4 องค์ประกอบสำคัญในการตั้งเป้าหมายเมื่อคุณเริ่มต้นวางกลยุทธ์ Digital Marketing

4-key-help-marketing-strategy

การเริ่มต้นที่ดีในการทำ Digital Marketing นั้นเป็นอย่างไร? และต้องมีองค์ประกอบใดบ้าง? 

หลายๆท่านอาจเข้าใจผิดว่าการทำ Digital Marketing นั้นคงไม่ได้มีอะไรมาก เพียงแค่การทำการตลาดผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย หรือการทำโฆษณาผ่านช่องทางต่างๆเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วมีองค์ประกอบสำคัญอีกหลายๆองค์ประกอบ ที่ทำให้การทำการตลาดออนไลน์ของคุณนั้นมีประสิทธิภาพที่ดี และส่งผลต่อธุรกิจของคุณในระยะยาว จะขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นภาพนะคะ

ธุรกิจ A ทำการตลาดโดยการทำโฆษณาผ่านช่องทาง Facebook เพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่รู้ว่าลูกค้าของตนเองเป็นกลุ่มไหน เน้นการยิงโฆษณาออกไปให้เยอะที่สุด โดยไม่ได้วางกลยุทธ์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลว่าแท้จริงแล้วลูกค้าของธุรกิจ คือใคร เขามีความต้องการแบบไหน การสื่อสารที่ออกไปนั้นจึงไม่ตรงต่อความต้องการหรือความสนใจที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลให้เสียค่าใช้จ่ายและเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

หลายท่านคงเห็นความสำคัญของการเริ่มต้นในการวางแผนที่ดีและการเห็นภาพรวมของ Digital Marketing แล้วใช่ไหมคะ ว่าธุรกิจ B มีการวางแผนภาพรวมที่ชัดเจนดังนี้

  1. รู้จักตนเอง (Goal & Brand) 
  2. รู้จักลูกค้า (Customer) 
  3. รู้จักตลาด (Channel) 
  4. มีการวัดผลลัพธ์ (KPI) 
  5. มีทีมที่ดี (Team)

บทความแนะนำ 
5 ปัจจัยสำคัญ สำหรับผู้เริ่มต้นทำ Digital Marketing ให้คุณเห็นภาพรวมและพร้อมเติบโตในยุคดิจิทัล
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://stepstraining.co/strategy/5-factor-digital-marketing

หนึ่งสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการทำ Digital Marketing เป็นสิ่งที่ทุกๆท่านที่ต้องการเริ่มต้นทำ Digital Marketing นั้นก็คือ “การเข้าใจภาพรวม”  และ “การตั้งเป้าหมาย” แต่จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง วันนี้ทีมงาน STEPS Academy จะมาเล่าให้ฟังกันค่ะ ใครที่ไม่มีพื้นฐานหรือเพิ่งเริ่มต้นนั้น ห้ามพลาดกันเลยทีเดียวค่ะ 

 

4 องค์ประกอบสำคัญ เมื่อคุณเริ่มต้นทำ Digital Marketing

  1. กำหนดเป้าหมายการตลาดดิจิทัลของคุณ 
  2. ระบุกลยุทธ์การตลาดที่จะบรรลุเป้าหมายของคุณ Customer Value Journey
  3. ช่องทางในการสื่อสาร
  4. นำแผนไปปฏิบัติและจ่ายงานสู่ทีม

 

กำหนดเป้าหมายการตลาดดิจิทัลของคุณ 

การตั้งเป้าหมายในการทำ Digital Marketing ที่เฉพาะเจาะจงนั้น จะช่วยสนับสนุนการตั้งเป้าหมายในระยะยาวสำหรับธุรกิจของคุณ จึงทำให้เครื่องมือ SMART เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายและถูกประเมินว่าเหมาะสมสำหรับการผลักดันให้เกิดกลยุทธ์ที่แตกต่างหรือปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจที่จะช่วยให้คุณสามารถสมหวังในเป้าหมายของคุณได้ โดยการเชื่อมโยง เป้าหมาย กลยุทธ์และ การวัด KPI เอาไว้เพื่อตรวจสอบความคืบหน้าได้อย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ

 

SMART Goal

SMART-Marketing-Objectives

ภาพจาก : https://www.smartinsights.com/goal-setting-evaluation/goals-kpis/define-smart-marketing-objectives/

1.Specific เจาะจง

การมีเป้าหมายที่เจาะจงและชัดเจน จะสามารถนำให้ทีมของคุณไปถึงปลายทางได้ และมองเห็นเป้าหมายเป็นจุดเดียวกันทำให้เกิดแรกผลักดันและขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียว ส่งผลให้คุณสามารถบรรลุเป้าหมายได้ตามเวลาที่คุณกำหนดไว้โดยที่ไม่เสียเวลาในการลองผิดลองถูก 

2.Measurable สามารถวัดผลได้

การตั้งเป้าหมายนั้นต้อง “สามารถวัดผลได้” ซึ่งคุณสามารถติดตามและประเมินความก้าวหน้าของเป้าหมายได้ รู้ว่าเป้าหมายนั้นเป็นไปได้ รู้ว่าใช้เวลาอีกเท่าไหร่ เมื่อใดที่คุณจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ 

3.Attainable เป็นไปได้

การตั้งเป้าหมายนั้นต้องมีความเป็นไปได้จากการประเมินความสามารถและศักยภาพขององค์กรตามความเป็นจริง ก่อนการตั้งเป้าหมายเพื่อดูถึงโอกาสความเป็นไปได้ โดยการตั้งเป้าหมายต้องออกมาจากการวิเคราะห์สถิติหรือฐานข้อมูลจริงขององค์กร ไม่ใช่การนำมาตราฐานทั่วไปหรือแค่สิ่งที่คุณต้องการนำมาใช้

4.Relevant สมเหตุสมผล

การตั้งเป้าหมายควรเกี่ยวข้องกับบริษัทและอุตสาหกรรมของคุณ มีความสมเหตุสมผลและเป็นเหมือนส่วนหนึ่งของเป้าหมายทีม เพื่อให้คุณตระหนักถึงการตั้งเป้าหมายได้อย่างแท้จริง ในการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน

5.Time Based ทันเวลา

ช่วยให้คุณทำตามเป้าหมายได้ภายในเวลาที่กำหนด  การกำหนดเป้าหมายที่ดีนั้นจะต้องไม่ใช้เวลาที่นานเกินไป และการกำหนดเวลาในการทำงานของคุณ จะช่วยให้ทำตามเป้าหมายได้ดีขึ้น และส่งผลให้ทีมของคุณสามารถทำงานบรรลุเป้าหมายได้ซึ่งมีความสำคัญในระยะยาว

ตัวอย่าง

เป้าหมาย : เพิ่มจำนวนผู้อ่านคอนเทนต์

1.Specific : ต้องการเพิ่มอัตราการเข้าชม Blog ของเราโดยการเพิ่มความถี่ในการเผยแพร่คอนเทนต์ต่อสัปดาห์จาก 5 ครั้งเป็น 8 ครั้ง ต่อสัปดาห์ นักเขียนคอนเทนต์ทั้งสองของเราจะเพิ่มภาระงานของพวกเขาจากการเขียน 2 โพสต์ ต่อสัปดาห์เป็น 3 โพสต์ต่อสัปดาห์และบรรณาธิการของเราจะเพิ่มภาระงานของเธอจากการเขียน 1 โพสต์ต่อสัปดาห์เป็น 2 โพสต์ต่อสัปดาห์

2.Measureable : เป้าหมายคือต้องการเพิ่มอัตราการเข้าชม Blog เพิ่มขึ้น 8% 

3.Attainable : ปริมาณการใช้งาน Blog ของเราเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเดือนที่แล้ว เมื่อเราเพิ่มความถี่ในการเผยแพร่จาก 3 ครั้ง เป็น 5 ครั้งต่อสัปดาห์ 

4.Relevant : ด้วยการเพิ่มการเข้าชม Blog เราจะเพิ่มการรับรู้แบรนด์และสร้างโอกาสในการขายเพิ่มขึ้นทำให้มีโอกาสในการปิดการขายมากขึ้น

5.Time – bound : โดยเริ่มต้นจากเดือนกรกฎาคม และทำให้ได้เป้าหมายภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 

 

กลยุทธ์การตลาดที่จะบรรลุเป้าหมายของคุณ (Customer Value Journey)

ทำไมกลยุทธ์การตลาดนั้นถึงเกี่ยวข้องกับการเดินทางของลูกค้า ?

