7 หลักการโฆษณา YouTube Ads ที่คุณควรทำ เพื่อให้ลูกค้าจดจำ และเกิดการซื้อ

7 หลักการโฆษณา YouTube Ads ที่คุณควรทำ เพื่อให้ลูกค้าจดจำ และเกิดการซื้อ

ทุก ๆ ครั้งเวลาที่พวกเรากำลังดู YouTube มักจะมีสิ่งหนึ่งที่มักจะกวนใจ นั่นคือโฆษณาที่ชอบขึ้นมาระหว่างที่เรากำลังดูวิดีโออยู่ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมก็เพิ่งรู้ตัว และอยากให้ทุกคนได้ลองสังเกตกัน นั่นคือ แม้ว่าโฆษณาบน YouTube จะดูกวนใจ แต่เราก็ดันจำโฆษณาหลายอันได้ขึ้นใจไปเสียแล้ว  

นอกจากนั้น YouTube ยังเป็นช่องทางที่หลาย ๆ แบรนด์ควรเริ่มที่จะศึกษาการใช้งานเพราะ จากสถิติแล้ว YouTube นับเป็นช่องทางที่มีความนิยมมากเป็นอันดับ 2 ของโลกที่มีผู้เข้าใช้งานผ่านบัญชีกว่า 2 พันล้านบัญชีต่อเดือน

แล้ว YouTube Ads มีประเภทใดบ้าง? ถ้าคุณอยากรู้จัก YouTube Ads ให้มากขึ้น คุณสามารถตามไปอ่านได้ที่ คลิก

แต่ถ้าหากคุณเริ่มมีความเข้าใจและรู้ว่า YouTube Ads มีหน้าตาแบบไหนกันแล้ว บทความนี้เราได้รวบรวมวิธีและเทคนิคการใช้ เพื่อให้คุณทำการโฆษณาผ่าน YouTube Ads ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีทั้งหมด 7 ข้อด้วยกัน

หลักการที่ 1 : ทำโฆษณาให้มีความน่าสนใจเสมอ 

หลักการที่ 2 : รู้ว่าผู้ชมของเราคือใคร 

หลักการที่ 3 : อย่าใช้โฆษณาแค่รูปแบบเดียว

หลักการที่ 4 : ทำการศึกษาการใช้ Keyword 

หลักการที่ 5 : หมั่นทำการทดลองใหม่ ๆ อยู่เสมอ

หลักการที่ 6 : ระบุแบรนด์ให้ไว แต่ต้องทำให้ดี

หลักการที่ 7 : บอกผู้ชมทุกครั้ง ว่าหลังจากนั้นต้องทำอะไร

7 หลักการโฆษณา YouTube Ads ที่คุณควรทำ เพื่อให้ลูกค้าจดจำ และเกิดการซื้อ

หลักการที่ 1 : ทำโฆษณาให้มีความน่าสนใจเสมอ 


7 หลักการโฆษณา YouTube Ads

แน่นอนอยู่แล้วว่าการโฆษณาบน YouTube ต้องทำให้ดูน่าสนใจ โดยเฉพาะการใช้ Skippable Video Ads หรือ โฆษณาที่ลูกค้าสามารถกดข้ามได้หลังจากผ่านไปแล้ว 5 วินาที 

แล้วโฆษณา YouTube Ads ที่น่าสนใจควรจะมีหน้าตาเป็นแบบไหน ? 

ด้านล่างนี้คือตัวอย่างของการโฆษณาที่น่าสนใจครับ

The 100-Year Game | SBLIII

 

วิดีโอด้านบนเป็น โฆษณาของฉลองครบ 100 ซีซั่นของการแข่งขัน NFL (National Football League หรือ ลีคการแข่งขันอเมริกันฟุตบอลอาชีพแห่งอเมริกา) ที่ถูกปล่อยออกมาผ่านช่องทาง YouTube Ads ซึ่งโฆษณาตัวนี้ติดอันดับ YouTube Ads ที่ยอดวิวสูงสุด 1 ใน 10 ของโลกในปี 2019 ที่ผ่านมา โดยมีจำนวนการเข้าชมกว่า 7.3 ล้านครั้งตลอดปี 2019 

