อัปเดตฟีเจอร์น่าสนใจและเปรียบเทียบการใช้งานระบบ Subscriptions ระหว่าง Facebook, Instagram และ YouTube

อัปเดตฟีเจอร์น่าสนใจและเปรียบเทียบการใช้งานระบบ Subscription ระหว่าง Facebook, Instagram และ Youtube

ในยุคที่คอนเทนต์จากช่องทางต่าง ๆ มีการแข่งขันกันสูงมาก หลาย ๆ แพลตฟอร์มจึงหันมาทำโปรแกรม Subscriptions เพื่อกระตุ้นให้ครีเอเตอร์ใส่ใจพัฒนาคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์กลุ่มแฟนคลับมากขึ้น ในขณะเดียวกันฝั่งแฟนคลับตัวยงก็จะสามารถแสดงความชื่นชอบผ่านการจ่ายเงินสนับสนุนเหล่าครีเอเตอร์ในดวงใจได้อีกด้วย

ระบบ Subscriptions คืออะไร ?

ระบบ Subscription คือโมเดลธุรกิจที่ให้เหล่า Followers ของโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่าง ๆ สามารถสมัครเป็น Subscribers ได้ผ่านการจ่ายค่าสมาชิกรายเดือนแก่คอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่พวกเขาชื่นชอบและเป็นแฟนคลับตัวยง แลกกับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่พวกเขาจะได้รับมากกว่าผู้ติดตามทั่วไป เช่น ได้รับชมคอนเทนต์สุดพิเศษ ได้เห็นอินไซต์ ได้พูดคุยกับครีเอเตอร์อย่างใกล้ชิดขึ้น เป็นต้นค่ะ

อ่านรายละเอียดหลักสูตร Digital Marketing Strategy ได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ

https://stepstraining.co/digital-marketing-specialist 

1.Facebook Subscriptions 

ข้อดีของการทำ Facebook Subscriptions คือตัวครีเอเตอร์จะมีรายได้รายเดือนที่แน่นอนขึ้น ทำให้วางแผนได้อย่างเป็นระบบมากขึ้นว่าจะนำเงินทุนนั้นไปพัฒนาคอนเทนต์อย่างไรค่ะ

ในฝั่งของผู้ติดตามก็จะได้แสดงความชื่นชอบและให้การสนับสนุนเป็นตัวเงินนอกจากการกด Like กด Share เพียงอย่างเดียว แลกกับเครื่องหมายบอกความเป็นสมาชิก และการได้รับชมคอนเทนต์สุดพิเศษ อย่างเช่นคอนเทนต์เบื้องหลังต่าง ๆ หรือไลฟ์สดสุดเอ็กซ์คลูซีฟ เป็นต้นค่ะ

ฟีเจอร์ใน Facebook Subscriptions
รูปจาก Techcrunch

เมื่อทั้งครีเอเตอร์และผู้ Subscribe ได้มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น ฝั่งครีเอเตอร์ก็จะจดจำ Subscribers ว่าใครเป็นแฟนคลับตัวยงได้มากขึ้น ทำให้ผลิตคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนกลุ่มนี้ได้ดีขึ้นด้วย

ซึ่งถ้าเจ้าของเพจคนไหนอยากเข้าร่วมโปรแกรม Facebook Subscriptions ก็จำเป็นต้องอยู่ในเงื่อนไขต่อไปนี้นะคะ คือ

  • มีผู้ติดตามเพจ 10,000 คน หรือ มีผู้ที่กลับมารับชมคอนเทนต์อย่างน้อย 250 คน ในช่วง 60 วันที่ผ่านมา
  • มียอดการมีส่วนร่วมกับโพสต์ 50,000 ครั้ง (Post Engagements)
  • มียอดการรับชมวิดีโอรวม 180,000 นาที (Watch minutes)

ถ้าเพจของเราตรงตามเงื่อนไขต่อไปนี้ เราก็สามารถใส่ Call To Action ให้คนกด Subscribe ได้ภายใต้โพสต์ต่าง ๆ ที่เราสร้าง ค่ะ

นอกจากนี้ เพจที่เป็นสายเกมก็สามารถเข้าร่วมโปรแกรม Subscriptions ได้เช่นกัน แต่ต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้นะคะ

การสมัครโปรแกรม Level Up ใน Facebook
รูปจาก eGG Network
  • มีการสตรีมเนื้อหาและแท็กเกมอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ภายใน 2 วัน จากช่วงเวลา 14 วันที่ผ่านมา
  • ผู้ดูแลเพจมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
  • มีผู้ติดตามอย่างน้อย 100 คน

พอคุณสมบัติผ่านแล้ว ทางเพจเกมจะเปิดรับ Subscriptions ได้ก็ต่อเมื่อสมัครเข้าโปรแกรม Level Up ก่อน ค่ะ ทั้งนี้ประเทศที่พร้อมให้บริการ Level Up ก็ยังมีอยู่จำกัดนะคะ เช่น บราซิล ออสเตรเลีย ไทย แคนาดา เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร 

