5 ขั้นตอนการทำการตลาดออนไลน์ด้วย Storytelling เพิ่มมูลค่าแบรนด์ ปั้นดินให้เป็นดาว

5 ขั้นตอนการทำการตลาดออนไลน์ด้วย Storytelling เพิ่มมูลค่าแบรนด์ ปั้นดินให้เป็นดาว

ผู้คนชอบ Story ชอบการเล่าเรื่องราว เพราะการเล่าเรื่องราวส่วนใหญ่นั้นจะเป็นเรื่องของอารมณ์ล้วน ๆ ทำให้เกิดการจดจำ เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ชม และเกิดการบอกต่อได้ง่าย หากคุณกำลังทำการตลาดออนไลน์อยู่ ก็ไม่ควรพลาดที่จะเริ่มต้นทำการตลาดด้วยการเล่าเรื่องราวแล้วผูกแบรนด์เข้ากับเรื่องราวนั้น มันจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีต่อผู้คนที่กำลังเสพย์ Content ของคุณอยู่

3 เหตุผลที่คุณควรทำการตลาดด้วย Storytelling

  1. Storytelling สามารถเป็นกระบอกเสียงที่ดีในการแสดงตัวตนของแบรนด์
  2. Storytelling ทำให้แบรนด์ของคุณกลายเป็น Top of Mind ที่จะนึกถึงเป็นเจ้าแรก ๆ ในใจของลูกค้า
  3. มนุษย์มักใช้อารมณ์มาตัดสินใจแล้วค่อยหาเหตุผลมาสนับสนุนภายหลัง และ Storytelling ก็มีพลังที่จะเข้าถึงอารมณ์ของผู้คนได้เป็นอย่างดี

 

5 เคล็ด(ไม่)ลับ ในการใช้ Storytelling สำหรับการทำการตลาดให้กับแบรนด์

1.พูดตามความเป็นจริง

จริงอยู่ว่าในหลาย ๆ เรื่องราวนั้น ถูกตกแต่ง บิดเบือนมาจากต้นฉบับของเรื่องราว แต่จงอย่าหลอกลวงผู้บริโภคหรือสร้างเรื่อราวที่เป็นเท็จออกมา เพียงหวังว่าจะให้คนแชร์หรือพูดถึงเยอะ ๆ เพียงอย่างเดียว และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ อย่าหลุดความเป็นตัวตนของแบรนด์เป็นอันขาด

แม้ว่า Story นั้น จะดีมากเพียงใดก็ตาม แต่อย่าลืมว่า มันต้องสอดคล้องกับตัวตนของแบรนด์ ยกตัวอย่างเช่น หากแบรนด์มีลักษณะที่ดูร่าเริง สนุกสนาน ก็ไม่ควรที่จะใช้การเล่าเรื่องราวที่ดูเป็นคนสุขุม สุภาพเรียบร้อย เป็นต้น ตัวอย่าง Storytelling ที่ใช้การพล็อตเรื่องจากเรื่องจริง —

ทรูมูฟเอช ‘การให้คือการสื่อสารที่ดีที่สุด’

 

2.ใส่ความเป็นตัวตนของแบรนด์ลงไป

เรื่องราวที่เต็มไปด้วยการใส่บุคลิกลงไป จะทำให้เป็น Story ที่น่าสนใจขึ้นมาได้ และเมื่อผู้ชมได้เสพย์ Content นั้น ก็จะรู้สึกและสัมผัสได้ในทันทีว่า แบรนด์ของเรานั้นมีบุคลิกเป็นอย่างไร เป็นแบรนด์ที่สนุกสนาน เป็นแบรนด์ที่ชอบท้าทายสิ่งใหม่ ๆ เป็นแบรนด์ที่ให้ความรู้สึกปลอดภัย เป็นแบรนด์รักโลก เป็นต้น — ตัวอย่าง Storytelling ที่ใส่ความเป็นตัวตนของแบรนด์ลงไป ‘เงินติดล้อ – ชีวิตใหม่’

 

3.สร้างตัวละครที่จะหยั่งรากลึกเข้าถึงจิตใจของผู้ชม

การทำให้ผู้ชมมีส่วนร่วมไปกับ Story ของแบรนด์ จำเป็นที่จะต้องมีตัวละคร ที่จะนำพาผู้ชมเดินเรื่องไปกับ Story นั้น หากเปรียบเทียบกับคน จะเป็นคนที่มีลักษณะแบบไหน เป็นคนอารมณ์ดี เป็นคนสนุก เป็นคนฉลาด เป็นคนที่อบอุ่น เป็นคนรักครอบครัว เป็นคนชอบลุย เป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นคนเข้มแข็ง เป็นต้น
ตัวอย่าง Storytelling ที่ใช้ตัวละครหลักในการเข้าถึงจิตใจผู้ชม ‘ความจริงที่ไม่เห็นด้วยตา’ กล้องวงจรปิด Vizer (vizer cctv)

