Update !! การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบน Facebook ในปี 2020

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับช่วงเวลาสองเดือนที่ผ่านมา หลาย ๆ คนคงจะยุ่งกันมากจนอาจจะไม่มีเวลาที่จะอัปเดตการเปลี่ยนแปลงในโลกออนไลน์ และหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่เราจะพลาดการอัปเดตไม่ได้เลย คือ การเปลี่ยนแปลงของ Facebook 

โดยหากใครที่มีการทำการตลาดบน Facebook แล้วเริ่มสงสัยว่าตัวเราพลาดอะไรไปหรือเปล่า ?  ไม่ต้องห่วงครับ เพราะวันนี้ผมจะมาสรุปสิ่งที่น่าสนใจ ทั้งการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ และการเปลี่ยนแปลงด้านอัลกอริทึมใน Facebook กัน

การอัปเดตต่าง ๆ จะเป็นอย่างไร ? สามารถติดตามอ่านกันได้ตามลิสต์ (รวมอัปเดต Facebook ในเดือนต่าง ๆ ) และ บทความด้านล่าง (การเปลี่ยนแปลงประจำเดือนพฤษภาคม)

5 การเปลี่ยนแปลงของ Facebook ในเดือน พฤษภาคม 2020


เรามาเริ่มกันที่การสรุปข่าวสารการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของ Facebook ที่น่าสนใจกันครับ โดยเราจะมาเริ่มกันเลยที่ข่าวแรกนั่นคือ

การเปลี่ยนแปลงข้อที่ 1 : เลื่อนการจำกัดจำนวนโฆษณา ! 

คงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วใช่ไหมครับ กับข่าวที่ Facebook ได้ประกาศออกมาว่า 

ทาง Facebook จะมีนโยบายจำกัดจำนวนการโฆษณาของแต่ละเพจ ด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการจะลดจำนวนโฆษณาที่ผู้โฆษณาแต่ละคนไม่ให้ล้นจนเกินไป 

ซึ่งนี่คงจะเป็นข่าวใหญ่ที่หลาย ๆ คนสนใจกันแน่นอนครับ โดยล่าสุดทาง Facebook ได้มีการประกาศออกมาแล้วว่า 

ลื่อนครับ !  จากเดิมที่วางแผนว่านโยบายนี้จะมีการกำหนดใช้ในปี 2020 นี้ ล่าสุดมีข้อสรุปออกมาแล้วครับว่าจะเลื่อนไปเป็นภายในปี 2021 แทน

นี่นับเป็นข่าวดีของนักโฆษณาหลาย ๆ คนใช่ไหมครับ โดยทาง Facebook ได้มีการระบุเหตุผลออกมาว่า การเลื่อนครั้งนี้มีขึ้นเพื่อเป็นการให้เวลาเหล่านักโฆษณาได้เตรียมตัวกันมากขึ้น ปรับตัวปรับจำนวนของการโฆษณาให้พร้อมก่อนที่จะเริ่มมีการบังคับใช้นั่นเอง

หลายคนที่อาจจะไม่ได้ติดตามข่าวนี้ในตอนแรก อาจจะสงสัยกันใช่ไหมล่ะครับ ว่าเค้าทำอย่างนี้ทำไม หรือ Facebook จะใจร้ายกับเราอีกแล้ว ? 

สำหรับเหตุผลของข้อบังคับนี้ มีอยู่ว่าทาง Facebook ได้มองเห็นถึงปัญหา ที่จำนวนโฆษณาในแต่ละเพจมีเยอะจนเกินไป จนทำให้ประสิทธิภาพของการโฆษณาไม่ดีเท่าที่ควร

เพราะจำนวนโฆษณาที่ล้นจนเกินไปนั่นเองที่ทำให้โฆษณาบางตัวออกจาก ช่วงการเรียนรู้ (Learning Phase) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ตัวระบบจะทำการศึกษาโฆษณาของเรา และวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ เช่น ผู้ชมที่ใช่ จุดหมายที่ถูกต้อง เพื่อให้โฆษณาแสดงผลออกมาได้มีประสิทธิภาพที่สุด 

ผลจากการออกจากช่องการเรียนรู้นี้ทั้งที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ทำให้ไม่ทันจะได้ทำอะไร โฆษณาของเราก็ออกไปทำให้ประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งทาง Facebook ได้ให้เหตุผลว่านี่จะทำให้งบประมาณที่นักโฆษณาจ่ายไปไม่คุ้มค่าครับ

