เราอยู่ในยุคที่ต้องทํางานร่วมกับข้อมูล..
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลลูกค้า ข้อมูลเกี่ยวกับคู่แข่ง หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสินค้าและบริการถูกสร้างขึ้นและมีการเผยแพร่อยู่ตลอดเวลา การใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลหรือ Data Analytics จึงเป็นสิ่งสําคัญสําหรับธุรกิจทุกๆ ขนาด ข้อดีเลยคือ จะช่วยให้สามารถเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค แนวโน้มของตลาด หรือเสริมประสิทธิภาพของกลยุทธ์ทางการตลาดได้
แล้ว Data Analytics หรือการวิเคราะห์ข้อมูล เปลี่ยนเกมการตลาดได้อย่างไร?
หลักๆ จะมีด้วยกัน
3 ประเด็นที่การวิเคราะห์ข้อมูลเข้ามามีบทบาทและช่วยเสริมการตลาด
- เพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาด ให้กําหนดเป้าหมายทางการตลาดได้แม่นยํา เลือกสื่อและช่องทางการตลาดที่เหมาะสม และทําการวัดผลลัพธ์ของแคมเปญการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค เป็นการนําข้อมูลลูกค้าที่ได้มา รวบรวมและวิเคราะห์เพื่อทําความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นความสนใจ ความต้องการและปัญหาที่เรียกว่า pain point ที่ลูกค้าต้องเผชิญอยู่ เพื่อเชื่อมโยงเข้ากับสินค้าและบริการของเราที่จะไปตอบโจทย์อุดรอยรั่วของปัญหาในส่วนนี้ได้
- ค้นพบโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ เพราะการสังเกตธุรกิจด้วยตาเปล่า ไม่อาจเทียบเท่าการมองหาโอกาสทางการตลาดใหม่ๆด้วยข้อมูลที่มีอยู่ในมือ การวิเคราะห์ข้อมูล หรือ Data Analytics ช่วยให้ธุรกิจสามารถค้นพบโอกาสใหม่ๆได้อย่างไม่น่าเชื่อ
เราจะขอยกตัวอย่างความสําเร็จธุรกิจชั้นนําในการทํางานร่วมกับข้อมูลมาลองปรับใช้ในการตลาด
อย่างแบรนด์ที่ทุกคนคุ้นเคยและใช้งานกันแทบทุกวัน Netflix ..
ที่ประสบความสําเร็จจากการนํา Data Analytics เข้ามาปรับใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมการดูผู้ใช้เพื่อพัฒนาเนื้อหาที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น
โดยทาง Netflix ได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ เช่น ประเภทของเนื้อหาที่ผู้ใช้ดู เวลาที่ดู อุปกรณ์ที่เปิดดู สถานที่ และนํามาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแนวโน้มและความต้องการใหม่ๆของผู้ใช้
ตัวอย่างเช่น
- การพัฒนาฟีเจอร์ใหม่อย่าง “Continue Watching” ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถกลับเข้ามาดูเนื้อหาที่ยังไม่ได้ดูต่อได้
- การพัฒนาซีรีส์หรือภาพยนตร์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น อย่าง ซีรีส์ The Stranger Things, The Witcher หรือ Squid Game เป็นต้น
ส่วนเทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูลที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน จะมีอยู่ด้วยกัน 4 เทคนิค
เทคนิควิเคราะห์ข้อมูล
ตัวอย่างเช่น
1. Descriptive analytics
การวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีตโดยเน้นการอธิบายข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต เช่น การหาค่าเฉลี่ยของยอดขายรายเดือน การหาความถี่ของสินค้าที่ถูกสั่งซื้อ หรือการหาแนวโน้มยอดของยอดขายในแต่ละปี
2. Diagnostic analytics
เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงวินิจฉัย หาสาเหตุจองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น หาสาเหตุของยอดขายที่ลดลง หาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า หรือหาสาเหตุของปัญหาที่พบในกระบวนการทํางาน
3. Predictive analytics
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคาดการณ์ในเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น คาดการณ์ยอดขายของสินค้าใหม่ คาดการณ์พฤติกรรมการซื้อของลูกค้าตามช่วงอายุ หรือคาดการณ์โอกาสในการขาย
4. Prescriptive analytics
เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงกําหนด แนะนําแนวทางในการดําเนินการในอนาคต เช่น แนะนํากลยุทธ์การตลาดที่จะสามารถเพิ่มยอดขายได้ หรือการแนะนําแนวทางในการจัดการความเสี่ยงทางการเงินของบริษัท หรือแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการทํางาน เป็นต้น
เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้สามารถนำมาใช้ร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น
ธุรกิจอาจใช้เทคนิค descriptive analytics เพื่ออธิบายข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต จากนั้นใช้เทคนิค diagnostic analytics เพื่อหาสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากนั้นใช้เทคนิค predictive analytics เพื่อคาดการณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และสุดท้ายใช้เทคนิค prescriptive analytics เพื่อแนะนำแนวทางในการดำเนินการในอนาคต
ซึ่งเราสามารถนํา
การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจได้ตั้งแต่ต้นจนจบ
- กําหนดวัตถุประสงค์ของการที่จะต้องการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาด หรือเข้าในพฤติกรรมของลูกค้ามาขึ้น หรือต้องการค้นหาโอกาสใหม่ๆ ให้กับตลาด
- รวบรวมข้อมูล หลักๆ ที่เริ่มนํามารวบรวมได้เลย นั่นคือข้อมูลลูกค้าที่ซื้อหรือใช้บริการของเรา พฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า หรือข้อมูลการขาย เป็นต้น
- วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือหรือซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาข้อมูลเชิงลึก ไม่ว่าจะเป็น Looker Studio, Tableau, IBM เป็นต้น
- นําข้อมูลเชิงลึกไปใช้งานจริง ปรับกลยุทธ์การตลาด หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการให้ดีขึ้น
บทสรุป
การวิเคราะห์ข้อมูลถือเป็นเครื่องมือสําคัญในปัจจุบัน หากธุรกิจต้องการเติบโตและแข่งขันในตลาดได้อย่างยั่งยืน ควรเริ่มทํางานร่วมกับข้อมูลกันอย่างจริงจังแล้วตั้งแต่วันนี้ค่ะ
เรียนรู้เทคนิคการทํางานร่วมกับข้อมูล นําข้อมูลมาประยุกต์ใช้กับแผนกลยุทธ์การตลาดได้จากหลักสูตร Data Analytics for Marketing Management รุ่นที่ 4
ฝากติดตามอัพเดทข่าวสาร เทรนด์ เกี่ยวกับการตลาดได้ในบทความต่อๆไปนะคะ