The Secret of Storytelling จากงาน CTC2020 ศาสตร์การเล่าเรื่อง อย่างคนมืออาชีพ

technique-storytelling-from-ctc-2020

ผ่านไปแล้วนะคะ สำหรับงาน AP Thailand and SEAC Present Creative Talk Conference 2020

หรือ CTC ปี 2020 งานสัมนาที่รวบรวมเหล่า Creative และผู้มีประสบการณ์ มาแบ่งปันแนวคิด และไอเดียดีๆในการทำงาน การผลิตผลงานคุณภาพ

สำหรับหัวข้อที่เราขอหยิบมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ เป็นหัวข้อที่ทางทีมงานรู้สึกประทับใจ และคิดว่าเป็นประโยชน์มากๆ สำหรับคนที่สนใจ ศิลปะการเล่าเรื่อง หรือ Storytelling

โดยหัวข้อนี้ได้รับเกียรติจาก คุณพิริยะ กุลกาญจนาชีวิน Curator at TEDxBangkok และ Co-Founder at Glow Story มาบอกเล่าเคล็ดลับสำคัญในการเล่าเรื่อง (Storytelling) ว่ามีขั้นตอนอย่างไร มีแนวคิดแบบไหน ที่ทำให้เราสามารถเล่าเรื่องออกมาได้เข้าถึงใจคนที่เราสื่อสารมากที่สุดค่ะ

technique-storytelling-from-ctc-2020

ในหัวข้อนี้คุณพิ ได้นำเสนอวิธีการคิดงานของ Glow Story ว่ามีด้วยกันหลักๆ 3 ส่วนคือ

  • เข้าใจโจทย์
  • เข้าใจเรื่อง
  • เข้าใจเล่า
technique-storytelling-from-ctc-2020

เข้าใจโจทย์

จะแบ่งออกเป็น Anger และ Audience

A : Anger

technique-storytelling-from-ctc-2020

การเริ่มต้นเรื่องที่น่าสนใจคือการเริ่มต้นเรื่อง “จากความโกรธ” หรือ “What are you angry about”

    • อะไรคือสิ่งที่คุณเซ็ง
    • ปัญหาที่คุณพบเจอ
    • เรื่องอะไรที่น่าหงุดหงิดสำหรับคุณบ้าง

ต่อเนื่องจากความโกรธที่คุณมี ความฝันต่อจากนั้นของคุณคืออะไร “What is your dream”

    • ภาพฝันปลายทาง
    • ชีวิตผู้คน
    • โลกจะเป็นอย่างไร

คุณพิได้ยกตัวอย่างที่น่าสนใจ เป็นของคุณแวน Mayday โดย Mayday เป็นกลุ่มคนที่ถูกตั้งขึ้นมา จากคนที่มีความเชื่อ และพยายามผลักดันให้ขนส่งสาธารณะเป็นมิตรขึ้นต่อคนทุกคน ทำให้การใช้รถเมล์ในกรุงเป็นมิตรมากขึ้น 

สืบเนื่องมาจากคุณ แวน เป็นกูรูผู้หลงไหลในสเน่ห์ของรถเมล์ มีความสามารถในการจดจำเส้นทางรถเมล์ทั้งหมดในกรุงเทพได้ 

ความโกรธของคุณแวนนั้น เป็นความโกรธที่มีต่อระบบรถเมล์สาธารณะ ว่าทำไมรถเมล์จะต้องเป็นยานพาหนะสำหรับคนจนเพียงอย่างเดียว เราสามารถพัฒนาให้เป็นขนส่งที่ทุกๆคนใช้ร่วมกันได้หรือไม่ เพื่อลดปัญหาอย่างรถติดในบ้านเมืองให้ดีขึ้นได้ด้วย 

ความโกรธของคุณแวน นำมาสู่ความฝันที่จะเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มจากจุดเล็กๆคือ ป้ายรถเมล์ ที่เดิมทั้งเก่า ไม่มีข้อมูลชัดเจน ไม่มีประโยชน์ต่อคนที่ใช้งานรถเมล์สาธารณะเลย มาเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น จนเกิดเป็นกลุ่มคนที่เรียกว่า Mayday ซึ่งเป็นการรวบรวมคนที่มีความสามารถในการออกแบบกราฟิก มาช่วยกันพัฒนาให้ป้ายรถเมล์ไทยดียิ่งขึ้น มีข้อมูลชัดเจนขึ้น

