6 ช่องทางการเพิ่ม Traffic สำหรับ E-commerce แบบฟรี ๆ แต่ได้ผลชะงัด

6 ช่องทางการเพิ่ม Traffic สำหรับ E-commerce แบบฟรี ๆ แต่ได้ผลชะงัด Tags: E-Commerce, Email Marketing, การตลาดออนไลน์, เครื่องมือการตลาดออนไลน์

ในโลกของออนไลน์ การค้าขายแบบ E-commerce นั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าจะต้องพึ่งเว็บไซต์ในการค้าขายและทำธุรกิจ ซึ่งผู้ประกอบการหลายรายมักไม่ได้ให้ความสนใจในส่วนนี้มากเท่าที่ควร แต่มักให้ความสำคัญในส่วนของ Social Media อย่าง Facebook, LINE หรือไม่ก็ Youtube มากกว่า Website ของธุรกิจ

หากเปรียบเทียบธุรกิจแบบดั้งเดิมที่จะต้องมีหน้าร้านแล้ว Website ก็เปรียบเสมือนเป็นหน้าร้านของธุรกิจดี ๆ นี่เอง ส่วน Social Network นั้น เปรียบเสมือนเพียงบ้านเช่า หรือช่องทางการโปรโมทสินค้าหรือบริการของแบรนด์เท่านั้นเอง

เพราะในอนาคตต่อไป ย่อมมี Social Network ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และเราในฐานะผู้ประกอบการ ก็ค่อยเลือกใช้ Social Media ที่ได้ผลตอบรับที่ดีที่สุด เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า พรุ่งนี้ มะรืนนี้ Social Network ที่เปรียบเสมือนบ้านเช่านั้น จะจากไปเมื่อไหร่ หรือจะถูกแบนเมื่อไหร่ เพราะอย่าลืมว่าที่เราใช้ Facebook นั้น เราไม่ได้เป็นเจ้าของ เราเป็นเพียงสมาชิกคนหนึ่งที่เข้ามาใช้งาน ส่วนเจ้าของที่แท้จริงก็คือ Mark Zuckerburg ผู้ก่อตั้ง Facebook นั่นเอง

แต่ในขณะที่ Website นั้น เป็นของเราโดยสมบูรณ์แบบ เราสามารถตั้งกฏขึ้นมาเองได้ ปรับแต่งเองได้อย่างอิสระ ทำการตลาดได้อย่างอิสระ ขายของได้อย่างอิสระ โดยไม่ละเมิดหรือขัดต่อกฏหมาย และเมื่อคุณมี Website ที่เปรียบเสมือนหน้าร้านแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยก็คือ หากไม่มีคนเข้ามาที่ร้าน โอกาสที่จะปิดการขายนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย

ซึ่ง Website ก็เช่นกัน หากสร้างขึ้นมาแล้ว ไม่ว่าจะมีระบบดีเพียงใด หรือมีหน้าตาที่สวยมากแค่ไหนก็ตาม แต่หากไม่มีคนเข้ามาเยี่ยมชม Website เลย

และนี่ก็คือ 6 ช่องทางแบบฟรี ๆ ที่คุณสามารถนำไปใช้ เพื่อเรียกกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเข้ามายัง Website ของคุณ แต่ระวังการหลงประเด็น การเรียกคนเข้า Website เพียงอย่างเดียว แต่เราต้องระบุให้ชัดว่า จะเรียกคนที่เป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเข้า Website อย่างไรมากกว่า เพราะต่อให้มีคนเข้า Website ของคุณมากแค่ไหนก็ตาม แต่หากไม่ใช่กลุ่มลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของคุณ โอกาสในการปิดการขายก็มีน้อยอยู่ดี

