อย่างที่หลายท่านอาจจะเคยเห็นข่าวในปี 2012 ว่า Facebook ตัดสินใจซื้อ Instagramในราคา 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
การเทคโอเวอร์บริษัทในครั้งนั้น สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก หลายคน ตั้งคำถามว่า การซื้อขายนี้คุ้มค่าหรือไม่ และจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
ในปัจจุบันนี้ Facebook คงให้คำตอบแก่ทุกคนอย่างชัดเจน ว่าการจัดสินใจซื้อ Instagram นั้นถือว่าคุ้มยิ่งกว่าคุ้มเพราะในปี 2019 ที่ผ่านมา Instagram ได้สร้างรายได้มหาศาลถึง 2 หมื่นล้านดอลลาร์เลยทีเดียว
รายได้หลักจาก Instagram มาจากผู้ลงโฆษณาผ่านแอป ยิ่งโฆษณาโดนใจ หรือสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้มากเท่าไหร่ แบรนด์ก็ยิ่งลงทุนมากขึ้นเท่านั้น
เมื่อผู้คนให้ความสนใจและใช้ Instagram อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นผลลัพทธ์ให้ Instagram สร้างเครื่องมือเพื่อวัดผลแบบ “เชิงลึก” ให้แก่ Account ที่ทำธุรกิจผ่าน Instagram
Step #1:
ผู้ประกอบการที่มี Business Account สามารถใช้เครื่องมือต่างๆเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล โดยผ่านหน้าโพรไฟล์ส่วนตัว เพียงแค่คุณคลิกรูป เส้นตรง 3 เส้นที่เรียงซ้อนกันจากมุมขวาบน (หรือเรียกอีกอย่างว่า ปุ่ม แฮมเบอร์เกอร์)

จากหน้าโพรไฟล์ส่วนตัว คุณจะเห็นปุ่มแฮมเบอร์เกอร์ได้จากมุมขวาบนของแอป
Step #2:
หลักจากนั้นคุณจะเห็นเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือ 5 ประเภทดังนี้

1: Follower Count ใช้ Metric เพื่อวัดยอดจำนวน Follower

ภาพประกอบจาก : https://sproutsocial.com/insights
การใช้เครื่องมือเพื่อวิเคราะห์และวัดยอดผู้ติดตามใน Instagram มีความสำคัญในการทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มนี้ เนื่องจากการมียอด Follower (หรือที่เรามักเรียกว่า “ยอดฟอล”) ในอินสตาแกรมก็เหมือนกับการเพิ่มฐานลูกค้า ให้คนรู้จักแบรนด์ของเรามากขึ้น เมื่อมียอดฟอลเพิ่มขึ้น ก็สามารถเพิ่มโอกาสให้คนซื้อสินค้าและบริการผ่าน Instagram ได้มากขึ้น
นอกจากนี้ คุณควรสร้างเป้าหมายให้กับธุรกิจของคุณ เพื่อกำหนดทิศทางในการทำการตลาดในยุคดิจิทัล โดยกำหนดว่า
- คุณควรจะรู้ว่า แบรนด์ของคุณขายอะไร และอะไรคือจุดเด่นของสินค้าหรือบริการที่คุณจะมอบให้ลูกค้า
- ช่องทางในการนำเสนอแบรนด์ของคุณ เพื่อขายสินค้า
ตัวอย่างเช่น คุณมีเป้าหมายเพิ่มยอดฟอลจาก 1,000 คน เป็น 50,000 คนในเวลา 6 เดือน
เป้าหมายนี้อาจไม่ไกลเกินเอื้อม เพียงแค่คุณจะต้องรู้ว่า ควรใช้วิธีเพิ่มยอดฟอลอย่างไร
ซึ่งตอนนี้คุณรู้แล้วว่า ในหนึ่ง 1 เดือน คุณจะต้องมียอดฟอลเพิ่มเดือนละ 8,167 คน โดยคุณสามารถใช้ฟีเจอร์ Follower Count เพื่อเช็คยอดผู้ติดตาม และประเมินผล
หากคุณต้องการสร้างผลลัพธ์ที่มากขึ้นใน Instagram เราขอแนะนำให้ลองอ่านคอนเทนต์นี้:
2: ปุ่ม Impressions

Impression คือเครื่องมือวัดผลที่สำคัญสำหรับการสร้าง Instagram Growth เนื่องจากตัววัดผลนี้ จะบอกได้ว่ามีคนเห็นโพสต์ หรือโฆษณาที่คุณลงล่าสุดของคุณไปแล้ว “จำนวนกี่ครั้ง” โดยคนที่เห็นโพสต์ ไม่ต้องคลิกเข้ามาดูในหน้าโพรไฟล์ก็ได้
คนที่เข้ามาเห็นโพสต์ของคุณ อาจประทับใจในแบรนด์ของคุณ แต่อาจยังไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์อื่นๆ เช่นการ Like, Comment, Share หรือ การส่งข้อความทาง Direct Messesge
กลุ่มคนเหล่านี้ จะผ่านเข้ามาและรับรู้ถึงการมีตัวตนของแบรนด์ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิด Customer Journey และนำไปสู่กระบวนการซื้อขาย
ประโยชน์จากการใช้ Impressions เพื่อวัดผลคือคุณสามารถวัดจำนวนครั้งที่ลูกค้าเห็นโฆษณาที่คุณโพสต์
3: ปุ่ม Reach

