5 ปัจจัยสำคัญ สำหรับผู้เริ่มต้นทำ Digital Marketing ให้คุณเห็นภาพรวมและพร้อมเติบโตในยุคดิจิทัล

digital-marketing-factor

ทุกวันนี้เราไม่อาจปฏิเสธได้ ว่าไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงเข้ามาสู่ระบบออนไลน์มากขึ้น ผู้คนติดตามข่าวสารผ่านทางเว็บไซต์ เข้าถึงสื่อบันเทิงต่างๆผ่านแอพพลิเคชั่น ไม่ว่าจะเป็นดูหนัง ฟังเพลง จนไปรวมถึงการเลือกซื้อสินค้าบนช่องทางออนไลน์มากขึ้น การเติบโตของเศรษฐกิจในยุคดิจิทัลจึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว กลายเป็นช่องทางใหญ่ที่จะช่วยสร้างโอกาสให้กับธุรกิจ ตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็กที่พึ่งก่อตั้ง ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ที่ดำเนินมากว่าสิบปี และนั่นทำให้ Digital Marketing กลายมาเป็นส่วนสำคัญ ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจ นักการตลาด หรือกำลังจะเริ่มต้นกับเส้นทางนี้ 

อย่างไรก็ตาม ในยุคที่ใครๆก็ทำการตลาดบนโลกออนไลน์ และต่างมีพื้นที่สื่อของตนเองได้เหมือนๆกัน

“เราจะทำอย่างไร ให้อยู่รอดในตลาดการแข่งขันนี้”

และ

“ปัจจัยสำคัญอะไรที่ต้องรู้ ต้องมี เพื่อเติบโตในยุคการตลาดออนไลน์ได้?”

เชื่อว่าหลายๆคน เคยคิดว่าการทำการตลาดออนไลน์ แค่เพียงเปิดเพจของแบรนด์ โปรโมทคอนเทนต์ให้เกิดไวรัลด้วยค่าโฆษณาแพงๆก็เพียงพอแล้ว แต่ในความเป็นจริง การทำการตลาดออนไลน์มีรายละเอียดมากกว่าที่ใครๆคิด การไม่มีข้อมูลความรู้ด้าน Digital Marketing อย่างแท้จริง นั่นทำให้บางครั้งเสียเงินลงทุนไปกับสิ่งที่ไม่ได้ตรงความต้องการทั้งของคุณและลูกค้า ไม่มีการวัดผลเพื่อนำไปพัฒนากลยุทธ์ รวมถึงขาดปัจจัยอื่นๆ ที่จะทำให้คุณเติบโตในตลาดออนไลน์ จนส่งผลให้ธุรกิจคุณสูญเสียลูกค้าไปให้คู่แข่งที่มีความพร้อมมากกว่าได้ ซึ่งบทความนี้ทางทีมงาน STEPS ได้สรุปย่อ 5 ปัจจัยสำคัญของ Digital Marketing เป็นภาพรวมง่ายๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. รู้จักตนเอง (Goal & Brand)
  2. รู้จักลูกค้า (Customer)
  3. รู้จักตลาด (Channel)
  4. มีการวัดผลลัพธ์ (KPI)
  5. มีทีมที่ดี (Team)
digital-marketing-factor

 

บทความนี้จะช่วยทำให้คุณตรวจสอบได้ว่า ธุรกิจของคุณเข้าใจการทำการตลาดบนโลกออนไลน์ครบถ้วนหรือยัง? ซึ่งเรามั่นใจว่า ธุรกิจไหนที่มีองค์ประกอบครบทั้ง 5 ด้านนี้ได้ จะอยู่ในสนามการแข่งขันไปได้อีกยาวนาน และก้าวกระโดดในส่วนของออนไลน์ได้อย่างแน่นอนค่ะ

อย่าลืม! ตั้งคำถามกับตนเอง ไปพร้อมๆกับการอ่านบทความนี้ด้วยว่า 

 

1. รู้จักตนเอง (Goal & Brand)

digital-marketing-brand

 

เราอยากให้คุณทบทวนดูว่า คุณเคยตั้งคำถามเหล่านี้ในการทำธุรกิจหรือไม่? และคำตอบจริงๆของคำถามต่อไปนี้คืออะไร? 

เป้าหมายของธุรกิจคุณ จริงๆแล้วคืออะไร?

ตัวตน จุดแข็ง หรือสิ่งที่แตกต่างจากแบรนด์อื่น คืออะไร มีแล้วหรือไม่?

