Digital Marketing 2022 ไม่ได้มองแค่การสร้างกำไร ได้ยอดขาย แต่ต้องมองหากลยุทธ์ว่าแบรนด์จะทำอย่างไร ให้ลูกค้ารู้สึกสนใจในสินค้า และ บริการ รวมทั้งสามารถมอบคุณค่า ประโยชน์ และ บริหารความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในระยาว ด้วยวิธีการ ดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้ใกล้ชิดกับแบรนด์มากขึ้น ซึ่งหนึ่งในวิธีการทำการตลาดเพื่อสร้างกฎแรงดึงดูดนั้น ทางการตลาดมีกลยุทธ์ที่เรียกว่า Inbound Marketing นั่นเอง
แต่เราจะนำกลยุทธ์ Inbound Marketing มาใช้อย่างไรให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับแคมเปญ รวมทั้งเพิ่มยอดขายได้บ้าง?
ในวันนี้ STEPS Academy จะมานำเสนอวิธีการทำ Inbound Marketing ให้ดึงดูดลูกค้าด้วยฟีเจอร์จาก ActiveCampaign เครื่องมือที่จะช่วยคุณในการทำ Business Automation เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาวระหว่างแบรนด์ และ ลูกค้าค่ะ
Inbound Marketing คืออะไร
ก่อนที่จะไปดูฟีเจอร์ต่าง ๆ ใน Active Campaign เราไปดูความหมายของ Inbound Marketing กันก่อน
Inbound Marketing คือ กลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนึ่ง ที่ใช้วิธีการสร้างคอนเทนต์ เน้นดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้รู้สึกสนใจบทความ รูปภาพ และ วิดีโอที่เป็นคอนเทนต์ของแบรนด์ รวมทั้งวิธีการใช้สื่อบนโซเชียลมีเดียในพื้นที่เพจของแบรนด์เอง โดยเนื้อหาของคอนเทนต์จะเป็นเนื้อหาเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อ่าน หรือ ผู้ชม ซึ่งเป็นการสร้างคุณค่ามอบสิ่งดี ๆ ให้กับผู้รับสารค่ะ
ทำไมแบรนด์ควรให้ความสำคัญกับ Inbound Marketing
เหตุผลที่แบรนด์ควรทำการตลาดในรูปแบบ Inbound Marketing นั่นก็เพราะ Inbound Marketing คือการสร้างคอนเทนต์ที่เกิดประโยชน์ ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมาย โดยไม่เป็นการสื่อสารออกไปในทางเดียว เพราะ Inbound Marketing คือการสร้างแรงดึงดูดให้ลูกค้ารู้จักแบรนด์ และเกิดความน่าเชื่อถือ โดยเริ่มจากการเป็น Customer Journey จนกลายเป็นบุคคลที่พร้อมซื้อสินค้า และ บริการจากแบรนด์ และเกิดการกลับมาซื้อสินค้าจากแบรนด์อีกในอนาคต
สิ่งที่นักการตลาดทำคือการสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) ในเบื้องต้น เมื่อกลุ่มเป้าหมายนั้นได้รับสิ่งดี ๆ จากแบรนด์ และเกิดสนใจ รวมทั้ง ความน่าเชื่อถือแล้ว กลุ่มเป้าหมายก็จะเข้ามายังหน้าเว็บไซต์ของแบรนด์ หรือกด Subscribe เพื่อติดตามคอนเทนต์ และ ข่าวสารใหม่ ๆ จากทางอีเมล ซึ่งการทำการตลาดแบบนี้ เรียกว่า Permission Marketing เป็นการตลาดแบบการขออนุญาตผู้บริโภค เพื่อส่งสาร หรือข้อเสนอต่าง ๆ จากแบรนด์ไปให้ยังผู้รับสาร โดยไม่เป็นการยัดเยียดเนื้อหาต่าง ๆ โดยที่ผู้บริโภคไม่ต้องการ
เมื่อกลุ่มเป้าหมาย (Lead) เข้ามากดติดตามเนื้อหาคอนเทนต์ อาจมีจุดประสงค์ของกลุ่มเป้าหมายก็แตกต่างกันออกไป เช่น เพื่อติดตามคอนเทนต์ต่าง ๆ เพื่อดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม และการเลือกซื้อสินค้า และสุดท้าย หากแบรนด์ยังคงมอบประสบการณ์และคุณค่าดี ๆ ให้กับลูกค้าในระยะยาวได้ แบรนด์ก็จะได้ Loyalty Customer ที่อยู่คู่กับแบรนด์ไปอีกในอนาคตค่ะ
ActiveCampaign เครื่องมือในการสร้างแรงดึงดูดลูกค้า เพื่อมอบคุณค่า และรักษาความสัมพันธ์ทีดีให้กับลูกค้า
ความจริงแล้วการทำ Inbound Marketing มีหลายวิธีการ และ หลายขั้นตอน ซึ่งบทความในวันนี้ที่ผู้เขียนจะกล่าวถึง คือขั้นตอนในการสร้าง Engagement ระหว่างลูกค้า และ แบรนด์ ด้วยการใช้เครื่องมือ ActiveCampaign ให้ลูกค้าสนใจคอนเทนต์ และสิ่งที่แบรนด์นำเสนอค่ะ
ActiveCampaign คืออะไร

