นักการตลาดและผู้ประกอบการที่ใช้ช่องทาง Facebook เพื่อทำธุรกิจออนไลน์คงทราบดีว่า Facebook จะคอยพัฒนาระบบอัลกอริทึม เพื่อประมวลผลในการแสดงหน้าโพสต์ให้ผู้ติดตามได้เห็นกันผ่านหน้าฟีดตลอดเวลา ซึ่งนักการตลาดและผู้ประกอบการควรศึกษาและปรับปรุงแผนการตลาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้คอนเทนต์ที่คุณได้โพสต์ ปราฏขึ้นบนหน้าฟีดของลูกค้า และเกิดปฏิสัมพันธ์ในเชิงบวกระหว่างแบรนด์และตัวลูกค้า หรือที่เราเรียกว่า Engagement ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตัวแบรนด์และลูกค้า และนำไปสู่การซื้อขายจนกลายเป็นแบรนด์โปรดในที่สุด
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา Buzzsumo ได้รายงานว่ายอด Engagement จากการโพสต์ของ Facebook กลับตกลงตั้งแต่ช่วงมกราคม 2017 ประมาณ 20% ซึ่งยอด Engagement ที่ตกลงนั้นมาจากการโพสต์รูปภาพและการโพสต์ลิงก์
สาเหตุหลัก ๆ ที่ความเปลี่ยนแปลงของยอด Engagement ที่ตกลง สืบเนื่องมาจาก
- Financial Times เปิดเผยว่ายอด Reach แบบออร์แกนิค มียอดตกลง 42% แต่ Paid Ads มีมากขึ้น จึงทำให้ยอด Engagement มีการเปลี่ยนแปลง
- การเปลี่ยนแปลงของระบบอัลกอริทึม ทำให้ยอดเฉลี่ยของ Reach ลดลง
- คอนเทนต์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ใช้ Facebook ไม่สามารถรับข่าวสารได้ครบถ้วน และหน้าฟีดไม่อาจนำเสนอในทุก ๆ คอนเทนต์จากทุก ๆ แบรนด์ได้
ดังนั้น นักการตลาดทั้งหลายจะต้องมีการปรับตัว เพื่อเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง การจัดลำดับอัลกอริทึมบนหน้าฟีดอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ใช้ Facebook ได้เห็นหน้าโพสต์ของเรา โดยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ บนหน้า Facebook มี Timeline ดังต่อไปนี้ค่ะ
Timeline การเปลี่ยนแปลงระบบอัลกอริทึมของ Facebook
2004 – 2009:
- Facebook ได้เปิดตัวเว็บไซต์ขึ้นครั้งแรกในปี 2004
- หน้าฟีดได้ปรากฏให้ผู้เล่นเห็นครั้งแรกในปี 2006
- ปี 2007 ผู้เล่นได้ใช้ปุ่ม Like ครั้งแรกแต่ยังไม่มีการยืนยันว่า Facebook ได้เริ่มใช้ระบบอัลกอริทึม
- ปี 2009 Facebook ได้ใช้ระบบอัลกอริทึมเพื่อจัดเรียงโพสต์ยอดนิยมบนหน้าฟีด
2009 – 2019:
- Facebook ร่วมมือกับ Galaxy Brain Software เพื่อวางแผนนำข้อมูลเชิงลึกจากผู้เล่นมาวิเคราะห์ การนำเสนอหน้าฟีดโดยใช้หลัก Personalization โดยโฟกัสไปที่เนื้อหาที่ผู้เล่นมีแนวโน้มว่าสนใจ หรือชอบคอนเทนต์เหล่านั้นจริง ๆ เพื่อให้ผู้เล่นใช้เวลาอยู่บนแพลตฟอร์มให้นานขึ้น
2015
- ในปี 2015 Facebook เพิ่มฟีเจอร์ “See First” เพื่อให้ผู้เล่นแอป เลือกเพจที่ต้องการเห็นเป็นอันดับต้น ๆ อยู่บนหน้าฟีดตอนต้น
