สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกคน เรามาเจอกันอีกแล้วนะคะ กับบทความชุดอัปเดตการเปลี่ยนแปลง Facebook ประจำเดือน โดยในวันนี้เราจะมาดูอัปเดตที่น่าสนใจของเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมากันค่ะ
ซึ่งในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมานี้ถึงแม้ว่า Facebook จะไม่ได้มีการอัปเดต หรือการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่น่าตื่นตาตื่นใจมากเหมือนช่วงอื่น ๆ แต่ต้องบอกเอาไว้เลยว่า รู้เอาไว้ก็ดีกว่า และจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกคนแน่ ๆ แล้วมันมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ? เรามาเริ่มกันเลยค่ะ
ข่าวที่ 1 ข้อมูลเชิงลึกจาก COVID สำหรับธุรกิจยังมีอย่างไม่หยุดหย่อน
เหมือนกับข่าวสารเกือบทั้งปี ที่หนีไม่พ้นเรื่องของโรคระบาดอย่าง COVID-19 ตัวนี้ ซึ่งเราจะเห็นว่า Facebook ก็ได้มีการอัปเดตข่าวที่เกี่ยวข้องอยู่เรื่อย ๆ โดยเฉพาะกับข้อมูลเชิงลึกหรือ Insight ของการเปลี่ยนแปลงในแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งเราน่าจะเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างในอัปเดต Facebook บทความเก่า ๆ และในเดือนพฤศจิกายนนี้ก็เช่นกันค่ะ โดยข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ COVID ในครั้งนี้ จะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเสพสื่อออนไลน์ หรือ บันเทิงของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปจาก COVID-19 ซึ่งจริง ๆ แล้วข้อมูลจาก Facebook มีถึง 72 หน้าซึ่งหากใครอยากอ่านเต็ม ๆ ทั้ง 72 หน้าก็ตามไปอ่านกันได้เลยที่ลิงก์นี้ค่ะ โดยหลัก ๆ แล้วเนื้อหาจะถูกแบ่งออกมา 5 ส่วน ซึ่งในบทความนี้ STEPS Academy ได้คัดข้อมูลคร่าว ๆ มาให้ดูกันค่ะ
1. Content Economy ซึ่งจะเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงด้านการเสพสื่อประเภทวิดีโอ และ เพลง โดยข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจมีดังนี้ค่ะ
- ในเดือนมีนาคม 2020 ผู้คนเริ่มหันมาฟังเพลงที่ให้อารมณ์โหยหาอดีต ผ่อนคลาย เพื่อความสบายใจในการผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤต
- 1 ใน 3 ของผู้บริโภคในอเมริกา เห็นตรงกันว่า การเล่นเกมช่วยให้ผ่านพ้นความกังวลไปได้
- การทำคอนเทนต์ที่เน้นเกี่ยวข้องกับกิจกรรมออฟไลน์ได้รับความน่าสนใจ ตัวอย่างเช่น การฟังเพลงใน Playlist เกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ (วาดภาพเพิ่ม 90% อบขนมเพิ่ม 120% ทำสวนเพิ่มขึ้น 430%)
2. Communal Consumption ที่จะดูวิธีการสานสัมพันธ์ และความบันเทิงระหว่างการระบาด
- ผู้คนส่วนใหญ่หันมาใช้ Social Media ในการสานสัมพันธ์กับคนที่มีความสนใจตรงกัน เช่น ทำสวน เล่นเกม ดูทีวี เป็นต้น ซึ่งเราจะได้เห็นจากจำนวนคนในกรุ๊ปที่เพิ่มขึ้น ๆ