ActiveCampaign เป็นเครื่องมือ Automation อย่างหนึ่ง เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือเทคโนโลยีที่นักการตลาดสามารถนำมาปรับใช้กับกลยุทธ์การทำการตลาดแบบอัตโนมัติ ทำให้ลูกค้าได้รับสารที่เป็นประโยชน์ เป็นส่วนตัว โดยระบบสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคได้ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับคอนเทนต์ที่เป็น Personalization หรือมีความเฉพาะเจาะจง ตอบโจทย์กับความต้องการได้ดี ซึ่ง ActiveCampaign สามารถเก็บ Data นำมาประมวลผลทำให้นักการตลาดสามารถวิเคราะห์ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลา ทำให้แบรนด์เข้าใจถึงสิ่งที่ลูกค้ากำลังมองหา และ มอบคุณค่าที่ดีที่สุดไปให้ผู้บริโภค
แน่นอนว่า ActiveCampaign เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ให้บริการการส่งอีเมล ข่าวสารไปยังลูกค้า แต่สิ่งที่มากกว่าการส่งอีเมลนั้นคือการทำการตลาดในด้านอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำ Marketing Automation และ การทำ CRM หรือการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ากลับมายังหน้าเว็บไซต์ของแบรนด์ เพื่ออ่านบทความ การซื้อสินค้า และ การสร้างความน่าเชื่อถือในตัวแบรนด์
ข้อดี และ ข้อควรระวังในการใช้ ActiveCampaign
ข้อดี
- เครื่องมือใช้งานง่าย ไม่ซ้ำซ้อน
- สามารถเลือกแพลนได้ มีทั้งแบบจ่ายรายเดือน และ รายปี

