การทำธุรกิจ E-Commerce ไม่ใช่เพียงแค่การนำเสนอสินค้าราคาดี หรือมีคุณภาพ ให้แก่ผู้บริโภคเพียงเท่านั้น แต่การสร้างโฆษณาแล้วตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค ทั้งในแง่ของช่องทางการสื่อสาร และ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย เทคนิคเหล่านี้คือสิ่งที่นักการตลาดยุคดิจิทัลจะต้องเลือกเส้นทางที่ ใช่ ให้แก่แบรนด์ของตนเอง
โดยในวันนี้ STEPS Academy ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจ และ เป็นประโยชน์ต่อทำการตลาดออนไลน์ ในการใช้เทคนิคสร้างโฆษณาเพื่อดึงดูดใจลูกค้า ด้วย Facebook Ads, Instagram Ads และ Google Ads มาแบ่งปันกันค่ะ
สถิติจาก Statista แสดงให้เห็นถึงกราฟของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ทั่วโลกนับตั้งแต่ปี 2016 และมีการคาดการณ์ไปจนถึงปี 2021 โดยแนวโน้มของธุรกิจ E-Commerce มีทิศทางการเติบโตที่สูงขึ้น ซึ่งเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การสร้างโฆษณาบนโลกออนไลน์มีส่วนช่วยให้แบรนด์ของเรามีโอกาสเข้าถึงผู้บริโภคได้เร็ว และ สามารถขยายฐานลูกค้าได้เพิ่มขึ้น
ผู้เขียนเชื่อว่า คำถามเหล่านี้ เป็นคำถามพื้นฐานที่ทุกธุรกิจออนไลน์จะต้องมองเกมการตลาดของแบรนด์ตัวเองให้ออก ก่อนลงทุนสร้างโฆษณาจากแพลตฟอร์มจริง ๆ เนื่องจากการโฆษณาแบบสุ่ม ไม่ใช่วิธีที่จะเข้าถึงลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นแล้ว สิ่งสำคัญที่แบรนด์ควรโฟกัสเป็นหลัก ได้แก่:
#1 รู้จักกลุ่มลูกค้าของแบรนด์ตัวเอง
การสร้างแบรนด์ขั้นพื้นฐาน สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรทราบคือกลุ่มลูกค้าของตนเอง เพื่อเข้าใจถึงพฤติกรรมการบริโภค และความคาดหวังของกลุ่มเป้าหมาย เมื่อคุณสามารถวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าได้ดีขึ้น การสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดจะมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้นเช่นเดียวกัน ทำให้คุณประหยัดการลงทุนการโฆษณา หากผู้ที่สนใจอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการค้นหาลูกค้าที่ใช่ เรามีบทความเพิ่มเติมมาแนะนำให้อ่านกันค่ะ
Customer Personas : ทำความรู้จักตัวตนของลูกค้าคุณ
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่เริ่มต้นในการค้นหากลุ่มเป้าหมาย สามารถใช้โปรแกรม Google Analytics หรือผู้ที่ใช้ Facebook ที่เป็น Business Account สามารถเข้าไปตั้งค่าได้ที่ตัวเลือก Insights เพื่อค้นหากลุ่มลูกค้าแบบเจาะจงให้แก่แบรนด์ค่ะ
ภาพจากด้านบน เป็นตัวอย่างการตั้งค่าหากลุ่มเป้าหมายใน Facebook ซึ่ง Google Analytics จะมีตัวเลือกเพื่อให้ระบบค้นหากลุ่มเป้าหมายด้วยการเลือกเพศ อายุ ความสนใจ และเมืองที่ต้องการทำการโฆษณาค่ะ
ภาพจากด้านบน จะเป็นการรายงานแบบละเอียดเพื่อแสดงให้เห็นถึงกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ โดยแบ่งตาม Filter ที่ได้ตั้งค่าไว้ในตอนต้น เช่น ภาษาที่กลุ่มเป้าหมายใช้ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ และ ความสนใจ