- 72 % ของผู้ที่เริ่มต้นดูคอนเสิร์ตหรือละครเวทีผ่าน LIVE บอกว่า COVID ส่งผลให้ตัดสินใจทดลอง
- คนส่วนใหญ่หันมาสนใจการเล่นเกม เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมกับผู้อื่น (40%)
3. Inclusive Diversity ซึ่งจะดูที่ความคาดหวังต่อสื่อ และความบันเทิงที่เสพ
- 68 % ของผู้ติดตามคอนเทนต์ต่าง ๆ ระบุว่าจะติดตามคอนเทนต์ที่ช่วยในการระบุถึงความเป็นตัวเอง
- 39 % พร้อมจ่ายเงินติดตามคอนเทนต์ที่เปลี่ยนให้พวกเขาเป็นคนที่ดีขึ้น เก่งขึ้น (ในด้านที่ตนสนใจ)
- ความหลากหลายในการเสพเพิ่มมากขึ้น เช่น คนอเมริกันที่ฟังเพลงภาษาอื่นที่มีถึง 49 % (เช่น ITZY หรือ Red Velvet จากเกาหลี)
4. Proliferation of Choice ว่าด้วยเรื่องของอัลกอริทึมที่ช่วยในการหาสิ่งบันเทิงเริงใจ
- ผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะเลือกเสพแพลตฟอร์มไหน ขึ้นอยู่กับคอนเทนต์เป็นหลัก
- 33 % ของผู้ใช้ระบุว่า Original Content ที่มีแค่ในแพลตฟอร์มนั้น ๆ เป็นเเกณฑ์สำคัญในการเริ่มทดลองใ้ช้
5. Streaming Sustainability ว่าด้วยเรื่องการใช้ สตรีมมิ่ง ที่มีทิศทางเพิ่มมากขึ้น (หรือเปล่า ?)
- 57 % มีความคาดหวังว่าจะมีการจ่ายเงินให้กับบริการ Streaming มากขึ้นในปี 2021 ที่จะถึงนี้
- 75 % ของคนที่สมัคร steaming ใหม่มีผลจากการระบาดไปทั่วโลกของ COVID-19
- ผู้ใช้เริ่มคาดหวังให้แพลตฟอร์มต่าง ๆ นั้นตอบสนองต่อรสนิยมที่เจาะจงขึ้น
ที่มา Facebook
ข่าวที่ 2 เตรียมความพร้อมสำหรับวันหยุดปลายปี ร้านของคุณตอบคำถามเหล่านี้ได้หรือยัง ?
ถือโอกาสที่ในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ มีวันหยุดยาวให้เรามีเวลาว่างกันมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะส่งผลถึงอัตราการชอปปิงออนไลน์ที่มากขึ้น ดังนั้น Facebook จึงได้ทำการปล่อยคำแนะนำ ที่จะช่วยให้เหล่าร้านค้าออนไลน์ หรือ E-commerce ที่ไม่ยอมแพ้ในช่วง COVID-19 ได้มีโอกาสพัฒนาร้านค้า และการโฆษณาของตัวเองกัน
โดย Facebook ได้มีการถาม 5 คำถามที่ร้านค้าออนไลน์ หรือ E-commerce ต้องตอบให้ได้เพื่อเตรียมตัวไว้สำหรับการขายในช่วงวันหยุดยาว ซึ่งจะมีคำถามอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ
คำถามที่ 1 ช่องทางการขายของเรา Mobile-Friendly หรือเปล่านะ ?
พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือในการซื้อสินค้าออนไลน์ เป็นที่รู้ ๆ กันนะคะ ว่ามีสัดส่วนมากแค่ไหน ดังนั้นหากเรามีเว็บไซต์ หรือจะเลือกแพลตฟอร์มอะไร เราต้องมั่นใจค่ะว่ามัน Mobile-Friendly หรือรองรับการใช้งานบนมือถือได้ดีแน่ ๆ ซึ่งปัจจัยนี้สำคัญขนาดไหน ก็สามารถดูได้จากการที่ Facebook ให้ความสำคัญกับคำถามนี้เป็นคำถามแรกเลยทีเดียว
คำถามที่ 2 ลูกค้าซื้อสินค้าของเราได้สะดวกแค่ไหน ?