ช่องทางที่ 1 : การสร้างความสัมพันธ์แบบ Face to Face

แม้ว่าจะเป็นการทำการตลาดออนไลน์ก็ตามที แต่การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง ก็ยังคงสานสัมพันธ์กันแบบเจอหน้ากัน พูดคุยกัน หากคุณไม่ได้มีความสัมพันธ์กับใครเลยที่อยู่ในอุตสาหกรรมของคุณ สิ่งที่คุณจะร้องขอให้พวกเขาเหล่านั้นช่วยเหลือในการโปรโมทสินค้าหรือบริการของแบรนด์คุณนั้น ก็จะเป็นแบบ Paid Media หรือจ่ายเงินเพื่อโปรโมทสินค้าหรือบริการในทันที

แต่ในหลาย ๆ ครั้งคุณจะพบว่า การมีเพื่อนที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันนั้น ในหลาย ๆ ครั้งเป็นการตกลงกันที่ไม่ใช่ตัวเงินเพียงอย่างเดียว เพราะระหว่างเราและเพื่อนนั้น สามารถแชร์ทรัพยากรหรือจุดเด่นของแต่ละคนเพื่อแลกเปลี่ยนกันได้ ซึ่งหากย้อนกลับไปในสมัยก่อน คุณคงเคยได้ยินว่า เอาไข่มาแลกผัก เอาผักไปแลกปลา โดยไม่ต้องใช้เงินในการแลกเปลี่ยนเลย

ดังนั้น สเต็ปต่อไปที่คุณจะต้องทำก็คือ ‘ค้นหาจุดเด่นของคุณให้เจอ’ ซึ่งเป็นสิ่งที่อีกฝ่ายนั้นไม่มีหรือมีแต่ทำได้ไม่ดีเท่าเรา หรือเขาต้องการสิ่งที่เรามีพอดี ยกตัวอย่างเช่น คุณทำธุรกิจถ่ายรูป ซึ่งคุณมีทักษะในการถ่ายรูปสินค้าได้ดีมาก แต่คุณทำการตลาดออนไลน์ได้ไม่ค่อยดีนัก ซึ่งคุณได้พบปะกับนักการตลาดออนไลน์คนหนึ่งที่กำลังจะเริ่มต้นทำการตลาดออนไลน์ให้กับสินค้าของตนเอง และกำลังหาช่างภาพเพื่อมาถ่ายรูปสินค้า เนื่องจากเขาถ่ายรูปได้ไม่ดีนัก และนั่นก็คือโอกาสที่คุณจะเข้าไปเสนอตัว เพื่อถ่ายภาพสินค้าให้กับเขาเพื่แลกกับการแนะนำในการทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น

และเมื่อคุณหาจุดเด่น จุดแข็ง ของเราเจอแล้ว สเต็ปต่อมาก็คือ การสานสัมพันธ์กับเหล่าบรรดา Influencer ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นบุคคลที่มีสื่ออยู่ในกำมือ โดยสื่อที่ว่านี้ อาจหมายถึง แฟนเพจ Facebook, Youtube Channel, Instargram หรือช่องทางอื่น ๆ ที่เหล่าบรรดา Influencer มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก และค่อนข้างมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ที่ติดตามพวกเขาเหล่านั้น

ซึ่งคุณสามารถเริ่มต้นเข้าไปทำความรู้จักพวกเขาเหล่านั้นได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการพบปะในงานสัมมนา รู้จักผ่านเพื่อนของเพื่อน หรือมีโอกาสได้ร่วมงานอื่นกันมาก่อน ก็ให้คุณอย่าพลาดโอกาสที่จะทำความรู้จักกับพวกเขาเหล่านั้น

 

ช่องทางที่ 2 : Search Engine Optimization (SEO)

เมื่อพูดถึง SEO ผู้ประกอบการต่างพากันส่ายหัว เพราะนอกจากจะยังใช้เวลาในการทำความเข้าใจพอสมควรแล้ว ยังมีตัวเลือกอย่าง Social Media ที่ถูกแบบมาให้ใช้งานได้ง่ายกว่าอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, LINE, Youtube เป็นต้น