ครั้งหนึ่งคุณแวนได้นำเรื่องนี้ออกมาพูดในเวที TED Talk และบอกเล่าถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เหตุการณ์นี้นำพาให้กลุ่มคนอีกหลายๆคน เข้ามาร่วมมือกัน ช่วยกันเปลี่ยนแปลงป้ายรถเมล์ในกรุงเทพ จนเกิดเป็นปรากฎการณ์ป้ายรถเมล์ใหม่ในกรุงเทพขึ้นจริงๆ ในช่วงงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ที่ทุกๆคนจะต้องหลั่งไหลกันเข้ามาในท้องสนามหลวงค่ะ

technique-storytelling-from-ctc-2020 technique-storytelling-from-ctc-2020

ที่มา : readthecloud.co

“ก่อนที่เราจะเริ่มลงมือทำอะไร เราอินกันมันหรือเปล่า เราเชื่อกับมันหรือเปล่า”
“ถ้าเรามีความโกรธมากพอ หรือมีกลุ่มคนที่มีความโกรธเหมือนเรามากพอ
ความฝันนั้นมันจะเกิดขึ้นจริง”

 

A : Audience

ต่อเนื่องจากการที่เรารู้แล้ว ว่าเราอยากจะเล่าอะไรจากความโกรธที่เรามี ส่วนต่อไปคือการทำความเข้าใจ Audience หรือผู้ชม ผู้ฟังนั่นเอง

technique-storytelling-from-ctc-2020

คุณพิเล่าว่า หลายๆครั้งเวลาทำงาน คนส่วนใหญ่มักจะอยากคุยกับ “Mass” หรืออยากคุยกับทุกคน อยากจะคุยกับคนเยอะๆไว้ก่อน โดยไม่ได้รู้ว่าจริงๆแล้วเราอยากจะคุยกับใครกันแน่

เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องรู้จักว่า คนที่เราอยากจะคุยด้วยคือใคร เขามีความความเชื่อแบบไหน และจัดอันดับด้วยว่า คนที่เราอยากคุยด้วยมากที่สุดเป็นคนกลุ่มไหน

ในทางการตลาด จะเรียกกันว่าการทำ Persona เป็นการศึกษาพฤติกรรมลูกค้าให้ชัดเจน เพื่อให้คนในทีมเห็นภาพตรงกันว่าต้องการสื่อสารไปหาใคร

แต่เพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้น คุณพิจึงแนะนำรูปแบบการวิเคราะห์ที่เรียกว่า “CLIP” ซึ่งย่อมาจาก

technique-storytelling-from-ctc-2020

 

C : Channel 

เป็นการดูว่า คนที่เราจะสื่อสารด้วย ใช้ช่องทางไหน อย่างเช่น ถ้าจะสื่อสารกับคนที่เป็นเด็ก ก็อาจจะต้องเล่น Tiktok หรือ IG Stories เป็นต้น

เราต้องดูด้วยว่าคนที่เราจะสื่อสารเป็นแบบไหน อยู่ในช่องทางไหน เพราะกลุ่มคนต่างกันช่องทางในการสื่อสารก็จะต่างกันไปด้วย

 

L : Language

คุณพิยกตัวอย่างของ TED Talk ว่าภาษาที่ใช้จะต้องเข้าใจได้ แต่คอนเทนต์ต้องลึก นั่นเพราะคนในงานที่เข้ามาฟัง TED มีความหลากหลาย ภาษาจึงต้องอยู่ในรูปแบบที่ทุกคน ทุกกลุ่มสามารถเข้าใจได้ด้วย 

หรือถ้าเราคุยกับนักวิชาการ เราก็จำเป็นต้องใช้ภาษาที่ในกลุ่มนักวิชาการกันเองเข้าใจ ให้เหมาะสมกับกลุ่มคนฟังนั่นเอง

 

I  : Interest 

นอกเหนือจากที่เราต้องรู้แล้วว่าพวกเขาสนใจอะไร สิ่งที่อยากให้นักเล่าเรื่องทุกคนมองลึกลงไปนั้น ไม่ใช่แค่ Interest แต่เป็น Insight

Interest กับ Insight ต่างกันอย่างไร?