Reach สามารถเช็ค ”จำนวนคน” ที่เห็นคอนเทนต์ หรือโฆษณาบนโพรไฟล์ของคุณ แต่มีความแตกต่างกันกับ Impressions ตรงที่ Reach คือการนับ “จำนวนคน” ที่เข้ามาดูโพรไฟล์ของคุณ ถึงแม้ลูกค้าคนเดิมอาจจะเข้ามาแล้ว 10 ครั้งในหนึ่งวัน แต่ Reach จะนับว่ามีจำนวนผู้ใช้ User เข้ามาเพียง 1 ครั้ง
ประโยชน์ของการใช้ Reach คือแบรนด์สามารถสร้าง Engagement โดยการนำเสนอคอนเทนต์ที่ตรงใจลูกค้า หรือเป็นสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทำให้คนที่เห็นคอนเทนต์เกิดการตอบสนองด้วยการ Like, Comment, Share และส่งข้อความทาง Direct Message
4: Engagement

ปุ่ม Engagement เปรียบเสมือนการวิเคราะห์ผลลัพธ์จากใช้กลยุทธ์ทางการตลาด ว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ประสบความสำเร็จหรือไม่ โดยอัลกอริทึ่มบน Instagram จะช่วยบ่งชี้ให้เห็นว่า มีคนสนใจอินสตาแกรมคุณมากน้อยแค่ไหน
การสร้าง Engagement สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้แก่แบรนด์และสามารถเพิ่มยอดฟอลได้ โดยที่ Engagement เกิดจาก
- การกด Likes
- การ Comments แสดงความคิดเห็น
- การ Saves รูป หรือวีดีโอ
- การส่งข้อความแบบ DMs (direct message)
สิ่งเหล่านี้ คือผลชี้วัดความน่าสนใจของคอนเทนต์ ยิ่งมีคนเข้ามากด Like หรือ Comment มากเท่าไหร่ แบรนด์ของคุณก็มีโอกาสในการสร้าง Awareness มากเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าแบรนด์มีโอกาสที่จะเป็นหนึ่งในตัวเลือกของลูกค้าในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ
ตัวอย่างเช่น คุณโพสต์คอนเทนต์ลงไปในอินสตาแกรม 2 ครั้ง
- คอนเทนต์แรก มีคนกด Like 100 คน
- โพสต์ที่สองมีคนกด Like 500 คน
เมื่อยอด Like ความแตกต่างกันมีค่อนข้างมาก คุณควรเช็คในแต่ละโพสต์ว่า โพสต์ไหนที่คุณต้องการ Boost เพิ่มเพื่อโปรโมตสินค้า
นอกจากนี้ การวัดผลจากยอด Save สามารถวัดจำนวนคนที่สนใจโพสต์ของเราได้เช่นกัน
ทำให้โอกาสที่ลูกค้าจะซื้อสินค้ามีมากขึ้น เนื่องจากลูกค้าอาจจะเปิดรูปภาพที่เคย Save เอาไว้และตัดสินใจซื้อในภายหลัง
5: Instagram Story Views

การเช็คยอด View จาก Instagram Story สามารถวิเคราะห์ได้ว่า ใน 24 ชั่วโมงที่คุณได้โพสต์ Story มีคนเข้ามาดูหรือให้ความสนใจมากแค่ไหน ซึ่งใน Instagram Story จะมีเครื่องมือวัดผลอื่นๆด้วย ได้แก่
- Profile Visits
- Reach
- Impressions
- Follows
- Navigation
- จำนวนคนที่ย้อนกลับมาดู Story ของคุณ
- จำนวนคนที่เลื่อนไปดู Story อีกโพสต์หนึ่ง
- จำนวนคนที่ข้าม Story ของคุณเพื่อไปดู Story จาก Account อื่น
- จำนวนคนที่กดออกจาก Story ของคุณ
เมื่อเข้าไปที่หน้า Story และเลื่อนหน้าจอขึ้น เครื่องมือวัดผลต่างๆจะปรากฏขึ้นมา ทำให้คุณรู้ว่า โพสต์ที่คุณสร้างขึ้น มีความน่าสนใจพอแล้วหรือยัง และภาพหรือวีดีโอแบบไหนที่ถูกใจลูกค้า
นอกจากนี้ การใช้ Polls หรืออการสร้างคำถามผ่าน อินสตาแกรม story เพื่อให้ลูกค้าแสดงความเห็น ก็สามารถสร้าง Engagement ให้ลูกค้าได้มีประสบการณ์ที่ดีต่อแบรนด์ได้เช่นเดียวกันค่ะ
สรุป:
อินสตาแกรมเป็นหนึ่งในช่องทางที่คุณสามารถสร้างธุรกิจได้ การปรับใช้เครื่องมือเพื่อต่อยอดธุรกิจ สามารถคุณสร้างฐานลูกค้า และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ไม่ยาก นอกจากนี้ เรายังมีบทความดีๆเกี่ยวกับการใช้อินสตาแกรมในการสร้างแบรนด์ และเทคนิคต่างๆ ตาม link ด้านล่างเลยค่ะ
หรือหากคุณเป็นหนึ่งคนที่สนใจ อยากทำความเข้าใจการตลาดออนไลน์ให้ได้ครอบคลุมในด้านการวางแผนกลยุทธ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง SEO, Social Media Marketing, Influencer, Campaign Marketing และ Social Media KPI
แหล่งที่มา:
digitalmarketer
hootsuite