แต่จุดแข็งที่ Social Media นั้นสู้ Search Engine อย่าง Google ไม่ได้ก็คือ การได้ Traffic มาฟรี ๆ แบบมหาศาล โดยที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นคนวิ่งเข้าหาแบรนด์ด้วยตนเอง (คุณสามารถอ่านบทความอย่างละเอียดในการเริ่มต้นทำ SEO สำหรับธุรกิจได้ที่นี่ – SME ต้องรู้! พื้นฐานทำแบรนด์ให้ติด Google สำหรับผู้ประกอบการ )

โดยปกติแล้ว ผู้ใช้งาน Search Engine อย่าง Google นั้น จะเข้ามาค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่กำลังประสบอยู่ และหาก Website ใดหรือ Content ใด สามารถตอบโจทย์หรือช่วยแก้ไขปัญหาหรือทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้ ผู้ค้นหาเหล่านั้น ก็มีโอกาสกลายมาเป็นลูกค้าในภายหลัง

 

ช่องทางที่ 3 : Social Media

หากคุณพึ่งเริ่มต้นเข้าสู่การทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ สิ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึงก็คือการเลือกและจองชื่อแบรนด์บน Platform ออนไลน์ต่าง ๆ ให้เหมือนกันทุกช่องทางหรือสอดคล้องกัน ตั้งแต่ชื่อ Website, แฟนเพจ Facebook, Youtube Channel, LINE@, Instagram, ชื่อ E-mail หรือ Platform อื่น ๆ ที่แบรนด์ของคุณต้องการทำการตลาดออนไลน์ เพราะโดยส่วนมากแล้วชื่อที่สวย ๆ มักจะถูกจับจองไปเกือบหมดแล้ว

เพราะหากแต่ละช่องทางใช้ชื่อที่แตกต่างกัน หรือไม่สอดคล้องกัน อาจทำให้ผู้คนสับสนในแบรนด์ของคุณได้ ซึ่งมันส่งผลต่อความน่าเชื่อของธุรกิจอีกด้วย

คำถามต่อมาคือ แล้วจะเริ่มจาก Social Media เจ้าไหนดี? ซึ่งคำตอบอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละแบรนด์ แต่ลองตั้งคำถามใหม่ว่า “แล้วกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราอยู่ที่ไหนบ้าง?” คุณก็จะเริ่มพอมองออกแล้วว่า กลุ่มคนที่น่าจะเป็นว่าที่ลูกค้าของเรานั้น มักรวมตัวกันอยู่ที่ Platform ไหนมากเป็นพิเศษ ก็ให้คุณเลือกโฟกัสที่ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดให้แข็งแรงก่อนแล้วค่อย ๆ ขยับขยายไปช่องทางอื่นต่อไป

และช่องทางแรกที่แนะนำก็คือ Facebook เนื่องมาจากผู้คนใช้เป็นจำนวนมาก และมีฟังก์ชั่นในการเผยแพร่ Content ของแบรนด์ได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ตัวหนังสือ, รูปภาพ, วีดีโอ หรือแม้กระทั่งการ Live สด ๆ เพื่อโรปโมทสินค้าหรือบริการ ซึ่งสามารถเข้าถึงผู้คนได้เป็นจำนวนมาก ภายในไม่กี่วินาที

และนอกจากนั้นยังสามารถต่อยอดด้วย Facebook Ads ที่สามารถลงโฆษณาแบบระบุกลุ่มเป้าหมายได้จัดเชน ตรงกลุ่มเป้าหมาย และสามารถวัดผลได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย

 

