การสร้างปฎิสัมพันธ์ที่ดีทั้งในรูปแบบของระหว่างบุคคล หรือธุรกิจมักใช้ความจริงใจ และความเข้าถึงง่ายเป็นจุดเชื่อมความสัมพันธ์ ซึ่งผู้บริโภคในปี 2021 นี้ ให้ความสำคัญกับความรู้สึกเป็นกันเอง ความรู้สึกจริงใจคล้ายเพื่อน และการเข้าถึงง่าย
Nano-Influencer เป็นใคร
Nano-Influencer คือผู้มีอิทธิพลในโลกโซเชียลมีเดียที่มีผู้ติดตาม 1 พัน ถึง 1 หมื่นคน มีความโดดเด่น หรือเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และเป็นที่รู้จักดีในกลุ่มตลาดประเภท Niche หรือกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเฉพาะด้าน และ Nano-Influencer สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ได้ใกล้ชิดกับผู้ติดตามในโลกโซเชียล ถึงแม้ว่าจะมีผู้ติดตามน้อยกว่า Influencer กลุ่มอื่น ๆ แต่ได้รับ Engagement สูงบนโลกออนไลน์ หมายความว่าตัวผู้ติดตามและ Influencer มีการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ในการตอบคำถาม หรือแสดงความเห็นผ่านคอนเทนต์ต่าง ๆ
ความคล้ายและความแตกต่าง ระหว่าง Nano-Influencer & Micro-Influencer
เนื่องจากกลุ่ม Influencer ที่กำลังได้รับความสนใจจากแบรนด์ในการทำการตลาดร่วมกัน คือ Nano-Influencer & Micro-Influencer ซึ่งเราในฐานะผู้ใช้งานบนโลกโซเชียลก็จะเห็นว่า Influencer ทั้งสองกลุ่มนี้เกิดขึ้นเยอะมาก และมีคอนเทนต์ที่หลากหลาย แต่อย่างไรก็ตาม Influencer ทั้ง 2 ประเภทนั้นมีความแตกต่างกันดังนี้
Micro-influencers
- มีผู้ติดตามอยู่ระหว่าง 10K ถึง 50K คน (ในแพลตฟอร์ม Instagram)
- สามารถสร้างคอนเทนต์ได้โดนใจผู้ติดตาม โดยการโพสต์คอนเทนต์นั้น ๆ มักมีช่วงเวลาที่แน่นอนและสม่ำเสมอ เช่น ทุก ๆ วันศุกร์ และเสาร์ช่วงสองทุ่ม
- คุณภาพของกล้อง และอุปกรณ์ที่ใช้จะมีความพร้อมในการถ่ายทำในระดับดีมาก
- มักมีแบรนด์ติดต่อเข้ามาเป็นสปอนเซอร์ให้เพื่อเป็นตัวแทนของแบรนด์ หรือที่เราเรียกกันว่า Brand Ambassador เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบริษัท
ตัวอย่าง Micro-Influencer ที่ทำคอนเทนต์แฟชัน และรีวิวเสื้อผ้าจากหลากหลายแบรนด์: emilyjbull
Nano-Influencers
- มีผู้ติดตามอยู่ที่ 1K ถึง 10K คน (ในแพลตฟอร์ม Instagram)
- คอนเทนต์มีความน่าสนใจในกลุ่มเฉพาะมากกว่ากลุ่มคนทั่วไป
- Influencer อาจไม่ได้โพสต์คอนเทนต์ลงอย่างสม่ำเสมอ เหมือนเป็นงานหลัก
- ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ติดตามและ Influencer ใกล้ชิดกันมาก
- การว่าจ้างงานอาจได้ค่าตอบแทนในรูปแบบของผลิตภัณฑ์
ตัวอย่าง Nano-Influencer ที่เป็น Personal Trainer: trainergabrielle
6 เหตุผลที่แบรนด์ควรเลือก Nano-Influencer ในการทำการตลาด
1 ความน่าเชื่อถือ
ผู้มีอิทธิพลระดับนาโน สามารถสร้างความสัมพันธ์และเข้าถึงผู้ติดตามได้ง่าย เนื่องจากมีผู้ติดตามที่มีความสนใจคล้าย ๆ กัน ซึ่งคอนเทนต์ของ Influencer กลุ่มนี้ สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ติดตามได้อย่างดี
2 Engagement สูง
ผู้มีอิทธิพลระดับนาโน มีผู้ติดตามที่น้อยกว่า Influencer กลุ่มอื่น ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีอิทธิพลระดับนาโน กับผู้ติดตาม มีปฏิสัมพันธ์บางอย่างผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียสูง เนื่องจากจำนวนผู้ติดตามจำนวนน้อย กลับกลายเป็นข้อดีที่ช่วยให้ทางแบรนด์สามารถตอบกลับความคิดเห็น หรือ Direct Message ได้ดีขึ้น
ตัวอย่างการรีวิวของ Nano-Influencer ที่รีวิวผลิตภัณฑ์จาก The Body Shop: _haailsyeahh
3 กลยุทธ์สร้างยอดขายได้แบบ ปากต่อปาก
ผู้มีอิทธิพลระดับนาโน มีแนวโน้มรู้จักผู้ติดตามแบบส่วนตัว หมายความว่า คอนเทนต์ที่นำเสนอ และ แคมเปญที่ต้องการโปรโมต จะเป็นการแนะนำแบบปากต่อปากโดยตรง ซึ่งจะมีน้ำหนักมากในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และสามารถช่วยเพิ่ม Conversion ให้กับแบรนด์ต่างๆได้อีกช่องทางหนึ่ง
