จะทําข้อมูลออกมายังไงให้ผู้บริหารดูง่ายและประทับใจ ✨
เมื่อวางแผนงานและดําเนินการตามแพลนที่วางไว้แล้ว การรายงานผลก็เป็นอีกหนึ่งส่วนที่สําคัญเหมือนกัน STEPS แนะนํา 5 วิธีแสดงยอดขายผ่านกราฟ จะมีกราฟประเภทไหนบ้างที่เหมาะกับการโชว์ผลยอดขาย
1. Bubble Chart : แผนภูมิแบบบับเบิล
- เหมาะสําหรับการใช้เพื่อแสดงข้อมูลท่ีเกี่ยวข้องกันในแนวความสัมพันธ์แบบซับซ้อน หลากหลายมิติ
- ใช้ลักษณะของวงกลม (Bubbles) ในการแสดงข้อมูลที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวแปรที่ต้องการนําเสนอ
Bubble Chart สามารถแสดงข้อมูลได้ 4 รูปแบบ
- แสดงข้อมูลแบบสองมิติ: Bubble Chart สามารถใช้แสดงข้อมูลที่มีสองตัวแปรโดยทั้งสองตัว จะอยู่บนแกน X และแกน Y ใช้สีของวงกลมหรือขนาดของวงกลมแสดงข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับจุดข้อมูลใน Bubble Chart นี้
- แสดงข้อมูลเพิ่มเติม: ขนาดของวงกลมใน Bubble Chart ใช้แสดงค่าสถิติ เช่น ค่ายอดขาย มูลค่าหรือจํานวนสินค้า สีของวงกลมสามารถใช้แสดงกลุ่มหรือหมวดหมู่ของข้อมูล เช่น สีของวงกลมแบ่งประเภทของผลิตภัณฑ์
แสดงข้อมูลแบบสมการ: Bubble Chart ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหลายๆตัวพร้อมกัน โดยใช้ขนาดและสีของวงกลม เพื่อแสดงค่าตัวแปรเพิ่มเติม เช่น แสดงยอดขายแกน X , แสดงยอดกําไรแกน Y , จํานวนสินค้าที่ขายในขนาดของวงกลม
แสดงข้อมูลแบบกระจาย: ในแบบนี้จะสามารถระบุแนวโน้มและความแตกต่างในข้อมูลได้อย่างชัดเจน ทําให้ง่ายต่อการจดจําและการเปรียบเทียบข้อมูลกันระหว่างกลุ่ม
ประโยชน์ของ Bubble Chart: สามารถวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ได้โดยใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังทํานายแนวโน้มของข้อมูลได้ตลอดเวลา ส่งผลต่อการววางแผนกลยุทธ์ในอนาคต
ตัวอย่างของการนํา Bubble Chart มาปรับใช้ในธุรกิจ
- สามารถนํามาวิเคราะห์ตลาดและผู้บริโภค การวางแผนการตลาด สามารถใช้ Bubble Chart เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสําเร็จของแคมเปญโดยมีปัจจัยของระยะเวลา ทรัพยากรที่ใช้ในโครงการนั้นๆ และงบประมาณที่ใช้ไป
2. Scatter Chart : การเกาะกลุ่มของจํานวน
- ช่วยในการตรวจสอบความสัมพันธ์ การจําแนกข้อมูล การค้นหาแนวโน้มและอธิบายข้อมูลของผู้บริโภคในทางที่ควรจะเป็นได้อย่างชัดเจน
- เป็นเครื่องมือทางสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลที่สําคัญในรูปแบบของแผนภูมิที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปรหรือมิติต่างๆ บนระนาบ 2 มิติ โดยใช้จุด (Point) บนแผนภูมิ
ประโยชน์ของ Scatter Chart: การใช้ Scatter Chart มีประโยชน์สําหรับการดูแนวโน้มและความสัมพันธ์ของข้อมูลสองอย่าง ทําให้อธิบายออกมาได้ง่ายมีประโยชน์ต่อการตรวจสอบข้อมูลและการตัดสินใจในการวางแผนกลยุทธ์ต่อไป
ตัวอย่างของการใช้ Scatter Chart
หากต้องการดูว่าการลงทุนในโฆษณาออนไลน์มีผลต่อยอดขายสินค้าหรือไม่ สามารถใช้ Scatter Chart เพื่อวาดจุดบนกราฟ
- แกน X แสดงจํานวนเงินที่ลงทุนในโฆษณา
- แกน Y แสดงยอดขาย
- จุดที่อยู่ตํ่าสุดบนแกน Y และมีความห่างจากแกน X จะแสดงว่า การลงทุนในโฆษณาไม่ส่งผลต่อยอดขาย
- จุดที่อยู่สูงสุดบนแกน Y และอยู่ใกล้กับแกน X แสดงว่าการลงทุนมีผลต่อยอดขายในเชิงบวก
3. Area Chart : แผนภูมิพื้นที่
- แสดงชุดข้อมูลแบบตัวเลขตามแกน X และแกน Y โดยพื้นที่ระหว่างเส้นกราฟและแกน X มีไว้เพื่อเน้นพื้นที่ใต้กราฟและทําให้ข้อมูลเปรียบเทียบได้ง่ายขึ้น