ช่องทางที่ 4 : Blogging

การเขียน Blog เป็นการทำ Content Marketing อีกช่องทางหนึ่ง ที่แบรนด์สามารถเล่าเรื่องผ่าน Blog ได้ ซึ่งการเขียนบทความประเภท Blog นั้น จะไม่เป็นทางการมากนัก ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าถึงและรู้สึกเป็นมิตรกับแบรนด์มากขึ้น หากเปรียบ Blog เป็นเสมือนนิตยสารสักเล่มหนึ่ง ให้คุณและทีมงานช่วยกันระดมความคิดเลยว่า ถ้าธุรกิจของคุณจะจัดทำนิตยสารขึ้นมาสักเล่มหนึ่งนั้น คุณจะใส่คอลัมล์อะไรลงไปในนั้นบ้าง เพื่อให้ผู้คนเข้ามาอ่าน เข้ามาติดตามแบรนด์ของคุณ

ซึ่งสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำก็คือ “การสร้าง Content” ให้สอดคล้องกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์ ยกตัวอย่างเช่น หากธุรกิจของคุณคือ “ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม” ให้คุณลองมองในฝั่งของลูกค้าว่า ลูกค้ามีปัญหาหรือมีความต้องการอะไร เราก็สร้าง Content ที่ตอบสนองความต้องการนั้นออกมา โดยอาจจะเป็นหัวข้อใหญ่ว่า จะสร้างนิตยสาร “Beauty and Healthy” ออกมา โดยมีคอลัมล์ เกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพ การรักสวยรักงาม การดูแลรูปร่าง การเสริมสวย การออกกำลังกาย เป็นต้น

ทีนี้เมื่อคุณได้ Keyword สำคัญที่เกี่ยวกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายสนใจแล้ว ก็ถึงการสร้างหัวข้อที่โดนใจ และตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มนั้น เช่น “10 วิธีดูแลผิวหน้าให้กระชับแลดูอ่อนกว่าวัย” ซึ่งหนึ่งในวิธีนั้น ก็สามารถโยงเข้าสินค้าของแบรนด์คุณได้ เป็นต้น

และอยากให้คุณมองว่าการทำ Content นั้น เปรียบเสมือนการสร้างทรัพย์สินรูปแบบหนึ่ง ซึ่งหากคุณมีการใส่ใจและลงทุนกับการทำ Content ที่ดี มันจะสามารถเป็นแหล่งข้อมูลของเว็บไซต์อื่น ๆ ไว้อ้างอิงได้ นั่นหมายถึง จะมีเหล่าบรรดา Blogger จะช่วยโปรโมทเว็บไซต์ของคุณแบบฟรี ๆ และนอกจากนั้น หากติดอันดับที่ดีบนผลการค้นหาบน Google ก็จะช่วยให้คนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์แบบฟรี ๆ อย่างไม่ขาดสาย

และหาก Content นั้น ๆ ตอบโจทย์ผู้คน มีคนอ่าน คนแชร์ เป็นจำนวนมาก มันจะส่งผลให้ติดอันดับผลการค้นหาอันดับต้น ๆ บน Google ซึ่งคุณไม่ต้องจ่ายเงินให้ Google ในส่วนนี้เลยตลอดหลายเดือน หรืออาจหลายปี

 

ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้ Blogging ในการทำการตลาดออนไลน์

6 ช่องทางการเพิ่ม Traffic สำหรับ E-commerce แบบฟรี ๆ แต่ได้ผลชะงัดKrungsri GURU

จากตัวอย่าง เราจะเห็นได้ว่าทางธนาคารกรุงศรีนั้น ได้ทำการ Blogging ผ่าน Influencer ที่มีชื่อเสียงด้านการเงิน การลงทุน จากหลากหลายสาขา มาร่วมเขียนบทความลงบน Blog ที่ชื่อว่า Krungsri GURU เพื่อตอกย้ำว่า หากต้องการปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องเงิน เรื่องการลงทุน สามารถใช้บริการได้ที่ธนาคารนี้นั่นเอง

 

