ทำความรู้จักกับ “First-Party Data, Second-Party Data และ Third-Party Data” เพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำความรู้จักกับ “First-Party Data, Second-Party Data และ Third-Party Data” เพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อยากทำการตลาดให้ตอบโจทย์ลูกค้า และหากลุ่มเป้าหมายที่ใช่ ต้องใช้ Data เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ ซึ่งนักการตลลาด และ ผู้ประกอบการต้องรู้จักความแตกต่างของ Data ประเภทต่าง ๆ เพื่อนำ Data ไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเราสามารถแบ่ง Data ออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

  • First-Party Data
  • Second-Party Data 
  • Third Party-Data

Data ทั้ง 3 ประเภทนี้ล้วนสำคัญต่อการทำการตลาดดิจิทัล แต่ปริมาณ และ คุณภาพมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ คุณผู้อ่านอาจเคยได้ยินข้อมูลประเภท Zero-Party Data อีกด้วย ดังนั้น STEPS Academy ขอสรุปความหมายของ First Party Data, Second Party Data และ Third Party Data” อีกทั้ง เรายังแถมบทสรุปความหมายของ Zero-Party Data ให้คุณผู้อ่านเพิ่มเติมเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคล (Personalized Marketing) กันค่ะ

First-Party Data คืออะไร

First-Party Data คือข้อมูลที่แบรนด์เป็นผู้รวบรวมจากช่องทางต่าง ๆ โดยตรง ไม้ว่าจะเป็นข้อมูลจากบนเว็บไซต์ของแบรนด์ หรือ แอปพลิเคชัน  ซึ่ง ข้อมูลเหล่านี้ทางแบรนด์จะเป็นผู้สะสมเองผ่านการเก็บ Cookie ที่ผู้ใช้งาน หรือผู้ที่เข้ามาเยี่ยมเว็บไซต์ให้อนุญาตเก็บข้อมูล ภายใต้กฎหมาย PDPA หรือ อาจะเป็นข้อมูลจากการเข้าระบบบัญชีผู้ใช้ ซึ่งเมื่อเทียบกับ Data ประเภทอื่น ๆ นั้นจะมีคุณภาพมาก และ เชื่อถือได้ เนื่องจากเป็นลูกค้าที่มีประวัติในการซื้อสินค้า หรือเคยทำกิจกรรมบางอย่างผ่านแคมเปญของแบรนด์

ตัวอย่าง First-Party Data

  1. อีเมลลูกค้า ที่สมัครสมาชิก หรือ กดติดตามข่าวสารผ่านอีเมล
  2. เบอร์โทรศัพท์ของลูกค้า
  3. ข้อมูล Engagement บนเว็บไซต์
  4. ข้อมูล Engagement จากช่องทางโซเชียลมีเดีย
  5. ข้อมูลประวัติการซื้อสินค้าของลูกค้า
  6. ข้อมูลจากผลสำรวจต่าง ๆ ที่ลูกค้าเคยกรอก
  7. ผลตอรับ หรือ รีวิวของลูกค้าจาก Loyalty Program
  8. Referral Data จาก  Affiliate Program
  9. ข้อมูลลูกค้าจากแอปพลิเคชัน
  10. ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ ๆ ลูกค้ามี Engagement ผ่านช่องทางแอปพลิเคชันบนมือถือ
First-Party Data คือข้อมูลที่แบรนด์เป็นผู้รวบรวมจากช่องทางต่าง ๆ โดยตรง

จากภาพตัวอย่างด้านบนจาก Claravine เผยว่า 70% ของผู้ที่ทำโฆษณาวางแผนในการนำ First Party Data ไปปรับใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้ดีขึ้น

ข้อดี และ ข้อจำกัดในการใช้ First-Party Data

ข้อดี

  • ทำให้นักการตลาดเข้าใจว่ากลุ่มลูกค้าของเราเป็นใคร
  • สามารถเข้าถึง และ เข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลเชิงลึก และ เทรนด์ของผู้บริโภค
  • เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปทำ Segmentation ได้สำหรับการทำแคมเปญครั้งต่อไป
  • สามารถนำไปปรับใช้ในการทำ Personalized Marketing

