เปิดอ่าน
[xyz-ips snippet="Test"]
ครั้ง
บทเรียนในซีรีย์: ผ่าบทเรียนกลยุทธ์ Digital Marketing ขั้นพื้นฐาน ให้ดังให้ปั๊ง ในปี 2019

 

9-Checklist-ก่อนเริ่มต้นวางแผนการตลาดิจิทัลในปี-2025-2

ในปี 2025 นี้ การตลาดดิจิทัลจะไม่ได้เป็นเพียงแค่ทางเลือกอีกต่อไป แต่จะกลายเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการสร้างความแตกต่าง และต้องแข่งขันในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเข้าใจ และปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

บทความนี้จะนำคุณไปรู้จักขั้นตอนสำคัญในการวางแผนการตลาดดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ทางธุรกิจ ไปจนถึงการเจาะลึกความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้กลยุทธ์การตลาดสามารถตอบโจทย์ได้อย่างตรงจุด และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการในระยะยาว

1. เข้าใจเป้าหมายทางธุรกิจ (Understanding Business Goals)

ก่อนเริ่มวางแผนการตลาดดิจิทัล สิ่งแรกที่ต้องทำคือการกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจที่ชัดเจน และปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายนั้น หากขาดการตั้งเป้าหมายที่แน่นอน แม้กลยุทธ์การตลาดจะดูดีเพียงใดก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ เราต้องเริ่มจากการถามตัวเองว่า “ความสำเร็จของธุรกิจเราคืออะไร?” ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มยอดขาย การสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ หรือการดึงดูดลูกค้าใหม่ เมื่อมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว กลยุทธ์การตลาดก็จะมีทิศทางที่แน่นอน และมีโอกาสสูงที่จะบรรลุผลลัพธ์ตามที่ตั้งไว้

การตั้งเป้าหมายแบบ SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) จึงเป็นสิ่งสำคัญในการวางแผนการตลาด ตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายของคุณคือการเพิ่มจำนวนรายชื่ออีเมลขึ้น 20% ภายใน 6 เดือน เป้าหมายที่มีความชัดเจน และสามารถวัดผลได้ จะช่วยให้กลยุทธ์ของคุณมุ่งเน้นไปที่การดำเนินงานที่นำไปสู่เป้าหมายที่คุณต้องการ

SMART Goalsยิ่งไปกว่านั้น การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนไม่เพียงช่วยให้กลยุทธ์การตลาดมีทิศทางที่แน่นอน แต่ยังช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานได้อีกด้วย จากการวิจัยของ BiWorldwide พบว่าการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนทำให้พนักงานมีแรงบันดาลใจในการทำงานมากขึ้นถึง 14.2 เท่า และมีแนวโน้มที่จะทุ่มเทให้กับองค์กรมากขึ้น 3.6 เท่า ซึ่งสิ่งนี้ช่วยผลักดันให้ทุกคนในองค์กรมีความมุ่งมั่น และพร้อมที่จะทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

การปรับกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลให้เข้ากับเป้าหมายทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการติดตาม และปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ของตลาดที่เปลี่ยนแปลง จะช่วยให้การตลาดของคุณมีความยืดหยุ่น และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณสามารถจัดลำดับความสำคัญของงาน และทรัพยากรที่จำเป็นได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญของการวางแผนการตลาดดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จในระยะยาว

2. ระบุกลุ่มเป้าหมาย (Identifying Target Audience)

การทำความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการวางแผนการตลาดดิจิทัลในปี 2025 การรู้ข้อมูลพื้นฐาน Demographic ของกลุ่มเป้าหมายเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป หลายๆ ธุรกิจต้องหันมาให้ความสำคัญกับข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า รวมถึงการวิเคราะห์เส้นทางการซื้อ (Customer Journey) เพื่อให้สามารถวางกลยุทธ์การตลาดที่ตรงกับความต้องการของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

What information do marketers have on their target audienceโดยจากผลสำรวจของ HubSpot พบว่านักการตลาดกว่า 82% ยืนยันว่าการมีข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญมากต่อการวางแผนการตลาด อย่างไรก็ตาม พบว่ามีนักการตลาดเพียง 42% เท่านั้นที่รู้ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มเป้าหมาย ในขณะที่มีนักการตลาดน้อยกว่า 50% ที่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับความสนใจ งานอดิเรก พฤติกรรมการซื้อ หรือสินค้าที่ลูกค้าอยากซื้อจริงๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการสร้างการสื่อสารที่เป็นส่วนตัว (Personalized Marketing) และเพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้า นอกจากนี้ยังพบว่านักการตลาดเพียง 31% เท่านั้นที่รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของตนมีส่วนร่วมในชุมชนออนไลน์ (Online Communities) ใด และมีเพียงหนึ่งในสี่เท่านั้นที่เข้าใจในประเด็นทางสังคมที่กลุ่มเป้าหมายสนใจ ซึ่งนับเป็นโอกาสสำคัญที่พลาดไป โดยเฉพาะในการทำการตลาดกับกลุ่ม Gen Z และ Millennials 

What-information-is-most-helpful-for-marketers-to-have-on-their-target-audience

โดยข้อมูลที่มีประโยชน์ที่สุดสำหรับนักการตลาดตามผลสำรวจของ HubSpot คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับความสนใจ และงานอดิเรกของกลุ่มเป้าหมาย รองลงมาคือพฤติกรรมการซื้อ ช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงสื่อ และสินค้าที่ลูกค้าสนใจจะซื้อ การเริ่มต้นด้วยการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น Google Analytics หรือการสำรวจความคิดเห็นจะช่วยให้คุณสามารถแบ่งกลุ่มลูกค้า (Customer Segmentation) ที่มีพฤติกรรม และความต้องการที่คล้ายคลึงกันได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้คุณสร้างการสื่อสารที่เฉพาะเจาะจง และตรงจุดกับแต่ละกลุ่มได้

ในปี 2025 การตลาดดิจิทัลจะต้องมุ่งเน้นไปที่การทำความเข้าใจปัจจัยที่กระตุ้นอารมณ์ และความชอบของลูกค้าอย่างละเอียด ธุรกิจที่สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาปรับใช้ในกลยุทธ์การสื่อสารได้อย่างสอดคล้อง จะสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า และเพิ่มอัตราการเปลี่ยนลูกค้าเป็นผู้ซื้อ (Conversion) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อความสำเร็จทางการตลาดในระยะยาว

3. การตรวจสอบประสิทธิภาพช่องทางการตลาด (Conducting a Digital Audit)

ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการตามกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล การตรวจสอบประสิทธิภาพช่องทางการตลาดของธุรกิจอย่างครอบคลุมถือเป็นขั้นตอนสำคัญ คุณควรทำการวิเคราะห์ทุกช่องทางที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ (Website Audit) โปรไฟล์โซเชียลมีเดีย (Social Media Profile) การตลาดผ่านอีเมล (Email Marketing) และช่องทางอื่นๆ เพื่อประเมินว่าช่องทางเหล่านี้ทำงานได้ดีหรือมีจุดที่ต้องปรับปรุง ซึ่งจะช่วยให้คุณรู้ว่าควรพัฒนาในจุดใดบ้าง

การวิเคราะห์คู่แข่ง (Competitor Analysis) ก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญ การเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานในอุตสาหกรรมจะช่วยให้คุณเข้าใจว่าธุรกิจของคุณอยู่ในระดับใดเมื่อเทียบกับคู่แข่ง การรู้จุดแข็ง และจุดอ่อนของคู่แข่งจะเปิดโอกาสให้คุณสร้างความแตกต่าง และเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน

การตรวจสอบประสิทธิภาพช่องทางการตลาดอย่างละเอียด และครอบคลุมจะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของธุรกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น มองเห็นโอกาสในการพัฒนา และช่องว่างที่ควรปรับปรุง การดำเนินการนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่ากลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของคุณมีรากฐานที่แข็งแกร่ง พร้อมรองรับการเติบโต และการปรับตัวสำหรับปี 2025 ที่กำลังจะมาถึง 

สำหรับธุรกิจไหนที่ต้องการจะการตรวจสอบประสิทธิภาพช่องทางการตลาดของธุรกิจ แต่ยังไม่แน่ใจว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไรดี สามารถลงทะเบียนเพื่อขอคำปรึกษาฟรีกับทางทีม STEPS Consulting ของเราได้เลยค่ะ หรือแอดไลน์มาได้ที่ @STEPStraining 

STEPS Consulting banner (2)

4. เลือกแพลตฟอร์ม และกลยุทธ์ที่เหมาะสม (Choosing the Right Platforms and Tactics)

การเลือกแพลตฟอร์ม และกลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับแผนการตลาดดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเทรนด์การตลาดดิจิทัลจำนวนมากที่เกิดขึ้นในปี 2025 อาจทำให้ธุรกิจรู้สึกสับสน และไม่แน่ใจว่าจะเลือกใช้วิธีการใดดีที่สุด

social-media-platforms

สิ่งแรกที่ควรทำคือการทำความเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณใช้เวลาอยู่บนแพลตฟอร์มไหนมากที่สุด พวกเขาอยู่บน Instagram, LinkedIn, หรือช่องทางอื่น? เมื่อรู้แล้วว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณอยู่ที่ใด คุณสามารถมุ่งเน้นกลยุทธ์การตลาดไปที่แพลตฟอร์มเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่ แทนที่จะพยายามกระจายตัวเองไปยังทุกแพลตฟอร์มซึ่งอาจไม่ใช่ที่ที่กลุ่มเป้าหมายคุณอยู่

นอกจากนี้ การติดตามแนวโน้มการตลาดดิจิทัลใหม่ๆ เช่น การปรับแต่งเนื้อหาด้วย AI และการสร้างคอนเทนต์แบบโต้ตอบก็เป็นสิ่งที่ควรพิจารณา แต่ต้องประเมินด้วยว่านวัตกรรมเหล่านี้สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ การเลือกใช้กลยุทธ์ที่สอดคล้องกับความต้องการ และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายจะช่วยให้การทำการตลาดดิจิทัลมีประสิทธิภาพ และสามารถสร้างผลลัพธ์ที่จับต้องได้

5. การวางแผนงบประมาณ และการจัดสรรทรัพยากร (Budget Planning and Resource Allocation)

การจัดสรรงบประมาณ และทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีงบประมาณจำกัด การใช้เงินทุกบาทให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงเป็นสิ่งจำเป็น

Budget planning

เริ่มต้นด้วยการตั้งงบประมาณอย่างชัดเจน โดยพิจารณาจากผลตอบแทนที่คาดหวัง ประกอบกับข้อมูลย้อนหลังที่ผ่านมา จากนั้นจัดสรรทรัพยากรไปยังช่องทางที่มีศักยภาพในการสร้างผลลัพธ์สูงสุด นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยี และเครื่องมือในการจัดการงานที่ซ้ำซากจะช่วยลดภาระงาน และทำให้คุณสามารถมุ่งเน้นไปที่งานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการตัดสินใจได้มากขึ้น

ควรตรวจสอบงบประมาณอย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามการใช้จ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายที่เกินตัว และ ปรับแผนการตลาดให้คงประสิทธิภาพ การวางแผน และจัดสรรทรัพยากรอย่างรอบคอบจะช่วยให้คุณสามารถบรรลุเป้าหมายทางการตลาดได้ แม้ว่าจะมีงบประมาณที่จำกัดก็ตาม

6. กลยุทธ์ในการสร้างคอนเทนต์ (Creating a Content Strategy)

ในโลกของการตลาดดิจิทัล คอนเทนต์ยังคงเป็นองค์ประกอบหลักที่ขาดไม่ได้ โดยเฉพาะในปี 2025 การสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ และน่าสนใจจะมีความสำคัญมากกว่าที่เคย หลายๆ บริษัทชั้นนำระดับโลก รวมถึงสตาร์ทอัพหลายแห่งต่างก็ให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ โดยมีการคาดการณ์ว่า 51% ของลูกค้ามักจะตัดสินใจซื้อสินค้าหลังจากที่ได้ดูคอนเทนต์เกี่ยวกับสินค้านั้นๆ ซึ่งหมายความว่า คอนเทนต์ที่ลูกค้าเห็นบนอินเทอร์เน็ตมีผลกระทบอย่างมากต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ซึ่งการวางกลยุทธ์ในการสร้างคอนเทนต์นั้นต้องสอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้การสื่อสารนั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

Content strategy

คอนเทนต์สามารถมาในรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น บล็อก (Blog), วิดีโอ (Video), พอดแคสต์ (Podcast) ซึ่งแต่ละประเภทควรออกแบบให้ตอบโจทย์ และตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ การใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง (Storytelling) ยังสามารถสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์กับกลุ่มเป้าหมาย ช่วยให้คอนเทนต์มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น และช่วยดึงดูดความสนใจพร้อมกับรักษาการมีส่วนร่วมของผู้ชมในระยะยาว

การสร้างคอนเทนต์อย่างมีระบบ และวางแผนล่วงหน้าเป็นกุญแจสำคัญในการคงความต่อเนื่องของการมีส่วนร่วม และการตรวจสอบประสิทธิภาพของคอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอช่วยให้คุณสามารถปรับปรุง และพัฒนาคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์มากขึ้นเรื่อยๆ กลยุทธ์คอนเทนต์ที่แข็งแกร่งจึงถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนทราฟฟิก เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำ SEO และผลักดันให้แผนการตลาดดิจิทัลของคุณประสบความสำเร็จ

อย่างไรก็ตาม การวางกลยุทธ์คอนเทนต์ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นแผนที่คงที่ตลอดเวลา แต่ควรปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ และกลยุทธ์ที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วง สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นการวางกลยุทธ์อย่างไรดี หรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถลงทะเบียนเพื่อขอคำปรึกษาฟรีกับทีมผู้เชี่ยวชาญจาก STEPS Consulting ของเราได้เลยค่ะ หรือแอดไลน์มาได้ที่ @STEPStraining 

STEPS Consulting banner (2)

7. กลยุทธ์ SEO และ SEM (Implementing SEO and SEM Strategies)

Search Engine Optimization (SEO) และ Search Engine Marketing (SEM) เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญในการทำการตลาดดิจิทัล SEO เน้นการเพิ่มการมองเห็นของเว็บไซต์ผ่านผลลัพธ์แบบออร์แกนิก ในขณะที่ SEM ใช้การโฆษณาแบบจ่ายเงินเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว และตรงกลุ่มเป้าหมาย

สำหรับ SEO การปรับเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับการใช้งานบนมือถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากผู้บริโภคยังคงค้นหาข้อมูลผ่านมือถือเป็นจำนวนมาก โดยปริมาณการเข้าถึงเว็บไซต์กว่า 55% มาจากการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ ถึงแม้ว่าปริมาณการเข้าถึงเว็บไซต์ผ่านโทรศัพท์มือถือจะมีการผันผวนบ้าง แต่ก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสแรกของปี 2017 เป็นครั้งแรกที่ปริมาณการเข้าถึงเว็บไซต์ผ่านโทรศัพท์มือถือแซงหน้าการเข้าถึงผ่านคอมพิวเตอร์

percentage-of-mobile-traffic

การใช้ Keyword ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาก็มีส่วนช่วยในการปรับปรุงอันดับของเว็บไซต์ในหน้าการค้นหา รวมถึงการสร้าง Backlinks ที่มีคุณภาพกลับมายังเว็บไซต์เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ควรออกแบบเว็บไซต์ให้มีความง่ายในการใช้งานเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้

ในส่วนของ SEM ถือเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มการมองเห็นในระยะสั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการออกแบบโฆษณาที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และใช้ข้อมูลเชิงลึกในการปรับแต่งแคมเปญจะช่วยให้การโฆษณามีประสิทธิภาพสูงสุด

การผสมผสานทั้งกลยุทธ์ SEO และ SEM จะช่วยสร้างการเติบโตที่สมดุล ครอบคลุมทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลของคุณประสบความสำเร็จในปี 2025

8. การตลาดผ่านโซเชียลมีเดียในปี 2025 (Social Media Marketing in 2025)

โซเชียลมีเดียยังคงเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของแพลตฟอร์มต่างๆ ธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันกับแนวโน้มใหม่ ๆ การติดตาม และปรับใช้ฟีเจอร์ใหม่ ๆ เช่น โพลล์ (Polls), ไลฟ์ (Live), และสตอรี่ (Story) ช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างการมีส่วนร่วม และประสบการณ์ที่น่าจดจำกับลูกค้าได้

นอกจากนี้ การสร้างแบรนด์ที่สอดคล้องกันในทุกช่องทางโซเชียลมีเดียจะช่วยเสริมสร้างเอกลักษณ์ และภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่งให้กับแบรนด์ การเน้นสร้างความสัมพันธ์ที่จริงใจกับกลุ่มเป้าหมาย ที่ไม่ใช่เพียงแค่การโปรโมตสินค้า แต่เป็นการสื่อสารที่แสดงถึงความจริงใจ และคุณค่าที่แบรนด์มอบให้กับลูกค้า สิ่งนี้จะช่วยส่งเสริมความเชื่อมั่น และความภักดีที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์ได้ในระยะยาว พร้อมทั้งสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจของคุณจากคู่แข่ง ซึ่งเมื่อใดที่ลูกค้ามีความสัมพันธ์ที่ดีกับแบรนด์ และได้ประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม จะส่งผลให้พวกเขาตัดสินใจเลือกแบรนด์ของคุณได้ง่ายกว่าแบรนด์อื่น ๆ

Improving-the-Brand-Customer-Relationship

ในปี 2025 นี้การตลาดผ่านโซเชียลมีเดียจะไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการโปรโมตผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังต้องสร้างความสัมพันธ์เชิงลึกกับลูกค้า เพื่อให้เกิดความผูกพัน และสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนระหว่างแบรนด์ กับลูกค้า

9. การวัดผล และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Measuring Success and Iterating)

การวัดผลความสำเร็จของแผนการตลาดเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนากลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง ควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดตัวชี้วัด (KPI) ที่สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ เช่น การวัดผลการเข้าชมเว็บไซต์, อัตรา Conversion หรือการมีส่วนร่วมบนโซเชียลมีเดีย

การวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณเข้าใจได้ว่ากลยุทธ์ใดที่ประสบความสำเร็จ และกลยุทธ์ใดที่ต้องปรับปรุง ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้สามารถนำมาใช้ในการปรับแต่งแผนการตลาด และช่วยในการตัดสินใจที่แม่นยำ การปรับกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ธุรกิจของคุณสามารถแข่งขันได้ในสภาพแวดล้อมการตลาดดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

การวัดผลอย่างรอบคอบ และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้แผนการตลาดดิจิทัลของคุณเติบโตไปพร้อมกับธุรกิจ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างยั่งยืน

ข้อคิดสรุป (Concluding Thoughts)

การพัฒนาแผนการตลาดดิจิทัลสำหรับปี 2025 เกี่ยวข้องกับแนวทางเชิงกลยุทธ์ที่ผสมผสานระหว่างนวัตกรรม และหลักการตลาดพื้นฐานที่สำคัญ การเข้าใจเป้าหมายทางธุรกิจ และรู้จักกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ การนำเทคโนโลยี และเครื่องมือที่ทันสมัยมาใช้เสริมสร้างกลยุทธ์จะช่วยให้ธุรกิจของคุณก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในโลกของการตลาดดิจิทัล

ในยุคที่การปรับตัวไม่ใช่เพียงแค่ทางเลือกแต่เป็นสิ่งจำเป็น การวางแผนอย่างรอบคอบ และทำตามเช็กลิสต์ที่ชัดเจนจะช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตท่ามกลางความท้าทาย และโอกาสที่เกิดขึ้นในปี 2025 การเปิดรับความรู้ใหม่ๆ ความยืดหยุ่น และการปรับตัวตลอดเวลาเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลมีความสดใหม่ และมีประสิทธิภาพ

เมื่อคุณมีแผนการที่ชัดเจน และรอบคอบแล้ว การประสบความสำเร็จในโลกดิจิทัลก็ไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม

กลยุทธ์เพิ่มเติมสู่ความสำเร็จทางการตลาดดิจิทัล (Additional Strategies for Success)

นอกจากหัวข้อสำคัญที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมีกลยุทธ์อื่นๆ ที่จะช่วยให้แผนการตลาดดิจิทัลของคุณในปี 2025 ประสบความสำเร็จมากขึ้น ดังนี้

1. ลงทุนใน SEO

การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการค้นหา (SEO) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มการมองเห็นในโลกออนไลน์ และการดึงดูดทราฟฟิกแบบออร์แกนิคเข้าสู่เว็บไซต์ของคุณ ควรติดตามการเปลี่ยนแปลงของอัลกอริทึมจากเครื่องมือค้นหาอยู่เสมอ และปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องกับคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ติดอันดับต้น ๆ ในผลการค้นหา

2. การตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer Marketing)

การร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์บนโซเชียลมีเดียเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะขยายการเข้าถึง และเสริมความน่าเชื่อถือของแบรนด์ การเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่มีความสอดคล้องกับแบรนด์หรือธุรกิจของคุณจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น

3. การตลาดผ่านวิดีโอ (Video Marketing)

ในยุคที่วิดีโอคอนเทนต์กำลังเป็นที่นิยม วิดีโอจึงเป็นเครื่องมือที่มีพลังในการสร้างการมีส่วนร่วมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการโปรโมตสินค้า การแชร์เบื้องหลังการทำงาน (behind-the-scenes) หรือการนำเสนอเรื่องราวจากประสบการณ์จริงของลูกค้า วิดีโอสามารถดึงดูดความสนใจ และเพิ่มความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. เสริมสร้างประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience)

ลูกค้าคาดหวังที่จะได้รับประสบการณ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความเฉพาะตัวของลูกค้า ดังนั้น การใช้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำมาปรับแต่งข้อความ การตลาด และข้อเสนอให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน จะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างความพึงพอใจ และความภักดีต่อแบรนด์

5. การโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย (Social Media Advertising)

การลงทุนในโฆษณาโซเชียลมีเดียเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากแพลตฟอร์มต่าง ๆ อย่าง Facebook, Instagram และ TikTok มีเครื่องมือสำหรับการโฆษณาที่เจาะกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้โฆษณาที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ใช้งานแพลตฟอร์มเหล่านี้เป็นประจำจะช่วยเพิ่มการมองเห็น และโอกาสในการปิดการขายได้

6. การใช้คอนเทนต์ที่สร้างโดยลูกค้า (User-Generated Content)

การส่งเสริมให้ลูกค้าแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นรีวิว การโพสต์ภาพถ่าย หรือวิดีโอ จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ เนื่องจากผู้บริโภคมักเชื่อข้อมูลจากผู้ใช้งานจริงมากกว่าการตลาดของแบรนด์โดยตรง

7. การใช้แชทบอท (Chatbot) 

แชทบอทสามารถช่วยให้การบริการลูกค้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งยังช่วยจัดการคำถามพื้นฐานที่พบบ่อย ทำให้ทีมงานมีเวลาไปแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนหรือดูแลลูกค้าในส่วนที่จำเป็นได้มากขึ้น

8. การติดตามแนวโน้มอุตสาหกรรม 

อุตสาหกรรมการตลาดดิจิทัลเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การติดตามข่าวสาร และแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ ๆ เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้คุณสามารถนำกลยุทธ์ใหม่ๆ มาปรับใช้ได้ก่อนคู่แข่ง เช่น การเข้าร่วมงานสัมมนา การอ่านบทความจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ หรือการแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เชี่ยวชาญ

การนำกลยุทธ์เหล่านี้มาปรับใช้ในแผนการตลาดดิจิทัลของคุณ จะช่วยให้คุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังสร้างความผูกพัน และความไว้วางใจให้กับลูกค้า นอกจากนี้ การปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัล และพัฒนากลยุทธ์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง จะช่วยเสริมสร้างโอกาสให้ธุรกิจของคุณเติบโต และประสบความสำเร็จในระยะยาว

และนี่คือ 9 Checklist สำคัญที่ควรทำก่อนเริ่มต้นวางแผนการตลาดดิจิทัลในปี 2025 การวางแผนล่วงหน้า และการปรับกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลให้สอดคล้องกับ 9 ขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจของคุณสร้างความได้เปรียบ และสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับเจ้าของธุรกิจ และผู้ประกอบการที่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นในการวางแผนการตลาดดิจิทัลอย่างไร หรือ ต้องการคำปรึกษาในการวางแผนกลยุทธ์ Digital Marketing ให้กับธุรกิจ สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาฟรีกับทางทีมงาน STEPS Consulting ได้เลย หรือแอดไลน์มาได้ที่ @STEPStraining 

STEPS Consulting banner (2)

Ref :

SMART goals

How To Set Business Goals

Four keys to goal setting that increase employee performance and reduce attrition

Study Finds Most Marketers Don’t Know Their Audience

7 Reasons Why You Should Produce High Quality Content

Internet Traffic from Mobile Devices 

Key Steps for Building Strong Brand/Customer Relationships

[seed_social]

ติดตาม STEPS Academy ทางอีเมล

เราพร้อมส่งมอบบทความดี ๆ ข่าวสารรวมถึงข้อเสนอพิเศษต่าง ๆ ให้กับคุณ

เรียนรู้ อัพเดทเทรนด์ การตลาดออนไลน์ ส่งตรงถึงอีเมลก่อนใคร

รบกวนยืนยันอีเมล ที่ใช้ติดตามเรา

อีกเพียง 1 ขั้นตอนนะคะ เราพึ่งจัดส่งอีเมล “ยืนยันอีเมลที่ใช้ติดตาม STEPS Academy” ไป รบกวนเข้าไปกดยืนยันติดตามเรา ในอีเมลนั้นนะคะ เพื่อให้ระบบรับรู้ว่าอีเมลที่ใช้ติดตามเรา เป็นอีเมลของคุณจริงๆ

Upskill E-Learning

ติดปีกความรู้ 🚀 พร้อมสู้กับทักษะในโลกยุคใหม่ไปด้วยกันกับเรา Upskill โดย STEPS Academy

Leadership Skill

Leadership Skill

สร้างทักษะผู้นำด้วยความเข้าใจและ Mindset ที่ถูกต้อง

Project Management Skills

Project Management Skills

เข้าใจกลยุทธ์การบริหารโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ

Digital Content Marketing (E-learning Course)

Digital Content Marketing

พัฒนาทักษะการทำคอนเทนต์ในยุคดิจิทัล

Digital Marketing Trends

Digital Marketing Trends

รู้ทันเทรนด์การตลาดยุคใหม่ไปกับความรู้ Quantum Marketing