เพราะว่าก่อนที่คุณจะเริ่มต้นในการทำการตลาดนั้นคุณจะต้องรู้ก่อนว่าลูกค้าของคุณคือใคร? พวกเขาอยู่ที่ไหน? จะซื้ออะไร? และการที่เรารู้ว่า การเดินทางของลูกค้าตั้งแต่การเป็นคนแปลกหน้าสำหรับแบรนด์ จนกลายเป็นแฟนพันธุ์ของแบรนด์นั้นมีการเดินทางอย่างไรบ้าง จะทำให้เราสามารถรู้กระบวนการแต่ละขั้นตอนสำหรับการดึงดูดและเปลี่ยนจากคนแปลกหน้าให้กลายเป็นลูกค้าที่ชื่นชอบและรักเรา ซึ่ง Customer Value Journey นั้นคือเส้นทาง 8 ขั้นตอนมีอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ

Customer-Value-Journey-Worksheet

1.Awareness (การรับรู้)

ขั้นตอนแรกชัดเจนคุณจะต้องอยู่ในเรดาร์ของลูกค้า ที่เกิดขึ้นได้จาก การโฆษณา, บล็อกโพสต์, งานกิจกรรม, การบอกต่อ, โซเชียลมีเดีย, หรือช่องทางใดก็ตามที่คุณสามารถนำเสนอสินค้าบริการหรือสิ่งที่คุณสามารถช่วยแก้ปัญหาของลูกค้าเป้าหมายของคุณได

2.Engagement (การมีส่วนร่วม)

การสร้างการมีส่วนร่วมคือการกำหนดความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์หรือคำมั่นสัญญา ซึ่งเกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์หรือความผูกพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า ซึ่งในขั้นตอนนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่ลูกค้าได้มีส่วนร่วมกับแบรนด์ครั้งแรก จะเปิดโอกาสในการดำเนินการต่อผ่านประสบการณ์ทั้งหมดกับแบรนด์ของเราอาจเป็นการสนทนาที่ต่อเนื่องที่เรามีกับลูกค้าในหลายๆช่องทางเช่น การทำ Blog หรือการส่งบทความความรู้ผ่านอีเมลให้ลูกค้า

3.Subscribe (การติดตาม)

เมื่อลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีกับแบรนด์แล้วจะเกิดความไว้วางใจหลังจากนั้น เราอาจเพิ่มความสัมพันธ์ที่มากขึ้นโดยการนำเสนอลูกค้าให้สมัครสมาชิกกับแบรนด์โดยมีข้อเสนอที่ดีหรือให้คำมั่นสัญญากับลูกค้า แลกกับการขออีเมลเพื่อส่งข้อมูลหรือบทความเกี่ยวกับแบรนด์ไปให้ ซึ่งปัญหาเพียงอย่างเดียวของขั้นตอนนี้คือ วันนี้ผู้คนระมัดระวังเกี่ยวกับการให้อีเมลของพวกเขา ดังนั้นเราจะต้องนำเสนอสิ่งที่คุ้มค่าเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ที่เขาจะยินยอมให้อีเมลแก่เรา

4.Convert (การสร้างลูกค้า)

หากข้อเสนอของคุณมีคุณค่าเพียงพอที่จะช่วยแก้ปัญหาแก่ลูกค้า พวกเขาก็พร้อมที่จะเพิ่มความสัมพันธ์กับแบรนด์มากขึ้น เพียงขอแค่คุณบอกวิธีการ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือการเริ่มต้นนำเสนอสิ่งที่ช่วยให้พวกเขาได้ลองสินค้าหรือบริการของแบรนด์ในครั้งแรกก่อนเช่น ฟอกฟันขาวครั้งแรกในราคา 500 บาท และแน่นอนในขั้นตอนนี้คุณอาจยังคาดหวังเรื่องของกำไรไม่ได้เพราะเป็นขั้นตอนที่ทำให้ลูกค้าของคุณลองเปิดใจรับสินค้าบริการของก่อนเพื่อนำไปสู่การขายที่แท้จริง