Insight คือสิ่งที่ผลักดัน หรือแรงจูงใจภายในให้คนลงมือทำสิ่งต่างๆ 

อย่างเช่นกรณีที่เรากำลังจะจีบสาวที่วิ่งอยู่ในสวน แม้ทั้งสองคนจะสนใจในเรื่องของการวิ่งเหมือนกัน แต่ Insight หรือแรงผลักดันที่ทำให้ทั้งสองคนออกมาวิ่งต่างกัน เราจึงต้องถามให้ลึกลงไปอีกว่า “ทำไมพวกเขาจึงออกมาวิ่ง” ถามลึกลงไปเรื่อยๆ จนเข้าถึง insight ที่แท้จริง

Insight ของอีกคนหนึ่งอาจจะออกมาวิ่งเพราะ “อยากมาเจอคนใหม่ๆ โสดมานาน อยากหาเพื่อนคุย” กับอีกคนหนึ่ง “วิ่งเพราะแม่ป่วยเป็นมะเร็ง ไม่อยากป่วยเหมือนแม่” 

แม้ว่าทั้งสองคนจะมีความสนใจในการวิ่งเหมือนกันก็ตาม แต่เพราะมี Insight ต่างกัน แน่นอนว่าการเข้าหา พูดคุยก็ย่อมแตกต่างกันไปด้วย 

ดังนั้นยิ่งเราเข้าใจ และรับรู้ถึง Insight ของคนมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งสื่อสารได้ตรงจุดมากขึ้นเท่านั้น

technique-storytelling-from-ctc-2020

“การเล่าเรื่องที่ดี จึงมาจากการเข้าใจ Insight”

 

P : Problem 

นอกเหนือจากที่เราต้องรู้ว่าคนที่เรากำลังจะสื่อสารด้วยสนใจอะไร อีกสิ่งหนึ่งที่เราจำเป็นต้องรู้ คือปัญหาที่พวกเขาพบเจอ อย่างเช่นคุณเบเบ้ ที่ชอบออกกำลังกาย ก็อาจจะมีปัญหา ในการเลือกทานอาหาร อยากทานของหวานเหมือนคนอื่นๆ แต่ต้องควบคุมหุ่น เป็นต้น ถ้าเราจะพูดคุยกับคุณเบเบ้ เราก็จะต้องเข้าใจปัญหาที่เขาเจอ สื่อสารและแก้ปัญหาให้ตรงจุด จึงจะเข้าถึงใจได้ 

ดังนั้น ถ้าเราสามารถเข้าใจถึงปัญหาที่พวกเขาพบเจอ เราก็จะสามารถสื่อสารออกไปให้ตรงจุด และตอบโจทย์คนที่เรากำลังสื่อสารด้วย ได้มากที่สุดค่ะ

technique-storytelling-from-ctc-2020

สิ่งที่ควรถามมากกว่า “จะเล่าเรื่องอย่างไรให้คนอยากฟัง”
“คือเราเล่าเรื่อง ให้ใครอยากฟัง

 

เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น คุณพิจึงยกตัวอย่างงานจริง ในการทำงานของนักเล่าเรื่อง ว่างานทุกงานที่ทำ มีการวิเคราะห์ และเก็บข้อมูล Insight ก่อนที่จะสื่อสาร หรือออกแบบงานค่ะ

โดยตัวอย่างนี้คุณพิ ยกโจทย์ของงาน Super Productive Show ของคุณ รวิศ หาญอุตสาหะ (แท็ป) ขึ้นมา 

โดยก่อนที่งานนี้จะถูกจัดขึ้น คุณรวิศ และทีมงาน Glow Story ก็ได้มีการวิเคราะห์ Insight ก่อนเช่นเดียวกัน เพื่อเจาะลึกลงไปว่า คนที่สนใจในเรื่องนี้ จริงๆเขามีความคิดอย่างไร มีความคิดเห็นแบบไหนต่อคุณรวิศ 

ซึ่งเมื่อได้ลองไปถาม ค้นหา Insight ของคนเหล่านั้นแล้ว คำถามที่เกิดขึ้นเป็นแบบที่แสดงในรูปด้านล่างคือ “พี่แท็ปเค้าเป็นยอดมนุษย์ เราคงทำไม่ได้หรอก” “พี่แท็ปพูดได้นี่ เป็นเจ้าของบริษัท กำหนดเวลาตัวเองได้” “พี่เค้าได้ใช้เวลากับครอบครัวบ้างมั้ยเนี่ย”

technique-storytelling-from-ctc-2020

 

