อย่างที่รู้กันว่าการวางแผนการตลาดปัจจุบันนี้จะวางแผนด้วยความรู้สึก หรือวางแผนโดยใช้จินตนาการเป็นหลักไม่ได้แล้ว เพราะทุกอย่างต้องมีตัวชี้วัด มีเป้าหมาย และแนวทางของความเป็นไปได้ในเป้าหมายที่ตั้งไว้
STEPS เราให้ความสําคัญกับการนําข้อมูลหรือ Data มาเป็นส่วนสําคัญในการทํางานการตลาด 3 ความสําคัญของข้อมูลโดยเฉพาะการวิเคราะห์ข้อมูล หรือ Data Analytic เพื่อนํามาเป็นส่วนในการตัดสินใจการตลาดจะมีอะไรบ้าง
1. ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง
การวิเคราะห์ข้อมูลช่วยให้นักการตลาดหรือผู้บริหารเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพราะมีข้อมูลลูกค้าเป็นส่วนประกอบสําคัญในการวิเคราะห์ ข้อมูลที่ว่า เช่น ข้อมูลประชากรศาสตร์ ข้อมูลความสนใจ ข้อมูลพฤติกรรมการซื้อสินค้า ใจความหลักของการต่อยอดจากข้อมูลลูกค้าทั้งหมดนี้คือ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และสามารถจัดลําดับความสําคัญ จัดกลุ่มลูกค้าออกเป็นกลุ่มๆได้ตามความสนใจ อาชีพ ช่วงอายุ เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น หากนักการตลาดพบว่าผู้บริโภคในกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มีความสนใจในเทรนด์สุขภาพ นักการตลาดอาจเลือกพัฒนาสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับเทรนด์สุขภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้ เป็นต้น
2. ช่วยวิเคราะห์แนวโน้มและประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาด
การวิเคราะห์ข้อมูลช่วยให้นักการตลาดวัดผลประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาดได้อย่างแม่นยำ โดยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เช่น ยอดขาย ยอดวิว ยอดแชร์ ยอดคลิก เพื่อนำมาใช้ประเมินว่าแคมเปญการตลาดประสบความสำเร็จหรือไม่ และหากไม่ประสบความสำเร็จ นักการตลาดก็สามารถนำมาปรับใช้เพื่อปรับปรุงแคมเปญการตลาดในครั้งต่อไป
ตัวอย่างเช่น หากนักการตลาดพบว่าแคมเปญการตลาดบนโซเชียลมีเดียมียอดวิวสูง แต่ยอดขายกลับไม่เพิ่มขึ้น อาจต้องมาดูข้อมูลของผู้ที่ติดตามในโซเชียลมีเดียกับกลุ่มลูกค้าที่ซื้อสินค้า เป็นไปได้ว่าลูกค้าจากสื่อโซเชียลกับลูกค้าที่ซื้อของจะเป็นคนละกลุ่มกัน นักการตลาดก็ต้องกลับไปเช็คข้อมูลลูกค้าทั้งสองกลุ่มดังกล่าวและทําการวิเคราะห์เหมือนเป็นสารตั้งต้นของการวางแผนงานต่อๆไป
3. ช่วยให้การตัดสินใจขึ้นอยู่กับฐานข้อมูล ทําให้การตัดสินใจนั้นแม่นยําขึ้น
จากการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อประเมินสถานการณ์หรือคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดสิ่งใดขึ้น เช่น การกำหนดกลยุทธ์การตลาด การกำหนดราคาสินค้า หรือการขยายตลาด ตัวอย่างเช่น หากนักการตลาดพบว่าคู่แข่งมีสินค้าหรือบริการที่คล้ายคลึงกับของเรา อาจพิจารณาปรับกลยุทธ์การตลาดให้แตกต่างจากคู่แข่ง โดยการเช็คข้อมูลจากข้อที่ 1 ว่ากลุ่มลูกค้าเป็นใคร มีคาแรกเตอร์ลูกค้าแบบไหนที่เข้ากับสินค้าหรือบริการของเรา เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาด
การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักการตลาดในการประกอบการตัดสินใจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตลาดและธุรกิจ นักการตลาดควรเรียนรู้วิธีวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนํามาประยุกต์ใช้ในด้านการวางแผนการตลาดต่อยอดให้ธุรกิจประสบความสําเร็จมากขึ้นจากชุดข้อมูลที่แม่นยํา
อัปสกิลด้านการจัดการ Data ต่อยอดทางการตลาดได้อย่างมั่นใจ
คอร์ส Data Analytics for Marketing Management รุ่นที่ 4 เปิดรับสมัครแล้ววันนี้
คอร์สเริ่มเรียน 17 กุมภาพันธ์ – 30 มีนาคม 2567