การดูจำนวนโฆษณาที่กำลังแสดงผลผ่าน Ad Volume API
การดูจำนวนโฆษณาที่กำลังแสดงผลผ่าน Ad Volume API

ที่มา Facebook for Developer

แต่ก็ไม่ใช่ว่า Facebook จะประกาศข้อบังคับออกมาโพล่ง ๆ แบบไม่มีทางเลือก หรือ ตัวช่วยอะไรให้เรานะครับ เพราะทาง Facebook ก็ได้นำเสนอเครื่องมือที่เรียกว่า Ad Volume API สำหรับนักโฆษณาที่มีโฆษณาในมือจำนวนมาก ช่วยให้สามารถจัดการ และ ติดตามผลลัพธ์ของโฆษณาได้ เช่น เรื่องที่ฟังดูเหมือนจะง่าย ๆ แต่นักโฆษณาต้องส่ายหน้า อย่างการแจ้งจำนวนโฆษณาที่กำลังมีการแสดงผลอยู่นั่นเอง

การเปลี่ยนแปลงข้อที่ 2 : Instagram เปิดโอกาสให้เจ้าของแอพพลิเคชันสามารถโฆษณาพร้อมปุ่มติดตั้งผ่าน Branded Content Ads แล้ว

 

ตัวอย่างการโฆษณาพร้อมปุ่มติดตั้งผ่าน Branded Content Ads
ตัวอย่างการโฆษณาพร้อมปุ่มติดตั้งผ่าน Branded Content Ads

ที่มา revealbot.com

สำหรับแบรนด์ไหนที่ทำการตลาดบน IG (Instagram หรือ อินสตาแกรม) และมีแอพพลิเคชั่นที่อยากให้ลูกค้ากดติดตั้งจากโฆษณานั้นได้เลย ข่าวดีของพวกเรามาแล้วครับ เพราะ Facebook เพิ่งทำการประกาศออกมาว่าแล้วสำหรับ ครั้งแรกบน IG ที่จะมีตัวเลือกให้เราโฆษณาแอพพลิเคชั่นพร้อมตัวเลือกให้ติดตั้งผ่าน Branded Content Ads 

การเปลี่ยนแปลงข้อที่ 3 : การบริหารงบโฆษณาในระดับแคมเปญ  (Campaign Budget Optimization หรือ CBO) จะไม่ถูกบังคับใช้แล้ว


ข่าวต่อมาครับ เป็นข่าวสำหรับนักโฆษณาบน Facebook เช่นกัน ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินหรือได้ใช้กันมาแล้วกับเครื่องมือช่วยบริหารจัดการงบโฆษณาในระดับแคมเปญที่เรียกว่า CBO ที่ย่อมาจาก Campaign Budget Optimization ซึ่งทาง Facebook เพิ่งมีการประกาศไม่นานมานี้ว่าตัวเครื่องมือตัวนี้จะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องบังคับใช้อีกต่อไป

ตัวอย่าง การจัดการงบประมาณด้วย CBO
ตัวอย่าง การจัดการงบประมาณด้วย CBO

ที่มา medium.com 

หลายคนอ่านแล้วคงจะสงสัยใช่ไหมครับ ว่า CBO ผิดอะไร ? CBO จะโดนเทหรอ? คำตอบคือไม่ครับ ทาง Facebook แค่มีการปรับเปลี่ยนไม่บังคับใช้ CBO อีกต่อไปสำหรับคนที่จะทำโฆษณา ซึ่งเหตุผลครั้งนี้ก็มีอยู่ว่าทาง Facebook ได้พบว่ามันดันไม่ค่อยจะสมเหตุสมผลเท่าไหร่ในการใช้งาน และมีปัญหาด้านความยืดหยุ่นในบางกรณีเท่านั้นเอง

ซึ่งหากใครกำลังกลัวว่าจะอดใช้งาน CBO แล้วหรอ ? ไม่ใช่อย่างนั้นครับ เพราะเครื่องมือสุดพิเศษตัวนี้ ที่ช่วยให้เราสามารถจัดการงบประมาณในการทำโฆษณา โดยการพึ่งพาอัลกอริทึมของ Facebook จะยังมีให้เราได้ใช้งานกันเช่นเดิมครับ

และไม่ต้องเป็นห่วงไปครับ เพราะสำหรับเจ้าของบัญชีไหน ที่เคยถูกบังคับให้ใช้ CBO การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะไม่มีผลกระทบใด ๆ ให้แคมเปญในปัจจุบันครับ

การเปลี่ยนแปลงข้อที่ 4 : ไลฟ์สดบน Facebook แบบเฉพาะเสียง (Audio Only) ได้แล้ว !