จากการสอบถามจึงทำให้รู้ Insight ว่า คนส่วนใหญ่รู้สึกว่า สิ่งที่คุณแท็ปบอกเล่ามันคือ “His Way not My Way” หรือรู้สึกว่า “สิ่งที่คุณแท็ปทำได้ ใช่ว่าเราจะทำได้” 

technique-storytelling-from-ctc-2020

ซึ่ง Insight เหล่านี้เอง จะถูกนำไปต่อยอดเป็นไอเดียของงาน รวมถึงสิ่งที่เราจะสื่อสารไปยังผู้คน โดยกระบวนการนั้นจะถูกพูดถึงในหัวข้อถัดไป ก็คือส่วนของการ “เข้าใจเรื่อง” นั่นเองค่ะ

 

เข้าใจเรื่อง

การเข้าใจเรื่อง แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ Big Idea และ Curation

B : Big Idea

คือการรวมความต้องการของเรา (Anger) เข้ากับผู้รับสาร (Audience)

technique-storytelling-from-ctc-2020

 

โดยการหา Big Idea มีหลักการทำง่ายๆคือ “WTF” (Why, Tone, Form)

technique-storytelling-from-ctc-2020

 

Why : Why should they care 

  • ทำไมเขาต้องฟังเรา ทำไมต้องสนใจเรา
  • ฟังแล้วพวกเขาได้อะไร ชีวิตดีขึ้นยังไง

Tone : Design Tone of Voice 

ภาษา การสื่อสาร จะเป็นในลักษณะไหน

  • Inspiring   : สร้างแรงบันดาลใจ
  • Chill          : ผ่อนคลาย สบายๆ
  • Serious     : จริงจัง
  • Scary        : น่ากลัว
  • Fun           : สนุกสนาน
  • Emotional : เข้าถึงอารมณ์
  • Elegant     : หรูหรา
technique-storytelling-from-ctc-2020

 

Form : Form of Storytelling

รูปแบบที่เราถ่ายทอด หรือสื่อสารเรื่องราวออกไปจะเป็นแบบไหน ซึ่งเป็นได้หลากหลายรูปแบบ ดังรูปที่แสดงด้านล่าง

technique-storytelling-from-ctc-2020

 

ตัวอย่าง

ต่อเนื่องจากโจทย์เดิมของงาน Super productive Show ของคุณ รวิศ หาญอุตสาหะ (แท็ป)

เริ่มต้นจาก Why หรือเหตุผลที่ทำไมทุกคนจะต้องมางานนี้?

จาก Insight ที่ทุกคนรู้สึกว่าตัวเองไม่น่าจะทำได้แบบคุณรวิศ จึงทำให้ Why สรุปออกมาเป็น “To be productive in your own way” คือทุกคนที่มา จะสามารถหาวิธี Productive ในแบบของตัวเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องเหมือนกับคุณรวิศ เป็นการตอบเหตุผล (Why) ว่าทำไมทุกคนจึงต้องมางานนี้ ในแบบที่ตรง Insight มากที่สุด  

อย่างลำดับการเล่าเรื่องในงานเอง คุณรวิศก็เริ่มต้นพูด ด้วยการบอกว่าตัวเขาเอง เคยเป็นคนที่อ้วนมากๆ มาก่อน รู้สึกแย่มาก่อน เป็นการเปิดเพื่อเชื่อมโยงความรู้สึกว่า คุณรวิศเอง ก็เป็นคนทั่วๆไปเหมือนกันกับเรานี่ล่ะ เคยเจอปัญหาเหมือนกัน เพื่อสื่อสารต่อว่า “ใครๆก็ทำได้เช่นเดียวกับเขา” เป็นต้น

technique-storytelling-from-ctc-2020

ในส่วนของ Tone ที่จะสื่อสารในงาน มีที่มาจาก Insight เช่นเดียวกัน ที่ว่าคุณแท็ปดูไกลตัว ดูเป็นซูเปอร์ฮีโร่ ทำอย่างเขาไม่ได้หรอก 

งานนี้จึงมีการออกแบบ Tone ที่ทำให้ทุกคนรู้สึกว่า ตัวเองก็สามารถเป็นซูเปอร์ฮีโร่ได้ ทำได้เช่นเดียวกัน จึงทำให้งานออกมาอยู่ในรูปแบบของการพูดคุยเป็นกันเอง และให้เข้าถึงง่ายมากที่สุด

technique-storytelling-from-ctc-2020

ในส่วนของ Form เพื่อให้เป็นกันเองที่สุด งานจึงออกมาในรูปแบบของ Talk Show ที่สามารถพูดคุย ถามคำถาม โต้ตอบกันได้ 

