ทุกวันนี้ คุณคงเห็นธุรกิจออนไลน์ตามสื่อมีเดียมากมาย มีทั้งแบรนด์เจ้าเดิม ๆ และ เจ้าใหม่ ๆ ผุดขึ้นมาแข่งขันกันในตลาด แน่นอนว่า คงไม่ใช่ทุกธุรกิจที่จะสามารถสร้างยอดขายให้เป็นไปตามเป้าหมาย หรือ สามารถเอาชนะคู่แข่งในสนามการแข่งขัน แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ธุรกิจควรทำความเข้าใจก่อนลงมือทำการตลาด ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของเทรนด์ที่กำลังมา เครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการทำการตลาด และ พฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มเป้าหมาย โดยกลยุทธ์สูตรสำเร็จในแต่ละแบรนด์ไม่สามารถลอกเลียนแบบกันแล้วจะได้ผลลัพธ์ที่เท่ากัน ดังนั้น ผู้เขียนจะขอแนะนำแนวทางการทำการตลาดขั้นพื้นฐานเพื่อปูทางไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังสามารถวัดผลได้จริง แผนการตลาดที่เราจะไปทำความเข้าใจในวันนี้มีชื่อว่า RACE Model ค่ะ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจ Digital Marketing เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ และหลักการวางแผนการตลาด STEPS Academy มีหลักสูตรการตลาดออนไลน์ที่ชื่อว่า Digital Marketing Strategy เพื่อให้คุณสามารถสร้างโอกาสล้ำค่า และ คว้าแต้มต่อในการเอาชนะคู่แข่ง ไม่ใช่เพียงดำเนินธุรกิจให้อยู่รอด แต่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างเข้มแข็ง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://stepstraining.co/digital-marketing-specialist
RACE Model คืออะไร
RACE Medel คือกลยุทธ์การตลาดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นแนวคิดทางธุรกิจที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งการตลาดดิจิทัล และการตลาดแบบออฟไลน์ รวมทั้งการตลาดแบบผสมผสาน (Omnichanel) เพื่อใช้ในการเข้าถึง และ สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้ทุก ๆ ขั้นตอน โดย RACE Model มาจากคำว่า
- Reach คือการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแบบวงกว้าง เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness)
- Act คือ Stage ที่ทางแบรนด์ต้องการให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาสร้างปฏิสัมพันธ์ หรือ เกิดการกระทำบางอย่างกับแบรนด์
- Convert คือการที่ลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้าและบริการ หรือการที่ลูกค้าเก่ากลับเข้ามาซื้อสินค้ากับเราซ้ำอีกครั้ง
- Engage คือการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเก่า เพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำ และ สร้าง Brand Loyalty
ภาพด้านล่างเป็นตัวอย่างโมเดล RACE โดยมีลักษณะเป็นแบบ Funnel Marketing ทำให้นักการตลาดสามารถวางกลยุทธ์ได้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายในทุก ๆ ระดับ
ทำไมธุรกิจควรใช้ RACE Model