โดย Facebook ถึงขั้นมีการให้ร้านค้าต่าง ๆ ลองไปนับจำนวนคลิกตั้งแต่เริ่มเข้าร้าน จนจบขั้นตอนการจ่ายเงินกันทีเดียว ซึ่งในฐานะของ E-commerce หรือร้านค้าออนไลน์ที่ดี Facebook แนะนำว่าไม่ควรมีขั้นตอนที่มากเกินความจำเป็น (เช่น ขั้นตอนการกรอกข้อมูลส่วนตัว โดยเฉพาะถ้ายิ่งให้กรอกเยอะก็ยิ่งน่ากลัวสำหรับลูกค้านะคะ)
คำถามที่ 3 เว็บไซต์ของเราโหลดเร็วพอหรือยัง ?
ถ้าหากร้านค้าออนไลน์ของคุณมีเว็บไซต์ องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งเลยคือต้องมั่นใจ ว่าการโหลดหน้าเว็บไซต์ของเราจะไวทันใจลูกค้า ซึ่งนอกจากปัจจัยนี้จะส่งผลต่อความถึงพอใจของลูกค้าแล้ว ยังมีผลต่อ SEO ด้วยนะคะ โดยหากใครที่สนใจสามารถไปวัดระดับความเร็วของเว็บไซต์ได้ที่ Google Pagespeed เลยค่ะ
📢📢 หากใครสนใจเกี่ยวกับปัจจัยในด้าน SEO หรืออยากใช้ข้อมูลขับเคลื่อนการวางกลยุทธ์คอนเทนต์ให้ยอดขายโต ยอดเข้าชมเว็บไซต์ปัง ๆ สามารถเรียนรู้ในหลักสูตรใหม่ของเราที่มีชื่อว่า Data-Driven Content Strategy นะคะ รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
คำถามที่ 4 ร้านค้าของเรารองรับการชำระสินค้าที่หลากหลายพอหรือไม่ ?
จะว่าไปมันก็น่าหงุดหงิดนะคะ เวลาที่ซื่อสินค้าออนไลน์ แล้วต้องมานั่งจดนั่งจำเลขบัญชีของร้าน แถมยังต้องเข้าแอปฯ ธนาคารให้เสียเวลา ซึ่งปัญหาเหล่านี้บอกได้เลยว่าเป็นปัญหาที่เราควรใส่ใจ
โดยร้านค้าออนไลน์ที่ดี Facebook แนะนำเลยค่ะว่าต้องมีช่องทางการชำระสินค้าที่หลากหลาย ซึ่งสามารถแก้ปัญหาสำคัญนี้ได้ด้วยการใช้ Facebook Pay ซึ่งเป็นฟีเจอร์ใหม่เพื่อลูกค้าของเราที่จะเปย์ได้อย่างสะดวกและมั่นใจ เพราะสามารถจ่ายได้ทันทีใน Messenger (กดโอนได้เลยในแอปฯ หรือ จะจ่ายผ่านบัตรก็ได้)
คำถามมที่ 5 ร้านของเรามีนโยบายการคืนสินค้า ที่ลูกค้าพึงพอใจไหม ?
เพราะไม่ว่าจะเป็นนโยบาย หรือ ขั้นตอนการคืนสินค้าที่ง่าย ก็จะทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจ และไว้ใจเรามากขึ้นนั่นเองค่ะ ซึ่งนอกจากนโยบายที่ดี ร้านทุกร้านอย่าลืมนะคะว่าต้องมีการเขียนอธิบายที่ชัดเจนด้วย ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะยิ่งช่วยให้ร้านค้าออนไลน์ของเรามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
โดยจะแอบเสริมนิดนึงนะคะว่าอีกหนึ่งวิธีในการสร้างความเชื่อถือให้ลูกค้า เราสามารถเพิ่มได้ด้วยการใช้ Facebook Pay ด้วยเช่นกัน จากนโยบายที่มีตั้งแต่การยืนยันได้รับสินค้า และ นโยบายเพื่อคุ้มครองลูกค้าอื่น ๆ
ข่าวที่ 3 โฆษณา Facebook ที่ดี ต้องมีความถี่ในการถูกมองเห็นเท่าไหร่ ?