4 ค่าใช้จ่ายน้อย แต่ได้ผลตอบแทนสูง
โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้มีอิทธิพลระดับนาโน จะมีผู้ติดตามจำนวนไม่มาก จึงมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก หรืออาจมีค่าตอบแทนเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งส่งผลให้นักการตลาดสามารถจ้าง Nano-Influencer ได้พร้อมกันทีละหลาย ๆ คน ซึ่งอาจเท่ากับการว่าจ้าง Influencer ประเภทอื่น ทำให้การโปรโมตมีหลากหลายช่องทางมากขึ้น สามารถเพิ่มการรับรู้แบรนด์ได้ดีขึ้น
5 มีความสัมพันธ์ที่ดีกับแบรนด์
Nano-Influencer มักจะรีวิวในสิ่งที่เกิดจากความชอบของตัวเอง จึงทำให้คอนเทนต์ที่นำเสนอ เป็นประเภทสร้างคุณค่าให้กับสินค้า และตัวแบรนด์ ซึ่งมีความจริงใจต่อแบรนด์ อีกทั้ง Nano-Influencer ยังสามารถทำงานด้วยได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับ Influencer ในระดับที่มีผู้ติดตามจำนวนมากกว่า ซึ่งอาจมีข้อเรียกร้องที่เพิ่มขึ้น หรือเงื่อนไขการร่วมงานสำหรับของตัวเอง
ตัวอย่างจาก Dunkin’ ที่การทำการตลาดผ่าน Nano-Influencer: Josh Eats Philly บล็อกเกอร์รีวิวอาหาร
6 ได้กลุ่มเป้าหมายใหม่
ถึงแม้ว่า Nano-Influencer จะมีผู้ติดตามจำนวนน้อย แต่จะมีความสนใจ และความชอบที่ชัดเจน ดังนั้นคอนเทนต์ที่โปรโมตจาก Nano-Influecencer จึงได้รับความสนใจมากกว่า เมื่อเกิดการรีวิวสินค้า และบริการ ทางแบรนด์อาจได้กลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ จากผู้ติดตามในโลกออนไลน์นี้
วิธีการเลือก Nano-Influencers
หากคุณกำลังมองหา Nano-Influencer เพื่อทำการตลาด อันดับแรกที่ควรคำนึงถึง คือคอนเทนต์ที่กลุ่ม Influencer นั้นใช้นำเสนอผู้ชม ว่ามีเนื้อหาที่ใกล้เคียงกับสินค้า และบริการเราหรือไม่ ซึ่งหากแบรนด์ไม่ได้รู้จักกับ Nano-Influencer อาจจะต้องใช้วิธีการที่หลากหลายมาผสมผสาน เพื่อเลือกคนที่ใช่ มาทำการตลาดร่วมกัน เนื่องจาก เมื่อนักการตลาดทำการค้นหาผ่านทาง Search Engine มักจะมีโอกาสเจอกับ Influencer ที่มีจำนวนผู้ติดตามมาก ไปจนถึงบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นอันดับต้น ๆ มากกว่า ดังนั้นนักการตลาดสามารถลองใช้วืธีการต่อไปนี้เพื่อเลือก Nano-Influencer กันค่ะ
- ใช้ Hashtag
เพื่อหาคอนเทนต์แทนการเปิดดูรูปภาพแบบ Random จากภาพที่นำเสนอล่าสุด “Recent” หรือเป็นคอนเทนต์ยอดนิยม “Top” แทน
- #discoverunder10k
เป็น Hashtag หนึ่งที่น่าสนใจในการค้นหากลุ่ม Influencer ที่เราต้องการ
- การติดต่อ
เมื่อคุณเจอ Account ที่มีแนวโน้มว่าสามารถติดต่อเพื่อทำธุรกิจร่วมกันได้แล้ว ลองใช้วืธีการหา Account ใกล้เคียง ด้วยการกดไอคอนลูกศรลงสีน้ำเงิน ซึ่งจะอยู่ข้าง ๆ กับปุ่ม Follow บนหน้า Profile ขวามือ
- เลือกกลุ่มเป้าหมายจาก Instagram Bio
Nano-Influencers ส่วนมากจะใส่ข้อมูลคร่าว ๆ ของตัวเองเอาไว้ว่าเป็น Blogger หรือไม่ และถ้าใช่ ก็มักจะระบุว่าเป็นเนื้อหาประเภทไหน ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจติดตาม
- ภาพของ Influencer:
ก่อนที่นักการตลาดจะเลือกกลุ่มเป้าหมาย ลองเข้าไปดูที่ภาพถ่าย และ สไตล์ของคอนเทนต์ดูว่ารูปภาพมีคุณภาพหรือไม่ น่าดึงดูดใจพอหรือเปล่า
ภาพตัวอย่างด้านบนจาก Influencer ที่มีชื่อว่า khonkheetiew ถือว่าเป็นตัวอย่างของ Infleuncer ที่เลือกภาพได้สวยงาน มีธีมและไปในทิศทางเดียวกัน
- Highlights:
เมื่อเราเจอ Nano-Influencers ที่ถูกใจ นอกจากที่เราจะเข้าไปดูคอนเทนต์ และลักษณะการตอบตำถามหรือปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ติดตาม เราสามารถดู Stories และ Highlight ที่รวบรวมเอาไว้ได้ ว่า Influencer ได้พูดถึงผลิตภัณฑ์ หรือการรีวิวอื่น ๆ หรือไม่ และ นำเสนอได้น่าสนใจหรือเปล่า
- แนวทางการติดต่อ
Nano-Influencers ในบางครั้งอาจไม่ได้ให้เบอร์โทรศัพท์ และอีเมลติดต่อเอาไว้ แต่คุณสามารถส่งข้อความถามผ่าน Dirext Message ได้เลย
ที่มา