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมไหน ทั้งในรูปแบบออนไลน์ หรือออฟไลน์ ก็สามารถใช้โมเดลธุรกิจนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เห็นภาพรวมได้อย่างชัดเจนในทุกลำดับขั้น และวัดผลได้จริง โดยข้อดีของการใช้ RACE Model มีดังนี้
- สามารถใช้ในการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ทุก Stage ของการทำการตลาด ตั้งแต่ช่วงเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนเข้าหากลุ่มเป้าหมาย การซื้อขาย การซื้อซ้ำ และ การสร้างความภักดีต่อแบรนด์
- RACE คำนึงถึงการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) ด้วยการวางแผนการทำ Marketing Funnel ให้สอดคล้องกับแคมเปญ หรือรูปแบบธุรกิจ จากนั้นจึงเริ่มหาวิธีการสื่อสารกับลูกค้า ตั้งแต่การรับรู้แบรนด์ การสร้าง Lead (กลุ่มเป้าหมาย) การขายและการซื้อซ้ำ จนไปถึงระดับการสร้างความภักดีต่อแบรนด์
- RACE คือการผสมผสานการวางแผนการตลาดหลากหลายรูปแบบ เช่นการผสมผสานแนวคิดการตลาดแบบออนไลน์ และ ออฟไลน์ แบบการทำออร์แกนิคคอนเทนต์ และ การยิงแอด หรือ แม้กระทั้งการผสมผสานการตลาดแบบ Inbound และ Outbound Marketing
- RACE สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของแผนการตลาดได้ด้วยการทำ Data-Driven Marketing โดยแบรนด์สามารถดึงข้อมูลที่จำเป็นมาใช้ในการวิเคราะห์การตลาด และ แนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้นสำหรับแคมเปญครั้งต่อไป
ธุรกิจประเภทไหนที่เหมาะกับโมเดล RACE
โมเดล Race เหมาะกับธุรกิจทุกรูปแบบ และทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบ B2B หรือ B2C ก็สามารถนำโมเดลนี้ไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมของแคมเปญ กลุ่มลูกค้า และรูปแบบสินค้า และ บริการค่ะ
โมเดล RACE ย่อมาจากอะไร มีความหมายต่อการทำการตลาดอย่างไร
จากที่ได้เกริ่นไปก่อนหน้านี้ว่าโมเดล RACE มาจากคำว่า Reach, Act, Convert และ Engage โดย Life Cycle ของการวางกลยุทธ์นี้สามารถดูได้ที่ภาพด้านล่างนี้ค่ะ
จากภาพด้านบนจะเห็นว่ารูปแบบ RACE Model มีลักษณะเป็นรูปกรวย มีลักษณะคล้ายกับ Funnel Marketing ที่เริ่มจากการทำการตลาดแบบสร้างการรับรู้แบรนด์อย่างเป็นวงกว้างก่อน แล้วค่อย ๆ เจาะจงลงมาจนเกิดการพิจารณา และ การซื้อขาย จากนั้นการซื้อขาย ก็จะกลายเป็นการซื้อซ้ำอีกครั้ง
(Plan) > Reach > Act > Convert > Engage
Plan
ในส่วนที่สำคัญเป็นอันดับแรก คือการวางแผนเพื่อสร้าง RACE Model ทั้งนี้ก็เพื่อให้แผนการตลาดมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้นจากการเลือกเป้าหมายของแคมเปญให้เหมาะสม สามารถตั้ง KPI เพื่อ ตรวจสอบ และ วัดผลได้หลังจบแคมเปญ ทำให้เราทราบว่า ผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปตามจดประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ หรือมีจุดไหนที่ต้องปรับปรุง โดยเราสามารถตั้งเป้าหมายในรูปแบบโมเดล SMART โดยขอสรุปให้เห็นภาพง่าย ๆ โดยการตั้งตัวอย่างดังนี้ค่ะ
- Specific
ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน สอดคล้องกับแคมเปญที่วางไว้ เช่น เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ เพื่อเพิ่มยอดผู้ติดตาม