5.Excite (ทำให้ลูกค้าตื่นเต้นกับแบรนด์ของคุณ)

การสร้างความรู้สึกตื่นเต้นและส่งมอบประสบการณ์ที่น่าจดจำแก่ลูกค้าใหม่ของคุณ เมื่อเขาซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ เช่นร้านทำผม ย้อมผมครั้งแรกแถมบริการทำเล็บให้ฟรี จะทำให้พวกเขารู้สึกประทับใจหรือรู้สึกดีในการที่จะเป็นลูกค้าของเรา ซึ่งการสร้างความตื่นเต้นนั้น จะเป็นการทำให้คุณสามารถชนะใจพวกเขาได้ และกระตุ้นให้พวกเขาอยากรู้จักและอยากใช้บริการของคุณอีก

6.Ascend (การซื้อซ้ำ)

ในขั้นตอนนี้เป้าหมายคุณคือสร้างการซื้อซ้ำหรือการจัดโปรโมชั่น สิ่งที่กระตุ้นลูกค้าให้เกิดการอยากซื้อซ้ำหรือใช้สินค้าของเราอย่างต่อเนื่องและเป็นขั้นตอนที่ได้กำไรแท้จริง ซึ่งข้อเสนออาจเป็นเรื่องง่ายๆที่เกิดขึ้นหลังจากการซื้อสินค้าครั้งแรก ด้วยตัวเลือกที่ดีกว่า เช่น หากวันนี้คุณซื้อโน๊ตบุ๊ค ราคา 28,000 บาทเพิ่มอีก 1,000 บาทได้การรับประกันเครื่องหากเกิดปัญหาในระยะเวลา 3 ปี 

7.Advocate (การบอกต่อ)

เมื่อเราสามารถสร้างความประทับใจหรือประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า พวกเขาจะมีความสุขและอยากที่จะแบ่งปันประสบการณ์หรือการบอกต่อแก่คนอื่น สิ่งที่ยอดเยี่ยมคือเมื่อไหร่ที่พวกเขาบอกต่อแก่ผู้อื่น นั่นหมายความว่าพวกเขาจะภักดีต่อแบรนด์ของคุณมากขึ้น ดังนั้นในขั้นตอนนี้ของการเดินทางของลูกค้าคือการทำให้ลูกค้าคุณอยากแบ่งปันประสบการณ์เชิงบวกกับแบรนด์ของคุณ โดยการเขียนรีวิว หรือแชร์โพสต์ในโซเชียลมีเดีย

8.Promote (การทำให้ลูกค้าเป็นผู้สนับสนุนเรา)

ในขั้นตอนนี้ความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้ามีความแน่นแฟ้นมากขึ้นทำให้ลูกค้าของคุณจะกระจายข่าวเกี่ยวกับแบรนด์ ผลิตภัณฑ์และบริการของคุณอย่างแข็งขัน พวกเขาบอกเล่าเรื่องราวแนะนำ และแบ่งปันข้อเสนอของคุณ เพราะพวกเขาเชื่อในแบรนด์อย่างแท้จริง

ตัวอย่าง : ธุรกิจโรงแรม

1.Awareness สร้างการรับรู้โดยเลือกส่งโฆษณาไปในช่วงวันหยุดยาวให้แก่กลุ่มพนักงานประจำ และพูดถึงห้องพักและบรรยากาศในโรงแรมว่ามีอะไรเป็นพิเศษเหมาะสมสำหรับคนที่ต้องการพักผ่อนหลังจากทำงานมาเป็นเวลานาน และการพักผ่อนครั้งนี้จะทำให้เรากลับมาทำงานได้อย่างเต็มที่ 100% อีกครั้ง