 

Faceboo LIVE

ที่มา Facebook

ที่ผ่านมา LIVE Streaming หรือการไลฟ์สด เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ของ Facebook ที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา เราคงเห็นกันแล้วว่าแต่ละสื่อ หรือ แต่ละธุรกิจใช้การไลฟ์สดกันมากขึ้นขนาดไหน ซึ่งล่าสุด Facebook ได้มีการอัปเดตเครื่องมือเพิ่มเติมซึ่งมีความน่าสนใจอยู่ที่ “Audio Only” และ “Auto Caption” ครับ

โหมดเฉพาะเสียง (Audio Only) คือการไลฟ์สดบน Facebook รูปแบบใหม่ที่จะเข้ามาตอบสนองความนิยมของการฟังรายการเสียงบนโลกออนไลน์ (Podcast) ที่มากขึ้นในทุก ๆ ปี ด้วยการไลฟ์ที่มีเฉพาะเสียงเท่านั้น คล้ายกับรายการเสียงสั้น ๆ นั่นเอง

ระบบการขึ้นคำบรรยายอัตโนมัติ (Automatic Caption) ระบบที่จะทำให้ผู้ชมมีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น เนื่องจากทาง Facebook ได้รับรู้ถึงโอกาสจากการไลฟ์สดบน Facebook ที่ในปัจจุบันยังไม่เอื้อให้กับผู้ชมที่ชื่นชอบการอ่านคำบรรยายมากกว่าฟังเสียงทั้งที่จำนวนผู้เข้าใช้ที่ปิดเสียงระหว่างดูวิดีโอมีถึง 85 % 

ทาง Facebook จึงตัดสินใจที่จะใส่ระบบนี้ขึ้นมา เพื่อทำให้ลูกค้าที่ประสบปัญหาดูไลฟ์สดในช่วงเวลานั้นไม่ได้ เพราะอาจจะติดเรื่องสถานที่ หรือ มีความถนันที่จะอ่านมากกว่าได้มีทางเลือกที่ดีขึ้น

ถึงแม้ว่ารายละเอียดต่าง ๆ จะยังไม่ออกมามากนัก แต่ก็นับว่าเป็นการอัปเดตที่น่าจับตามองอย่างมาก ทั้งประโยชน์ที่พวกเราจะได้รับ และกับวิธีที่ Facebook จะจัดการกับปัญหาต่าง ๆ อย่างเสียงพื้นหลัง หรือ เสียงผู้พูดฮึมฮัม รวมทั้งภาษาไทยจะมีให้เราใช้ไหม เราต้องติดตามกันต่อไปครับ

ตัวอย่าง ข้อผิดพลาดของ Mode Auto Caption บน YouTube
ตัวอย่าง ข้อผิดพลาดของ Mode Auto Caption บน YouTube

ที่มา 3playmedia.com

การเปลี่ยนแปลงข้อที่ 5 : Messenger Desktop ให้เราใช้งานระบบส่งข้อความของ Facebook บนจอที่ใหญ่ขึ้น


หลังจากที่เราได้เห็นกันไปแล้วกับโปรแกรมสื่อสารวิดีโอออนไลน์ต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วง COVID – 19 ทั้ง Zoom และ Microsoft Team 

หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า Facebook ก็ได้มีการอัปเดตในด้านนี้เช่นเดียวกัน โดยเป็นการอัปเดตของระบบส่งข้อความ (Messenger) ที่ ณ ตอนนี้มีแอพพลิเคชั่นให้โหลดสำหรับคอมพิวเตอร์กันแล้ว 

Messenger สำหรับคอมพิวเตอร์นี้มีดียังไง ? แอพพลิเคชันนี้เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ใช้งานที่สะดวก ทดแทนการใช้งานแบบเดิมที่เราจะต้องเข้าไปใช้งานบนบราวเซอร์ นอกจากนั้นแล้ว เรายังสามารถตั้งกลุ่มสนทนา หรือสื่อสารด้วยวิดีโอเป็นกลุ่มได้ ซึ่งก็เป็นไปตามเป้าหมายของ Facebook เลยครับที่อยากจะให้ทุกคน “เชื่อมต่อกันและกันมากขึ้น” 