ข้อจำกัด

  • ข้อมูลอาจไม่ครอบคลุม หรือถูกต้องแบบ 100%
  • ข้อมูลสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามเทรนด์ ซึ่งต้องคอยอัปเดตให้ทันอยู่เสมอ
  • มีข้อจำกัดด้านปริมาณเนื่องจากต้องใช้เวลาในการสะสม จัดเก็บ

 

Second-Party Data คืออะไร

Second-Party Data คือข้อมูลมาจากการเก็บ Data จากผู้อื่นโดยมีข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เรียกง่าย ๆ ว่าข้อมูลประเภทนี้ คือ First-Paty Data ของผู้อื่นนั่นเอง โดยแบรนด์ของเราได้ทำการซื้อขาย หรือมีข้อตกลงแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ทำให้นักการตลาดมีข้อมูลในมือที่หลากหลายขึ้น กว้างขึ้นกว่าการมีแค่ First-Party Data รูปแบบเดียว

ตัวอย่าง Second-Party Data

  1. ข้อมูลจาก User-Generated Content
  2. ข้อมูลจากโพสต์ต่าง ๆ บนโซเชียลมีเดีย
  3. ข้อมูลรีวิวที่รวบรวมมา
  4. การเก็บข้อมูลลูกค้าจากสถานที่ต่าง ๆ
  5. ช่องทางการซื้อสินค้า
  6. ข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ของลูกค้า
  7. ข้อมูลโฆษณาของบุคคลที่สาม
  8. ข้อมูลจาก Loyalty Program
  9. ข้อมูลการขายที่รวบรวมจาช่องทางออฟไลน์ และ ออนไลน์
  10. ข้อมูลีท่เกี่ยวกับการค้นหาสินค้า และ เทรนด์

Second-Party Data คือข้อมูลมาจากการเก็บ Data จากผู้อื่นโดยมีข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน

ข้อดี และ ข้อจำกัดในการใช้ Second-Party Data

ข้อดี

  • แบรนด์สามารถเข้าถึงข้อมูลช่องทางอื่นได้นอกจากข้อมูลลูกค้าของแบรนด์เอง
  • ทำให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ไวขึ้น ไม่ต้องรอเก็บ Data แบบ First-Party Data
  • ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากเป็นข้อมูลจากพาร์ตเนอร์ของแบรนด์

ข้อจำกัด

  • มีค่าใช้จ่าย หรือ อาจมีราคาแพง
  • การนำข้อมูลจากพาร์ตเนอร์มาใช้จำเป็นต้องมีความไว้วางใจกันสูง เนื่องจากข้อมูลที่มีไม่ใช่ข้อมูลที่เปิดเผยทั่วไป
  • การควบคุมคุณภาพของข้อมูลอาจไม่เทียบเท่ากับคุณภาพของ First-Part Data

 

Third-Party Data คืออะไร

Third-Party Data เป็นข้อมูลที่มาจากการรวบรวมของบริษัท หรือองค์กรที่เป็นบุคคลภายนอก และขายให้กับแบรนด์ต่าง ๆ เพื่อนำไปต่อยอดทางการตลาด หรือทำโฆษณา ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถรวบรวมมาจากการสำรวจออนไลน์ได้อีกด้วย

บริษัทหรือองค์กรที่เป็นผู้เก็บข้อมูลไม่ได้เก็บ Data จากผู้บริโภคโดยตรง ซึ่ง Data ที่เก็บสะสมมานั้นจะมีปริมาณมาก เนื่องจากมาจากหลายแหล่ง แต่อาจไม่ได้มีการอัปเดต หรือทำความสะอาดข้อมูลให้ทันตามเทรนด์​หรือช่วงเวลานั้น ๆ เท่าที่ควร ทำให้คุณภาพมีน้อยกว่า First-Party Data และ Second-Party Data แต่ถึงอย่างนั้น นักการตลาด และ ผู้ประกอบการก็ยังสามารถนำข้อมูลรูปแบบนี้มาใช้เพื่อศึกษา Insight ของผู้บริโภคได้เช่นกัน

