และพบว่า Nike มีโปรโมชั่นให้กับ 

1.การสมัครเป็น Member ของ เว็บ

2.โปรโมชั่นสำหรับช่วงเวลานั้นๆ เป็นส่วนลด

3.โปรโมชั่นส่วนลดเพิ่มเติมเฉพาะสินค้านั้นๆ อีก 

nike website

รูปประกอบจากเว็บไซต์ Nike

เลยเริ่มเข้าใจได้ว่า Nike Brand ยักษ์ใหญ่ระดับโลก เขาพยายามพาลูกค้าไปสู่แพลตฟอร์มของเขามานานพักใหญ่แล้ว เพราะได้ทำการวางแผนไว้ระยะยาว ว่าต้องมีที่เก็บข้อมูลลูกค้า แต่ทำให้ลูกค้าผูกพันธ์กับแบรนด์แบบผ่านตัวกลางในโลกออนไลน์น้อยลงเพราะค่า GP ที่สูงขึ้น 

ทั้งนี้ทั้งนั้นสำหรับธุรกิจที่เป็นขนาด SME ก็ไม่ต้องกังวลไป หากเราพึ่งเริ่มต้นเราก็สามารถใช้เว็บไซต์สำเร็จรูปราคาเริ่มต้นเดือนละหลักพัน หรือถ้าธุรกิจขนาดที่ใหญ่ขึ้น เราอาจจะมองหาเว็บไซต์สำเร็จรูปที่มีการรองรับเรื่องของการออกแบบการเก็บข้อมูล และบริการหลังการขายที่ไว้ใจได้ค่ะ

แน่นอนว่าการเริ่มต้นช่องทางใหม่ในช่วงแรกไม่ใช่การเริ่มต้นแล้วได้ผลลัพธ์เลยทันที แต่เป็นการลงทุนระยะยาวค่อยๆ คิด และค่อยๆ วางแผนไป สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าควรเริ่มต้นอย่างไรดี

สามารถลงทะเบียนเพื่อขอคำปรึกษาฟรีกับทางทีม STEPS Consulting ของเราได้เลยค่ะ 

STEPS Consulting banner (2)

4. Marketing Automation Tools 

เรื่องของ  Marketing Automation  หรือระบบการตลาดแบบอัตโนมัติ เป็นอีกหนึ่งกระบวนการที่เชื่อว่าหลายธุรกิจอาจจะยังไม่ได้เริ่มทำความรู้จักว่าระบบเหล่านี้ช่วยแบ่งเบาภาระทางด้านเวลาและต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านการตลาดไม่มากก็น้อยอยู่ โดยปัจจุบัน ธุรกิจส่วนใหญ่กว่า 56% มีการใช้เครื่องมือ Marketing Automation ในการดำเนินธุรกิจ 

ไม่ว่าจะเป็นการผูกระบบอัตโนมัติ ในการตอบลูกค้า หรือ การผูกระบบอัตโนมัติเข้ากับระบบการซื้อโฆษณาบนออนไลน์ และ นำข้อมูลจัดส่งต่อ เพื่อต่อยอดไปถึงการทำ CRM หรือ Customers Relationship Management หรือแม้กระทั่งการเชื่อมระบบอัตโนมัติพร้อม AI เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้า 

5. AI For Marketing and Business 

AI ไม่ได้เป็นเพียงแค่เทรนด์อีกต่อไปแต่ AI เป็นตัวช่วยงานได้อย่างดีขึ้นในทุกๆ วินาทีไม่ว่าจะเป็นงานฝั่งของการตลาดหรือส่วนอื่นๆ ของธุรกิจ  สำหรับในแง่มุมของการตลาดนั้น AI สามารถช่วยเราได้หลากหลายด้านแต่ทางผู้เขียนขอสรุปออกมา 4 ประเด็นด้วยกันค่ะ เริ่มจาก 

5.1 AI for Customers Experiences 

AI สามารถช่วยวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของลูกค้า และพัฒนาออกมาเป็นการตลาดที่ตอบโจทย์ด้านประสบการณ์ของลูกค้าที่จะสามารถพบเจอได้ในโลกออนไลน์ และออฟไลน์แบบไร้รอยต่อ