อ่านรายละเอียดหลักสูตร Digital Marketing Strategy ได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ

https://stepstraining.co/digital-marketing-specialist 

2.Instagram Subscriptions

ผู้ที่เป็น Subscribers ของครีเอเตอร์ใน Instagram จะได้รับสิทธิประโยชน์หลายอย่าง เช่น 

  • ได้รับชมไลฟ์สำหรับ Subscribers : ภายในไลฟ์จะมีแค่ Subscribers ที่ข้ามาดูได้ แตกต่างจากไลฟ์ปกติที่ Followers ทั่วไปสามารถเข้ามาชมปน ๆ กับแฟนคลับตัวยง
ไลฟ์สดใน Instagram Subsciptions
รูปจาก The Preview App
  • ได้ดู Story สำหรับ Subscribers : ครีเอเตอร์สามารถสร้าง Story สำหรับ Subscribers โดยเฉพาะ และสามารถใช้สติกเกอร์แบบอินเทอร์แอคทีฟกับ Subscribers ได้ โดยจุดสังเกตคือรอบ Story จะมีวงแหวนสีม่วงอยู่
Story IG ใน Instagram Subsciptions
รูปจาก The Preview App
  • ได้เห็นโพสต์รูปภาพและ Reels สุดเอ็กซ์คลูซีฟ : พร้อมแคปชันสุดอินไซต์ที่จะมีแค่ Subscribers ได้เห็นเท่านั้น
  • ได้เข้าร่วมแชทกลุ่มเฉพาะสำหรับ Subscribers : ทางครีเอเตอร์สามารถสร้าง Group Chat ที่มีผู้เข้าร่วมไม่เกิน 30 คน เพื่อให้ Subscribers ได้พูดคุยกัน แต่กลุ่มแชทนี้จะอยู่ได้เพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้น เพื่อไม่ให้รบกวนทางครีเอเตอร์มากจนเกินไป
  • ได้เครื่องหมายมงกุฏสีม่วง : ฝั่งครีเอเตอร์จะทราบว่าใครเป็น Subscribers ได้โดยดูจากเครื่องหมายสำหรับสมาชิกที่แสดงอยู่ข้างๆ ชื่อแอคเคาท์ของ Subscribers คนนั้น ๆ เมื่อพวกเขาคอมเมนต์หรือส่งข้อความมา
Subscriber Badge ใน Instagram Subscriptions
รูปจาก The Preview App

โดยวิธีการดูคอนเทนต์สุดพิเศษในรูปแบบต่าง ๆ คือเมื่อเรา Subscribe แอคเคาท์ของ

ครีเอเตอร์คนไหนแล้ว ให้เราเข้าไปที่หน้าแอคเคาท์ของครีเอเตอร์คนนั้น ๆ จากนั้นให้คลิกแท็บ ‘โปรแกรมสมาชิก’ (Subscriptions) > ‘เนื้อหาพิเศษ’ (Exclusive Content) เพื่อเข้าไปดูคอนเทนต์สุดพิเศษจากครีเอเตอร์ที่เราได้สมัครสมาชิกไว้ค่ะ

แต่ในช่วงนี้ฟีเจอร์ Instagram Subscriptions ยังใช้งานได้ภายในบางประเทศเท่านั้น เช่น สหรัฐอเมริกา และยังต้องอาศัยการ Invite ระหว่างเหล่าอินฟลูเอนเซอร์เป็นหลัก ถึงจะสามารถเข้าใช้งานบริการนี้ได้

ถ้าใครอยากเห็นภาพการใช้งาน Instagram Subscriptions แต่ไม่ได้อยู่ในประเทศเหล่านั้นก็สามารถเข้าไปดูตัวอย่างได้ที่แอคเคาท์เหล่านี้เลยค่ะ เช่น @alanchikinchow, @sedona._, @alizakelly, @kelseylynncook, @elliottnorris, @jordanchiles, @jackjerry, @bunnymichael, @donalleniii และ @lonnieiiv

อ่านรายละเอียดหลักสูตร Digital Marketing Strategy ได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ

https://stepstraining.co/digital-marketing-specialist 

3.YouTube Channel Memberships

YouTube Channel Memberships เป็นโปรแกรมสมัครสมาชิกสำหรับผู้ติดตามที่ชอบคอนเทนต์ของชาแนลไหนมาก ๆ จนอยากมอบเงินสนับสนุนให้แลกกับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่จะได้รับจากการเป็น  Membership เช่น 