- คอนเทนต์ออร์แกนิคกลายเป็นโพสต์ที่ Facebook พิจารณาให้ผู้ในลำดับต้น ๆ บนหน้าฟีด
2016
- ในปี 2016 Facebook จัดลำดับโพสต์ให้ผู้เล่นเห็นเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวและเพื่อนของผู้เล่นบ่อยขึ้น
- ระบบอัลกอริทึมจัดลำดับคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ และคอนเทนต์เพื่อความบันเทิง นำเสนอบนหน้าฟีด โดยใช้หลักการวัดผล จากระยะเวลาที่ผู้เล่นใช้หรืออยู่บนหน้าคอนเทนต์นั้น ๆ
- Live Video ได้รับความนิยมดีกว่า Video ทั่วไปถึง 3 เท่า ดังนั้น Facebook จึงมักนำเสนอ Live Video ให้ผู้เล่นเห็นก่อนเสมอ
2017
- Facebook สามารถวัดผลอัตราการชมวิดีโอและคอนเทนต์ต่าง ๆ ด้วยการใช้ฟีเจอร์ Reaction (เช่นปุ่ม Love, Wow และปุ่ม Angry)
2018
- Mark Zuckerberg ได้ประกาศว่า Newsfeed บนหน้า Facebook ได้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดลำดับขึ้นใหม่เพื่อปรับปรุงคุณภาพของเนื้อหาให้ดีขึ้น เพื่อให้ผู้เล่นได้รับสารที่มีคุณภาพมากกว่าการใช้เวลาอยู่บนแอปนาน ๆ
- Facebook วางแผนระยะสั้นเอาไว้ว่า โพสต์จากเพื่อน ครอบครัว หรือจากกลุ่มที่ผู้ใช้ได้เข้าร่วมจะมีความสำคัญมากกว่าโพสต์ที่เป็นคอนเทนต์ออร์แกนิคเพื่อสร้าง Engagement ที่ดีต่อตัวบุคคลให้เพิ่มขึ้น (เช่น การกดถูกใจ การเขียนคอมเมนต์และการแชร์ ซึ่งรวมไปถึงการแชร์คอนเทนต์ต่าง ๆ ผ่านช่องทาง Messenger ด้วย)
2019
- อัลกอริทึมของ Facebook มีการจัดระบบใหม่อีกครั้ง ซึ่งเว็บไซต์ niemanlab ได้รายงานว่า Engagement บน Facebook ในเดือนมีนาคม 2019 เพิ่มสูงขึ้นถึง 50% เมื่อเทียบกับปี 2018 ซึ่งเนื้อหาที่เป็นที่นิยมโดยส่วนมากมาจากการรายงานข่าวเกี่ยวกับความคิดเห็นของบุคคลทั่วไป
ระบบอัลกอริทึมของ Facebook ในปี 2020
เรามาดูความเปลี่ยนแปลงของระบบอัลกอริทึม ใน Facebook กันค่ะว่ามีสิ่งไหนที่ทำให้คอนเทนต์ต่าง ๆ สามารถสร้าง Engagement ได้ดีขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ใช้บ้าง
จากภาพด้านบน Hootsuit ได้รายงานเกี่ยวกับยอด Engagement บนหน้า Facebook โดยมีรายละเอียดหลัก ๆ ดังนี้
- Engagement จากโพสต์ต่าง ๆ บนหน้า Facebook Page โดยเฉลี่ยเติบโตขึ้น 3.39 %
- Engagement จากวิดีโอคอนเทนต์ บนหน้า Facebook Page โดยเฉลี่ยเติบโตขึ้น 6.09 %
- Engagement จากคอนเทนต์รูปภาพ บนหน้า Facebook Page โดยเฉลี่ยเติบโตขึ้น 4.42 %
การพัฒนาและปรับปรุงระบบของ Facebook อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันส่งผลให้ปี 2020 นี้ การทำงานของอัลกอริทึมจะเน้นไปที่ Ranking Signal* หรือการจัดลำดับโพสต์และคอมเมนต์ที่มีความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ ค่ะ
Ranking Signals คืออะไร ?