- ใช้เปรียบเทียบและดูแนวโน้มของข้อมูลตลอดช่วงเวลา หรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ในชุดข้อมูล
ประโยชน์ของ Area Chart: ช่วยให้ผู้ใช้นําเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อนและแสดงถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูลและการตัดสินใจในองค์กร
ตัวอย่างของการใช้ Area Chart
เปรียบเทียบยอดขายสินค้า 2 รุ่นในระยะเวลาที่กําหนด เพื่อเข้าใจแนวโน้มและความสัมพันธ์ของยอดขายในสินค้าหรือบริการต่างๆ เพื่อการสื่อสารข้อมูลกับทีม
4. Tree Map : แผนภูมิแผนที่ต้นไม้
- เป็นแผนภูมิที่ใช้ในการแสดงข้อมูลเชิงลักษณะและเชิงชั้นของข้อมูล โดยใช้สี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นตัวแทนแต่ละส่วนของข้อมูล
- ขนาดของสี่เหลี่ยมบอกค่าของข้อมูลและสีของสี่เหลี่ยมจะบ่งบอกความหมายหรือหมวดหมู่ของข้อมูล
ประโยชน์ของ Tree Map: เป็นเครื่องมือที่มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการแสดงข้อมูลที่มีลักษณะโครงสร้างที่ซับซ้อน ช่วยทําให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจและตรวจสอบข้อมูลกระจ่างชัดเจน เพิ่มการนําเสนอข้อมูลได้หลายลําดับขั้น เพราะส่วนย่อยในแผนภูมิ Tree Map สามารถแสดงเป็นข้อมูลหลายชั้นได้ เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูลแบบละเอียด
ตัวอย่างของการใช้ Tree Map มักถูกใช้ในการแสดงข้อมูลในเชิงลักษณะ
การแสดงข้อมูลการเงิน: ในธุรกิจและการเงิน Tree Map สามารถแสดงโครงสร้างผลรายได้และค่าใช้จ่าย โดยสี่เหลี่ยมแต่ละส่วนแทนกิจกรรมหรือรายได้ทางการเงิน
การแสดงข้อมูลสถานที่: ในเชิงภูมิศาสตร์และการวางแผนที่ Tree Map สามารถใช้ในการแสดงโครงสร้างพื้นที่ โดยสี่เหลี่ยมแทนพื้นที่ทางภูมิศาสตร์และสามารถแบ่งแยกพื้นที่ย่อยได้อย่างต่อเนื่อง
5. Symbols Map : แผนที่เชิงสัญลักษณ์
- เป็นเครื่องมือทางการสื่อสารและการแสดงข้อมูลที่ใช้สัญลักษณ์เฉพาะ เพื่อแสดงข้อมูลทางภูมิศาสตร์และข้อมูลตําแหน่งบนแผนที่
- สัญลักษณ์ที่ใช้ใน Symbols Map แทนค่าด้วยสถานที่เท่านั้น เช่น แสดงสัญลักษณ์ที่แสดงถึงจุดตั้งโรงงาน สัญลักษณ์ที่แสดงถึงจุดขายสินค้า
ประโยชน์ของ Symbols Map : แสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ต่างๆ ในรูปแบบของสัญลักษณ์ ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจข้อมูลตําแหน่งและระยะทางได้ง่ายและรวดเร็ว ง่ายต่อการวางแผนกิจกรรมทางการตลาดในพื้นที่ๆแตกต่างกัน โดยพิจารณาตําแหน่งสถานที่สําคัญ เช่น การเปิดสาขาใหม่ การจัดโปรโมชั่นพิเศษในพื้นที่เฉพาะ
ตัวอย่างของการใช้ Symbols Map
นักการตลาดสามารถใช้ Symbols Map: เพื่อวางแผนกิจกรรมทางการตลาด ตัวอย่างเช่น หากเป็นห้างสรรพสินค้าหรือร้านขายของ โดยแสดงสัญลักษณ์บนแผนที่สําหรับแต่ละสาขาของร้านค้า สัญลักษณ์เหล่านี้อาจแทนด้วยการเปิดงานและโปรโมชั่น การจัดกิจกรรมโปรโมท Symbols Map นี้จะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเห็นภาพรวมและความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการตลาดและผลลัพธ์ในแต่ละพื้นที่ได้อย่างชัดเจน
ลองนําทั้ง 5 กราฟไปปรับใช้ในธุรกิจของคุณดู
หากใครอยากเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทํา Data Visualization ไปเรียนรู้กันต่อได้ในคอร์ส Data Analytics for Marketing Management ดูรายละเอียดต่อได้ที่ bit.ly/3RaSbsK