#2 ช่องทางการเข้าถึงแบรนด์ต้องมีประสิทธิภาพ
ก่อนการเริ่มสร้างโฆษณา ผู้ประกอบการควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าช่องทางออนไลน์ที่แบรนด์มีนั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งแบรนด์สามารถพิจารณา 3 สิ่งนี้ ได้แก่:
- เว็บไซต์ของเราเป็น Mobile-Friendly หรือไม่:
เว็บไซต์ที่ดีต่อการซื้อขายสินค้าและบริการ จะต้องสามารถเปิดใช้งานได้ทั้งหน้าจอคอมพิวเตอร์ และ บนสมาร์ทโฟน เพื่อให้การชอปปิงออนไลน์เป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ Mobile-friendly testing tool ของ Google เพื่อตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของแบรนด์ รองรับอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างโทรศัพท์สมาร์ทโฟนได้หรือไม่
- ช่องทางการชำระเงินมีหลากหลายวิธีหรือไม่:
มีรายงานจากเว็บไซต์ upwork.com กล่าวว่า นักชอปเกินกว่า 50 % เปลี่ยนใจไม่ซื้อสินค้าออนไลน์กระทันหัน เนื่องจากไม่มีช่องทางการชำระเงินที่ต้องการ ดังนั้นผู้ประกอบการควรตระหนักถึงช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย พร้อมให้บริการแก่ลูกค้า
- หน้าเว็บไซต์ และ ช่องทางการชำระเงินไม่ซับซ้อน:
ลูกค้าโดยส่วนใหญ่มีความคาดหวังให้การชอปปิงออนไลน์เป็นเรื่องที่สะดวก และ รวดเร็ว ฉะนั้นการสร้างหน้าเว็บให้เรียบง่ายต่อการกรอกข้อมูล เป็นสิ่งเล็ก ๆ ที่ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงค่ะ
หลังจากที่เราทราบแล้วว่ากลุ่มเป้าหมายของแบรนด์เป็นใคร และช่องทางออนไลน์ของเรามีคุณภาพ สามารถเข้าถึงได้ง่ายแล้ว ทีนี้เรามาดูกันค่ะว่า แพลตฟอร์มโฆษณาหลัก ๆ ที่นักธุรกิจออนไลน์นิยมใช้เพื่อโปรโมตสินค้ามีอะไรบ้าง และแต่ละแพลตฟอร์มมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร และการสร้าง Ads ในรูปแบบไหนเหมาะกับธุรกิจของคุณ
1. Facebook Ads
ในปี 2019 Facebook มีผู้ใช้บริการถึง 2 พันล้านคนต่อเดือน โดยที่ Facebook Ads มีค่าเฉลี่ย Conversion Rate ถึง 9.21 % ซึ่งมากกว่า Google Ads
เมื่อเราดูภาพจากด้านล่าง จะเห็นได้ว่า กราฟของผู้ใช้ Facebook ทั่วโลกมีเกณฑ์เติบโตเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ไตรมาส โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชีย
สำหรับผู้ที่สนใจสร้าง Facebook Ads ควรวางแผนทางการตลาด ว่าจุดประสงค์ของการทำ Ads ของแคมเปญนั้น ๆ คืออะไร ซึ่งจุดประสงค์ในการสร้าง Ads ควรคำนึงถึงการรับรู้ของแบรนด์ และเป้าหมายของ Conversion ที่จะได้รับ
นอกจากนี้สิ่งที่แบรนด์จะต้องคำนึงถึงเมื่อเริ่มสร้าง Ads คือประเภทคอนเทนต์ที่ต้องการนำเสนอ ซึ่งเรามีตัวอย่างมาแนะนำกันค่ะ
1. รูปภาพ
2. วิดีโอ
3. สไลด์โชว์
4. การนำเสนอแบบ Carousel (Carousel คือรูปแบบการโฆษณาที่สามารถใส่รูปได้หลาย ๆ รูป และลูกค้าสามารถเลื่อนดูรูปได้ทีละรูป
5. แพลตฟอร์มเพื่อ Lead Generation เช่นการสมัครสมาชิก การขอรับสิทธิพิเศษ การรับข่าวสารเพิ่มเติมจากช่องทางอีเมล เป็นต้น