2.Engagement สร้างคอนเทนต์แนะนำกิจกรรมที่มีภายในโรงแรม ว่ามีกิจกรรมใดบ้างที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มที่ไปกับเพื่อนที่ต้องการเวลาพักผ่อนและมีกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกัน หรือมีสถานที่ท่องเที่ยวใดน่าสนใจที่อยู่ใกล้ๆกับโรงแรม

3.Subscribe การให้โปรโมชั่นส่วนลดห้องพักแลกกับข้อมูลอีเมลเบอร์โทรของลูกค้าซึ่งมีมูลค่าพอต่อความต้องการของลูกค้า

4.Convert การแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวหรือการส่งโปรโมชั่นดีๆให้ลูกค้าในแต่ละเทศกาล จะทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจและต้องการที่จะใช้บริการของเรา

5.Excite การสร้างความตื่นเต้นแก่ลูกค้า โดยเมื่อลูกค้าตกลงจองห้องพักกับเรา แล้วทำการส่งวิดีโอโปรโมทกิจกรรมประจำเดือนนั้นไปให้ลูกค้าชมว่ามีการแสดงหรือกิจกรรมพิเศษ ตัวอย่างเช่น กิจกรรมเดือนนี้เป็นปาร์ตี้ริมทะเล เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความตื่นเต้นที่จะมาพักโรงแรมของเรา

6.Ascend เมื่อคุณสามารถสร้างความประทับใจแก่ลูกค้าใหม่ที่เพิ่งมาใช้บริการของคุณครั้งแรก แล้วในครั้งต่อไปคุณอาจส่งคูปองส่วนลดที่สามารถอัปเกรดห้องพักของคุณได้ เพียงจ่ายเพิ่มแค่ไม่กี่บาท เป็นการกระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกว่าต้องกลับไปใช้บริการอีกครั้ง

7.Advocate เมื่อลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่พิเศษและเกิดความประทับใจ ลูกค้าจะเกิดการบอกต่อหรือทำการถ่ายรูปหรือวิดีโอความประทับใจแชร์ผ่านโลกโซเชียล ก็เป็นเหมือนการบอกต่อสู่คนอื่นๆ

8.Promote จากความประทับสู่การแนะนำ และขั้นสุดท้ายลูกค้าที่จงรักภักดีต่อแบรนด์ของเราจะทำการประชาสัมพันธ์ข่าวต่างๆเกี่ยวกับโรงแรมของเรา หรือมีกิจกรรมใดที่น่าสนใจบ้างในช่วงนี้ จะทำให้เกิดการขยายการรับรู้เพิ่มมากขึ้นซึ่งบางครั้งอาจเกิดเป็นการตกลงซึ่งกันว่าถ้าลูกค้าทำวิดีโอแนะนำโรงแรมของเราจะได้รับสิทธิพิเศษหรือหากแนะนำลูกค้าให้มาพักของโรงแรมเราได้จะมีการให้ค่าคอมมิชชั่นจำนวน X% 

Media

การเริ่มต้นทำ Digital Marketing นั้นเราต้องรู้จักช่องทางในการทำการตลาด ซึ่งเป็นช่องทางออนไลน์ต่างๆ ที่ใช้ในการทำการตลาด หรือให้บริการลูกค้า

media-difference-chart

ภาพจาก : https://www.allbusiness.com/the-differences-between-paid-earned-owned-and-shared-media-4246-1.html

1.Owned Media (สื่อที่เราเป็นเจ้าของ)

คือ สื่อออนไลน์ใดก็ตามที่คุณสามารถควบคุม โดยเฉพาะเว็บไซต์ของแบรนด์คุณเอง และคอนเทนต์ต่างๆที่คุณทำออกมา(เรื่องราวของแบรนด์) ตัวอย่างเช่น ไฟล์ที่คุณทำออกมาให้ดาวน์โหลดผ่านเว็บไซต์ บล็อก อีเมล ซึ่งกลยุทธ์นี้เป็นการลงทุนแบบระยะยาว

