6 ไอเดียในการทำ Marketing Segmentation เพื่อการเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ

6 Idea for Marketing Segmentation

ความหลากหลายของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันเป็นความท้าทายของนักการตลาดในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดให้สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ ในบทความนี้ผู้เขียนจึงได้นำแนวทางในการทำ Marketing Segmentation เพื่อการทำการตลาดอย่างเข้าใจผู้บริโภค

Market Segmentation คืออะไร

Market Segmentation คือ การทำการตลาดโดยแบ่งส่วนของกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันออกมาเป็นกลุ่มๆ เพื่อการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างเข้าใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

 

โดยทั่วไปแล้วในการทำ Market Segmentation สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทพื้นฐานดังนี้

  • Geographic Segmentation: แบ่งตามลักษณะภูมิศาสตร์
  • Demographic Segmentation: แบ่งตามลักษณะประชากรศาสตร์
  • Psychographic Segmentation: แบ่งตามจิตวิทยา ความชื่นชอบ หรือความสนใจ
  • Behavioral Segmentation: แบ่งตามพฤติกรรมของผู้บริโภค

สำหรับผู้อ่านที่ต้องการทำความเข้าใจ 4 ประเภทพื้นฐานของการทำ Market Segmentation สามารถอ่านต่อได้ที่บทความ ทำความเข้าใจ Segmentation เพื่อเข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้น

 

6 ไอเดียในการทำ Market Segmentation

 

ต่อมาเรามาดูไอเดียในการแบ่งส่วนการตลาด หรือ Market Segmentation ในรูปแบบอื่นๆ ที่นักการตลาดสามารถนำมาเป็นไอเดีย หรือนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจได้ดังนี้ค่ะ

1. Media Segmentation

 

Media Segmentation

การแบ่งตามพฤติกรรมการบริโภคสื่อต่างๆ ทั้ง social media,TV,search engine preferences และการใช้ social media เพื่อการนำไปต่อยอดในการวางแผน Content Marketing และการวางแผนการยิงโฆษณาผ่านช่องทาง Social Media ได้อย่างเหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้บริโภค

 

2.Benefit Segmentation

 

Benefit Segmentation

การแบ่งตามผลประโยชน์ที่ผู้บริโภคมองหาจากสินค้า กลุ่มผู้บริโภคที่กำลังมองหาสินค้าชนิดเดียวกันแต่กำลังมองหาประโยชน์ของสินค้าที่แตกต่างกัน จึงเป็นหน้าที่ของนักการตลาดในการสื่อสารสินค้าออกไปได้ยังตรงใจกับสิ่งที่ผู้บริโภคกำลังมองหา ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสินค้า หรือธรุกิจนั้นๆ เช่น

  • Customer Service หรือ การบริการลูกค้า
  • Quality หรือ คุณภาพ
  • Other Specific Expectations หรือ ความคาดหวังเฉพาะที่ผู้บริโภคค้นหา

 

3.Environmentally Aware

 

Environmentally Aware

การแบ่งตามความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม เป็นอีกหนึ่งไอเดียที่น่าสนใจสำหรับแบรนด์ค่ะ เนื่องจากผู้บริโภคในบุคปัจจุบันหันมาให้ความสนใจต่อประเด็นสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ซึ่งข้อกังวลเหล่านี้เองจะขยายไปถึงปัจจัยในการซื้อผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็น

  • ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • การย่อยสลายของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

จึงหมายถึงความรับของขององค์กรต่อสิ่งแวดล้อมค่ะ ซึ่งการทำ Market Segmentation ในส่วนนี้จะทำให้แบรนด์สามารถทำความเข้าใจผู้บริโภคที่มีความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นจุดขายที่ดีต่อแบรนด์ได้อีกด้วยค่ะ

 

4.Health and Diet Conscious

 

Health and Diet Conscious

การแบ่งตามระดับความใส่ใจในสุขภาพและอาหาร เป็นอีกหนึ่งไอเดียที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่มที่ต้องการทำการตลาดในกลุ่มผู้บริโภคที่มีความใส่ใจด้านสุขภาพ 

โดยการแบ่งส่วนการตลาดสำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่มีความใส่ใจด้านสุขภาพ สามารถแบ่งย่อยได้ตามระดับความใส่ใจในสุขภาพตั้งแต่ ผู้บริโภคที่มีความใส่ใจสุขภาพโดยทั่วไป ไปจนถึงผู้บริโภคที่มีความใส่ใจในสุขภาพแบบเจาะจง เพื่อการนำเสนอสินค้าได้ตรงกับใจผู้บริโภครวมไปจนถึงรูปแบบในการนำเสนอสินค้าอีกด้วย

 

5.​​Variety Seekers

 

​​Variety Seekers

“Many markets will have a group of consumers who seek out variety.”

กลุ่มผู้บริโภคบางกลุ่มชื่นชอบทางเลือกใหม่ๆ และชอบการทดลองสินค้าใหม่ๆ เพื่อเปิดรับกับประสบการณ์ใหม่ๆ ในการซื้อของค่ะ

ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มนี้ค่อนข้างตอบสนองต่อการขยายผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จึงถือเป็นตลาดเป้าหมายเริ่มต้นที่น่าดึงดูดใจในการสร้างยอดขายสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อีกทั้งยังมีสัดส่วนมากยิ่งขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้นำในการแสดงความคิดเห็นเพื่อดึงดูดไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ได้อีกด้วย

 

6. Firmographic Segmentation

 

Firmographic Segmentation

ภาพจาก Hubspot

สำหรับธุรกิจในรูปแบบ B2B ที่ต้องการทำ Market Segmentation จะต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ที่แตกต่างออกไป ด้วยการใช้  Firmographic Segmentation เข้ามาในการช่วยแบ่งกลุ่มบริษัทต่างๆ คล้ายคลึงกับการทำ Demographic Segmentation นั่นเองค่ะ โดยเราสามารถแบ่งย่อยออกมาได้ตามตัวอย่างดังต่อไปนี้

  • Turnover and Profit  หรือ มูลค่าการซื้อขายและกำไร
  • Industry หรือ อุตสาหกรรม
  • Size of Business หรือ ขนาดของธุรกิจ
  • Number of Employees หรือ จำนวนของพนักงาน
  • Location(s) หรือ สถานที่
  • Ownership (public, private, government, etc.) หรือ ความเป็นเจ้าของ
  • Organizational Trends หรือ แนวโน้มในอนาคตขององค์กร
  • Average Sales Cycle หรือ รอบการขายโดยเฉลี่ย

 

ที่มา

https://www.semrush.com

https://www.segmentationstudyguide.com

https://sixads.net

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Digital Customer Journey คืออะไร ทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
6 แนวทางในการทำ Digital Content Marketing ในปี 2022 พร้อมตัวอย่างคอนเทนต์ที่น่าสนใจ