ช่องทางที่ 5 : Video Marketing

ในโลกออนไลน์ ณ ปัจจุบัน สื่อวีดีโอถือว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างดี คุณสามารถเล่าเรื่องราวของแบรนด์ผ่านสู่วีดีโอ ด้วยการใช้เทคนิค Story Telling เล่าถึงที่มาที่ไปของธุรกิจของคุณ และทุกครั้งที่มีโอกาส ให้คุณถ่ายวีดีโอเพื่อเก็บเบื้องหลังการทำงานของธุรกิจ เพื่อเอาไว้ส่งเสริมที่มาที่ไปและกระบวนการผลิตของสินค้าของคุณได้

รวมไปถึงการทำวีดีโอ Live แบบสด ๆ ซึ่งในปัจจุบัน Platform อย่าง Facebook เป็นช่องทางที่จะอัพเดทวีดีโอแบบ Live สด ที่เข้าถึงผู้คนจำนวนมากได้ในทันที

 

6 ช่องทางการเพิ่ม Traffic สำหรับ E-commerce แบบฟรี ๆ แต่ได้ผลชะงัด

ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้ Video ในการทำการตลาดออนไลน์

Luxy Hair เป็นผู้ประกอบการที่ขายวิกผม ที่ใช้ Video Content ในการทำการตลาดออนไลน์เป็นหลัก โดยที่มาที่ไปเริ่มมาจากการที่ผู้ก่อตั้งนั้น จะต้องไปงานแต่งงานของเพื่อน ซึ่ง ณ ตอนนั้น เธอเองก็อยากมีผมยาว เพื่อแต่งตัวสวย ๆ ให้เข้ากับชุดราตรี แต่กลับหาผมปลอมสวย ๆ แถบไม่ได้เลย แถมถ้ามี ก็ไม่มีใครคอยแนะนำในการแต่งวิกผมให้ใส่แล้วออกมาดูเป็นธรรมชาติอีก

ดังนั้น ในเวลาต่อมา เธอจึงคิดว่า สาว ๆ หลาย ๆ คนน่าจะมีปัญหาเดียวกันกับเธอ เธอและแฟนหนุ่มของเธอจึงตัดสินใจ ทำธุรกิจนี้ โดยใช้ผู้ผบิตสินค้าที่ Alibaba.com แล้วจากนั้น เธอและแฟนหนุ่ม ก็วางแผนการทำการตลาดเอาไว้แล้วว่า จะนำวิกผมมาตกแต่งเป็นทรงผมรูปแบบต่าง ๆ อย่างสวยงามและเป็นธรรมชาติ จนมีผู้ติดตามทาง Youtube Channel กว่า 3 ล้านคน จนส่งผลยอดขายเติบโตกว่าร้อยล้านบาทในเวลาต่อมา

 

ช่องทางที่ 6 : Email Lists

ในวิธีการต่าง ๆ ที่ส่งคนมายัง Website เพียงแค่ครั้งเดียว ยังถือว่าไม่เพียงพอ เพราะในหลาย ๆ เราจะพบว่า เมื่อผู้คนเข้ามายัง Website ของเราแล้ว ไม่ว่าจะผ่านมาจากช่องทางไหนก็ตามที เขาอาจจะเข้ามาเพียงครั้งเดียว แล้วก็ไม่กลับมาอีกเลย ดังนั้น ในเมื่อเราสามารถส่งผู้คนเข้ามายัง Website ได้ครั้งหนึ่งแล้ว อีกเทคนิคหนึ่งที่ไม่ควรพลาดในการนำไปใช้ก็คือการเก็บรายชื่อ Email ของผู้เยี่ยมชม ในทุก ๆ ครั้งที่มีโอกาส