โดยข่าวนี้เป็นข่าวในช่วงปลายเดือนตุลาคม ที่ Facebook ได้ปล่อยข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการโฆษณา ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ Frequency หรือความถี่ที่คน ๆ จะเห็นโฆษณาของเรา ซึ่งมักจะเป็นที่สงสัยในหมู่นักการตลาด ว่าควรจะเห็นถี่แค่ไหนกันถึงจะดี โดยบทความนี้พวกเราจะมาสรุปข้อมูลเด็ด ๆ ให้อ่านกันค่ะ
โดยเรามาเริ่มกันที่การสำรวจของ Facebook กันก่อนนะคะ ในการสำรวจครั้งนี้ Facebook ทำการสำรวจ และ วิเคราะห์กับแคมเปญที่เกิดขึ้นบน Facebook ถึง 2,439 แคมเปญกันเลยทีเดียวค่ะ
และผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ Facebook พบว่าการโฆษณาที่มี Impressions หรือ ค่าการถูกมองเห็นมาก มักจะสัมพันธ์กับ KPI ที่ดีทั้งในด้านเจตนาที่อยากจะกระทำเช่นความต้องการซื้อ หรือ สมัคร ประกอบกับเพิ่มอัตราการจดจำโฆษษณา (แต่ก็มีลิมิตอยู่นะคะ)
ดังนั้นคำถามต่อมาก็คือ แล้วลิมิตของมันคือเท่าไหร่ ? ความถี่ต้องมากขนาดไหนจึงนับกว่าเกินพอดี ?
ที่มา Facebook
หากดูที่กราฟด้านบน ซึ่งเป็นการเทียบกันระหว่างแคมเปญสามประเภทซึ่งแบ่งตามความครีเอทีฟ ของเนื้อหาที่มีผลตอบรับจากลูกค้ามากกว่ากัน ซึ่งได้แก่ ประเภทเนื้อหาที่มีผลตอบรับดี (สีส้ม) ประเภทเนื้อหาที่มีผลตอบรับปานกลาง (สีม่วง) และประเภทเนื้อหาที่มีผลตอบรับน้อย (สีฟ้า)
โดยหากดูที่กราฟจะพบว่าเนื้อหาของคอนเทนต์เป็นปัจจัยที่สำคัญ แต่ที่มองข้ามไม่ได้เหมือนกันนั่นคือ “ความถี่” ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีจำนวนการถูกมองเห็นโดยลูกค้าที่อาจต่างกันหรือคล้ายกัน ซึ่งเราต้องหาจำนวนนั้น ๆ ให้ได้ (สังเกตว่าบางอันเมื่อถูกมองเห็นในครั้งที่ 7 จะมี performance ลดลง )
ข่าวที่ 4 Vanishing Mode ใน Messenger
ข่าวนี้เป็นข่าวที่สร้างความฮือฮาในระดับหนึ่งเลยนะคะ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เมื่อ Facebook ได้เพิ่ม Vanishing Mode เข้าไปใน Messenger โดย Vanishing Mode ตัวนี้คือโหมดที่ทำให้ข้อความที่คุณส่ง หรืออ่าน หายไปทันที่ที่เรากดออจากหน้าต่างแชท
ซึ่งข้อดีของ Vanishing Mode นี้ก็คือเราสามารถกด เปิด-ปิด ได้ทันทีในหน้าต่างแชทที่ต้องการ แต่อย่างไรก็ตาม Vanishing Mode ก็มีข้อจำกัดและหลักการใช้งานดังต่อไปนี้
- มีเพียงแค่คนที่เราเชื่อมต่อด้วยเท่านั้นที่สามารถใช้ Vanishing Mode ใน Messenger ได้