การทำ Ads นั้นมีกลยุทธ์อีกอย่างหนึ่งคือ แบรนด์สามารถโฆษณาซ้ำเพื่อนำเสนอสินค้าและบริการให้แก่ผู้ที่เคยเข้ามาดูหน้าเว็บไซต์ของเราไปแล้ว โดยกลุ่มเป้าหมายจะเห็นสินค้าหรือ Ads ซ้ำ ๆ ทำให้แบรนด์มีโอกาสในการขายสินค้าให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่ใช่ได้ดีขึ้น ซึ่งกลุยทธ์นี้เราเรียกว่า การทำ Remarketing หรือ การ Retargeting ค่ะ
วิธีการ Retargeting สามารถตั้งค่าได้โดย:
- ติดตั้งโปรแกรม Facebook Pixel ที่หน้าเว็บไซต์ของแบรนด์
- เลือกจุดประสงค์ของการโฆษณา เช่น เราต้องการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ หรือเราเน้นการขาย จากนั้นจะมีการตั้งงบประมาณที่ต้องการทำ Ads ในแคมเปญนั้น ๆ
- เลือกประเภทการโฆษณา หากผู้ประกอบการเพิ่งเริ่มต้นทำ Ads ครั้งแรก ให้ลองทำคอนเทนต์ประเภทรูปภาพก่อนก็ได้ค่ะ และหลังจากนั้นอาจจะลองสร้างคอนเทนต์ประเภทวิดีโอ หรือ Carousel เพื่อสร้าง Conversion Rate หรือโอกาสในการคลิก
- เลือกคำสั่ง Facebook ads manager: และคลิกที่ปุ่มแฮมเบอร์เกอร์ (แถบซ้ายด้านบน)
- ภายใต้คำสั่ง Create and Manage” เลือก “Ads Manager.”
- คลิก Create
- เลือกกลุ่มเป้าหมาย: ท่านสามารถจำแนกกลุ่มเป้าหมายด้วยอายุ เพศ หรือลักษณะทางภูมิศาสตร์ หลังจากนั้น เลือก Use info from your pixel or app to create a retargeting audience เพื่อทำการ Retarget กลุ่มเป้าหมาย หรือทำการโฆษณาซ้ำในภายหลัง
- ตั้งค่างบประมาณที่ต้องการ เช่น 200 บาทต่อวัน และหลังจากนั้นค่อย ๆ ปรับงบประมาณให้เพิ่มขึ้นในภายหลัง ซึ่งงบประมาณนั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละท่านนะคะ
- คอยติดตามผล โดยสามารถตรวจสอบอีกครั้ง หลังจากที่ทำการโฆษณาไปแล้ว หนึ่งสัปดาห์ ว่าการทำ Ads ของเรานั้นได้ผลหรือไม่
วิธีการทำ Facebook Ads ที่มีคุณภาพ
- นำเสนอรูปที่มีคุณภาพ มีความคมชัดเพื่อสื่อสารกับลูกค้าอย่างชัดเจนว่าสินค้า และ บริการของเราคืออะไร
- Ads ที่นำเสนอสินค้าแบบเฉพาะเจาะจง ควรมีลิงก์เชื่อมไปยัง Landing Page หรือหน้าเว็บไซต์ของสินค้านั้นโดยเฉพาะ
- ติดตั้ง Facebook Pixel เพื่อใช้เทคนิคการ Remarketing อีกครั้ง
2. Instagram Ads
Instagram หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า IG เป็นช่องทางที่มีผู้เล่นแอปมากกว่า 1 พันล้านคน อีกทั้งกลุ่มคนเหล่านี้ยังใช้ Instagram เพื่อซื้อสินค้ามากกว่า 72% และยังมีฟีเจอร์ Instagram Shop ให้บริการด้วย จึงไม่แปลกใจที่นักธุรกิจหันหน้ามาเปิดตัวแบรนด์สินค้าออนไลน์กันอย่างล้นหลาม ทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่ และ รายย่อยไม่แพ้ Facebook เลยทีเดียว ซึ่งวิธีการใช้ Instagram เพื่อเป็นช่องทางในการสร้าง Ads สามารถทำได้ด้วยเทคนิคดังต่อไปนี้ :
- การนำเสนอ Ads ด้วยรูปภาพ:
เทคนิคนี้คือการนำเสนอ Ads ในรูปแบบภาพถ่าย หรือภาพกราฟิก จะมีลักษณาะคล้ายกันกับการ Boost โพสต์ลงบน Facebook ซึ่งรูปภาพเหล่านี้จะปรากฏขึ้นมาที่หน้าฟีดของกลุ่มเป้าหมาย