ตัวอย่าง Third-Party Data

  1. ข้อมูลการซื้อออนไลน์จากแหล่งอื่น ๆ
  2. ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศ
  3. ข้อมูลโซเชียลมีเดียทั่วไป
  4. ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ แบบทั่วไป
  5. ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์
  6. ข้อมูลเกี่ยวกับ Audience Segmentation
  7. ข้อมูลด้านการเงิน
  8. ข้อมูลการใช้แอปพลิเคชันผ่านสมาร์ทโฟน
  9. ข้อมูลโฆษณา
  10. ข้อมูล Marketplace หรือ แหล่งการซื้อขายบนโลกดิจิทัล
Third-Party Data เป็นข้อมูลที่มาจากการรวบรวมของบริษัท หรือองค์กรที่เป็นบุคคลภายนอก และขายให้กับแบรนด์ต่าง ๆ เพื่อนำไปต่อยอดทางการตลาด หรือทำโฆษณา ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถรวบรวมมาจากการสำรวจออนไลน์ได้อีกด้วย

ข้อดี และ ข้อจำกัดในการใช้ Third-Party Data

ข้อดี

  • ราคาถูกกว่า Second-Party Data
  • มีปริมาณข้อมูลมหาศาล และมากที่สุดเมื่อเทียบกับปริมาณข้อมูลจาก First-Part Data และ Second-Party Data
  • ให้ประโยชน์แก่แบรนด์หากต้องการสำรวจตลาดแบบทั่วไป หรือศึกษาเทรนด์การบริโภคทั่วไป

ข้อจำกัด

  • ข้อมูลบางครั้งไม่อัปเดตเนื่องจากเป็นข้อมูลที่สะสมมานาน
  • ความแม่นยำของข้อมูลน้อยกว่า First-Part Data และ Second-Party Data
  • ไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างแน่ชัดว่าข้อมูลมาจากแหล่งไหน รวมทั้งวิธีการ

 

Zero-Party Data คืออะไร

Zero-Party Data คือข้อมูลที่ลูกค้าเต็มใจให้กับลูกค้า หรือมีเจตนาให้ข้อมูลกับแบรนด์โดยตรง โดยลูกค้าจะได้รับประโยชน์จากแบรนด์เป็นข้อแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถเก็บมาจากการทำแบบสำรวจต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ของแบรนด์ การทำแบบสอบถามทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับสินค้า และ บริการ หรืออาจเป็นคำตอบจากลูกค้าที่ตอบมาเพื่อเล่นเกมกับแบรนดืค่ะ

ตัวอย่าง Zero-party data

  1. โพสต์จากโซเชียลมีเดีย
  2. ข้อมูลจากการวิเคราะห์เว็บไซต์
  3. Search Engine Queries
  4. ข้อมูลจากผลสำรวจลูกค้า
  5. ข้อมูลที่ลูกค้า Submit เข้ามาจากช่องทาง Customer Support
  6. Browser Cookies
  7. ข้อมูลความพึงพอใจของลูกค้าบนแอปพลิเคชัน
  8. บันทึก Video Streaming
  9. ข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางการชำระสินค้า
  10. ข้อมูลเกี่ยวกับ GPS Location
Zero Party Data คืออะไร

ข้อดี และ ข้อจำกัดในการใช้ Zero-Party Data

ข้อดี

  • มีคุณภาพสูง และ แม่นยำมาก
  • ข้อมูลอัปเดต น่าเชื่อถือ
  • สามารถนำไปต่อยอดในการทำ Personalized Marketing และนำไปสู่การสร้าง Custmer Loyalty ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อจำกัด