ความน่าสนใจของโฆษณาตัวนี้คือ การเล่าเรื่องที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ร่วมทั้งจากการถ่ายทอดเอกลักษณ์ของกีฬาอเมริกันฟุตบอลที่ทำได้เป็นอย่างดี และการมีนักกีฬา NFL จาก 6 ยุคสมัยที่มารวมตัวกันซึ่งทำให้ผู้ชมได้หวนนึกถึงอดีตที่เกิดขึ้นมาตลอด 100 ซีซั่น

โดยสิ่งหนึ่งที่ผมอยากแนะนำคือ การทำโฆษณาให้มี เนื้อหาหรือการเล่าเรื่องที่มีความเชื่อมต่อกับเรื่องราว และ อารมณ์ของผู้ชม ซึ่งจะทำให้โฆษณามีความน่าสนใจและน่าติดตามมากขึ้น

นอกจากนี้ หากจะพูดถึงการเล่าเรื่อง YouTube Ads ยังมี Video Ad Sequencing ที่จะช่วยให้เราสามารถเล่าเรื่องผ่านโฆษณาประเภทวิดีโอได้แบบต่อเนื่อง เพราะเราสามารถสร้างซีรีส์ของวิดีโอโฆษณาได้ โดยมันจะแสดงโฆษณาให้เป้าหมายดูต่อเนื่องไปทีละวิดีโอ 

อย่างไรก็ตามไม่ว่าเราจะทำโฆษณาแบบไหน หรือ เลือกใช้เครื่องมือใด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “รู้ว่าเราจะเล่าเรื่องอะไร” นั่นเอง 

โดยถ้าหากคุณอยากจะหาแรงบันดาลใจเพิ่มเติม หรือ อยากเข้าไปดูว่าโฆษณา YouTube Ads ที่มียอดวิวสูง ๆ มีหน้าตาแบบไหนอีกบ้าง สามารถตามเข้าไปดูได้ที่ YouTube ads leaderboards หน้าเว็บไซต์ที่รวบรวมโฆษณา YouTube Ads ที่มียอดวิวสูงในแต่ละประเทศกันได้เลย

หลักการที่ 2 : รู้ว่าผู้ชมของเราคือใคร


การสร้างสรรค์โฆษณาขึ้นมาสักหนึ่งตัว นอกจากการรู้ว่าจะเล่าอะไรแล้ว เรายังจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าผู้ชมของเราคือใคร รวมทั้งจุดประสงค์ในการเข้าใช้ YouTube ของผู้ชมคนนั้น ๆ เพราะการเข้า YouTube ของแต่ละคนมีจุดประสงค์ที่หลากหลาย บ้างก็มีความต้องการที่จะผ่อนคลาย บ้างต้องการที่จะหาความรู้ การที่เราทำโฆษณาออกมาได้ตรงกับความต้องการให้ผู้ชมดูจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ 

โดย YouTube ก็มีเครื่องมือที่ชื่อว่า Find My Audienceเครื่องมือที่ทำให้เรารู้ว่าลูกค้า หรือ ผู้ชมเป็นแบบไหน และเรายังสามารถดูข้อมูลความสนใจ หรือ พฤติกรรมการใช้งานของพวกเขา เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการแสดงผลของโฆษณาเราได้อีกด้วย

หน้าเว็บไซต์ฟีเจอร์ Find My Audience
หน้าเว็บไซต์ฟีเจอร์ Find My Audience
ลำดับขั้นการใช้งานคร่าว ๆ ของฟีเจอร์ Find My Audience
ลำดับขั้นการใช้งานคร่าว ๆ ของฟีเจอร์ Find My Audience

ที่มา YouTube

หลักการที่ 3 : อย่าใช้โฆษณาแค่รูปแบบเดียว


เพราะ YouTube Ads มีรูปแบบการโฆษณาที่หลากหลาย การเลือกใช้เพียงรูปแบบเดียวอาจทำให้เราพลาดโอกาสที่จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ โดยการใช้รูปแบบ YouTube Ads ร่วมกันจะช่วยเพิ่มโอกาสปิดการขายให้มันเพิ่มขึ้นไปอีก 

การใช้ YouTube Ads สองรูปแบบในครั้งเดียว
การใช้ YouTube Ads สองรูปแบบในครั้งเดียว