Ranking Signal คือข้อมูลที่มาจากพฤติกรรมของผู้ใช้ Facebook ที่ได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม เพื่อวิเคราะห์และประมวลผลให้หน้าฟีดของเราแสดงโพสต์จากคนสนิทและแพจที่คุ้นเคย เช่น
- การแชร์โพสต์ จำนวนที่ผู้ใช้ Facebook กดถูกใจจากโพสต์ของเพื่อน
- ความถี่ในการรับชมวิดีโอ
- Favourite กรุ๊ปที่ผู้ใช้ Facebook เข้าร่วม เป็นต้น
การจัดลำดับของ Ranking Signals สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งได้แก่
- บุคคลที่เรามีปฏิสัมพันธ์ด้วยจากช่องทาง Facebook
- ประเภทคอนเทนต์มีเดียที่เราชอบดูหรืออ่าน เช่น วิดีโอ ลิงก์ หรือรูปภาพ
- ความนิยมในแต่ละโพสต์
นอกจากนี้ Facebook ได้พัฒนาเครื่องมือตัวใหม่ซึ่งเป็นปุ่มที่สามารถคลิกได้จากมุมบนของโพสต์บนหน้าฟีดที่มีชื่อว่า “Why am I seeing this post?” เพื่อสร้างเข้าใจและความโปร่งใสในการจัดลำดับคอนเทนต์ให้แก่ผู้ใช้ Facebook อีกทั้งเจ้าปุ่มตัวนี้ยังสามารถอธิบายรายละเอียดความสำคัญของการจัดระบบอัลกอริทึ่มให้ผู้ใช้ Facebook เข้าใจได้ดีขึ้น และผู้ใช้ Facebook ก็สามารถกดซ่อนเนื้อหาที่ไม่ต้องการให้ปรากฏบนหน้าฟีดได้หากไม่ต้องการ
จากที่ผู้เขียนได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ทำให้เราได้เข้าใจว่าพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้ใช้ส่งผลให้ระบบอัลกอริทึมมีการอัปเดตข้อมูลอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำให้ผู้ใช้ Facebook ได้รับข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์มากขึ้นและมีคุณค่าต่อบุคคลนั้น ๆ และสามารถสร้างยอด Engagement ที่ดีให้แก่โพสต์ต่าง ๆ บนฟีดซึ่งวันนี้ STEPS Academy จะพาคุณไปดู 14 เทคนิคการสร้าง Engagement บน Facebook เพื่อธุรกิจออนไลน์ โดยคุณสามารถนำไอเดียเหล่านี้ไปปรับใช้กับเพจ Facebook เพื่อเพิ่มยอด Engagement และทำให้กลายเป็น Brand Love ที่ครองใจผู้ใช้ Facebook กันค่ะ
1. สร้างพื้นที่ในการสนทนาให้มากขึ้น
เนื่องจากระบบอัลกอริทึมของ Facebook จะวิเคราะห์ข้อมูลการสนทนา โดยใช้เทคนิค Ranking Signal หรือการวิเคราะห์หาโพสต์ที่มียอด Reaction สูงหรือมีปฏิสัมพันธ์การกดคอมเมนต์และการแชร์ ดังนั้นนักการตลาดไม่ควรมองข้ามการโพสต์คอนเทนต์ที่น่าสนใจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ติดตามเพจได้อ่าน ซึ่งเนื้อหาที่คุณควรโพสต์ควรอยู่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่คุณกำลังทำอยู่ และเพิ่มโอกาสให้แบรนด์กลายเป็นที่จดจำได้ง่ายยิ่งขึ้น รวมไปถึงการสร้างโพสต์เนือหาที่มีประโยชน์เพื่อเพิ่มความรุ้ การโพสต์คำคมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และคลิปตลก ๆ เพื่อให้ผู้เล่น Facebook เข้ามากดถูกใจและแชร์คอนเทนต์ดี ๆ เหล่านี้
อย่างไรก็ตามการสร้างโพสต์เพื่อเพิ่ม Engagement ควรเป็นไปในทิศทางที่สร้างสรรค์และหลีกเลี่ยงการตอบโต้ในเชิงลบบนหน้าโพสต์ ไม่เช่นนั้น Engagement ที่คุณได้รับอาจจะกลายเป็นผลเสียมากกว่าผลดีค่ะ
ตัวอย่างจากเพจ National Geographic ที่โพสต์วิดีโอเกี่ยวกับความน่ารักของลูกสิงโตภูเขา โดยแบรนด์ได้นำเสนอเนื้อหาความบันเทิงที่มาพร้อมกับสาระ และความน่ารักของลูกสิงโตน้อย
Mountain lion kittens stay with their mothers learning important survival skills until they’re 18 months old.