  • ข้อมูลมีปริมาณที่จำกัด
  • เมื่อรวบรวมมาแล้ว อาจวิเคราะห์ หรือ สรุปผลได้ยาก
  • ลูกค้าจะต้องเต็มใจมอบข้อมูลส่วนตัวให้ โดยแบรนด์จะต้องมีข้อแลกเปลี่ยนให้กับลูกค้า

 

ความแตกต่างระหว่าง First-Party Data, Second-Party Data และ Third-Party Data

ความแตกต่างระหว่าง First-Party Data, Second-Party Data และ Third-Party Data

หากเราต้องการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง First-Party Data, Second-Party Data และ Third-Party Data สามารถดูที่กราฟจากภาพด้านบนกันได้เลย โดยสามารถแบ่งออกเป็นเชิงปริมาณ และ เชิงคุณภาพ

แน่นอนว่า First-Party Data เป็นประเภทข้อมูลที่มีคุฯภาพมากที่สุด เนื่องจากเป็นข้อมู,จากลูกค้าโดยตรง และ แบรนด์คู่แข่งไม่มี แต่มีปริมาณน้อยที่สุด ไม่สามารถรวบรวมได้อย่างรวดเร็ว

ส่วน Second-Party Data เป็นข้อมูลที่เราได้มาจากพาร์ทเนอร์ที่มีข้อตกลงร่วมกัน มีความน่าเชื่อถือในระดับรองลงมา แต่มีปริมาณที่มากกว่า สามารถนำปรับใช้ในการวิเคราะห์ตลาดได้

และ Third-Party Data  ถึงแม้ว่าจะมีคุณภาพน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูล 2 รูปแบบข้างต้น และ อาจไม่อัปเดตให้ทันกับเทรนด์ แต่มีปริมาณมากที่สุด ซึ่งแบรนด์สามารถนำมาศึกษา และ ดูแนวโน้มทางการตลาดแบบทั่วไปได้

 

ความแตกต่างระหว่าง Zero-Party Data และ First-Party Data

 

First-Party Data ให้ประโยชน์กับแบรนด์ในเชิงคุณภาพ เช่นเดียวกับ Zero-Party Data ซึ่ง First-Party Data สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมลูกค้า ความชอบ และ ความสนใจ แต่ Zero-Party Data จะมีเป็นข้อมูลใหม่เพิ่มเติมจากลูกค้าในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น ซึ่งนักการตลาดสามารถเรียนรู้ และ เข้าใจลูกค้าเกี่ยวกับความพึงพอใจที่ลูกค้ามี พฤติกรรมการซื้อสินค้า  และความตั้งใจของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ ซึ่งข้อมูลนั้นเป็นการเก็บมาจากลูกค้าคน ๆ นั้นโดยตรง

สรุป

ปัจุบันนักการตลาดสามารถเก็บ Data ได้จากช่องทางที่ต่าง ๆ และมี Data หลายรูปแบบ โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ คือ

  • Zero-Party Data
  • First-Party Data
  • Second-Party Data
  • Third-Party Data

Data ทั้ง 4 รูปแบบนี้มีความแตกต่างกันในเรื่องของ ปริมาณ และ คุณภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจในการทำแคมเปญการตลาดได้ในอนาคต หากแบรนด์มี Data ครบทุกรูปแบบถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่จะเลือก Data มาใช้ให้เหมาะสม แต่หากไม่มี Data ครบทุกประเภท ก็สามารถนำข้อมูลจากบทความนี้ไปประกอบการตัดสินใจพื่อเลือกนำ Data มาใช้ให้ตอบโจทย์กับธุรกิจมากที่สุด และ เกิดประโยชน์สูงสุดค่ะ

ความแตกต่างและรูปแบบการใช้งานของ Data แบบต่าง ๆ
ภาพจาก WordStream

ข้อมูลจาก 

similarweb

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

3 ข้อดีของการใช้ DATA ในการบริหารธุรกิจ
อัปเดตเทรนด์ Data & Analytics ที่น่าสนใจปี 2023