ภาพด้านบนเป็นตัวอย่างการโพสต์สินค้าตกแต่งบ้านจาก Williams Sonoma เมื่อผู้ใช้เลื่อนมือ หรือเมาส์ไปที่ภาพแล้วจะเห็นแท็กสินค้าปรากฏขึ้น
- การนำเสนอในรูปแบบ Sponsored Ads:
Sponsored Ads จะปรากฏขึ้นที่หน้าฟีดของกลุ่มเป้าหมายเช่นกัน แต่ Sponsored Ads จะแนบลิงก์ของเว็บไซต์เราเข้าไปด้วย
ตัวอย่าง Sponsored Ads ใน Instagram จากแบรนด์ Pipfey
- Instagram Story Ads:
โฆษณาจะไปปรากฏอยู่บนหน้า Story ของกลุ่มเป้าหมาย
ตัวอย่าง Instagram Story Ads จาก Instagram for Business ซึ่งผู้ที่สนใจซื้อสินค้าสามารถเลื่อนหน้าจอขึ้นจากข้อความ Shop Now ได้เลย
- Video ads:
เทคนิคนี้มีลักษณะเดียวกับการโพสต์ Ads แบบรูปภาพค่ะ
- IGTV ads:
ตัวอย่าง IGTV Ads จากแบรนด์ Adidas
Instagram ได้ตอบโจทย์การนำเสนอสินค้า และ บริการ รวมไปถึงผู้เล่นแอปทั่วไปด้วยการโพสต์วิดีโอได้ตั้งแต่ 15 วินาทีไปจนถึง 10 นาที ซึ่งผู้ประกอบการสามารถดึงประโยชน์จาก IGTV มาสร้าง Ads ได้ค่ะ
- Carousel ads:
การโฆษณาด้วยการโพสต์ภาพหลาย ๆ ภาพเพื่อนำเสนอสินค้า และ บริการได้ในคอนเทนต์เดียว สามารถเพิ่มโอกาสในการขาย และมอบประสบการณ์ในการชอปปิงให้แก่ลูกค้าในรูปแบบใหม่
ตัวอย่างการทำ Carousel Ads จากแบรนด์ Etsy
วิธีการทำ Instagram Ads ให้มีคุณภาพ
- การเลือกใช้รูปและวิดีโอที่มีความคมชัด และสามารถสื่อถึงสินค้า และ บริการของแบรนด์
- ใช้วิธีการตั้งค่า Lookalike Audience หรือกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจคล้ายกับกลุ่มเป้าหมายที่เราตั้งเอาไว้ตั้งแต่ตอนต้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงว่าที่ลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ
- ใช้แฮชแท็ก # ให้เกิดประโยชน์ด้วยการใช้ Keyword ที่ตรงกับการค้นหามากที่สุด
3. Google Ads
แพลตฟอร์มออนไลน์ตัวสุดท้ายที่เราจะมาแนะนำในวันนี้คือ Google Ads ค่ะ
การทำโฆษณาออนไลน์ อย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวไปเบื้องต้นว่า ผู้ประกอบการควรศึกษากลุ่มเป้าหมาย และ ช่องทางนำเสนอให้ดีก่อนลงทุนยิง Ads เพื่อใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า และสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ตรงจุดมากที่สุด ดังนั้น เรามาดูข้อดี และ ข้อเสียจากการใช้ Google Ads ก่อนตัดสินใจกันเลยค่ะ
ข้อดีจากการทำ Google Ads
- มีโอกาสได้ยอด Reach เพิ่มขึ้นสูง โดยแบรนด์สามารถยิงโฆษณาได้จากการค้นหาบน Google, Google Shopping Ads, หน้า Inbox ของ Gmail
- สามารถค้นหากลุ่มเป้าหมายได้ละเอียดขึ้น เช่น สภาพภูมิศาสตร์ ความสนใจ พฤติกรรมการใช้เว็บไซต์ และรายละเอียดอื่น ๆ
- มีโอกาสที่ Conversion Rate เพิ่มสูงขึ้น
ข้อเสียจากการทำ Google Ads
- ผู้ประกอบการควรศึกษาให้ดีก่อนการลงทุนซื้อ Ads ไม่เช่นนั้นจะเป็นการเสียงบประมาณที่บานปลาย
- บางครั้งแบรนด์อาจมีการลองผิดลองถูก เพื่อหาจุดที่หมาะสมในการโฆษณา ไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัว
จากนี้ไปเราไปดูความแตกต่างของ Google Ads ที่มีกันค่ะ
-
Google Search Ads