ตัวอย่าง Red Bull หรือ กระทิงแดง เครื่องดื่มชูกำลังที่หลายๆท่านคุ้นเคย ได้กลายเป็นที่รู้จักในเรื่องของกีฬาผาดโผนมากกว่าเครื่องดื่มชูกำลังที่ขาย ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับกลุ่มคนที่ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังสนใจหรือชื่นชอบในความตื่นเต้น แทนที่ Red Bull จะสร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องดื่มชูกำลัง แต่ Red Bull ได้ดึงดูดผู้ชมด้วยคอนเทนต์และวิดีโอเกี่ยวกับกีฬาผาดโผนต่างๆ ผ่านกลุ่มชุมชนที่ชื่นชอบกีฬาผาดโผน

ในแคมเปญการตลาด Red Bull นั้นให้แนวคิดเราว่า สิ่งที่เราขาย ไม่ได้เป็นกลยุทธ์คอนเทนต์ที่เหมาะสมที่สุดเสมอในการสื่อสารออกไป แต่เป็นวิถีชีวิตที่ลูกค้าของคุณอาศัยอยู่ หรือกิจกรรมที่เขาชื่นชอบอย่างที่ Red Bull ได้ใช้คอนเทนต์กิจกรรมผาดโผนในการสื่อสารผ่านเว็บไซต์ของแบรนด์ซึ่งเป็น Owned Media ค่ะ

red bull

ภาพจาก : https://blog.hubspot.com/marketing/digital-strategy-guide

2.Paid Media (สื่อโฆษณา)

โฆษณา Facebook, Google Adwords, แบนเนอร์โฆษณาและรูปแบบอื่นๆ ของการโปรโมทออนไลน์แบบอื่นๆที่อยู่ในหมวดหมู่ของสื่อที่มีค่าใช้จ่ายต้องชำระ ซึ่งโฆษณาออนไลน์สามารถกำหนดเป้าหมายแบบลึกได้เพื่อเข้าถึงลูกค้าคุณได้โดยตรงมากขึ้นและสามารถติดตามการใช้งานบนเว็บไซต์

ตัวอย่าง Grammarly ซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้คุณตรวจสอบการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องได้สร้างแคมเปญโฆษณาในการสร้างแบรนด์ผ่านบนช่องทาง Facebook ซึ่งเป็นช่องทางของ Paid Media ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากข้อมูลจาก AdEspresso กล่าวว่ามีผู้ชมโฆษณามากกว่า 5 ล้านคนและ ค่า CPM – Cost per Impressions ลดลงถึง 76% ในการทำแคมเปญโฆษณา แล้วทำไมแคมเปญนี้ถึงประสบความสำเร็จ?

เพราะว่า Grammarly ได้มีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนก่อนการเริ่มทำแคมเปญนั้นก็คือ การสร้างแบรนด์ ทำให้ Grammarly ต้องออกแบบแคมเปญที่ดึงดูดผู้ชมจำนวนมาก ซึ่งได้ใช้วิธีการเล่าเรื่อง หรือ Brand Storytelling ผ่านเรื่องราวของคุณ Kaz Matsune ผู้ใช้งาน Grammarly จริง ที่เป็นทั้งพ่อครัวทำซูชิ คุณครู และนักเขียน และปิดท้ายวิดีโอด้วยการเน้นประโยค CTA – Call to Action ที่ทรงพลังด้วยคำว่า “Write the Future” หรือ “เขียนอนาคตของคุณ” ซึ่งเป็นคำสั้นๆที่สร้างแรงบันดาลใจที่ส่งต่อไปยังผู้ชมวิดีโอ

Learn More About Grammarly

Meet Kaz Matsune: a sushi chef, a teacher, an author, and a Grammarly user.