- Measurable
ตั้งเป้าหมายที่สามารถวัดผลได้จริงทางสถิติ เช่น จำนวนคนเข้าร่วม Event ยอดขาย ยอดคลิก
- Achievable
ตั้งเป้าหมายที่ทำสำเร็จได้จริง มีความเป็นไปได้เพื่อกระตุ้นให้ทำงานได้สำเร็จ
- Relistic
เป้าหมายที่วางไว้ต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง ทำให้สอดคล้องกับการวัดผล
- Timely
กำหนดเวลาในการทำเป้าหมายให้ชัดเจน
Reach
คือขั้นตอนแรกของ Race Model เป็นขั้นตอนการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ให้กับกลุ่มเป้าหมาย แบบวงกว้าง ซึ่งวิธีนี้สามรถทำได้ทั้งแบบออฟไลน์ และ ออนไลน์ ในกรณีที่นักการตลาดวางแผนการตลาดดิจิทัล คุณสามารถวางแผนได้ด้วยการวัดผลด้วยการทำโฆษณาผ่านสื่อมีเดีย หรือ ทำคอนเทนต์ออร์แกนิคบนช่องทางโซเชียลมีเดีย รวมทั้ง สร้างเครือข่ายพาร์ทเนอร์บนโลกออนไลน์ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงแบรนด์ได้ง่ายขึ้น และ สนใจเข้ามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมบนเว็บไซต์
ตัวอย่าง KPI ที่ใช้วัดผล
- เลือกตัวชี้วัด Website Visitor โดยเก็บข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์แบบออร์แกนิคทุเดือน
- เก็บข้อมูลหน้า Landing Page ในแต่ละแคมเปญ
- เก็บข้อมูล Page View บน Facebook ทุกสัปดาห์
- Follower ผู้ติตตามบนช่องทางโซเชียลมีเดีย หรือ Subscription บนแอป
ตัวอย่างการทำการตลาดในขั้นตอน Reach จาก YouTube
หลาย ๆ ครั้งเราจะเห็นว่ายูทูปมักมีโฆษณาเข้ามาขั้น และในบางครั้งทำให้เสียอรรถรสในการรับชม และฟังเพลง ซึ่งผู้ใช้งานอาจจะเห็นโฆษณาทดลองใช้ฟรีผ่านตา โดยตัวอย่างด้านบนนี้เราจะเห็นว่า ยูทูปเน้นไปที่ประโยคสั้น ๆ แค่คำว่า ดูทุกอย่างได้ โดยไม่มีโฆษณาขั้น และปิดที่ Call to Action ให้ทดลองฟรี 1 เดือน เป็นใครเห็นก็คงอยากจะลองกดเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมกันอย่างแน่นอน
Act
Act คือ ขั้นตอนถัดมาที่ทางแบรนด์ต้องการให้กลุ่มเป้าหมาย กระทำบางอย่าง หรือเข้ามาสร้างปฏิสัมพันธ์ตามที่แคมเปญได้ตั้งไว้ โดยเนื้อหาอาจจะมีการเชิญชวน และบอกรายละเอียดเพิ่มเติมให้ผู้ที่สนใจเข้ามาอ่าน และ อยากตกลงที่จะซื้อสินค้า หรือติดตามเราบนหน้าพจ หรืออาจเป็นกิจกรรมอะไรก็ได้ที่เราต้องการ เช่น
- การลงทะเบียนทดลองใช้ฟรี
- การให้ข้อมูลบางอย่างแลกเปลี่ยนเพื่อดาวน์โหลดสินค้า และ บริการฟรี
- การสมัครสมาชิก เป็นต้น
ตัวอย่าง KPI ที่ใช้วัดผล
- ตัวชี้วัดเกี่ยวกับราคาโฆษณาต่อหนึ่งหน่วยการคลิกบน้เว็บไซต์ (PPC)
- ตัวชี้วัด ROI จากแคมเปญที่ทำบนเว็บไซต์ทุกเดือน
- ตัวชี้วัด Engagement บน Instagram ทุกสัปดาห์
- ช่วงเวลาที่ใช้บนเว็บไซต์
- การกดถูกใจ คอมเมนต์ และแชร์บนโซเชียลมีเดีย
ตัวอย่างการทำการตลาดในขั้นตอน Act จาก YouTube
