บทความนี้เราจะมาอัปเดตการเปลี่ยนแปลงบนแพลตฟอร์ม Meta หรือ Facebook ช่องทางโซเชียลมีเดียยอดนิยมของคนไทย และ ต่างประเทศกันค่ะ ซึ่งนอกจากจะมีฟีเจอร์ใหม่ ๆ มาให้ผู้เล่นลองใช้กันแล้ว ยังมีหัวข้อที่น่าสนใจที่เหมาะกับ Content Creator และ ผู้ประกอบการที่มีเพจบนหน้า Facebook อีกด้วย ซึ่งจะมีหัวข้อไหนที่น่าสนใจบ้าง เราไปดูกันเลยค่ะ
1 Meta อัปเดต Facebook Graph และ Marketing API
ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาทาง Meta ได้ประกาศว่าตัวกราฟ และ API ของ เฟสบุคได้อัปเดตใหม่เป็นเวอร์ชั่น 14.0 ซึ่ง API นั้น คือ ระบบหลังบ้านที่ใช้ในการจัดการเว็บไซต์ (Back-End System) ที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม และ เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย Facebook API นั้นเป็นระบบที่ช่วยเชื่อมต่อระหว่างแพลตฟอร์มเฟสบุค และเว็บไซต์ได้ และสามารถช่วยให้เราเปิดระบบการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับการ Login การแสดงความเห็นบนโพสต์ นอกจากนี้ แบรนด์ยังสามาถใช้ Graph API เพื่อดึงข้อมูลมาประมวลผล (หากข้อมูลเหล่านั้นเป็นแบบสาธารณะ) รวมทั้งการใช้ Graph API ในการเข้าถึงข้อมูลการกดถูกใจ และ การโพสต์ต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผู้ใช้งานที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป
2 สร้างรายได้จากแพลตฟอร์มออนไลน์บน Horizon World
Horizon World คือโลกเสมือนในรูปแบบ Virtual Reality ที่ Mark Zuckerberg ได้เปิดตัวไปในปี 2020 ที่ผ่านมา โดย Horizon World นั้นผู้ใช้งานสามารถเข้าไปท่องโลกเสมือนได้ ด้วยการใส่แว่น Oculus และการสร้างตัวละคน Avatar ที่จำลองเป็นตัวเราเอง เพื่อเข้าไปเล่นเกม พูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นใน Community และท่องเที่ยวสถานที่ใหม่ ๆ แม้เราจะยังอยู่ในบ้าน
ความน่าสนใจของการเปลี่ยนแปลงบน Horizon World ในปี 2022 คือ
- การที่เหล่า Creator สามารถเข้าไปสร้างคอนเทนต์ต่าง ๆ และสร้างรายได้ในโลกเสมือนนั้นจากรายได้ Incentive เมื่อมีคนเข้ามาใช้งานบนโลกเสมือนนี้เพิ่มขึ้น
- มีเครื่องมือเด็ด อัปเดตใหม่ ๆ ที่ Creator สามารถสร้างขึ้น เพื่อนำไปขายให้กับ User ที่เข้ามาใช้บริการ เช่น เสื้อผ้า และ เครื่องประดับ แบบ Virtual รวมทั้งการออกแบบฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ทำให้ User สามารถเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ บน Horizon World
3 Meta เริ่มใช้ Recurring Notifications บนแพลตฟอร์ม Messenger
ยังคงพัฒนาต่อไปอีกขั้นกับแพลตฟอร์ม Messenger โดยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Meta ได้ประกาศว่า ธุรกิจที่ใช้ระบบ Messenger บนแพลตฟอร์มเฟสบุค จะสามารถส่งข้อความซ้ำเพื่อทำการตลาดในเชิงรุกไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ให้ความยินยอมในการรับข้อความเหล่านั้น