- เราสามารถเปิดโหมดนี้ได้ทันทีในหน้าต่างแชท
- หากใครก็ตาม “แคป” หน้าจอการแชทไป จะมีการแจ้งเตือนให้เรารู้ทันที
- เราสามารถบล็อก หรือ รายงานข้อความการสนทนาที่ทำให้เรารู้สึกไม่ปลอดภัยได้
ที่มา The Verge
ข่าวที่ 5 Instagram Shop เปิดให้ใช้ในประเทศไทยได้แล้ว
ผู้อ่านหลาย ๆ คนคงจะเห็นหน้าเห็นตากันมาแล้ว กับไอคอน Shop ที่เข้ามาทดแทนไอคอนหัวใจ ซึ่งถูกแสดงอยู่ในแถบด้านล่างของ Instagram และถึงแม้ผู้ใช้บางคนอาจจะมีความรำคาญ แต่ขอบอกเลยค่ะว่านี่แหละคือการพัฒนาที่เหล่าร้านค้าออนไลน์รอคอย
โดยการอัปเดตครั้งนี้คือการอัปเดตฟีเจอร์ Instagram Shop ที่เราน่าจะเห็นข่าวคราวผ่านตากันมาบ้าง ซึ่งในปัจจุบันนี้ในประเทศไทยของเราก็สามารถใช้งานฟีเจอร์นี้ได้แล้ว
แล้ว Instagram Shop คืออะไร ? Instagram Shop เป็นฟีเจอร์ที่เปิดโอกาสให้เราสามารถนำแคตตาล็อกสินค้า เข้ามารวมกับบัญชี Instagram ของเราได้ และที่น่าสนใจก็คือเราสามารถใส่ Tag ในรูปภาพเพื่อให้ลูกค้ากดไปยังแคตตาล็อกของเราได้ทันที
นอกจากนี้เรายังสามารถทำการโฆษณาสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ ใน Instagram ได้อีกด้วย เช่น ช่องทาง IG TV หรือ IG story นั่นเอง
ข่าวที่ 6 Facebook Pay เปิดให้ใช้ในประเทศไทยได้แล้ว
อย่างที่ได้มีการพูดถึงไปด้านบน เนื่องจากการค้าขายออนไลน์ในปัจจุบันเรียกได้ว่าเติมโต และ มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกับการซื้อสินค้าผ่านแชทที่หลาย ๆ คน ถึงกับบอกเลยว่า เริ่มหันมาซื้อออนไลน์ครั้งแรกด้วยการซื้อผ่านแชท
ซึ่งข่าวนี้เรียกว่าเป็นข่าวที่น่ายินดีสำหรับใครก็ตามที่มีการทำธุรกิจ หรือ มีช่องทางการขายผ่าน Facebook ค่ะ เพราะเจ้า Facebook Pay ตัวนี้คือบริการที่จะช่วยให้ลูกค้าของคุณเกิดความประทับใจแน่ ๆ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เกิดความพึงพอใจ Facebook Pay ยังช่วยให้ร้านค้าออนไลน์อย่างเราลดภาระไปได้อีกด้วยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นการลดภาระในการตรวจสลิปปลอม ที่บางร้านมีกันเป็นร้อย ๆ ต่อวัน
โดยหากใครสนใจอยากรู้เกี่ยวกับ Facebook Pay เพิ่มเติมสามารถตามไปอ่านกันได้ที่ลิงก์นี้เลยค่ะ หรือหากใครสนใจอยากจะสมัครใช้ทันทีก็สามารถทำได้ผ่าน QR Code เลยค่ะ
ที่มา
Facebook, Social Media Today และ Hootsuite