ภาพจากด้านล่างนี้ เป็นตัวอย่างการค้นหาหรือ Search Engine บนหน้าเว็บ Google ที่ผู้ค้นหาใช้ Keyword แบบเจาะจง ซึ่งได้แก่ “ women’s bathing suits ”
ผู้อ่านจะเห็นได้ว่า จะมีเว็บไซต์ที่ใช้ Google Ads ด้วยเช่นกัน ดังนั้น การใช้ Keyword ที่เฉพาะเจาะจงก็มีส่วนที่ทำให้ ผู้ที่กำลังค้นหาสินค้ามีโอกาสเจอเว็บไซต์ของเรา
นอกจากนี้ยังเป็นข้อได้เปรียบ หากผู้ประกอบการใช้คำค้นหาที่เหมาะสม เนื่องจากเว็บไซต์ของท่านนั้นเป็นวิธีการหาแบบออร์แกนิค ทำให้มีโอกาสที่ลูกค้าจะคลิกเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ได้สูงขึ้น
-
Google Display Ads
Google Display Ads มีลักษณะเป็นแบนเนอร์ หรือดิสเพลย์ที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ ซึ่งการโฆษณาสินค้า และ บริการมักปรากฏขึ้นบนเว็บไซต์ที่เรามักเข้าไปบ่อย ๆ
ตัวอย่างโฆษณาจากแบรนด์ Instapage บนเว็บไซต์ข่าว CNN.com:
แบนเนอร์โฆษณาประเภทนี้อาจให้ผล Conversion Rate หรืออัตราการคลิกต่ำกว่า Google Search Ads แต่มีข้อดีคือ แบรนด์สามารถลงทุนด้วยงบประมาณที่น้อยกว่า
-
Google Shopping Ads
Google Shopping Ads มีจุดประสงค์หลักเพื่อการซื้อขายมากกว่าเน้นไปที่การรับรู้ของแบรนด์ หรือการเพิ่ม Traffic ของเว็บไซต์ ซึ่งโฆษณาประเภทนี้สามารถแสดงสินค้าและบริการในรูปแบบของรูปภาพ บนแท็บชอปปิง โดยการนำเสนอสินค้าจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ราคา คุณภาพจากการรีวิวสินค้า และชื่อแบรนด์
ข้อดีจากการใช้ Google Shopping Ads คือสามารถใช้ได้ผลกับการโปรโมตสินค้าที่ราคาจับต้องได้ ได้คะแนนจากการรีวิวสูง และบริการขนส่งสินค้าฟรี
วิธีการทำ Google Shopping Ads ให้มีคุณภาพ
ผลสำรวจจากเว็บไซต์ adroll.com กล่าวว่า 98 % ลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์ของเราอาจจะไม่กลับเข้ามาอีก หากแบรนด์ไม่วางกลยุทธ์ทางการตลาดดังนี้
- ใช้วิธีการทำ Retargeting บนแพลตฟอร์ม Google Ads ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
- เริ่มต้นใช้ Marketing Automation เพื่อให้เทคโนโลยีช่วยแบรนด์ของท่านในการซื้อขายสินค้าตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่เริ่มการค้นหาลูกค้าใหม่ การนำโฆษณาสินค้า และการปิดการขาย
- เริ่มศึกษาการใช้ Google Ads เพื่อโฆษณาแบรนด์ของท่าน
สรุป:
และนอกจากนี้ STEPS Academy มีคอร์สเรียนมาให้ทุกท่านที่สนใจการทำธุรกิจออนไลน์มาฝากกันค่ะ
เตรียมตัวให้พร้อมกับคอร์สเรียน Ad Optimization 101 for Management เพื่อผู้ประกอบการ นักการตลาด และผู้ที่สนใจทั่วไป ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ปรอบการ ผู้บริหาร หรือหัวหน้าทีมที่ต้องการวางแผนทำโฆษณาออนไลน์บน Facebook, Google และ YouTube รวมไปถึงการพัฒนาทั้งเรื่องแนวทาง การจัดการงบประมาณ การปฏิบัติการ หรือการสื่อสารภายในทีม
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่เว็บไซต์ด้านล่างนี้ได้เลยนะคะ
https://stepstraining.co/ads-optimization-101
ข้อมูลจาก:
https://adespresso.com/