 

Goal (เป้าหมาย)

เป้าหมาย เป็นส่วนสำคัญหนึ่งของขั้นตอนการทำการตลาดออนไลน์ เพราะเป็นสิ่งที่จะย้ำเตือนคุณให้รู้ว่า ตอนนี้กำลังทำอะไร เพื่อสิ่งใดอยู่ ตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายของแคมเปญคุณในวันนี้คือ จำนวนข้อมูลผู้สนใจ (Lead) การมีเป้าหมายจะทำให้คุณไม่เสียเวลาไปโฟกัสกับส่วนอื่นที่ไม่ก่อให้เกิด Lead อย่างการสร้างคอนเทนต์เพื่อเรียกยอดไลค์ในรูปแบบวิดีโอ คุณจึงไม่ต้องเสียเงินและเวลาไปกับการสร้างคอนเทนต์ที่ไม่ตอบโจทย์ของคุณ เป็นต้นค่ะ

นอกจากนี้ เป้าหมายยังเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างนวัตกรรมหรือวิธีการใหม่ๆ เพราะเมื่อคุณเห็นภาพสิ่งที่ต้องการได้ชัดเจน คุณจะเริ่มตั้งคำถามถึงวิธีการเพื่อให้ได้สิ่งนั้น จะทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น? หรือทำอย่างไรจึงจะได้รับผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิม? ก่อให้เกิดการพัฒนาธุรกิจในแนวทางใหม่ๆได้

 

Branding (ตัวตนของแบรนด์)

ก่อนลงมือทำ Digital Marketing การทำให้คนรู้จักแบรนด์เราในโลกดิจิทัล จะต้องเริ่มต้นจากสร้างแบรนด์ (Digital Branding) ให้ชัดเจน มีความโดดเด่น แตกต่าง และที่สำคัญ คือ เจ้าของแบรนด์หรือนักการตลาดต้องรู้จักตัวตนของธุรกิจอย่างแท้จริง เพื่อสื่อสาร หรือนำเสนออัตลักษณ์แบรนด์ออกไปให้ผู้คนได้รับรู้ว่า “เราคือใคร เราทำอะไร เราขายอะไรอยู่ ?”

คุณจะต้องกำหนดคุณสมบัติหลักของแบรนด์ ค้นหาว่าอะไรคือสิ่งสำคัญที่ทำให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณแตกต่าง และทำไมพวกเขาควรซื้อสินค้าของคุณ 

ตัวอย่างเช่น “Apple” ที่นำเสนอจุดยืนในเรื่องของความทันสมัย และโดดเด่นในด้านการออกแบบ 

  • กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ คือกลุ่มคนที่ชื่นชอบเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือรักในด้านการออกแแบบ
  • สินค้าของ Apple จะถูกออกแบบมาให้ทันสมัย บางชิ้นมีคุณสมบัติพิเศษรองรับคนที่รักการออกแบบของผลิตภัณฑ์ในด้านต่างๆ
  • ความโดดเด่นด้านเทคโนโลยีของ Apple ที่สะสมมา ทำให้เมื่อใดที่มีผู้คนให้ความสนใจเครื่องมือทันสมัย ตอบโจทย์ด้านการออกแบบ งานกราฟิกต่างๆ ก็จะนึกถึง Apple มาเป็นอันดับแรก

อีกหนึ่งตัวอย่างเป็นธุรกิจบริการด้านการขนส่งอย่าง Kerry Express ที่หยิบจุดเด่นด้านความรวดเร็วในการขนส่ง เป็นจุดขายทางการตลาด

  • กลุ่มเป้าหมาย คือผู้ซื้อขายสินค้าบนโลกออนไลน์ ที่ให้ความสำคัญกับความรวดเร็วในการขนส่งสินค้า
  • สร้างจุดเด่นในเรื่องของความรวดเร็วและปลอดภัย โดยเพิ่มเติมในเรื่องของประกันสินค้า มีการโทรแจ้งลูกค้าเมื่อสินค้าใกล้มาถึง
  • ความแตกต่าง และโดดเด่นที่เพิ่มเติมเข้ามา ทำให้เมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องการส่งสินค้าให้ถึงมือผู้รับอย่างรวดเร็ว จะทำให้นึกถึง Kerry มาเป็นอันดับแรกๆด้วย

“แล้ววันนี้ คุณรู้จักแบรนด์ของคุณดีพอแล้วหรือยัง?”