รวมไปถึงการสร้างประสบการณ์ส่วนบุคคล ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า แบรนด์รู้ลึก รู้จริง โดยการใช้ AI ในการช่วยวิเคราะห์ข้อมูลที่มาจากหลากหลายช่องทางในออนไลน์โดยเฉพาะจากฝั่ง เว็บไซต์ อีคอมเมิร์ซ และหากธุรกิจไหนที่มีโอกาสได้ใช้เครื่องมือ Marketing Technology หรือ MarTech เข้ามาช่วยในธุรกิจไม่ว่าจะเป็น ระบบ CRM (Customers Relationship Management ) ระบบ CDP (Customers Data Platform) และหากแพลตฟอร์มเหล่านี้มีเครื่องมือ AI ที่เข้ามาช่วยเสริมในการวิเคราะห์ก็จะช่วยทำให้เราได้ข้อมูลที่ต่อยอดในการทำแคมเปญ เฉพาะบุคคล เพิ่มเติมได้อีก 

ตัวอย่าง : 

Where deepbrew drives elevated experience

Starbucks ที่มีการพัฒนาเครื่องมืออย่าง Deep Brew ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ร่วมกับ Microsoft Azure เพื่อใช้คาดการณ์ความต้องการของลูกค้า ด้วยวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เช่น ประวัติการซื้อ ช่วงเวลา และสภาพอากาศ ทำให้ Starbucks สามารถแนะนำเมนูอาหารและเครื่องดื่มที่ตรงกับความชอบของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ สิ่งนี้ช่วยให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่เป็น Personalized มากขึ้น และช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ ส่งผลให้ยอดขายของ Starbucks เพิ่มขึ้น และทำให้ลูกค้ามีความภักดีต่อแบรนด์มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

Invest in Machine learning to stay competitivestarbucks deep brew

รูปจาก : https://www.youtube.com/watch?v=XxK1PyaF1bw&ab_channel=MicrosoftDeveloper

5.2 การใช้ AI เพื่อสร้างชิ้นงานมีเดียทางการตลาด

top 10 AI Tools

ผลสำรวจ 10 อันดับเครื่องมือ AI ที่ได้รับความนิยมในปี 2024

เชื่อว่าหลายคนที่รู้จัก AI น่าจะเคยใช้ AI ในการช่วยผลิตชิ้นงานในทางการตลาดไม่มากก็น้อย และสำหรับในปี 2025 เราจะเริ่มเห็นชิ้นงานในด้านคอนเทนต์และมีเดียมากขึ้นในรูปแบบที่หลากหลายไม่ใช่เพียงตัวอักษรหรือรูปภาพเพียงอย่างเดียวแต่จะมีออกมาในรูปแบบวิดีโอที่มีคุณภาพมากขึ้น ประกอบกับเสียงที่มีความเสมือนจริงมากขึ้น และแน่นอนว่าสิ่งที่มีประโยชน์ย่อมมาพร้อมกับโทษด้วยเช่นกันแพลตฟอร์มต่างๆ ยังคงไม่ได้เปิดรับคอนเทนต์ที่มาจาก AI 100 % และบางแพลตฟอร์มก็อาจจะไม่ได้ปิดกั้น แต่หากมีกรณีในการสร้างคอนเทนต์โดยการใช้ AI  ขึ้นมาในทางที่ผิดเรื่อยๆ ก็อาจจะมีกฎในการใช้ที่เยอะขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นการใช้ AI เพื่อช่วยงานเราก็ต้องมีการพลิกแพลงเพิ่มเติมเพื่อให้ช่วยผ่อนแรงในขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์ ประโยชน์ให้กับผู้รับข้อมูล คอนเทนต์ ในโลกออนไลน์ด้วย 

5.3 AI สำหรับการช่วยวิเคราะห์ผลลัพธ์ของโฆษณา 

อย่างที่เราทราบกันว่าแต่ละแพลตฟอร์ม เริ่มนำเอา AI เขามาช่วยเรื่องของการวิเคราะห์ ผลลัพธ์โฆษณาและต่อยอดในส่วนของ Programatics Ads เพื่อทำให้การซื้อโฆษณาได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำขึ้น คุ้มค่ามากขึ้น 

เพิ่มเติม AI จะสามารถช่วยให้การวิเคราะห์ผลลัพธ์ของ Interaction หรือปฏิสัมพันธ์ของผู้เห็นโฆษณาได้แบบเรียลไทม์ หรือทันทีมากขึ้น ทำให้นักการตลาด หรือฝ่ายซื้อมีเดียโฆษณาได้ผลลัพธ์ที่ทำให้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ไวขึ้น และ คาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ

ตัวอย่าง : 

Meta มีการใช้ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณา Meta’s Advantage+ shopping campaign บนโซเชียลมีเดียทั้ง Facebook และ Instagram โดย AI จะช่วยลดขั้นตอนการตั้งค่าโฆษณา โดยสามารถสร้างและปรับแต่งโฆษณาได้สูงสุดถึง 150 รูปแบบ ช่วยให้นักการตลาดสามารถระบุโฆษณาที่ทำงานได้ดีที่สุดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้แคมเปญมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

Advantage shopping campaigns

https://about.fb.com/news/2022/08/introducing-new-automation-tools-to-increase-sales-and-drive-growth/

นอกจากนี้ Discovery Engine ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ของ Meta ยังมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ระบบแนะนำคอนเทนต์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI บน Reels ของ Instagram ทำให้เวลาที่ผู้ใช้ใช้บนแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้นถึง 24% ระบบนี้ช่วยให้ผู้ใช้เห็นเนื้อหาที่ตรงกับความสนใจของตนเอง ทำให้โฆษณามีความเหมาะสมมากขึ้น

https://about.fb.com/news/2023/06/how-ai-is-powering-marketing-success-and-business-growth/

5.4 AI สำหรับการทำ Marketing Automation 

AI กำลังเปลี่ยนแปลงวงการ Marketing Automation อย่างไร้ขีดจำกัด สำหรับเจ้าของธุรกิจและนักการตลาด การนำ AI มาใช้สามารถเชื่อมโยงกับกระบวนการอัตโนมัติทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย AI ถูกนำมาใช้กับหลากหลายระบบในการทำงานไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มสำหรับ Project Management อย่าง Trello / Clickup / Monday / Notion และอีกหลากหลายแพลตฟอร์ม รวมถึงการทำระบบการตลาดแบบอัตโนมัติอย่าง Zapier 

แม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาของ Beta ที่หลากหลายแพลตฟอร์มกำลังนำ AI มาทดลอง ทดสอบผลลัพธ์อยู่ เทคโนโลยี AI ในปี 2025 นี้จะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่น่าจับตามองและเป็น Game Changer อย่างแน่นอน 

Marketing Automation

ตัวอย่าง : 

AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ Email Automation เช่น การตั้งเวลาส่งอีเมลแบบอัตโนมัติตามเขตเวลา หรือ พฤติกรรมการเปิดอีเมลของลูกค้า ทำให้การทำ Email Marketing มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ AI ยังช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า เช่น ทริกเกอร์อีเมลหลังการซื้อ หรือการส่งอีเมลเตือนเมื่อลูกค้ามีสินค้าในรถเข็นแต่ยังไม่ได้ทำการสั่งซื้อ ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มโอกาสในการปิดการขาย ระบบ Email Automation ที่ผสมผสาน AI เข้ามาช่วยยังสร้างการสื่อสารที่มีความเป็นส่วนตัว และตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

และนี่เป็นแนวโน้มของ Digital Marketing ที่กำลังจะเปลี่ยนไปในปี 2025 ที่จะถึงนี้ เหล่าผู้ประกอบการ และเจ้าของธุรกิจควรเริ่มวางแผนเพื่อเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโดยเฉพาะ AI และพฤติกรรมของผู้บริโภค สำหรับผู้ประกอบการ หรือเจ้าของธุรกิจที่ต้องการปรึกษาในการวางแผนกลยุทธ์ Digital Marketing ให้กับธุรกิจ สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาฟรีกับทางทีมงาน STEPS Consulting ได้เลย!

STEPS Consulting banner (2)

Ref : 

Livestream Ecommerce :  Market and Future Scope

Ready for prime time? The state of live commerce

DATA-DRIVEN MARKETING TRENDS 2024

Sea’s Shopee raises seller fees above those of TikTok and Temu to lift margins

Impact on Sellers of Amazon FBA Fee Changes

The 20 Best Marketing Automation Tools Available to You

The AI-Powered Advertising Era: Your Guide to Navigating AI in Paid Media

[Report] Generative AI Top 150: The World’s Most Used AI Tools (Feb 2024)

How AI is Powering Marketing Success and Business Growth

Introducing New Automation Tools to Increase Sales and Drive Growth

Marketing Automation

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Recommended Topics

Data-driven Decision-making (DDDM) ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูล เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจในยุค 2024