นับว่าเป็นอัปเดตที่น่าสนใจมากครับ สำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ โดยเฉพาะในช่วงเวลา COVID – 19 ที่การสื่อสารออนไลน์เริ่มมีความสำคัญ และ มีการแข่งขันที่มากขึ้น ซึ่งเราก็ต้องมาติดตาามกันต่อไปครับว่าแบรนด์ไหน จะมีการขยับตัวยังไงกับการแข่งขันที่รุนแรงอย่างนี้

ตัวอย่างการใช้งานแอพพลิเคชั่นส่งข้อความของ Facebook (Messenger) บนคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างการใช้งานแอพพลิเคชั่นส่งข้อความของ Facebook (Messenger) บนคอมพิวเตอร์

ที่มา messenger.com

อัลกอริทึมที่เปลี่ยนไปในปี 2020 ที่คุณอาจจะยังไม่รู้


สำหรับพวกเราที่เป็นนักการตลาด หรือ คอนเทนต์ครีเอเตอร์คงเป็นที่รู้ดีกันครับว่า

การจะทำการตลาดบน Facebook สิ่งที่สำคัญสุด ๆ คือการเข้าใจอัลกอริทึมในการแสดงผลของมัน 

ซึ่งในปี 2020 นี้ Facebook ได้ทำการเปลี่ยนอัลกอริทึมในการแสดงผลของโฆษณา หรือ โพสต์ต่าง ๆ ของแบรนด์ โดยจะสังเกตได้จากผลลัพธ์ในการทำการตลาดบน Facebook ที่ไม่เหมือนเดิมตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยสำหรับใครที่ยังไม่รู้ เดี๋ยวเรามาดูกันดีกว่าครับว่ามีอะไรที่เปลี่ยนไปบ้าง 

Facebook ได้มีการปรับอัลกอริทึมให้แสดงสิ่งที่ผู้ใช้งานมีโอกาสจะมีปฏิสัมพันธ์ในแง่บวก เพื่อให้ทุกสิ่งที่แสดงออกมามีความหมายต่อผู้ใช้งานนั้น ๆ 

โดยสิ่งที่อัลกอริทึมของ Facebook จะใช้เป็นเกณฑ์ในการแสดงผลโฆษณาจะขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัยต่อไปนี้ครับ

คลังคอนเทนต์และโฆษณาที่จะขึ้นมาแสดงแก่ผู้ใช้ (Inventory)

ที่มา tinuiti.com

คลังคอนเทนต์และโฆษณาที่จะขึ้นมาแสดงแก่ผู้ใช้งาน (Inventory)

นี่คือสิ่งแรกที่อัลกอริทึมของ Facebook จะทำการพิจารณา ซึ่งมันก็คือจำนวนของโพสต์ และ โฆษณาทุกอย่างที่จะถูกแสดงบน New Feeds ต่อผู้ใช้งานไม่ว่าจะเป็นจากเพื่อน หรือจากสื่อต่าง ๆ นั่นเอง

สัญญาณบอกคุณภาพคอนเทนต์ (Signal) 

นี่คือสิ่งเดียวที่เราสามารถควบคุมได้ มันคือสัญญาณที่จะบอก Facebook ว่าคอนเทนต์หรือโฆษณาของเรานั้นมีความหมาย และ มีความสำคัญต่อผู้ใช้งานอย่างไร โดยสิ่งที่ Facebook จะเก็บข้อมูลไปแล้วทำความเข้าใจคอนเทนต์ และโฆษณาของเราได้ โดยประกอบไปด้วย รูปแบบของคอนเทนต์ ผู้สร้างเป็นใคร ? อายุของโฆษณามีเท่าไหร่ ? และเป้าหมายเพื่ออะไร ? เป็นต้น  

โดยสัญญาณบอกคุณภาพคอนเทนต์ (Signal) ก็สามารถเป็นผลตอบรับที่ได้จากผู้ใช้งานคนอื่น ๆ เช่นเดียวกัน ดังนั้นถ้าคอนเทนต์ของเรามีจำนวน การชื่นชอบ ส่งต่อ หรือ แสดงความคิดเห็น ที่เยอะก็จะเป็นอีกสัญญาณนึงที่บอก Facebook ให้แสดงผลคอนเทนต์เราได้ดีขึ้น

การคาดคะเนการตอบสนองของผู้ใช้งาน (Predictions)

มันคือการคาดคะเนของ Facebook จากการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้งานว่าจะมีการตอบสนองต่อคอนเทนต์ หรือ โฆษณานั้น ๆ อย่างไร จะเป็นการตอบสนองในแง่บวกหรือไม่ โดยจะดูจากประวัติการกดชื่นชอบ ส่งต่อ แสดงความคิดเห็น หรือการกระทำต่าง ๆ ของผู้ใช้บน Facebook