 

4.ใช้โครงสร้างของนิยายในการเล่าเรื่องราว

นิทานและนิยาย ที่ดำเนินเรื่องโดยมีการพล็อตเรื่องราวในรูปแบบของ บทนำ เนื้อเรื่อง และสรุปนั้น ถือเป็นโครงสร้างที่แข็งแรงเป็นอย่างมาก ที่ใช้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และมันก็เป็นโครงสร้างที่ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ชม ติดตาตรึงใจ ตั้งแต่วัยเด็กจนโต ก็ยังสามารถจำเรื่องราวของนิทานเหล่านั้นได้อยู่

ตอนต้นเรื่อง : ให้คุณเปิดตัวเรื่องราวอย่างแข็งแรง และการสร้างตัวละครให้เป็นที่น่าจดจำ
ตอนกลางเรื่อง : ตัวละครหลักเกิดปัญหาบางอย่าง เกิดความขัดแย้ง
ตอนท้ายเรื่อง : วิธีที่ตัวละครใช้ในการแก้ไขปัญหาเพื่อหาทางออก พร้อมกับจบแบบกินใจ

ตัวอย่าง Storytelling ที่ใช้การพล็อตเรื่องแบบนิยาย สาวน้อยวัยใสที่พยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อความรัก

 

5.อย่าหยุดเพียงแค่ Story นี้

การสร้าง Storytelling คุณจะต้องออกแบบการตลาดให้มีความต่อเนื่องกัน ไม่ใช่ว่าสร้าง Story เสร็จแล้ว กินใจผู้ชมเป็นอย่างมาก แต่ผู้ชมเกิดอาการที่ว่า แล้วยังไงต่อ? ดังนั้น สิ่งที่คุณจะต้องคำนึงก็คือ หลังจากที่ปล่อย Content ไปแล้ว จะให้ผู้ชมทำอะไรต่อไป ไม่ว่าจะเป็น รับชมตอนต่อไป, กดติดตามเรื่องราวดี ๆ, พบกันได้บน Facebook หรือเจอกันในงานอีเว้นท์ที่กำลังจะถึงนี้ เป็นต้น

 

5 ขั้นตอนในการทำ Storytelling ให้ประสบความสำเร็จ

ขั้นตอนที่ 1 เข้าใจในแบรนด์และกลุ่มผู้ฟังของตนเองเป็นอย่างดี

ในขั้นตอนนี้คุณต้องทำการบ้านอย่างหนัก ในการเข้าใจในความเป็นตัวตนของแบรนด์ ซึ่งวิธีการที่ตรวจสอบว่า คำที่จะสื่อสารออกไปนั้น จะส่งผลให้คนภายนอกเข้าใจตรงกันหรือไม่ ให้เราลองเริ่มจากคนภายใน โดยสำรวจดูว่า ถ้อยคำ รูปภาพ ที่สื่อสารออกไปนั้น คนภายในองค์กร มีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ หากคนภายในองค์กรยังไม่เข้าใจไปในทิศทางที่ตรงกัน คุณก็ควรที่จะพิจารณาคำสื่อสารนั้นเสียใหม่

การเข้าใจกลุ่มผู้ฟังของคุณเป็นอย่างดี โดยคุณอาจ เริ่มจากการทำ Buyer Persona โดยสำรวจว่า กลุ่มผู้ฟังที่แท้จริงของแบรนด์คุณนั้นคือใคร และพวกเขาเหล่านั้น ใช้คำสื่อสารแบบใด ยกตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการเงินที่ต้องการมีภาพลักษณ์ความเชื่อมั่นสูง โดยสื่อสารกับกลุ่มผู้ใหญ่วัยทำงาน ที่กำลังมองหาแหล่งเงินทุน คุณก็ไม่ควรใช้คำทำนองที่ว่า อิอิ คริคริ ที่เป็นภาษาวัยรุ่น เป็นต้น

 

ขั้นตอนที่ 2 ค้นคว้าและวิจัยข้อมูลด้วยหลัก 5W

การใช้หลักของ 5W เป็นรากฐานที่มั่นคงในการที่จะพล็อตเรื่องราวให้แข็งแรง ซึ่งประกอบไปด้วย