 ที่มา Wyzowl.com

หนึ่งในวิธีการใช้งาน YouTube Ads หลายรูปแบบร่วมกันที่น่าสนใจ นั่นคือ การใช้ Skippable Video Ads ร่วมกันกับ Display ads ครับ โดยสังเกตได้จากภาพด้านบน เราจะเห็นว่า Monday.com มีการโฆษณาผ่านทั้งสองรูปแบบ โดยเริ่มจากจุดแรกที่มีการใช้ Skippable Video Ads เพื่อสร้างความสนใจ และ สามารถเก็บ Lead ได้ผ่านปุ่ม Call to Action 

และถ้าหากเราสังเกตที่มุมขวาบน เราจะพบว่า Monday.com ก็มีการโฆษณาผ่าน Display Ads ด้วยเช่นกัน ซึ่งข้อดีของมันก็คือเมื่อ Skippable Video Ads หายไป ลูกค้าที่สนใจจะยังสามารถกดปุ่ม Action ได้จาก Display Ads (Display Ads จะไม่หายไปหลังจากผู้ชมกดข้าม)

หลักการที่ 4 : ทำการศึกษาการใช้ Keyword 


YouTube Ads ก็เหมือนกับการโฆษณาออนไลน์ทั่วไป ที่การเลือกใช้ Keyword มีผลอย่างมากในการโฆษณา ดังนั้นเราจึงควรจำให้ขึ้นใจ ว่าก่อนที่จะเริ่มการโฆษณาใด ๆ เราควรจะศึกษา Keyword ที่จะใช้ให้ดีเสียก่อน

โดยการหมั่นศึกษาเกี่ยวกับการเลือกใช้ Keyword จะช่วยให้เรารู้ว่าลูกค้ากำลังต้องการอะไร ซึ่งจะช่วยเป็นไกด์ให้เราสร้างสรรค์โฆษณามาตอบสนองความต้องการได้อย่างดี

นอกจากนั้นการตั้งเป้าหมายของ YouTube Ads ยังสามารถตั้งตาม Keyword ได้อีกด้วย  ซึ่ง YouTube ก็เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มเช่นกัน ที่สามารถใช้ข้อมูล Keyword ที่ผู้ใช้ทำการค้นหาใน Google ได้

และเครื่องมือในการหา Keyword สำหรับ YouTube Ads ก็มีให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทั้ง TubeBuddy, vidIQ, Morning Fame, Ahrefs Keywords Explorer และ Google Trend

โดยวันนี้ผมจะขอยกตัวอย่างเป็นเครื่องมือ 2 ตัวได้แก่ Ahrefs Keywords Explorer และ Google Trend ครับ

Ahref Keyword Planner สามารถระบุสถิติของ Keyword แบบแบ่งตามช่องทางได้
Ahref Keyword Planner สามารถระบุสถิติของ Keyword แบบแบ่งตามช่องทางได้

ที่มา Ahrefs

Ahrefs Keyword Explorer คือ เครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถหาค้นหาข้อมูลสถิติของ Keyword ต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะสำหรับ YouTube ที่เครื่องมือนี้มีฐานข้อมูลของ Keyword กว่า 640 ล้านคำ 

เครื่องมือตัวนี้สามารถแสดงผลจำนวนการค้นหาและจำนวนการคลิกของ Keyword ต่าง ๆ ซึ่งการที่เครื่องมือตัวนี้มีการแสดงผลจำนวนคลิกด้วยนั้น ทำให้เราสามารถเลือกใช้ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เพราะความเป็นจริงจำนวนการค้นหาที่มากกว่า ก็ไม่ได้แปลว่าจะมีการคลิกที่มากกว่าเสมอไปนั่นเอง

โดยเครื่องมือตัวนี้ยังมีตัวเลือกที่ชื่อว่า “Keyword Idea” ที่เราสามารถเลือกได้ว่าจะดูข้อมูลแบบไหน เพื่อจะนำมาใช้เป็นไอเดียใหม่ ๆ สำหรับ Keyword ที่เราสนใจ ซึ่งตัวอย่างของข้อมูลที่ทำได้ เช่น “Having a same term” ตัวเลือกในการแสดงผลที่จะแสดงลิสต์ของคำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ Keyword นั้น ๆ ขึ้นมา โดยไม่สนใจว่าจะคำจะถูกเรียงตามที่เราพิมพ์ไปหรือไม่ เป็นต้น 

ภาพตัวอย่างการใช้งาน Google Trend สำหรับ YouTube Search
ภาพตัวอย่างการใช้งาน Google Trend สำหรับ YouTube Search

Google Trend คือ เครื่องมือจาก Google ที่เปิดโอกาสให้เราสามารถดูเทรนด์ต่าง ๆ ในการค้นหาที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งสำหรับ YouTube ก็มีตัวเลือก YouTube Search ที่จะแสดงสถิติออกมาแบบเฉพาะช่องทาง YouTube เท่านั้น 

โดยจากภาพด้านบนเราจะสังเกตเห็นว่า Google Trend สามารถแสดงผลเทรนด์การค้นหาที่เกิดขึ้นโดยกำหนดกรอบระยะเวลาได้ นอกจากนั้นยังสามารถทำได้อีกหลายอย่าง ทั้งการอัปเดตกระแสปัจจุบัน การแสดงแยกเป็นภูมิภาคย่อย (Subregion) หรือแม้กระทั่งการเปรียบเทียบกันระหว่าง 2 Keyword โดยถ้าหากคุณสนใจอยากศึกษาการใช้ Google Trend เพิ่มเติมสามารถตามไปอ่านกันได้ที่ คลิก

หลักการที่ 5 : หมั่นทำการทดลองใหม่ ๆ อยู่เสมอ


การตลาดออนไลน์ เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ ซึ่งต่อให้แผนที่เราใช้ในปัจจุบันจะดีสักแค่ไหน แต่ก็รับประกันไม่ได้ว่าในอนาคตอาจมีแผนอื่นที่ดีกว่า การหมั่นทำการทดลองเพื่อค้นหาว่าแคมเปญ YouTube Ads แบบไหน ที่เหมาะจะนำมาใช้กับธุรกิจของเราจึงจำเป็น เพื่อไม่ให้สูญเสียโอกาสที่จะเพิ่มยอดขาย หรือ พัฒนาการทำการตลาดให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

หนึ่งในการทดลองหลาย ๆ อย่างก็คงไม่พ้น Keyword ที่เราสามารถทดลองได้ว่าคำ ๆ ไหนที่เหมาะหรือไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการโฆษณา ซึ่งเราสามารถลิสต์ Negative keyword  ซึ่งเป็นลิสต์ Keyword ที่เราสามารถตั้งเอาไว้ได้เพื่อไม่ให้โฆษณาของเราแสดงเมื่อมีการค้นหาคำนั้น ๆ ซึ่งจะทำให้การโฆษณาของเราทั้งแม่นยำและประหยัดขึ้นนั่นเอง 

หลักการที่ 6 : เผยตัวแบรนด์ให้ไว แต่ต้องทำให้ดี


สำหรับการโฆษณารูปแบบ Skippable Video Ads ที่ผู้ใช้สามารถกดข้ามได้ ถ้าหากเราทำได้ไม่น่าสนใจ ก็มีสิ่งหนึ่งที่พอจะทดแทนได้นั่นคือ การเผยตัวแบรนด์ออกมาภายใน 5 วินาที ซึ่งทาง YouTube ก็ได้มีสถิติยืนยันจริง ๆ ว่าการโฆษณาที่มีเป้าหมายในการเพิ่มการรับรู้แบรนด์ (Awareness) ส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพสูงสุดได้ถ้ามีการระบุแบรนด์ตั้งแต่ 5 วินาทีแรก แต่การระบุตัวแบรนด์ที่ทำการโฆษณา หมายความว่าเราจะต้องแสดงโลโก้ และ ชื่อแบรนด์ตั้งแต่ 5 วินาทีแรกนั้นหรือ? 

คำตอบคือไม่ใช่ครับ เพราะเราก็มีทางเลือกอื่นที่อาจดูมีความน่าสนใจและกลมกลืนกับรูปแบบวิดีโอมากกว่า เช่น การใช้องค์ประกอบต่าง ๆ แสดงคาแรคเตอร์ของแบรนด์ให้ชัดเจน ที่ทำให้เห็นแล้วรู้ว่าคืออะไร เป็นต้น