รวมไปถึงส่วนจัดแสดงในงาน ก็ออกแบบให้เกี่ยวข้อง สอดคล้อง และเหมาะกับความ Productive ด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น ขนมในงานอย่าง ไอศกรีม ก็ได้มีการออกแบบให้เป็นรสขิง เพราะมีความร้อน ความตื่นตัว เพื่อให้คนในงาน ทานแล้วจะได้รู้สึก มีพลัง ตื่นตัว สอดคล้องกับความ Productive ของงาน เป็นต้น

technique-storytelling-from-ctc-2020

 

ด้านล่างเป็นตัวอย่างการสร้าง Big Idea จากรูปแบบ  “WTF” ของงาน Super Productive Talk

technique-storytelling-from-ctc-2020

ต่อจาก Big Idea ที่เรามีความชัดเจนแล้วว่า Why ทำไมคนจึงต้องฟัง ต้องสนใจเรา Tone จะเป็นอย่างไร Form เป็นแบบไหน ก็มาถึงส่วนของ Curation หรือการเรียบเรียงการเล่าเรื่อง

 

C : Curation

ในส่วนนี้ ก็มีสูตรในการทำเช่นเดียวกัน เรียกว่า “KFC”

  • K : Key message   = แก่นที่เราจะสื่อสารคืออะไร
  • F : Find your story = หาเรื่องราวมาสนับสนุน
  • C : Call to action    = เราพูดแล้วอยากให้คนฟังลงมือทำอะไร
technique-storytelling-from-ctc-2020

โดยในครั้งนี้ คุณพิได้ยกตัวอย่าง TED Talk ของพี่ป๋อมแป๋ม พิธีกร ครีเอทีฟ โปรดิวเซอร์ชื่อดังของไทย ซึ่งเป็นหัวข้อ “โปรดเรียกฉันด้วยนามอันแท้จริง” ที่พูดถึงการตัดสินคนจากด้านเดียว และตัดสินคนจากแค่สิ่งที่ตัวเองคิด โดยจะมาแยกให้ดูว่า เขามีวิธีการวางแผนในการเล่าเรื่องแบบ KFC อย่างไร

 

K : Key Message : อยากจะสื่อแก่นเรื่องอะไร 

ใน TED talk นี้ พี่ป๋อมแป๋มก็เริ่มต้นจาก Anger ก่อนเช่นเดียวกัน ว่ามีความโกรธในเรื่องอะไร ที่อยากจะเปลี่ยนแปลง และแก้ไขบ้าง ซึ่งพี่ป๋อมแป๋มเลือกเรื่องของการ “แปะป้าย หรือตัดสินคนจากด้านเดียว” ขึ้นมาพูด ซึ่งเป็น Key Message สำคัญที่สื่อออกไปใน TED talk ครั้งนั้น เพื่อต้องการให้คนเลิกตัดสินคนจากแค่มุมมองด้านเดียว และเลิกติดป้ายให้คนอื่นจากมุมมองของตัวเอง

technique-storytelling-from-ctc-2020

 

วิดีโอ TED Talk “โปรดเรียกฉันด้วยนามอันแท้จริง” นิติ ชัยชิตาทร (ป๋อมแป๋ม)

 

F : Find your story : ค้นหาเรื่องราว

ในการเล่าเรื่อง เราจะต้องมีการหาวัตถุดิบมาเติมเรื่องราวให้น่าสนใจ และเข้าถึงใจมากขึ้น โดยวัตถุดิบที่เราจะต้องหามานั้น มีด้วยกัน 3 แบบคือ

  • เข้าถึงใจ      : เรื่องอะไรที่จะทำให้รู้สึกไปกับเราได้
  • ใช้เหตุผล     : เรื่องแบบไหนที่ทำให้คนรู้สึกว่าสมเหตุสมผล มีผลวิจัย มีตัวเลขมารองรับ
  • คนน่าเชื่อถือ : เรื่องอะไรที่ดูน่าเชื่อถือ อาจจะเป็นเรื่องราวที่หยิบมาจากคนที่น่าเชื่อถือในด้านนั้นๆ