Recurring Notification เป็นการส่งข้อความแจ้งเตือนไปยังผู้ที่ติดตามเพจจากแบรนด์บน Facebook เพื่อนำเสนอสินค้า และ บริการ รวมทั้งข่าวสารต่าง ๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงให้กลุ่มลูกค้าได้เข้าถึงร้านค้าออนไลน์ได้มากขึ้น
ข้อดีของการส่งข้อความแบบอัตโนมัติไปยังผู้รับในแพลตฟอร์ม Messenger คือการทำการตลาดแบบเชิงรุก ที่จะสามารถต่อยอดการทำการตลาดหลังจากที่ลูกค้าเคยเข้ามาซื้อสินค้า และ บริการจากแบรนด์ โดยก่อนหน้านี้ หากเราซื้อสินค้า และ บริการจากแบรนด์ เรียบร้อยแล้ว เราอาจจะจบบทสนทนา และ ไม่ได้กลับไปดูผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อีก จึงเป็นเหตุผลที่ฟีเจอร์ Recurring Notification ได้ออกแบบมาเพื่อ นำเสนอคอนเทนต์ โปรโมชัน และ สินค้าที่น่าสนใจไปยังผู้รับข้อความ เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
จุดประสงค์ของฟีเจอร์นี้ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในทางธุรกิจ เพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และ ให้ประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการชอปปิงออนไลน์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่อย่างไรก็ตาม การส่งข้อความไปหาลูกค้า จะต้องเป็นการยินยอมส่วนบุคคลด้วยเช่นกัน โดยผู้รับต้องยินยอมให้ส่งข้อความก่อน ทางแบรนด์ถึงจะสามารถส่งข้อความอัตโนมัติไปหาได้ เพื่อไม่เป็นการรุกล้ำความเป็นส่วนตัวจนเกินไปค่ะ
4 สร้างความโปร่งใส และ ความปลอดภัยให้ผู้ใช้งานด้วย Meta Privacy Policy
ผู้ใช้งานบนเฟสบุคหลายคนอาจได้รับการแจ้งเตือนบนแอปกันในเดือนที่ผ่านมา ซึ่งทาง Meta ได้ส่ง Notification หรือการแจ้งเตือนใหม่ไปให้ผู้ใช้บริการเกี่ยวกับความปลอดภัย และ ความเป็นส่วนตัวของผู้เล่นเฟสบุค โดยทางเฟสบุคได้ประกาศว่า แพลตฟอร์มจะไม่เก็บ Data หรือนำข้อมูลของผู้ใช้งานไปใช้
เป้าหมายของ Meta ในการอัปเดตครั้งนี้ เน้นเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในด้านการเก็บข้อมูล ความโปร่งใสของระบบ และ การรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน อีกทั้ง Meta ยังให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ที่เป็นส่วนตัว โดยนอกจากการรักษาข้อมูลให้เป็นส่วนตัวบนแพลตฟอร์มเฟสบุค ยังรวมทั้งแพลตฟอร์มอื่น ๆ ในเครืออีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น I
- Messenger
- Workplace,
ตัวอย่างข้อมูลด้าน Privacy Policy ที่เฟสบุคอัปเดต
5 ระบบอัลกอริทึมที่ Facebook ได้พัฒนาบนหน้าฟีดปี 2022