โพสต์โดย Grammarly เมื่อ วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2018

บทความแนะนำ 

13 สูตรคำนวณ KPIs ใช้วัดผลแคมเปญโซเชียลมีเดีย เพื่อต่อยอดกลยุทธ์ทางธุรกิจ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://stepstraining.co/analytics/13-formula-social-media-kpi

7 สูตรการเล่าเรื่อง Storytelling ให้แบรนด์ของคุณเป็นที่น่าจดจำ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://stepstraining.co/content/7-formula-storytelling

3.Earned Media (สื่อที่เกิดจากการบอกต่อ)

Earned Media คือ การตลาดแบบปากต่อปาก การบอกต่อ หรือการถูกกล่าวถึงบนโลกออนไลน์ในเชิงบวก ไม่ว่าจะเป็นการพูดถึงคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับคุณจากเว็บไซต์อื่น หรือบนโซเชียลมีเดีย การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์หรือบริการ และโพสต์จากผู้เยี่ยมชม ซึ่งถือว่าเป็นการตลาดรูปแบบหนึงที่มีผู้อื่นกล่าวถึงคุณบนออนไลน์โดยจะลิงก์กลับมาที่เว็บไซต์ของคุณ

ตัวอย่าง แบรนด์ที่มีคอนเทนต์จากผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก และมีการพูดถึงบนช่องทางต่างๆ เป็นอย่างมากนั้นก็คือแบรนด์ GoPro กล้องน้ำหนักเบา ขนาดเล็กที่คุณสามารถถพกไปทุกที่เพื่อบันทึกประสบการณ์และช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นที่สุดในชีวิตคุณ และคุณรู้หรือไม่คะ ว่าวิดีโอที่คุณเห็นในช่องทาง Youtube ของ GoPro นั้นไม่ได้สร้างจากทาง GoPro แต่มาจากผู้ใช้งานที่ชื่นชอบในแบรนด์

GoPro ได้มีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำโฆษณา 3 อย่างนั้นก็คือ การสร้างฐานแฟนคลับ โฆษณาสิ่งที่กล้อง GoPro สามารถทำได้ และเพื่อเพิ่มยอดขาย โดยการสนับสนุนให้แฟนๆถ่ายวิดีโอการผจญภัยของพวกเขาและแบ่งปันประสบการณ์ผ่านการโพสต์ในช่องทาง Youtube และติดแท็กลงในวิดีโอ เพื่อใช้เป็นพื้นที่รวบรวมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เสมือนการรีวิวสินค้าโดยผู้ใช้จริงจำนวนมาก นำมาสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้น

4.Social Media (เครือข่ายสังคมออนไลน์)

โซเชียลมิเดีย คือช่องทางใดๆที่องค์กรหรือธุรกิจของบุคคลที่สามเป็นเจ้าของ แต่อนุญาตให้ผู้ใช้งานสร้างคอนเทนต์ แพลตฟอร์มที่หลายๆท่านรู้จักเป็นอย่างดี ได้แก่ FacbookInstagramTwitterYouTubeLinkedIn หรือ Pinterest โดยทั่วไปแล้วแพลตฟอร์มเหล่านี้จะใช้เพื่อเพิ่มการรับรู้แบรนด์ หรือสร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้าคุณ

ตัวอย่าง Dove ผลิตภัณฑ์ที่สาวๆคุ้นเคยกันได้สร้างแคมเปญระดับโลกที่เปิดตัวครั้งแรกเมื่อ 15 ปีก่อน แต่มันกลายเป็นมากกว่าแค่แคมเปญแต่ส่วนหนึ่งของภารกิจองค์กรไปแล้วกับแคมเปญ Self Esteem ซึ่ง Dove ได้สนับสนุนให้ผู้ใช้อวดความงามของพวกเขาผ่านการแชร์รูปภาพด้วยการติดแฮชแท็ก #RealBeauty #NoLikesNeeded และ #SpeakBeautiful

ซึ่งสถิติจาก Hootsuite พบว่า 70% ของผู้หญิงไม่ได้รู้สึกว่าตนเองเป็นตัวแทนในการโฆษณาแก่บริษัท และ  Dove ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะหยุดแต่งภาพถ่ายทั้งหมดที่ใช้ในการตลาดภายในปี 2019 นี้ ซึ่งเป็นแคมเปญที่ทรงพลังและสร้างคลื่นการเปลี่ยนแปลงการทำการตลาดที่เป็นมากกว่าแค่เรื่องของสินค้าผลิตภัณฑ์แต่ได้สร้างทัศนคติเชิงบวกให้เห็นคุณค่าในตนเองอีกด้วยค่ะ