Posted by National Geographic on Saturday, January 18, 2020
2. โพสต์ให้ถูกเวลา
สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการสร้าง Engagement ให้เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพคือการโพสต์คอนเทนต์ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งหมายความว่า หากช่วงเวลาที่มี Active Users หรือผู้ใช้ Facebook กำลังออนไลน์อยู่มากเท่าไหร่ โอกาสที่คนเหล่านี้จะเห็นโพสต์บนหน้าฟีดก็มีมากขึ้นเท่านั้น
ยิ่งไปกว่านั้น Ranking Signal ยังมีผลกับช่วงเวลาในการโพสต์อีกด้วย หากแบรนด์ของเราเลือกช่วงเวลาที่โพสต์ถูกจังหวะ ระบบอัลกอริทึมก็อาจจะจัดลำดับโพสต์ของเราให้เลื่อนขึ้นมาอยู่ในอันดับต้น ๆ ของหน้าฟีด และโพสต์ของเราก็มีโอกาสไปปรากฏอยู่บนหน้าฟีดของผู้เล่น Facebook ได้เพิ่มขึ้นค่ะ
จากภาพด้านล่างเป็นตัวอย่างของการแสดงเวลาที่ใช้งานของผู้ติดตามคุณบนหน้าเพจ ซึ่งนักการตลาดสามารถเข้าไปดูรายละเอียดช่วงเวลา Online ของลูกเพจได้ที่ Insights เพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการโพสต์คอนเทนต์
ช่วงเวลาที่ดีในการโพสต์สำหรับธุรกิจออนไลน์
- ธุรกิจ B2B ควรโพสต์คอนเทนต์ต่าง ๆ ในช่วงเวลาระหว่าง 9.00 – 14.00 ในวันอังคาร วันพุธ และวันพฤหัส
- ธุรกิจ B2C ควรโพสต์คอนเทนต์ต่าง ๆ ในช่วงเวลาเที่ยงวันในวันจันทร์ วันอังคาร และวันพุธ
และนี่เป็นเพียงหนึ่งในตัวอย่าง นักการตลาดควรอ้างอิงจากการศึกษาพฤติกรรมลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของธุรกิจของตนเองค่ะ
3. ปรับ Ranking Signal ให้ขึ้นสูงขึ้นได้ด้วยการโพสต์คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ
คอนเทนต์ที่มีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน หรือเป็นคอนเทนต์ที่สร้างความบันเทิง ล้วนแล้วแต่เป็นคอนเทนต์ออร์แกนิค ที่ Facebok จะผลักดันให้ผู้เล่นแอปได้เห็นโพสต์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งผู้เขียนขอแนะนำอีกครั้งว่าเทคนิคที่อยู่ด้านล่างนี้เหล่านี้ ไม่ควรนำมาใช้เพื่อผลิตคอนเทนต์ เนื่องจากจะทำให้ Rank ของโพสต์คุณต่ำลงแล้ว ยังเป็นการลดทอนความน่าเชื่อถือของเพจลงค่ะ
- เนื้อหาที่มีความรุนแรง การใช้คำที่ไม่เหมาะสม
- ข้อมูลหรือข่าวปลอม ไม่มีแหล่งที่มาที่ชัดเจน
- ข้อมูลการรักษาที่เป็นอันตรายและไม่เป็นจริง
- การปลอมแปลงเนื้อหาไม่ว่าจะเป็นภาพ เสียง หรือวิดีโอ (Deepfake) เพื่อลวงให้ผู้อ่านเข้าใจผิด
4. นำเสนอวิดีโอแบบ HD และมีความยาวเกิน 3 นาทีเป็นต้นไป
ในเดือนพฤษภาคม ปี 2019 Facebook ได้ประกาศว่าวิดีโอที่ดีและมีคุณภาพจะถูกจัดลำดับให้ขึ้นไปอยู่บนหน้าฟีดของผู้ใช้ Facebook เพิ่มมากขึ้น ซึ่งระบบอัลกอริทึมจะคัดเลือกวิดีโอโดยวิเคราะห์จาก:
- วิดีโอที่มีการค้นหาและมีคนกลับไปดูหลายครั้ง
- วิดีโอที่มีความยาวเกิน 3 นาทีเป็นต้นไปและผู้เล่น Facebook ดูวิดีนานเกินกว่า 1 นาที
- วิดีโอที่เป็นแบบออริจินัลที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ
- วิดีโอ HD ที่มีรายละเอียดขั้นต่ำ 720p หรือ 1,280×720
5. Go Live!
รายงานจากทาง Facebook ได้เปิดเผยว่า Facebook Live Video สามารถสร้าง Engagement โดยเฉลี่ยได้มากกว่าวิดีโอทั่วไปถึง 6 เท่า และมียอดคอมเมนต์เพิ่มขึ้นแบบ 10 เท่าตัว ดังนั้นผู้ประกอบการและนักการตลาดควรลองใช้ ฟีเจอร์นี้เพื่อสร้างคอนเทนต์วิดีโอใหม่ ๆ กันนะคะ
6. โพสต์อย่างสม่ำเสมอ
นอกจากการนำเทคนิค “การโพสต์ให้ถูกเวลา” มาใช้แล้ว การโพสต์คอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้แบรนด์หรือเพจของคุณอยู่ในสายตาของกลุ่มเป้าหมายอยู่ตลอดเวลา และอาจทำโพสต์นั้น ๆ กลายเป็นโพสต์อันดับต้น ๆ บนหน้าฟีดของผู้เล่นบน Facebook ได้ไม่ยาก
หากใครที่กำลังเริ่มวางแผนการโพสต์คอนเทนต์ อาจเริ่มจากการวางแผนแบบรายสัปดาห์ และเปลี่ยนเป็นการวางแผนแบบรายเดือน เพื่อกำหนดจำนวนโพสต์และเป้าหมายของการโพสต์ในแต่ละครั้ง ซึ่งผู้เขียนแนะนำให้ลองใช้ 2 แพลตฟอร์มนี้เพื่อจัดการตารางเวลาในการโพสต์ค่ะ
- Google Sheet
ผู้ใช้สามารถแชร์หน้าชีทกับเพื่อนร่วมงานแบบออนไลน์ ไม่มีค่าใช้จ่ายและการทำงานไม่ซับซ้อน
ภาพตัวอย่าง Google Sheet เพื่อสร้าง Content Calendar
- Trello
ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดแอปมาไว้บนหน้าจอมือถือ เพื่อการทำงานที่ง่ายและสะดวกขึ้น อีกทั้งยังสามารถแชร์เนื้อหาการทำงาน การติดตั้งเวลาเพื่อแจ้งเตือนให้แก่ผู้ใช้ในการโพสต์
ภาพตัวอย่างการจัดการโพสต์โดยแบ่ง Timeline แบบรายวัน จากหน้าเว็บไซต์ Trello
7. ใช้ Facebook Groups เพื่อสร้าง Community
การสร้างช่องทางพิเศษเพื่อนำเสนอคอนเทนต์ที่หลากหลายผ่าน Facebook Group ของแบรนด์คุณ สามารถเพิ่ม Engagement ให้แก่แบรนด์ของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เล่น Facebook ด้วยกันเองและแบรนด์ยังสามารถสร้างความใกล้ชิดให้ลูกค้ารู้สึกถึงความสำคัญที่แบรนด์มอบให้เป็นพิเศษ
นอกจากนี้ นักการตลาดสามารถใช้ Facebook Group เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้เล่นเข้ามาอ่านคอนเทนต์เพิ่มเติมได้ในกรุ๊ป ซึ่งเปรียบเสมือหน้าเพจที่ได้รวบรวมสาระดี ๆ เอาไว้ให้ผู้อ่านอีกช่องทางหนึ่งค่ะ
8. ใช้ Paid Ads เพื่อช่วยโฆษณาคอนเทนต์
นอกจากคอนเทนต์ออร์แกนิคจะสามารถเพิ่มยอด Engagement ให้แก่แบรนด์ของคุณแล้ว Facebook Ads ยังสามารถเพิ่มการรับรู้แบรนด์ได้อีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งความสามารถของ Facebook Ads นั้นยังช่วยให้แบรนด์สามารถวางแผนการตลาดได้ดีขึ้น ด้วยการนำข้อมูลเชิงลึกมาทำการวิเคราะห์ เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการทำโฆษณาบน Facebook ค่ะ