  • ได้ใช้อีโมจิพิเศษ 
  • ได้ติดป้ายบอกความเป็น Membership 
  • ได้อ่านโพสต์อินไซต์ใน Community 
  • ได้ดูคลิปคอนเทนต์สุดเอ็กซ์คลูซีฟ 
  • ได้รับชมไลฟ์ถ่ายทอดสดสุดพิเศษ 
  • ได้เข้าร่วม Live Chat เฉพาะกับเมมเบอร์ด้วยกัน

โดยเงื่อนไขของชาแนลที่จะเปิดให้มี YouTube Channel Memberships ได้คือ

  • เป็นสมาชิกของ YouTube Partner Program อยู่แล้ว
  • อยู่ในประเทศที่ได้รับอนุมัติให้ทำโปรแกรม Memberships ได้ เช่น สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ญี่ปุ่น 
  • ไม่ใช่ชาแนลที่ทำคอนเทนต์สำหรับเด็ก หรือที่กำหนดว่าเป็นชาแนล “Made for Kids.”

ซึ่ง ในฐานะผู้ติดตามเราจะรู้ว่าชาแนลนั้นเปิดรับโปรแกรม Memberships หรือไม่จากการสังเกตว่ามีให้กดปุ่ม ‘Join’ หรือเปล่า นั่นเองค่ะ

การสมัครใช้งาน YouTube Channel Memberships
รูปจาก andrewmacarthy

ถ้าเปิดโปรแกรม Memberships ได้ เจ้าของชาแนลจะสามารถกำหนด Tiers หรือลำดับขั้นของการเป็น Members ว่า Members ระดับไหนควรจ่ายค่าสมาชิกเท่าไร โดยยิ่งอยู่ใน Tiers สูงก็จะต้องจ่ายค่าสมาชิกสูง เพื่อแลกกับสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น ด้วยค่ะ 

ซึ่ง เราสามารถกำหนดได้สูงสุด 5 Tiers แต่ถ้าคิดไม่ออกว่าจะแบ่ง Tiers อย่างไร อย่างน้อย ๆ ให้กำหนดสัก 3 Tiers ก็ได้ค่ะ เป็น Tiers สูง ราคาสูง Tiers กลาง ราคากลาง Tiers ต่ำ ราคาต่ำลง 

การแบ่ง Tiers ของลูกค้าใน YouTube Channel Memberships
รูปจาก polygon

นอกจากนี้ ตัว YouTube Channel Memberships ยังมีความพิเศษคือ ผู้ที่เป็นสมาชิกสามารถส่งต่อของขวัญ (Gift) ให้กันได้ 

โดยวิธีการคือคนคนหนึ่งสามารถซื้อ Memberships ไว้อยู่ในครอบครองได้เป็นจำนวนมาก เพื่อนำ Memberships เหล่านั้น ไปแจกเป็นของขวัญให้กับคนอื่น 

ตัวอย่างเช่น ถ้านาย A ซื้อมาทั้งหมด 15 Memberships นาย A ก็สามารถส่งต่อ 14 Memberships ที่เหลือให้กับคนอื่น ๆ ที่เป็นผู้ติดตามช่องเดียวกันได้ค่ะ

เพียงแต่โอกาสแจกของขวัญ (Gift) แบบนี้อาจไม่ได้มีบ่อย ๆ เพราะว่าผู้ที่ซื้อหลาย ๆ Memberships ก็จำเป็นต้องมีกำลังทรัพย์พอสมควรเลยค่ะ

การส่งต่อ Memberships ของ YouTube Channel Memberships
รูปจาก tubefilter

ทั้งนี้ทั้งนั้น พอพูดถึงเรื่องของส่วนแบ่งกับ YouTube แล้ว ทาง YouTube จะได้รับส่วนแบ่ง 30% จากรายได้ที่เจ้าของชาแนลนั้น ๆ ได้จากการทำโปรแกรม Memberships ค่ะ

สรุปจุดเด่นระบบ Subscriptions ของ Facebook, Instagram และ Youtube

หากคุณเป็นหนึ่งในผู้บริหาร ผู้จัดการ หรือเจ้าของกิจการที่อยากเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะการวางกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ STEPS Academy ขอนำเสนอหลักสูตร Digital Marketing Strategy ที่จะทำให้คุณกลายเป็นนักกวางกลยุธ์ที่ดี พร้อมกับมีความเข้าใจในกลไกการทำงานของโซเชียลมีเดียแต่ละช่องทางทั้ง Google, YouTube, Facebook และ Instagram   

อ่านรายละเอียดคอร์สเรียนเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ  

https://stepstraining.co/digital-marketing-specialist  

สำรองที่นั่งหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่   

Facebook: Inbox STEPS Academy   

LINE OA: @STEPStraining https://lin.ee/jRRdsrN  

หรือโทร 065-494-6646  

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

10 ไอเดียการสร้าง Lead ให้กับธุรกิจ B2B ด้วยคอนเทนต์ Freemium
5 กลยุทธ์การใช้ Facebook Ads แบบมือโปรให้ยอดขายโตในปี 2023