 

2. รู้จักลูกค้า (Customer)

digital-marketing-customer

 

ข้อเท็จจริงข้อหนึ่งที่คุณต้องคอยย้ำเตือนตัวเองเสมอ คือ 

“แม้ว่าสินค้าและบริการของคุณจะดีแค่ไหนก็ตาม 

แต่ถ้าสิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาต้องการ คนเหล่านั้นก็จะไม่ซื้อสินค้าของคุณ”

“ลูกค้า” จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่คุณจะต้องศึกษา ทำความรู้จักและเข้าใจ การที่คุณมีสินค้าหรือบริการที่ดี แต่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการ ก็จะไม่เกิดยอดขาย ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องมือที่จะช่วยให้การวิเคราะห์ลูกค้าของคุณง่ายขึ้น มีดังต่อไปนี้

  • Customer Persona วิเคราะห์ลักษณะนิสัย ความชอบ ความต้องการ และปัญหาของลูกค้า
    • ข้อมูลพื้นฐาน    : ชื่อ อาชีพ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ
    • เป้าหมาย          : ความต้องการในสินค้าและบริการบางอย่างขณะนั้น
    • ปัญหาที่พบเจอ  : ปัญหาที่พบเจอ ประสบการณ์ไม่ดี ที่ทำให้เกิดความต้องการสินค้าบริการ
    • สื่อที่สนใจ         : บุคคลที่พวกเขาติดตาม เพจที่ติดตาม
  • Customer Journey การเดินทางของลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการนั้นๆ เช่น เริ่มต้นจากค้นหาบนเว็บไซต์ ศึกษาต่อบนโซเชียล ถามคนใกล้ตัว แล้วจึงตัดสินใจซื้อ เป็นต้น
  • Digital Touchpoint  แต่ละกิจกรรมประจำวัน แต่ละช่วงเวลา ลูกค้ารับชมข้อมูลหรือมีการใช้งานช่องทางไหนบ้าง 

ตัวอย่างการวิเคราะห์ลูกค้าของธุรกิจจำหน่ายชุดออกงาน แบบคร่าวๆ

  • Customer Persona คุณอลิส อายุ 30 ปี มีธุรกิจร้านอาหาร กำลังสนใจชุดเพื่อนเจ้าสาว แต่ประสบปัญหาลดน้ำหนักไม่ได้ จึงมองหาชุดที่สามารถพรางหุ่นเมื่อสวมใส่ ซึ่ง
  • Customer Journey คุณอลิสมักจะมีขั้นตอนก่อนซื้อสินค้า โดยค้นหาข้อมูลผ่านทาง Google ก่อน แล้วจึงศึกษาต่อผ่าน Instagram หรือ Facebook และซื้อสินค้าผ่าน Line
  • Digital Touchpoint คุณอลิสมักเปิดอีเมลตอนเช้า เล่น FB/IG ในตอนกลางวันและเย็น และดู Youtube ในช่วงค่ำ

ข้อมูลการวิเคราะห์ลูกค้าแบบคร่าวๆดังกล่าว ทำให้คุณสามารถนำเสนอสินค้าของคุณให้ตรงใจลูกค้าได้ โดยอาจจะนำเสนอคอนเทนต์ให้ความรู้ในหัวข้อ “5 เทคนิค เลือกเสื้อผ้าอย่างไรให้ดูผอมเพรียว” ผ่านทางเว็บไซต์ เพื่อทำให้ลูกค้ารู้จักแบรนด์และเชื่อถือในแบรนด์มากขึ้น นอกจากนี้คุณยังสามารถนำเสนอคอนเทนต์เป็นรูปภาพผ่านทาง Instagram และ Facebook ให้คุณอลิสได้รับชม ช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าใส่ชุดของร้านแล้วรูปร่างจะดูเพรียวขึ้นอย่างไร พร้อมทั้งใส่ช่องทางติดต่อเป็น Line@ ในทุกๆคอนเทนต์ด้วย การวิเคราะห์ลูกค้าก่อน เพื่อทำการตลาดนี้เอง ทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะปิดการขายให้กับลูกค้าอย่างคุณอลิสได้ค่ะ

ถ้าคุณรู้จักลูกค้าดีพอ คุณจะทำการตลาดได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตลาดออนไลน์ที่มีความสามารถในการติดตามและเก็บข้อมูลลูกค้า ยิ่งคุณเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้ามากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ ทำให้ง่ายที่จะดึงดูดใจ ปิดการขาย และทำให้พวกเขาบอกต่อ เป็นผู้ภักดีของแบรนด์ต่อไปได้ค่ะ