หากเราเห็นโฆษณาที่น่าสนใจไปข้างต้นแล้วว่า อยากทดลองดูยูทูปฟรี ให้คลิกมาที่นี่ จากนั้นยูทูปก็จะแสดงรายละเอียด และ เงื่อนไขต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้งาน ทั้งนี้ข้อความจะมีรูปแบบที่สั้น กระชับ เข้าใจได้ ทำให้เกิดการตัดสินใจที่เร็วขึ้น หรือหากต้องการอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมก็ยังสามารถกดเข้าไปดูต่อได้ค่ะ
Convert
Convert คือการที่ลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้าและบริการ หรือการที่ลูกค้าเก่ากลับเข้ามาซื้อสินค้ากับเราซ้ำอีกครั้ง ทั้งนี้แต่ละแบรนด์จะมีกลยุทธ์แตกต่างกันเพื่อมัดใจลูกค้าให้อยู่นานขึ้น เป็นแบรนด์ที่ลูกค้านึกถึงและซื้อสินค้าตลอด หรืออาจใช้จังหวะนี้ในการทดลองทำ A/B Testing เพื่อหาสิ่งที่ลูกค้าถูกใจต่อไปได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ขั้นตอน Convert ยังสามารถทำการตลาดผ่าน Influencer เพื่อให้คนดังช่วยโปรโมต และ บอกเล่าประสบการณ์การการใช้สินค้าจากแบรนด์อีกทางหนึ่ง ทำให้แบรนด์ดูน่าเชื่อถือ และเกิดการซื้อสินค้าซ้ำ
ตัวอย่าง KPI ที่ใช้วัดผล
- ยอดขายรายเดือน รายไตรมาส
- เลือกตัวชี้วัด Conversion Rate บนเว็บไซต์จาก Landing Page ในแต่ละแคมเปญ ทุกเดือน
- เลือกตัวชี้วัดโดยดูจากยอดขายหลังโปรโมตสินค้าจากทาง Influencer หรือการไลฟ์
ตัวอย่างการทำการตลาดในขั้นตอน Act จาก Sleepme
Sleepme เป็นแบรนด์ที่ขายสินค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ช่วยให้นอนหลับสบายขึ้น และ ง่ายขึ้น โดยตัวอย่างด้านบนนี้ Sleepme ได้ส่งอีเมลแจ้งเตือน ว่าถึงเวลาทำความสะอาดเครื่องนอนของคุณแล้ว สนใจสั่งซื้อสินค้าทำความสะอาดที่นอนโดยเฉพาะ คลิกเลย
Engage
Engage คือการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเก่า เพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำในระยะยาวเพื่อให้ลูกค้ายังคงใช้บริการและซื้อสินค้ากับเราต่อไป และเกิดแบรนด์ภักดี โดยขั้นตอนนี้ไม่ว่าธุรกิจไหนก็คงจะอยากให้ลูกค้าเข้ามาถึงขั้นตอนสุดท้ายนี้กันทุกแบรนด์ใช่ไหมคะ ดังนั้น ในขั้นตอน Engage นั้น สามารถทำได้หลายกลยุทธ์แช่นเดียวกัน แล้วแต่ความเหมาะสมของแคมเปญ และอาจดูว่าตอบโจทย์ลูกค้าหรือไม่ ทำให้เกิดประสบการณ์เชิงบวกด้วยการมอบคุณค่าดี ๆ กลับไปยังลูกค้า เช่นการทำการตลาดแบบ Personalization การให้ความสำคัญกับการบริการแบบพิเศษ การส่งต่อโปรโมชั่นสุดพิเศษให้กับลูกค้า VIP หรือการมอบคอนเทนต์ที่เจาะจงให้กับลูกค้าเรา
ตัวอย่าง KPI ที่ใช้วัดผล
- เลือกตัวชี้วัด Conversion Rate บนเว็บไซต์จาก Landing Page ในแต่ละแคมเปญทุกเดือน
- เลือกตัวชี้วัด Churn Rate ทุกเดือน
- การทำคอนเทนต์แบบ Personalization ผ่านอีเมล และเช็คดูยอด Open Rate และยอดคลิก
ตัวอย่างการทำการตลาดในขั้นตอน Engage จาก Sydney Dance Company
Sydney Dance Company คือโรงเรียนสอนเต้นทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยเมื่อลูกค้าสมัครเป็นสมาชิกทางอีเมลแล้ว ทางแบรนด์จะส่งแคมเปญผ่านเข้ามาทางอีเมลเพื่อแจ้งข่าวสาร โปรโมชัน รวมทั้งข้อเสนอพิเศษ ซึ่งตัวอย่างด้านบนเป็นข้อเสนอให้กับลูกค้าที่เคยใช้บริการสตูดิโอด้วยโปรโมชันวันเกิด ทำให้เกิดการซื้อซ้ำ และทำให้ลูกค้าประทับใจ