โดยสัดส่วนตัวเลขที่คนไทยมักจะให้ความสนใจที่สุด คือกลุ่มเรื่องราวที่เข้าถึงใจ หมายความว่าเรื่องราวไหนที่ทำให้พวกเขาเกิดความรู้สึกบางอย่างได้ เรื่องนั้นมักจะโดนใจคนไทยมากที่สุด

technique-storytelling-from-ctc-2020

และนั่นคือ 3 รูปแบบหลักๆ ที่เราสามารถหาเรื่องราวมาเติมเต็มให้การเล่าเรื่องของเรามีความน่าสนใจมากขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม การเล่าเรื่องที่มีประสิทธิภาพ เราจำเป็นจะต้องตัดบางส่วนออกไปบ้าง ซึ่งคุณพิได้ใช้คำว่า “Kill your darling” หมายถึงการตัดส่วนที่แม้เราจะชอบ แต่จำเป็นน้อยที่สุดออกไปก่อน เพื่อรักษาแก่นสำคัญที่เราจะสื่อสารออกไปให้มากที่สุด กระชับที่สุดค่ะ

เหมือนตัวอย่างรูปด้านล่าง ซึ่งเป็นการหาวัตถุดิบเรื่องราวหลายๆอย่างมา ประกอบการเล่าของพี่ป๋อมแป๋ม แต่ก็จำเป็นต้องตัดบางส่วนที่จำเป็นน้อยที่สุดออกไป เพื่อการเล่าเรื่องออกมาที่ดีที่สุดค่ะ

technique-storytelling-from-ctc-2020

 

C : Call to Action : สิ่งที่เราอยากให้เขาลงมือทำ 

หลังจากที่เราเล่า เราสื่อสารทั้งหมดออกไปแล้ว สุดท้ายต้องอย่าลืม Call to Action ว่าทั้งหมดที่เราสื่อสารออกไป เราอยากให้พวกเขาลงมือทำอะไร อยากให้ซื้อของ อยากให้พวกเขาฟังแล้วคิดต่อ หรืออยากให้จบแล้ว ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงบางอย่าง 

ในตอนสุดท้าย จึงไม่ควรลืมที่จะดึงดูดพวกเขา หรือชี้นำ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ หรือประโยชน์มากที่สุดด้วย Call to Action ค่ะ

นอกเหนือจากเทคนิค KFC แล้ว คุณพิยังแถม อีกหนึ่งเทคนิคในการเล่าเรื่อง นั่นก็คือ Analogy หรือ การเปรียบเปรย ซึ่งเป็นเทคนิคที่ช่วยให้การเล่าเรื่องของเราดียิ่งขึ้นเช่นกันค่ะ

technique-storytelling-from-ctc-2020

คุณพิได้ยกตัวอย่างการเปรียบเปรยที่ชัดมากๆ โดยเป็นข้อความในการขาย MP3 หรือเครื่องเล่นเพลงของแบรนด์ๆหนึ่ง ซึ่งในสมัยก่อน การขาย MP3 โดยทั่วไปมักจะชอบขายด้วยฟีเจอร์ บอกว่าบรรจุได้กี่ MB หรือมีน้ำหนักเท่าไหร่

ซึ่งตรงกันข้ามเลย กับการขายเครื่องเล่นเพลงหรือ Ipod ของ Steve Job ที่ใช้การเปรียบเปรย บอกเล่าประโยชน์ทั้งหมดไว้เพียงประโยคเดียวคือ “1000 songs in your pocket” ไม่ต้องอธิบายเยอะ เข้าใจได้ทันทีว่าสินค้านี้ความจุเยอะ (1000 song)  ขนาดเล็กแบบที่หยิบมาจากกระเป๋าได้เลย (In your pocket) เป็นต้นค่ะ

technique-storytelling-from-ctc-2020

เราสามารถลองฝึกเปรียบเปรย กับสิ่งต่างๆรอบตัวง่ายๆ เพื่อให้ทักษะการเล่าเรื่องของเราดีขึ้น โดยด้านล่าง เป็นตัวอย่างหัวข้อที่เราสามารถลองหยิบมาเปรียบเทียบ เปรียบเปรย เพื่อฝึกการเล่าเรื่องได้ค่ะ

technique-storytelling-from-ctc-2020

และแล้วเราก็มาถึง ส่วนสุดท้ายนั่นก็คือ “เข้าใจเล่า” ซึ่งเป็นส่วนของการ Design นั่นเองค่ะ

 