 

3. รู้จักตลาด (Channel)

digital-marketing-channel

 

Digital Marketing Channel หรือช่องทางในการทำการตลาดออนไลน์ เป็นพื้นที่ที่ลูกค้าจะได้เห็นคอนเทนต์ รวมไปถึงสินค้าและบริการของแบรนด์ จึงเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เกิดยอดขายในช่องทางออนไลน์ได้ ซึ่งช่องทาง (Channel) ส่งผลโดยตรงอย่างยิ่งกับ Content Marketing การนำเสนอสินค้าและบริการให้กับลูกค้าที่ใช่ ได้ถูกที่และถูกเวลา สามารถทำให้การตลาดบรรลุผล และส่งผลให้ปิดการขายได้ เหมือนคำกล่าวที่ว่า

“The key to success is to be in the RIGHT PLACE at the RIGHT TIME”

“กุญแจสู่ความสำเร็จ คือการอยู่ในสถานที่ที่ใช่ ณ เวลาที่เหมาะสม”

เมื่อพูดถึงช่องทาง (Channel) ในการทำการตลาดบนโลกออนไลน์ ผู้คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึง Facebook หรือ Instagram ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ยังมีช่องทางการทำการตลาดอื่นๆที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจเช่นกัน โดยต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายธุรกิจ ว่าพวกเขาอยู่ในช่องทางใดบ้าง 

ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้มีเพียงแค่โซเชียลมีเดียเพียงอย่างเดียว ตัวอย่างช่องทางอื่นๆเช่น Website, Messenger รวมไปถึง Email ก็เป็นช่องทางที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดีเช่นกัน เพราะเป็นช่องทางที่คนส่วนใหญ่มีความสนใจ และแน่ใจว่าต้องการสินค้าและบริการนั้นๆแล้ว จึงค้นหาหรือเปิดอ่านอีเมล

ท้ายที่สุดสิ่งสำคัญคือ “คุณต้องเลือกช่องทางให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายด้วยนั่นเอง”

อย่างไรก็ตาม ยังมีรายละเอียดอีกหลายอย่างที่เกี่ยวข้องและส่งผลต่อการเลือกช่องทางในการทำการตลาด และนี่คือตัวอย่างสิ่งที่ธุรกิจควรรู้ เกี่ยวกับช่องทางในการทำการตลาดออนไลน์

  • การตลาดออนไลน์ทำได้หลายช่องทางมากกว่าแค่ Facebook หรือ Instagram
  • ควรรู้สถิติการใช้งาน เพื่อมองเห็นแนวโน้มพฤติกรรมของผู้ใช้ออนไลน์ที่เปลี่ยนไป เพื่อปรับตัวได้ทันเหตุการณ์
  • รู้พฤติกรรมของผู้ใช้ในช่องทางนั้นๆ เพื่อเลือกช่องทางให้เหมาะสมกับลูกค้า และเหมาะสมกับเป้าหมาย
  • รู้ประเภทของคอนเทนต์ที่เหมาะสมกับแต่ละช่องทาง เพื่อนำเสนอรูปแบบที่สามารถให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุดได้

นอกจากนี้ ในแต่ละช่องทางยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จและผลลัพธ์ของช่องทางนั้นๆอย่างเช่น Website ที่ธุรกิจจะต้องศึกษาควบคู่ไปกับ SEO (Search Engine Optimization) และ SEM (Search Engine Marketing) ซึ่งเป็นระบบการค้นหาเว็บไซต์บนโลกอินเตอร์เน็ต ที่ส่งผลให้ผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มอย่าง Google พบเจอเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งหมายถึงการเพิ่มโอกาสที่ผู้ใช้งานจะได้เห็นสินค้าและบริการของแบรนด์มากขึ้นด้วยค่ะ

 

4. รู้จักประเมินผลลัพธ์ (KPI)

digital-marketing-KPI

 

เมื่อคุณรู้จักแบรนด์ เข้าใจลูกค้า และเลือกช่องทางได้เหมาะสมแล้ว คุณก็จะมองเห็นแนวทาง และรูปแบบของการทำการตลาดที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจได้ง่ายและตรงจุดมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม

“จะรู้ได้อย่างไรว่า การตลาดที่เราทำ ไม่ว่าจะเป็นคอนเทนต์ที่ผลิตออกไป  

หรือแคมเปญเพื่อทำโฆษณาต่างๆนั้น ให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อธุรกิจจริงหรือไม่”

ด้วยเหตุผลต่างๆที่กล่าวไปข้างต้น ธุรกิจจึงควรมีตัวชี้วัด ซึ่งก็คือ KPIs (Key Performance Indicators) สำหรับการทำการตลาดออนไลน์ในแต่ละครั้ง เพื่อชี้วัดว่า สิ่งที่เราผลิตออกไปก่อให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจหรือไม่อย่างไรได้

ตัวอย่างเช่น ในวันนี้ธุรกิจคุณกำลังทำการตลาดด้วยคอนเทนต์ประเภทวิดีโอ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อ “Brand Awareness” คุณก็อาจจะต้องวัดผลวิดีโอนี้ด้วยจำนวนการปรากฏ (Impression) จำนวนการรับชม (View) และระยะเวลาในการชม (Watch time) เพื่อวัดผลว่าคอนเทนต์ของคุณมีคนพบเห็นเยอะหรือไม่ และพวกเขาสนใจที่ดูหรือเปล่า และรับชมนานแค่ไหน เพื่อวิเคราะห์ว่าคอนเทนต์ของคุณนี้ดีหรือไม่ พัฒนาต่อไปอย่างไรได้ค่ะ

อย่างไรก็ตาม ด้วยช่องทางที่ใช้เพื่อสื่อสารให้บรรลุเป้าหมายของธุรกิจนั้นมีมากมาย ทำให้ข้อมูลที่เราต้องวัดผล เยอะจนไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน งบประมาณที่ทุ่มไป ไอเดียที่สร้างสรรค์ไว้ในช่องทางออนไลน์ อาจจะไม่คุ้มค่า ถ้าเราไม่เข้าใจวิธีการต่อยอดจากผลลัพธ์ที่ได้ ให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด

ทาง Stepstraining จึงได้สร้างสรรค์หลักสูตร Data Analytics for Digital Campaign นี้ขึ้นมา เพื่อให้คุณ

  • วางแผนได้
  • วัดผลเป็น
  • ใช้เครื่องมือวัดผลอย่างมีประสิทธิภาพ
  • และพัฒนากลยุทธ์การตลาดได้อย่างเฉียบคม

วิเคราะห์ข้อมูลอย่างเฉียบคมไปกับ Data Analytics for Digital Campaign ตามลิงก์รายละเอียดด้านล่างได้เลยค่ะ

https://stepstraining.co/digital-marketing-analytics

 

5. รู้ถึงความสำคัญของทีม (Team)

digital-marketing-team

 

ปัจจุบัน เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า โลกของเราตอนนี้เข้าสู่ยุคดิจิทัลแทบจะเต็มตัว ธุรกิจต่างๆ ได้วางกลยุทธ์เข้าสู่ออนไลน์กันเกือบหมด หลายบริษัทมีการตั้งทีม Digital Marketing เป็นของตัวเอง หลายบริษัทจ้าง Outsource ให้บริษัท Agency ดำเนินการให้ ทั้งนี้ทั้งนั้น การที่เรามีทีมเป็นของตัวเองย่อมดีกว่า เพราะการจ้าง Agency ซึ่งดูแลงานอยู่หลายเจ้า อาจจะไม่ได้โฟกัสมาที่บริษัทเราอย่างเต็มที่ การที่เรามีทีมเป็นของตนเองจึงสามารถโฟกัส และบริการจัดการได้เต็มประสิทธิภาพกว่า

ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ตำแหน่งหลักๆด้าน Digital Marketing ที่ควรมีในทีม มักจะมีดังต่อไปนี้

  1. Strategic Planner หรือ Head of Digital Marketing ดูแลภาพรวม และเป็นนักวิเคราะห์ วางกลยุทธ์ วางแผนสร้างแคมเปญต่างๆ 
  2. Content Creator คนคิดเรื่องราวหลังจากรับบรีฟจากนักวางแผนกลยุทธ์ มีหน้าที่วางโครงเรื่องและเขียนคอนเทนต์
  3. Graphic Design ออกแบบภาพกราฟฟิกให้เหมาะสมกับช่องทางออนไลน์
  4. Online Community Manager ผู้ดูแลชุมชนออนไลน์ของแบรนด์ ดูแลทุกช่องทางไม่ว่าจะเป็น Social Media หรือทางด้าน Website
  5. Ads Manager ผู้จัดการดูแลโฆษณา คือคนที่รู้วิธีการทำโฆษณาใน Social Media ต่างๆ รวมถึงโฆษณาใน Google
  6. Researcher ประเมินสำเร็จของแบรนด์บนโลกดิจิตอล โดยการคำนวณจาก Engagement, Conversion และ Sales ที่ผ่านมา หาข้อผิดพลาดของกลยุทธ์ เพื่อให้ Ads Manager และ Content Creator ใช้เป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์และคิดสร้างสรรค์ต่างๆ 