- สามารถปรับแต่งหน้า Dashboard ได้โดยระบบจะมีการสอนแบบเป็นขั้นตอนให้
- จุดขายที่น่าสนใจหลัก ๆ คือ มีฟีเจอร์ที่สอดคล้องกับระบบการทำการตลาดแบบอัตโนมัติ (automation features)
- มีระบบ Robust Security
- สามารถดึงอีเมลจากระบบ CRM ได้เลย และสามารถส่งเมลได้ครั้งละมาก ๆ
- มีการวิเคราะห์ Data ของ Subscriber ที่เข้าใจง่าย มาในรูปแบบของจำนวนเปอร์เซ็นต์ และ กราฟ ทำให้วิเคราะห์ผลเพื่อนำไปต่อยอดได้ไวขึ้น
- มีเทมเพลตจัดไว้ให้ ไม่ต้องเสียเวลาเลือกธีม หรือดีไซน์
ข้อควรระวัง
- ผู้ที่ไม่มีพื้นฐานเลยในการใช้เครื่องมือ Automationa อาจสับสนในระยะแรก ๆ เนื่องจากมีฟีเจอร์ประกอบค่อนข้างมาก
- เหมาะกับการสร้างฟอร์มแบบพื้นฐาน แต่ไม่เหมาะกับการสร้างฟอร์มที่มีความซับซ้อน
- เป็นเครื่องมือที่มีค่าใช้จ่าย
ฟีเจอร์สำคัญของ ActiveCampaign
1 Email Segmentation (กลยุทธ์การแบ่งกลุ่มผู้บริโภคเพื่อส่งอีเมลให้เหมาะสม)
Email Segmentation เป็นวิธีการแบ่งกลุ่มผู้บริโภคตามลักษณะเฉพาะทางการตลาด จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า ActiveCampaign เป็นเครื่องมือในการส่งอีเมล ซึ่งเราสามารถตั้งระบบการส่งอีเมลไปยังกลุ่มเป้าหมายได้แบบอัตโนมัติ แถมยังสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้แบบเฉพาะกลุ่ม เพื่อส่งสารที่ตอบโจทย์ไปให้ยังผู้รับได้ ซึ่งจะมีโอกาสที่คนจะเปิดอ่าน และ คลิกมายัง Landing Page ที่ต้องการได้ดีกว่า การส่งคอนเทนต์ที่มีเนื้อหากว้างจนเกินไป ทำให้แบรนด์เสียโอกาสในการสร้าง Lead
ActiveCampaign สามารถวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย หรือ Data ที่เรามีอยู่ได้เพื่อหา Segmentation ได้แก่
- Demographic แบ่งตามลักษณะประชากรศาสตร์
- Behavioral แบ่งตามพฤติกรรมของผู้บริโภค
- Geographic แบ่งตามลักษณะทางภูมิศาสตร์
- Psychographic แบ่งตามจิตวิทยา เช่น ความชอบ ความสนใจต่าง

ข้อดีของ Email Segmentation
- เน้นการทำการตลาดแบบ Personalization
- เพื่อสร้างโอกาสให้ลูกค้าคลิกเข้ามายังหน้า Landing Page เพิ่มมากขึ้น
2 Marketing Automation (การตลาดแบบอัตโนมัติ)
Marketing Automation เป็นระบบการทำการตลาดแบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นจุดเด่นของ ActiveCampaign โดย Marketing Automation เป็นมากกว่าการตั้งเวลา เพื่อส่งอีเมล แต่แบรนด์สามารถปรับการตั้งค่า และ เงื่อนไขต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับแคมเปญ วัตถุประสงค์ และ ความต้องการของผู้บริโภคได้
จากภาพด้านล่าง เราสามารถตั้งค่า Automation ด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับแคมเปญ และสอดคล้องกับสิ่งที่ผู้รับต้องการได้ โดยไม่เป็นการก้าวก่ายความเป็นส่วนตัวของลูกค้าจนเกินไป
เช่น การตั้งค่าเงื่อนไข ให้ระบบส่งอีเมล Newsletter ซ้ำอีกครั้งไปยังคนที่ยังไม่ได้เปิดอีเมลเราก่อนหน้านี้ หรือส่งอีเมลโปรโมชันไปให้ผู้รับสาร ที่เคยซื้อสินค้าและบริการจากแบรนด์ เพื่อยื่นข้อเสนอพิเศษ