หากคุณสนใจบทความเกี่ยวกับเทคนิคการสร้างโฆษณาบน Facebook เพิ่มเติม สามารถคลิกบทความด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
- 7 ขั้นตอน สร้าง Facebook Ads ให้ได้กลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพ
- 4 เทคนิค Remarketing เพื่อเพิ่มยอดขายออนไลน์บน Facebook
9. แนะนำให้ผู้ติดตามของคุณกด See First
อย่างที่เราทราบกันดีว่าในปัจจุบัน ผู้เล่น Facebook สามารถเลือกลำดับความสำคัญของการมองเห็นโพสต์ได้แล้ว ดังนั้น ทุกครั้งที่โพสต์ข้อความ คุณสามารถแนะนำให้ผู้ติดตามเพจของคุณกด “See First” เพื่อให้คอนเทนต์ของคุณขึ้นเป็นอันดับต้น ๆ ของหน้าฟีด อีกทั้งระบบอัลกอริทึมจะทำการวัดผลเกี่ยวกับความนิยมเพจของคุณด้วยว่า จำนวนของผู้ที่กด See First มีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งข้อมูลการวิเคราะห์นี้มีส่วนช่วยให้ Facebook รับรู้ได้ว่าเพจของคุณกำลังเป็นที่พูดถึงและเป็นที่ชื่นชอบของผู้ใช้งาน
ตัวอย่างการตั้งค่าเมื่อผู้ใช้งาน Facebook ต้องการให้คอนเทนต์ของแบรนด์หรือเพจปรากฏขึ้นในทุกครั้งที่มีการอัปเดตโพสต์ใหม่ ๆ
10. Influencer ช่วยคุณได้
วิธีการใช้ Influencer สามารถช่วยให้แบรนด์ของคุณกลายเป็นที่พูดถึงในวงกว้างได้เป็นอย่างดี ซึ่งวิธีที่คุณสามารถทำได้ก็คือ การมี Influencer ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ของคุณและมีทัศนคติที่ดีในเชิงบวกต่อแบรนด์คุณ เพื่อเป็นกระบอกเสียงอีกทางในการช่วยให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น และสามารถสร้าง Engagement ที่ดีให้กับเพจดีขึ้นอีกทางหนึ่ง
วิธีการที่ Influencer สามารถพูดถึงและแนะนำแบรนด์หรือเพจของคุณนั้นก็มีหลากหลายวิธีเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการรีวิวสินค้าและบริการ วิธีการแนะนำสินค้าด้วยการทำวิดีโอฮาวทูการใช้สินค้า หรือแม้แต่การโพสต์รูปภาพและแท็กเพจของคุณบน Facebook เป็นต้น
และสำหรับใครที่ต้องการอ่ายทความเกี่ยวกับการทำ Influencer Marketing สามารถคลิกเข้าไปอ่านบทความเพิ่มเติมได้จากลิงก์นี้ค่ะ
หลักการ 3 STEPS ในการทำ Influencer Marketing
11. เปิดใจน้อมรับความคิดเห็น
การพัฒนาแบรนด์และเพจของคุณให้ดีขึ้นกว่าเดิมคือการรับฟังความคิดเห็นจากผู้บริโภค หรือลูกเพจของคุณเพื่อปรับปรุงการบริการและคอนเทนต์ที่นำเสนอให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นการถามคำถามเพื่อแสดงความคิดเห็นบนหน้าเพจสามารถเพิ่ม Engagement ได้ดีและทำให้ลูกเพจรู้สึกว่า แบรนด์ของคุณใส่ใจและรับฟังเสียงจากลูกค้าค่ะ
12. นำเสนอคอนเทนต์แนวใหม่
การสร้างความแปลกใหม่ หรือการโพสต์คอนเทนต์ในรูปแบบที่ต่างไปจากเดิม อาจทำให้โพสต์ของคุณได้รับความสนใจจากผู้ติดตามเพจมากยิ่งขึ้น และมีโอกาสเพิ่ม Engagement ซึ่งคอนเทนต์ที่มักได้รับความนิยมในปัจจุบันคือคอนเทนต์ประเภทวิดีโอ และที่รองลงมาคือคอนเทนต์ประเภทรูปภาพ
13. Repost คอนเทนต์ยอดนิยม
คอนเทนต์ที่ได้รับความนิยม หรือมีกระแสตอบรับที่ดีจากผู้อ่าน ทำให้คุณทราบว่าคอนเทนต์ประเภทนี้กำลังอยู่ในกระแส และผู้ติดตามชื่นชอบ ดังนั้นการ Repost คอนเทนต์เหล่านั้น แทนการ Boost Post เป็นเหมือนการโปรโมตคอนเทนต์แบบออร์แกนิคไปในตัว อีกทั้งเพจยังสามารถสร้าง Engagement ให้เพิ่มขึ้นได้อีกช่องทางหนึ่ง
14. แจกของรางวัลตามโอกาส
การใช้เทคนิคแจกของรางวัล (Giveaway) เป็นวิธีการสร้างความสนใจได้เป็นอย่างดี ซึ่งนักการตลาดสามารถโพสต์รูปของรางวัลที่จะได้รับพร้อมตั้งคำถามเพื่อให้ลูกเพจเข้ามาคอมเมนต์ ซึ่ง เทคนิคการสร้างโพสต์เพื่อแจกรางวัลเลือกตามโอกาสที่เหมาะสม คุณไม่จำเป็นต้องมีการแจกของรางวัลทุกเดือนก็ได้ แต่ให้ลองหาโอกาสพิเศษตามความเหมาะสมที่ควรจะเป็น เช่น ช่วงวันครอบรอบเกี่ยวกับแบรนด์ เป็นต้น
ยกตัวอย่างการแจกของรางวัลจากเพจ Buffer ที่โพสต์ฉลองวันเกิดแบรนด์ครบรอบ 6 ปี ด้วยการแจกของรางวัลแก่ผู้ชนะจากการเข้าร่วมคอมเมนต์
สรุป
นักการตลาดพัฒนาการวางแผน Digital Marketing บน Facebook อย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของระบบอัลกอริทึมที่มีการอัปเดตอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้นการใช้เทคนิคเพื่อสร้าง Engagement ในรูปแบบใหม่ ๆ หรือการใช้เทคนิคแบบผสมผสาน สามารถสร้างความสนใจและเกิดกระแสการตอบรับได้เป็นอย่างดีจากผู้ติดตามเพจ นอกจากนี้ความเข้าใจความต้องการของผู้ใช้ Facebook มีส่วนให้นักการตลาดสามารถ นำเสนอคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น และสามารถเพิ่มปฏิสัมพันธ์ให้แก่เพจของคุณ ทำให้แบรนด์ของคุณสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
นอกจากนี้สำหรับท่านไหนที่สนใจการวางแผนการตลาดแบบดิจิทัล STEPS Academy มีข่าวดีมากฝากค่ะ
ข้อมูลจาก:
https://buffer.com
https://buzzsumo.com
https://blog.hootsuite.com