Who – การดำเนินเรื่องราว จะต้องมีตัวละครหลัก จงตั้งคำถามว่า ตัวละครหลักที่จะใช้ในการดำเนินเรื่องนั้นจะมีลักษณะเป็นอย่างไร หากเป็นตัวแทนของแบรนด์จะมีบุคลิกอย่างไร

What – เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นใน Story ของคุณ โดยใช้หลักการพล็อตเรื่องจากโครงสร้างของนิทานหรือนิยาย

When – Story ของคุณเกิดขึ้นเมื่อใด เป็นเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต

Where – Story ของคุณเกิดขึ้นที่ใด เพราะสถานที่จะช่วยสื่อถึงอารมณ์ภาพรวม ณ เหตุการณ์ขณะนั้นได้

Why – ทำไม Story นี้ถึงเกิดขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น มีนักผจญเพลิง เข้าไปดับเพลิง เพื่อช่วยเหลือสุนัขที่ติดอยู่ภายในอาคาร จงตั้งคำถามว่า ทำไมพวกเขาจึงไปอยู่ที่นั่น? ทำไมพวกเขาต้องเข้าไปช่วยสุนัข?

 

ขั้นตอนที่ 3 ใส่ใจในรายละเอียดทุกขั้นตอนการผลิต Content

หากคุณนึกถึงการแสดงมายากลในปัจจุบัน คงจะมีกลที่คล้ายคลึงกันไปหมด ไม่ว่าใคร ๆ ก็ใช้มายากลซ้ำ ๆ กัน แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ การเล่าเรื่องราวของนักแสดงมายากล ที่ใส่ใจในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะสามารถเชื่อมโยงระหว่างนักแสดงและคนดูให้อินไปกับการแสดงได้ จงค้นหาชุดที่เชื่อมโยงกันนั้นให้เจอ

 

ขั้นตอนที่ 4 ไม่ต้องบอก แต่แสดงให้เห็น

Show, Don’t Tell. ประโยคสั้น ๆ ที่ได้ใจความว่า คุณไม่ต้องพยายามโน้มน้าว บอกเล่าให้ผู้ฟังเชื่อหรอก คุณแค่ทำให้พวกเขาเห็นก็พอ ว่าตัวตนของแบรนด์คุณนั้นเป็นอย่างไร

เพราะเมื่อคุณบอกเล่าเพียงฝ่ายเดียว นั่นมันเป็นความคิดเห็นของคุณข้างเดียว แต่หากคุณแสดงให้เห็น ผู้ชมของคุณ เขาจะเริ่มพิจารณาด้วยตัวของพวกเขาเองว่า สิ่งที่เห็นนั้น พวกเขารู้สึกอย่างไร นั่นคือสิ่งที่แตกต่างและสำคัญ เพราะผู้ชมเขาได้ตัดสินใจด้วยตัวของพวกเขาเอง ไม่ใช่เพราะแบรนด์ยัดเยียดให้

 

ขั้นตอนที่ 5 กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดจบของ Story ตั้งแต่แรก

ก่อนการเริ่มต้นการพล็อตเรื่องหรือเขียน Story ทุกครั้ง คุณจำเป็นที่จะต้องกำหนดจุดจบตอนท้ายเรื่องตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นทำงาน

เพราะหากคุณกำหนดจุดจบได้ไม่ชัดเจน จะทำให้คุณเริ่มหลงทาง เสียเวลา หลุดจุดประสงค์ที่แท้จริงไป กล่าวคือ ถ้าคุณจะเล่าเรื่องการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังเชียงใหม่ อย่างน้อยคุณก็รู้แล้วว่า ระหว่างการเดินทางไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่ท้ายที่สุด เรื่องราวจะไปจบลงที่เชียงใหม่นั่นเอง

และนี่ก็คือการใช้ Storytelling ในการทำการตลาดให้กับแบรนด์ ซึ่งจะช่วยส่งผลให้แบรนด์แข็งแรงมากยิ่งขึ้น เพราะการเรื่องราวให้ผู้คนจดจำนั้น สามารถจดจำได้ไปอีกนานแสนนาน

 

Resources:

  • https://www.forbes.com/sites/steveolenski/2015/11/30/4-benefits-of-using-storytelling-in-marketing/
  • https://www.forbes.com/sites/work-in-progress/2013/02/05/5-secrets-to-using-storytelling-for-brand-marketing-success/
  • https://www.linkedin.com/pulse/20140405112844-40671440-5-steps-to-successful-storytelling

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

3 กรณีศึกษาแบรนด์ที่ใช้ Digital Marketing ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในโลกออนไลน์
3 ปัจจัยหลัก พิชิตขายด้วยดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง