จะเห็นได้ชัดในวงการการทำงานในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากการแข่งขันที่สูงขึ้นทั้งด้านธุรกิจและด้านการแข่งขันในตัวของบุคลากรเอง ทำให้คนทํางานอย่างเราจําเป็นต้องปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะทุกวันนี้จะพัฒนาด้านความเชี่ยวชาญทางเทคนิคอย่างเดียวคงไม่พอ
จําเป็นต้องมีทักษะ Soft Skill ที่เป็นทักษะเสริมให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
ปัจจุบัน เราต้องพัฒนาตัวเราเองตลอดเวลา เนื่องจากการทำงานและธุรกิจที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เพื่อที่เราจะก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นนั้น ทั้งการแข่งขันในตลาดแรงงานเอง หรือการแข่งขันของธุรกิจ ตัวเราเองที่เป็นพนักงานควรที่จะมีความอดทน ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และการเรียนรู้ตลอดเวลา
ทักษะเหล่านี้ ที่เรียกว่า Soft Skills เป็นเหมือนเครื่องมือที่ทำให้เราสามารถปรับตัวและเรียนรู้จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ คือไม่เพียงแค่ต้องมีความรู้ทางเทคนิคในวิชาชีพที่เราทำเท่านั้น แต่ทักษะในการสื่อสาร การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการแก้ไขปัญหานั้น มีผลทำให้เราโดดเด่น ก้าวขึ้นไปในการทำงานที่ดีขึ้น รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย
ในบทความนี้ทาง STEPS ได้คัดสรรทักษะที่สำคัญที่นักการตลาดควรรู้ในปี 2024 มาให้แล้ว
1. Problem Solving ทักษะการแก้ปัญหา
การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหายังคงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานอยู่เสมอ เพราะมันจะช่วยให้คุณสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ และทำความเข้าใจปัญหาแบบเป็นขั้นเป็นตอน ทำให้เห็นภาพรวมปัญหาทั้งหมด
-
การระบุปัญหา
ควรเริ่มต้นด้วยการระบุปัญหาที่ต้องการแก้ก่อน โดยระบุขอบเขตของปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น นักการตลาดที่ทำงานในบริษัทสื่อโฆษณาหรือ Agency มีลักษณะงานหลักคือการทําความเข้าใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของสินค้านั้นๆ และการศึกษาคู่แข่งและวางแผนทําการตลาดเพื่อให้สินค้าหรือบริการที่ได้รับโจทย์มาสําเร็จตามเป้าหมาย
ดังนั้นหากขาดทักษะไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสื่อสาร การนำเสนอ หรือทักษะการบริหารเวลา ก็อาจส่งผลให้ผลิตแผนงานออกมาไม่ตรงตามเป้าหมาย
ส่งผลในอนาคตคือไม่สามารถขายงานให้ลูกค้าได้ ซึ่งการที่จะไปถึงกระบวนนั้นได้ เราต้องเรียนรู้การวิเคราะห์ปัญหา ทำความเข้าใจปัญหาแบบเป็นขั้นตอนและใช้เทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อช่วยให้เห็นภาพรวมที่ชัดขึ้น
กระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถทําได้โดย
1.การเก็บและจัดระเบียบข้อมูล
เริ่มต้นด้วยการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ต้องการแก้ไข โดยการเก็บข้อมูลให้ครบถ้วน และตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ รวมถึงจัดลำดับและแบ่งกลุ่มข้อมูลให้เป็นระเบียบ เพื่อทำให้ข้อมูลเป็นมีระเบียบและเข้าใจง่าย ทำให้ระบุแนวทางที่ส่งผลต่อปัญหาได้ง่าย
2.การใช้เครื่องมือวิเคราะห์
ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ เช่น Power BI, Google Analytics, Tableau เพื่อคัดกรองข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมาเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและตรวจสอบ เพื่อระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และสร้างการนำเสนอข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจปัญหาได้ดี
การแก้ไขปัญหาจะแก้ได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อมีข้อมูลของปัญหาที่ถูกต้องและมีระบบการจัดการที่ดี ประกอบกับใช้เครื่องมือวิเคราะห์ที่สามารถช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงการเข้าใจปัญหาและการหาทางแก้ไขที่เหมาะสม
-
Creative Thinking
Creative Thinking ช่วยเพิ่มความสามารถในการแก้ปัญหา ผ่านการสร้างไอเดียที่ไม่ซ้ำซาก ไม่จำเจและมองเห็นมุมมองที่แตกต่างออกไป
ซึ่งก็ทำให้ความคิดหรือไอเดียก็กว้างขึ้นตามไปด้วย เช่น ถ้าเราสามารถที่จะเข้าใจปัญหาของลูกค้าและนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ก็จะสามารถสร้างสินค้าที่ไม่เหมือนใคร และยังไม่มีใครเหมือนได้ รวมถึงตอบโจทย์ปัญหาของผู้บริโภคได้ดีขึ้นอีกด้วย
หนึ่งในตัวอย่างของการใช้ Creative Thinking เพื่อแก้ปัญหาของแบรนด์ระดับโลกคือ กลยุทธ์ของ Coca-Cola ในโครงการ “World Without Waste” ที่เน้นการลดปริมาณขยะพลาสติกและการจัดการบรรจุภัณฑ์แบบยั่งยืน นอกจากจะพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุรีไซเคิลแล้ว ยังมีโปรแกรมการรับซื้อขวดเก่าเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับผลตอบแทนกลับไป ทำให้ Coca-Cola ก้าวขึ้นเป็นต้นแบบในการดำเนินธุรกิจที่สนับสนุนการอยู่ร่วมกับโลกและการสร้างความยั่งยืนในระยะยาวอีกด้วย
-
การใช้เทคนิคที่เชื่อมโยงปัญหา
1.Design Thinking
การใช้กระบวนการ Design Thinking จะทำให้เราเห็นวิธีการใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา มองภาพรวมปัญหากว้างขึ้น และช่วยให้คิดอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น
2.SWOT Analysis
การทำการวิเคราะห์ SWOT หาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อยขององค์กร
สําหรับ SWOT Analysis เราจะใช้การหลักการวิเคราะห์โดย SWOT เมื่อต้องการวิเคราห์มุมของธุรกิจเพื่อวางแผนสําหรับทําการตลาดต่อไปในอนาคต
-
การทํางานกันเป็นทีม มีส่วนช่วยลดทอนปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้
เมื่อทีมมีความหลากหลายและสามารถร่วมมือกันได้ ก็จะสามารถหาทางออกจากสถานการณ์ที่ซับซ้อนได้ดีขึ้น ยกตัวอย่างการทำงานของทีมการตลาด ที่มองเห็นภาพรวมของตลาดและความต้องการของลูกค้า การวิเคราะห์ข้อมูลตลาด ความต้องการของลูกค้า และแนวโน้มทางการตลาด ทำให้ทีม Product Development สามารถปรับปรุงและสร้างสินค้าที่ตอบโจทย์ตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้ ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงานร่วมกับผู้อื่นคือ ทีมที่มีความรู้และทักษะที่หลากหลาย สามารถนำเสนอและปรับให้เข้ากับสถานการณ์หลายๆ อย่าง การเข้าใจความต้องการของกันและกันจึงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความสำเร็จในทีมและองค์กร
2. Personal Management ทักษะการจัดการส่วนบุคคล
ทักษะการจัดการส่วนบุคคลเป็นทักษะพื้นฐานสำหรับการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันเลยก็ว่าได้ เพราะ
เป็นการจัดการในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านการทำงาน การดูแลสุขภาพ และชีวิตประจำวัน หากทำทุกอย่างให้สอดคล้องกัน ก็จะยิ่งทำให้การทำงานได้ราบรื่นไม่เกิดปัญหาใดๆ สุขภาพกาย สุขภาพจิตมีความสมดุล ส่งผลให้การใช้ชีวิตประจำวันดีขึ้นด้วย
-
การวางแผนและจัดการเวลา (Time Management)
1.การตั้งเป้าหมาย
กำหนดเป้าหมายที่เป็นไปได้ โดยระบุรายละเอียดและกำหนดเวลาให้ชัดเจน เช่น ทีมการขายตั้งเป้าหมายว่าภายในไตรมาสต์แรกของปี จะต้องมียอดขายมากกว่าไตรมาสต์ที่ผ่านมา 20%
2.การวางแผนรายละเอียด
ระบุขั้นตอนการดำเนินการ โดยควรคำนึงถึงข้อจำกัดและทรัพยากรที่องค์กรมี เริ่มจากการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย วางแผนการตลาด ตรวจสอบเพื่อปรับปรุง และวัดผลเพื่อประเมินผลงาน
3.การจัดการเวลา
ใช้เทคนิคการจัดการเวลา เช่น การแบ่งเวลางานกับเวลาส่วนตัว การจัดลำดับความสำคัญของงาน เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานและอยู่ในเวลาที่กำหนด
เป็นกระบวนการที่เน้นการวางแผนและควบคุมกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้โครงการดำเนินไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีการจัดทำแผน การกำหนดสิ่งที่ต้องทำ การจัดทำทีม และการติดตามความคืบหน้า เพื่อให้โครงการสำเร็จในเวลาที่กำหนด
-
การสร้างความสัมพันธ์ (Agile)
เป็นกระบวนการสร้างผลงานในรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้าหรือสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว ซึ่งลักษณะการทํางานแบบ Agile ประกอบด้วย
1.ความ Flexibility หรือความยืดหยุ่น
การเข้าใจและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงานของตนเองและการทำงานร่วมกับทีม รับฟังความคิดเห็น และปรับตัวต่อสภาพการทำงานที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต เช่น ปรับสไตล์การทำงานเพื่อเข้ากับลักษณะและทักษะของสมาชิกทุกคนในทีม หรือตามวัฒนธรรมขอององค์กร
2.Customer Focus
การให้ความสำคัญและการเข้าใจความต้องการของลูกค้าว่าต้องการอะไร รวมถึงการให้บริการที่ดีที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า การแก้ไขปัญหา และการให้คำแนะนำ เช่น บริษัทซอฟแวร์ที่ได้รับข้อตกลงทำธุรกิจจากลูกค้าใหม่ โดยมีการกำหนดความต้องการที่เพิ่มเติมจากสิ่งที่บริษัทเคยทำ ทางทีมขายต้องทำการปรับตัวและศึกษาความต้องการของลูกค้า เพื่อทำการวิเคราะห์ความต้องการละเอียดๆ และประชุมกับลูกค้าเพื่อให้แน่ใจว่าข้อกำหนดที่เพิ่มเติมมานั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้บริษัทได้รับความพึงพอใจและความไว้วางใจของลูกค้านั่นเอง
-
การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
เป็นกระบวนการที่บุคคลหรือองค์กรต้องการพัฒนาความรู้ ทักษะ และความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้จำกัดเพียงการเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาเท่านั้น แต่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในทุกวันของชีวิต ทั้งจากประสบการณ์การทำงาน การปฏิบัติ การอ่าน การฟัง และการสื่อสารกับผู้อื่น เช่น การอ่านหนังสือหรือบทความ เรียนรู้จากคนในทีม การเรียนรู้ผ่านการฟังและการสื่อสาร เป็นต้น
-
การบริหารจัดการความเครียด
เรียนรู้วิธีการตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ทำงาน วางแผนและเตรียมตัวเพื่อลดความกดดันที่เกิดขึ้น และเรียนรู้ทักษะที่ช่วยในการควบคุมและจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการจัดลำดับความสำคัญ การพักผ่อน หรือหากิจกรรมต่างๆ ทำบ้าง
3. Digital ทักษะดิจิทัล