นอกจากการมีผู้เชี่ยวชาญในตำแหน่งที่สำคัญๆแล้ว การจัดระบบทีมงานด้านดิจิทัล (Digital Business Structures) ต้องทำให้มีความเหมาะสมกับขนาดของธุรกิจ สถานที่ตั้งของแต่ละสาขาของบริษัท รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เมื่อมีการจัดระบบทีมงานด้านดิจิทัลได้เหมาะสมแล้ว ก็จะสามารถประเมินทักษะของบุคลากร เพื่อจัดวางให้เหมาะสมในแต่ละส่วนขององค์กรได้ค่ะ 

และนี่คือ 5 ปัจจัยหลักในการทำการตลาดออนไลน์ ที่ธุรกิจควรจะมี อย่างไรก็ตาม 5 ปัจจัยดังกล่าวเป็นเพียงภาพรวมที่สรุปขึ้นมาให้ผู้อ่านเห็นภาพใหญ่ได้ง่ายมากขึ้น ว่า Digital Marketing มีองค์ประกอบสำคัญอะไรบ้าง ซึ่งในลำดับถัดไปยังมีรายละเอียดอีกหลายๆอย่างที่แทรกอยู่ในนั้น ซึ่งทาง Stepstraining ได้รวบรวมทักษะที่จะเปลี่ยนแปลงคุณให้กลายเป็นนักการตลาดยุคดิจิทัลที่มีความสามารถเอาไว้อันประกอบไปด้วย

  • กลยุทธ์
  • การสร้างแบรนด์
  • ทำความรู้จักตัวตนของลูกค้า
  • ทำการตลาดด้วยคอนเทนต์
  • การใช้ผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์ (Influencer)
  • ระบบการขายบน E-Commerceและ Social Media
  • ระบบค้นหาเว็บไซต์บนโลกอินเตอร์เน็ต (SEO/SEM)
  • การสร้างทีมดิจิทัลมาเก็ตติ้ง 
  • การบริหารงานร่วมกับ Agency ให้ได้ประสิทธิภาพ 

ทุกๆทักษะความรู้ด้าน Digital Marketing ทั้งหมดนี้

จะอยู่ในคอร์ส DMS (Digital Marketing Specialist) ทั้ง 6 สัปดาห์ ซึ่งจะถูกถ่ายทอดผ่านวิทยากรที่เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆโดยเฉพาะ และสอดแทรก Work shop ที่จะทำให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในการทำธุรกิจ และเข้าใจในเนื้อหามากขึ้นกว่าการนั่งบรรยายธรรมดาๆ

ซึ่งเนื้อหาสำคัญในแต่ละสัปดาห์มีดังต่อไปนี้ค่ะ

สัปดาห์ที่  1 : Digital Strategy

สัปดาห์ที่  2 : Digital Customers Personas & Influencer Marketing

สัปดาห์ที่  3 : Social Media Marketing Strategy & Digital KPI 

สัปดาห์ที่  4 : E-Commerce & Search PPC

สัปดาห์ที่  5 : Search Engine Marketing

สัปดาห์ที่  6 : Digital Marketing Team Development & How to due with Agency

สามารถอ่านรายละเอียดหลักสูตร หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

https://stepstraining.co/digital-marketing-specialist

 

ที่มา

https://www.klood.com/blog/inbound/how-to-set-your-goals-as-part-of-your-digital-marketing-strategy

https://crossovercreative.com/perspectives/brand-positioning/

https://www.infoentrepreneurs.org/en/guides/know-your-customers–needs/

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

แกะวิธีคิด การสร้างยอดขายผ่านธุรกิจ B2B ในยุคดิจิทัล จากคุณเล็ก กฤตนัน ผู้ก่อตั้งเพจ Sales101
วางกลยุทธ์ Video Marketing ให้คนรู้จักและรักแบรนด์มากขึ้น ด้วยโมเดล “Hero Hub Help”