ซึ่งเมื่อ Website ของคุณมีการอัพเดท Content ใหม่ ๆ มันก็จะแจ้งเตือนไปยังผู้คนที่ลทะเบียนรับสมัครข่าวสารเอาไว้ ทำให้พวกเขากลับมาเยี่ยมชมยัง Website ของเราอยู่เป็นประจำ จนเกิดความสมพันธ์อันดีระหว่างแบรนด์ และมีโอกาสกลายมาเป็นลูกค้าได้ในที่สุด

ซึ่งวิธีนี้ สามารถประยุกต์ใช้กับเหล่าบรรดา Social Network ได้เช่น ให้ผู้เยี่ยมชมกดติดตามหรือแจ้งเตือนในทุก ๆ ครั้ง ที่มีการอัพเดท Content ใหม่ ๆ แต่ข้อเสียก็คือ เรามักจะไม่รู้หน้าตา ไม่รู้ข้อมูลการติดต่อของลูกค้า เหมือนกับที่ลงทะเบียนด้วย Email ซึ่งเราสามารถเพิ่มข้อมูลที่ต้องกรอกในการลงทะเบียนรับข่าวสารหรือสิทธิพิเศษอื่น ๆ ได้ เช่น ชื่อ-สกุล เบอร์โทร อีเมล์ เป็นต้น

 

ซึ่งคำถามที่เกิดขึ้นต่อมาก็คือ “แล้วทำไม พวกเขาเหล่านั้นจะต้องลงทะเบียนด้วยข้อมูลติดต่อที่เป็นส่วนตัวกับเราด้วยล่ะ?”

นั่นคือโจทย์ที่เราจะต้อง สร้างข้อแลกเปลี่ยนที่สมเหตุสมผล ว่าทำไมพวกเขาต้องลงทะเบียน โดยเราอาจจะจัดทำ Content พิเศษขึ้นมา โดย Content พิเศษนี้ จะได้รับเฉพาะคนที่ลงทะเบียนเข้ามาเท่านั้น ที่สำคัญคือ ห้ามทำ Content พิเศษแบบลวก ๆ เป็นอันอาจ มันต้องเป็น Content พิเศษจริง ๆ ที่สามารถเรียกความสนใจหรือสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ได้เป็นอย่างดี

เพราะเมื่อผู้ที่ลงทะเบียนเปิดดู Content พิเศษ แล้วพบว่าเป็นข้อมูลที่ดีมาก ๆ มันจะส่งผลให้เรากลายเป็นแบรนด์ Top of Mind หรือแบรนด์อันดับต้น ๆ ที่ลูกค้าจะนึกถึง เมื่อเขาจำเป็นต้องใช้สินค้าหรือบริการที่มีอยู่ของแบรนด์

แและนี่ก็คือ 6 วิธีการที่สามารถเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้แบบฟรี ๆ ที่ใช้ได้ผลจริงมาแล้วในหลากหลายธุรกิจ หากคุณพลาดวิธีใดวิธีหนึ่งไป อาจไม่เสียหายอะไร เพียงแต่อาจเสียโอกาสกับช่องทางใหม่ ๆ ที่คุณยังไม่เคยได้ลองทำอย่างถูกวิธีและทำอย่างเต็มที่เท่านั้นเอง

โดยมีผู้ให้บริการสร้างเครื่องมือที่ช่วยในการสร้าง Email List ได้เป็นอย่างดี มีดังนี้

www.mailchimp.com 
www.aweber.com 
www.convertkit.com 
www.getresponse.com

 

Resources

  • https://www.quicksprout.com/the-beginners-guide-to-online-marketing/
  • https://www.shopify.com/blog/10908445-how-luxyhair-com-built-a-seven-figure-ecommerce-business-with-youtube-marketing
  • http://www.wpbeginner.com/showcase/best-email-marketing-services/

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

6 ขั้นตอนการสร้างและการจัดการ Digital Marketing Strategy ให้สินค้าปัง ดังระเบิด
6 ขั้นตอนการตลาดออนไลน์ การเปลี่ยนจากคนแปลกหน้าไปเป็นลูกค้าตลอดกาล