ตัวอย่างการตั้งเงื่อนไขในระบบ Marketing automation
3 ข้อมูลด้านพฤติกรรมลูกค้าค้าในระบบ CRM
คือการจัดการ บริหารความสัมพันธ์ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ในเชิงบวก และมอบคุณค่าดี ๆ ให้กับลูกค้า และ เกิด Engagement ต่อแบรนด์ ซึ่งในการทำ Email Segmentation และ การทำ Marketing Automation ในเบื้องต้นจะทำให้แบรนด์สามารถประมวลผลข้อมูลลูกค้า เพื่อศึกษาพฤติกรรม และ ความสนใจของผู้บริโภค และวิเคราะห์หา Personalization และทำให้เกิดการบริหารความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์ และ ลูกค้า
เครื่องมือ ActiveCampaign นั้นมีฟีเจอร์ที่ช่วยวิเคราะห์พฤติกรรม และ ความสนใจของลูกค้า เพื่อนำมาเป็น ข้อมูล Insight เชิงลึกของแบรนด์เอง โดยสามารถนำไปต่อยอดการบริหารระบบ CRM โดยข้อมูลเหล่านั้น ประกอบไปด้วย
- อายุ
- ตำแหน่งที่อยู่ของผู้บริโภค
- กิจกรรม และ ความสนใจต่าง ๆ ที่ลูกค้าทำบนหน้าเว็บไซต์
นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจ SME หรือธุรกิจที่มีขนาดเล็กสามารถใช้ ActiveCampaign เพื่อทำ Inbound Marketing ได้เนื่องจากเครื่องมือมีฟีเจอร์ที่ครอบคลุม ใช้งานง่าย โดยนักการตลาด และ ผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจขนาดย่อมสามารถตั้งเงื่อนไข และ ปรับแต่งได้ด้วยตนเอง

จากภาพด้านบนเราจะเห็นว่า ฟีเจอร์ CRM ได้ออกแบบดีลต่าง ๆ เพื่อนำไปปรับใช้เอาไว้ให้มากกว่า 10 รูปแบบ เพื่อให้นักการตลาดสามารถบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าได้อย่างครอบคลุม และ หลายหลาย และช่วยให้สอดคล้องกับการทำแคมเปญ
4 การส่งข้อความไปยังผู้รับสาร และการโต้ตอบแชทแบบเรียลไทม์ (Live Chat Conversations and Messaging)

ตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ของ ActiveCampaign ที่นำเสนอฟีเจอร์ Live Chat Conversations and Messaging
หากคุณเป็นนักชอปออนไลน์ที่ชอบซื้อสินค้า และ บริการผ่านเฟสบุค หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ อาจเคยใช้บริการ Live Chat หรือ แชทบอทกันมาบ้าง โดย ActiveCampaign มีฟีเจอร์เด็ดอย่าง Live Chat Conversations ที่สามารถช่วยเหลือผู้ที่เข้ามายังหน้าเว็บไซต์เพื่อตอบคำถามเบื้องต้น หรือช่วยค้นหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการ รวมทั้งทำให้ Visitor ของเว็บไซต์เข้ามากดติดตามข่าวสาร
เมื่อกลุ่มเป้าหมายให้อีเมลผ่านหน้า Chat ระบบจะสร้างโพรไฟล์ขึ้น และเก็บข้อมูลอีเมลไว้ใน Email List และสร้างระบบ Automation ตามเงื่อนไขที่แบรนด์กำหนด เพื่อส่งอีเมลต่าง ๆ ไปหากลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการส่งข้อความ SMS เพื่อโปรโมตโปรโมชั่นต่าง ๆ

SMS Automation เป็นฟีเจอร์ที่สามารถใช้ได้เมื่อมีการจ่าย Plan ในระดับ Plus Plan ขึ้นไป โดยเราสามารถเลือกได้เทมเพลตได้หลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับธีม และเนื้อหา เช่น
- การส่ง SMS เพื่อทำการนัดหมาย
- การส่ง SMS เพื่อยื่นข้อเสนอโปรโมชัน
- การส่ง SMS เพื่อแจ้งเตือนว่าผู้รับสารมี Newsletter ใหม่
หากสนใจวิธีการใช้เครื่องมือ ActiveCampaign เพิ่มเติมสามารถแอดไลน์ เพื่อปรึกษากับทางทีมงาน STEPS Academy ได้ที่ LineOA: @stepstraining
ข้อมูลจาก
mageplaza
emailtoolteste
activecampaign