ทักษะนี้เริ่มถูกให้ความสำคัญเมื่อทุกอย่างเข้ามาอยู่ในรูปแบบดิจิทัล การเรียนรู้และพัฒนาทักษะดิจิทัลนี้จะช่วยให้คุณปรับตัวกับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรียนรู้การใช้โปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่นที่กำลังนิยม หรือสิ่งที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจ การใช้เครื่องมือและเทคนิค เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ แบ่งเป็น 2 ทักษะได้แก่
-
Digital Literacy
ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคมและการทำงาน ได้แก่ การใช้งานโปรแกรม เครื่องมือการสื่อสาร และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่จำเป็น รวมถึงความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยี การปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยของข้อมูลและการใช้เทคโนโลยี เช่น การอัพเดทซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันทุกครั้งที่มีการเผยแพร่การปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหาความปลอดภัย หรือการปิดการใช้งานซอฟต์แวร์หรือระบบที่ไม่ได้ใช้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการแฮกข้อมูล
-
Data Literacy
ความสามารถในการเข้าใจข้อมูล เข้าใจถึงคุณค่าของข้อมูล เช่น เข้าใจถึงความสำคัญของข้อมูลการขายในการวิเคราะห์ผลการโปรโมท การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยการใช้เครื่องมือวิเคราะห์และการตรวจสอบข้อมูลในแหล่งที่มา และการรู้จักกับประเภทของข้อมูลต่างๆ ที่มี เช่น ข้อมูลยอดขาย ข้อมูลลูกค้า และข้อมูลตลาด และนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ วิเคราะห์ยอดขายตามช่วงเวลา สินค้าที่ขายดีและทิศทางการขายการสร้างรายงาน รวมถึงการนำเสนอข้อมูลให้กับผู้อื่นในทีมหรือองค์กร
แล้วมีวิธีใดบ้างที่เราจะเพิ่มทักษะ Digital เหล่านี้ได้
-
ทำโปรเจกต์ของตัวเอง
จัดทำโปรเจกต์การจัดการด้วยตัวเอง เช่น การตั้งเป้าหมายของปีโดยการทํา Planner ที่รวมเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว การพัฒนาทักษะส่วนตัว การจัดการความรัก ความสัมพันธ์ทั้งเพื่อนและครอบครัว หรือ การทำ Time Management การสื่อสารกับผู้อื่น การจัดการความเครียด Project Management อย่างการตั้งเป้าหมาย วางแผน และเลือกทักษะที่ต้องการพัฒนา จากนั้นก็ทำการทดลองและรอดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเพื่อปรับปรุงส่วนที่ยังต้องการการพัฒนา
-
อ่านและศึกษาจากแหล่งอื่นๆ
จากการอ่านหนังสือ บทความจากเว็บไซต์ กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือ Community บนโลกออนไลน์ เพื่อเพิ่มความรู้และทักษะที่ต้องการ เช่น
คอร์สออนไลน์
มีหลายแพลตฟอร์มที่ให้บริการคอร์สออนไลน์ที่เน้นการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ โดยเฉพาะทักษะดิจิทัลและทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งทาง STEPS เองเราก็มีหลักสูตร Corporate Training สำหรับองค์กร เพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรในองค์กรของคุณให้พร้อมในทุกด้านของทักษะแห่งอนาคต (Future Skill) ไม่ว่าจะเป็น Digital Literacy, Digital Marketing, Digital Selling, Project Management และ Softskill
ทักษะการแก้ปัญหาทำให้คุณเป็นคนที่สามารถทำงานได้หลายบทบาท ทักษะการจัดการส่วนบุคคลช่วยสร้างทีมที่แข็งแกร่ง และทักษะดิจิทัลทำให้คุณเข้าก้าวหน้าในโลกดิจิทัล เมื่อมีทักษะเหล่านี้จะช่วยให้การทำงานมีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ทุกสถานการณ์ นอกจากจะเพิ่มมูลค่าให้กับตัวคุณเองแล้ว ยังเป็นการเตรียมตัวการทำงานในอนาคตอีกด้วย