ระบบอัลกอริทึมที่เฟสบุคใช้ประมวลผลนั้นมีวิธีการวิเคราะห์ Data และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอัลกอริทึมล่าสุดนั้น ทาง Meta เผยว่า ทางแพลตฟอร์มต้องการเน้นให้ผู้ใช้งานสนใจคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ ได้รับคุณค่าที่ตอบโจทย์กับตัวบุคคลนั้น ๆ รวมทั้งยังมีความเป็นส่วนตัว โดยสามารถแบ่งออกเป็นสามส่วนหลัก ๆ ได้แก่
- การได้รับเนื้อหาที่มีสาระ มีคุณภาพ
- การได้รับเนื้อหาที่มาจากแหล่งเชื่อถือได้ ตรวจสอบได้
- คอนเทนต์มีความปลอดภัย เหมาะสมกับวัย และ โปร่งใส
ทั้งนี้ระบบอัลกอริทึ่มจะวิเคราะห์ข้อมูลที่มีบนแพลตฟอร์ม และพฤติกรรมการใช้งาน หรือกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้ใช้ เพื่อเลือกสรรคอนเทนต์ที่ถูกใจ และได้ประโยชน์ต่อตัว User มากที่สุด โดยอัลกอริทึมจะใช้ปัจจัยเหล่านี้ในการประมวลผล นั่นก็คือ
- ช่วงเวลาที่คอนเทนต์เหล่านั้นโพสต์
- ใครเป็นคนโพสต์
- ความถี่ที่ผู้ใช้งานมีต่อเพจ หรือ บัญชีนั้น ๆ
- ประเภทของคอนเทนต์ เช่น คอนเทนต์รูปภาพ วิดีโอ หรือบาความ
- แนวทางที่ผู้ใช้งานเข้าถึงโพสต์ที่มีความใกล้เคียงกับ เพจ หรือ คอนเทนต์ที่เราชอบเข้าไปดู
- ช่วงเวลาที่เรา Active หรือใช้งานในแต่ละวัน
- ความเร็วของอินเทอร์เน็ต
ตัวอย่างเช่น หากเราชอบเข้าไปเลื่อนดูฟีดต่าง ๆ ในช่วงเวลาหัวค่ำ และ ชอบชอปปิงออนไลน์ผ่านเฟสบุค ช่วงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ อัลกอริทึมของเฟสบุค จะประมวลผล และนำเสนอเพจที่ขายสินค้า ที่เราชอบในช่วง วัน และ เวลาที่เราชอบดูสินค้าออนไลน์ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ใช้งานอยู่บนแพลตฟอร์มได้นานขึ้น
6 Creator สามารถสร้างรายได้ทางใหม่ด้วยคอนเทนต์ที่เป็นของตัวเอง
จากหัวข้อก่อนหน้านี้ ที่เกี่ยวข้องกับระบบอัลกอริทึม ซึ่งนอกจาก ระบบจะแนะนำคอนเทนต์ที่เป็นแบบ Orginal ให้ขึ้นฟีดก่อนแล้ว Meta ยังเปิดโอกาสให้เหล่าครีเอเตอร์ได้สร้างคอนเทนต์ที่เป็นของตัวเองเพื่อสร้างรายได้อีกด้วย
อย่างที่ทราบกันดีว่าตอนนี้เฟสบุคได้นำฟีเจอร์ Reels เข้ามาใช้บนแพลตฟอร์มเฟสบุคแล้ว ซึ่งทางเฟสบุคได้ประกาศว่า หากเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ออกแบบคอนเทนต์ที่เป็นต้นฉบับในรูปแบบของตัวเอง ไม่ลอกเลียนแบบคอนเทนต์ของเพจอื่น เฟสบุคจะเปิดโอกาสให้เหล่าครีเอเตอร์กลุ่มนั้นสร้างรายได้เป็นของตัวเองในรูปแบบของ Incentive ที่ชื่อว่า Challenges โดยในหนึ่งเดือนนั้น ครีเอเตอร์อาจได้รายได้มากกว่า $4,000 fอลลาร์สหรัฐ
เช่น ใน 5 คอนเทนต์แรกที่ครีเอเตอร์สร้างขึ้น จะได้รับเงินจำนวน $20 ดอลลาร์เมื่อมีคนเข้ามาดูมากกว่า 100 Reach และสามารถได้เงินเพิ่มอีก $100 ดอลลาร์เมื่อมี 500 Reach เข้ามาดูคอนเทนต์ 20 คอนเทนต์ขึ้นไปบน Reels
ข้อมูลจาก
developers.facebook
buffer
socialmediatoday