เข้าใจเล่า

D : Design

technique-storytelling-from-ctc-2020

คุณพิกล่าวว่า “โจทย์หลักของการ Design คือการเปลี่ยน Information ให้กลายเป็น Emotion ให้ได้” คือทำอย่างไรให้คนเกิดความรู้สึกบางอย่างร่วมด้วยกับสิ่งที่เราทำ สิ่งที่เราเล่า เราสื่อสาร

technique-storytelling-from-ctc-2020

ต่อเนื่องจาก Emotion คือการสร้าง Experience หรือประสบการณ์ร่วม ซึ่งเป็นโจทย์สุดท้ายที่เราต้องคิด ว่าจะทำอย่างไรให้คนได้มี Activity หรือกิจกรรม ซึ่งเป็นประสบการณ์ให้พวกเขาจดจำ และรู้สึกร่วมกับเราได้มากที่สุดค่ะ

อย่างตัวอย่างงานของ Glow Story ที่ทำร่วมกับพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ในหัวข้อ “Happy Deathday” เป็นการเล่าเรื่องของความตาย ที่ใครหลายๆคนไม่ค่อยนึกถึง มาเล่าให้คนเกิดความรู้สึกให้ได้ว่า ความตายเป็นเรื่องใกล้ตัวเรา และเป็นเรื่องที่เราควรจะเตรียมรับมือเอาไว้ 

โดยภายในงาน มีกิจกรรมที่ให้ทุกคนได้มีประสบการณ์ร่วม (Experience) ได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องของความตาย ร่วมสร้างประสบการณ์โดยการลองนอนในโลง ได้อ่านวิธีการเตรียมตัวกับความตาย ทั้งหมดนี้เพื่อให้ทุกคนรู้สึกว่า ความตาย เป็นเรื่องที่ใกล้ชิดกับเราทุกคน เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต และเป็นเรื่องที่เราควรจะเตรียมรับมือ เพื่อไม่ไห้เป็นภาระของคนที่อยู่ข้างหลังด้วยค่ะ

ภาพบรรยากาศงาน Happy Deathday

 

สรุป

technique-storytelling-from-ctc-2020

สรุปเคล็ดลับในการเล่าเรื่องจากคุณพิ พิริยะ สามารถแบ่งออกมาเป็น 3 ส่วนคือ

1.เริ่มจากการเข้าใจโจทย์

  • Anger : รู้ความโกรธของตัวเองหรือยัง?
  • Audience : เข้าไปดูด้วยว่าคนที่เราอยากคุยด้วยนั้นคือใคร ด้วยหลัก “CLIP”

2.เข้าใจเรื่อง

  • Big Idea : มองหา Big Idea ของเราคืออะไรจาก “WTF”
  • Curation : เรียบเรียงเรื่องที่จะสื่อสารด้วยหลัก “KFC”

3.เข้าใจเล่า

  • Emotion : เปลี่ยน Information ให้เป็น Emotion เล่าให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกร่วม
  • Experience : สร้างประสบการณ์ร่วม ให้พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรากำลังสื่อสาร

และทั้งหมดนี้คือเคล็ดลับการเล่าเรื่อง จากผู้มีประสบการณ์ และเชี่ยวชาญด้าน Storytelling โดยตรง ซึ่งทางทีมงานทุกคนหวังว่า เนื้อหาข้อมูลที่เรานำมาแบ่งปันนี้ จะเป็นประโยชน์กับทุกคนๆนะคะ 🙂

technique-storytelling-from-ctc-2020

ก่อนจะจบ Session นี้ คุณพิ ได้ทิ้งท้ายประโยคดีๆ เกี่ยวกับมุมมองการเล่าเรื่องเอาไว้ว่า…

เราทุกคนเป็นนักเล่าเรื่องอยู่ในตัวอยู่แล้ว
แต่เรื่องราวแบบไหนที่เราอยากจะเล่า
เราสามารถใส่ความเชื่ออะไรบางอย่างเข้าไปได้ไหม
เราจะเปลี่ยนสิ่งที่เราเซ็งในสังคม เป็นการแก้ปัญหาอะไรบางอย่างได้หรือเปล่า

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

เครื่องมือสร้างวิดีโอสำเร็จรูป จาก YouTube Video Builder สำหรับธุรกิจ และผู้เริ่มต้น
สรุปสถิติ!! Content Marketing ที่จะช่วยพัฒนาผลลัพธ์ธุรกิจออนไลน์ ให้ดีกว่าเดิม ในปี 2020