จากตัวอย่างด้านบนเราจะเห็นว่า วิดีโอโฆษณา YouTube Ads ของ Apple เพื่อโปรโมต iPhone 11 มีการใช้องค์ประกอบทางด้านเสียงที่ผู้ใช้ iPhone อาจจะคุ้นเคยกันดี ซึ่งทำให้เราเกิดความสนใจและเริ่มจำได้ว่ามันคือแบรนด์ Apple ซึ่งหลังจากนั้นโฆษณาก็ค่อยแสดงให้เราเห็นแบรนด์ในไม่กี่วินาทีถัดมา

หลักการที่ 7 : บอกผู้ชมทุกครั้ง ว่าหลังจากนั้นต้องทำอะไร


มันคงจะดีถ้าลูกค้าเห็นโฆษณาของเราแล้วจำได้ว่าแบรนด์คืออะไร แต่มันจะดีขึ้นไปอีกไหม ถ้าเรามีการไกด์ให้ลูกค้าทำตามที่เราต้องการ ซึ่งสิ่งแรกที่เราจำเป็นจะต้องทำก็คือการรู้ว่าเป้าหมายของโฆษณาครั้งนี้คืออะไร คือการรับรู้แบรนด์ใช่ไหม หรือ ถ้าเกิดเป้าหมายของเราคือ ยอดขาย, ข้อมูลลูกค้า และ เพิ่มจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ สิ่งที่เราสามารถทำได้นั่นก็คือการเพิ่ม Call to Action เข้าไปนั่นเอง

โดยการเพิ่ม Call to Action ก็สามารถทำได้ผ่านการใส่ Call to Action เข้าไปในโฆษณาด้วยเครื่องมือ True View for Action Campaign ที่เปิดโอกาสให้เราสามารถใส่ Call to Action เข้าไปในโฆษณา ทั้งระหว่างที่กำลังแสดง หรือ หลังจากที่วิดีโอโฆษณาเล่นจบแล้ว   

โดยวิธีการใช้งานเบื้องต้นสามารถดูได้จากวิดีโอด้านล่าง

ที่มา YouTube

สรุป 


การใช้ YouTube Ads เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจที่ธุรกิจสามารถหยิบมาใช้เพื่อการเข้าถึงลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลักการใช้ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นไปอีกมีอยู่ทั้งหมด 7 ข้อได้แก่

1 ทำโฆษณาให้มีความน่าสนใจเสมอ ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่องต่าง ๆ เช่น การสร้างความสอดคล้องกับอารมณ์

2 รู้ว่าผู้ชมของเราคือใคร เพื่อการโฆษณาได้ตรงกลุ่มเป้าหมายและความต้องการ เช่น การใช้ Find My Audience

3 อย่าใช้โฆษณาแค่รูปแบบเดียว เพื่อเพิ่มความหลากหลาย และเพิ่มโอกาสการขายที่มากขึ้น

4 ทำการศึกษาการใช้ Keyword เพื่อความแม่นยำในการโฆษณา ทั้งการดูสถิติคำค้นหา หรือ ดูว่ากำลังมีเทรนด์อะไร

5 หมั่นทดลองใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ไม่พลาดการเจอแผนการโฆษณาใหม่ ๆ

6 เผยตัวแบรนด์ให้ไว แต่ต้องทำให้ดี เพื่อให้ลูกค้าจำได้ทั้งแบรนด์ และ คาแรคเตอร์

7 บอกผู้ชมทุกครั้ง ว่าหลังจากนั้นต้องทำอะไร เพื่อช่วยชี้นำผู้ชมให้ทำตามสิ่งที่เราต้องการ

สุดท้ายนี้ ถ้าหากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความสนใจในการทำการตลาดออนไลน์ที่ไม่ได้มีแค่ YouTube Ads วันนี้ STEPS Academy เรามีหลักสูตร Ads Optimization 101 ที่จะทำให้คุณได้เรียนรู้การโฆษณาออนไลน์ ผ่าน Facebook Ads และ Google Ads ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  คลิก 

ที่มา

https://operations.nfl.com/updates/football-ops/super-bowl-ad-kicks-off-nfl100-celebration/

The Beginner’s Guide to Building a Negative Keyword List

Homepage

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

ห้ามพลาด! 20 ไอเดียเพื่อสร้างกลยุทธ์บน Instagram Stories
Google Ads VS Facebook Ads เลือกช่องทางที่ใช่สำหรับการโฆษณาบนโลกออนไลน์ให้กับธุรกิจคุณ