นำแผนไปปฏิบัติและจ่ายงานสู่ทีม

เมื่อเราทำการตั้งเป้าหมาย กำหนดกลยุทธ์ รู้จักช่องทางในการสื่อสารและทำการ Digital Marketing แล้วเราควรนำแผนการทั้งหมดมาลงมือปฎิบัติจริงโดยการแจกจ่ายงานสู่ทีมต่างๆ ซึงดิจิทัลได้เปลี่ยนรูปแบบการทำการตลาดในแง่ของกระบวนการกลยุทธ์และการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้สร้างโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ ทำให้ฝ่ายการตลาดจึงเป็นศูนย์กลางของขับเคลื่อนองค์กรผ่านการตลาดต่า ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเติบโตและความสำเร็จของทีม ทีมการตลาดในปัจจุบันจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานใหม่

แล้วในแต่ละตำแหน่งงาน Digital Marketing นั้นมีทักษะอะไรบ้าง เพื่อที่เราจะสามารถมอบหมายงานที่ตรงต่อทักษะความสามารถของตำแหน่งงานนั้น

1.Content Strategy นักวางกลยุทธ์ทางด้านคอนเทนต์ ที่จะสื่อสารแบรนด์ออกไปสู่ลูกค้าผ่านความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้คอนเทนต์สื่อออกมาได้แตกต่างมากขึ้น

2.DIgital Project Management ผู้จัดการบริหารโครงงานด้านดิจิทัล เป็นตำแหน่งที่ต้องเข้าใจทุกด้าน เก่งเรื่องการบริหารจัดการโครงการ คอยติดตามและประสานงานกับผู้ถูกว่าจ้างต่างๆ ให้โครงการงานลงตัว

3.Data & Analytics นักวิเคราะห์ข้อมูล ต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์ แบบมีเหตุผล รู้ที่มาที่ไป และสามารถตอบได้ว่าข้อมูลที่ได้มาข้อมูลใดที่จะสามารถนำไปต่อยอดกับองค์กรได้

4.Brand Marketers นักสร้างแบรนด์ การทำให้แบรนด์ขยายอย่างไร้รอยต่อจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ และขยายจากในประเทศไปสู่ต่างประเทศ

5.SEO Specialisation ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน SEO ที่จะช่วยให้ผู้คนเสริช์เจอเว็บไซต์ของคุณเป็นอันดับต้นๆและช่วยให้คุณสามารถลดค่าใช้จ่ายในการโฆษณาได้หากคุณสามารถพัฒนาเว็บไซต์ของคุณให้มีประสิทธิ์ภาพที่ดี

6.Website Design & Development นักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ การพัฒนาและออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะกับการใช้งาน ทันยุคทันสมัยก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราต้องประสบการณ์การใช้งานที่ดีแก่ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์จึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนตกแต่งและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

บทความแนะนำ

7 ตำแหน่งงานด้าน Digital Marketing ที่เป็นที่ต้องการของตลาดปี 2019

อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://stepstraining.co/entrepreneur/7-job-title-digital-marketing-2019

ตาคุณแล้วค่ะ ที่จะเริ่มต้นการทำ Digital Marketing แล้วโตไปกับเรา หากคุณอยากรู้เรื่องการทำการตลาดออนไลน์มากขึ้นสามารถกดสมัครรับบทความความรู้ดีๆได้เลยค่ะ หรือหากคุณต้องการเรียนรู้ลงมือทำจริงโดยมีผู้เชี่ยวชาญในด้าน Digital Marketing โดยตรงมาเป็นผู้แนะนำให้คุณสามารถอ่านรายละเอียดหลักสูตร Digital Marketing Specialist Certification Course https://stepstraining.co/digital-marketing-specialist

 

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

ทำการตลาดออนไลน์ ให้ถูกใจลูกค้า ถูกที่ ถูกเวลา ต้องเริ่มวิเคราะห์ Customer & Channel
แกะวิธีคิด การสร้างยอดขายผ่านธุรกิจ B2B ในยุคดิจิทัล จากคุณเล็ก กฤตนัน ผู้ก่อตั้งเพจ Sales101