คะแนนประเมิณคุณภาพ (Score)

ที่มา tinuiti.com

คะแนนประเมิณคุณภาพ (Score) 

คะแนนตัวนี้จะเป็นตัวเลขที่ทาง Facebook จะทำการวิเคราะห์จากปัจจัยที่ถูกพูดถึงด้านบนออกมาเป็นตัวเลข ซึ่งจะเป็นคะแนนที่บอกว่าตัวคอนเทนต์หรือโฆษณาของเราตัวนี้จะมีการตอบสนองจากผู้ใช้งานในแง่บวกหรือไม่ 

แล้วเราจะทำยังไง ? 

สำหรับการรับมืออัลกอริทึมที่เปลี่ยนไป Tinuiti บริษัทการตลาดออนไลน์ระดับสากลชื่อดังที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก ได้บอกเอาไว้ว่ามีอยู่ 5 อย่างด้วยกันครับนั่นคือ 

สร้างคอนเทนต์ที่เปิดประเด็นให้มีการพูดคุยกัน

ตัวอย่างการโพสต์เชิงคำถามเปิดประเด็น
ตัวอย่างการโพสต์เชิงคำถามเปิดประเด็น

ที่มา socialmediaexaminer.com

Facebook ชื่นชอบคอนเทนต์ที่ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งานมากเลยครับ โดยหากคอนเทนต์ของเรามีการกระตุ้นให้ลูกค้าแสดงความคิดเห็น กดชื่นชอบ หรือส่งต่อ ก็จะทำให้โพสต์นั้น ๆ มีระสิทธิภาพมากขึ้น

โฟกัสที่เป้าหมาย

อย่างหนึ่งที่เราต้องรู้คือเราต้องการจะสื่อสารกับใครเป็นหลัก แล้วผลิตคอนเทนต์ที่โฟกัสพวกเค้าเหล่านั้น ซึ่งจะทำให้โอกาสที่กลุ่มเป้าหมายของเราจะมามีส่วนร่วม  (Engagement) กับโพสต์มากขึ้น

ตัวอย่างเช่น หากเราเป็นบริษัทที่ขายเครื่องเล่นแผ่นเสียง ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ฟังเพลงแนวแจ๊ส เราก็ควรทำคอนเทนต์ที่ไม่ได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกี่ยวกับดนตรีที่แมส ๆ แต่โฟกัสไปที่แนวเพลงที่ลูกค้าเราฟังจะดีกว่า

หยิบคอนเทนต์เดิมที่ปังมาต่อยอด

ตัวอย่างการนำ คอนเทนต์เดิมที่มีประสิทธิภาพมาใช้ต่อยอด
ตัวอย่างการนำ คอนเทนต์เดิมที่มีประสิทธิภาพมาใช้ต่อยอด

ที่มา tinuiti.com

บางคอนเทนต์ที่เราเห็นว่าได้ผลลัพธ์ที่ดีในการโพสต์แบบไม่เสียเงิน (Organic) เราสามารถหยิบโอกาสตรงนี้มาต่อยอดได้ ด้วยการนำคอนเทนต์เหล่านั้นมาโปรโมทโพสต์ หรือ Boost ซึ่งคอนเทนต์เหล่านี้เรามั่นใจได้ว่าเป็นคอนเทนต์ที่มีประสิทธิภาพ และมีโอกาสที่ถ้าเรายิ่งใช้เงินในการโปรโมทโพสต์จะได้ผลลัพธ์ที่ดีแน่นอน 

ในทางตรงกันข้ามหากเราเห็นว่าคอนเทนต์ไหนที่มีผลตอบรับจากผู้ใช้งานน้อยนั่นก็แสดงว่าเนื้อหาอาจจะไม่เวิร์ค ซึ่งถ้าเรายิ่งกดโปรโมทโพสต์ไปก็จะทำให้เงินจมไปกับค่าต้นทุนต่อหนึ่งคลิก (CPCs) ที่สูงแต่ผลลัพธ์ต่ำ

หลีกเลี่ยงการใช้ข้อความพาดหัวเพื่อเรียกความสนใจ โดยปราศจากคุณภาพคอนเทนต์

ตัวอย่างโพสต์ที่กระตุ้นให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ของลูกค้า (Engagement) อย่างเดียว
ตัวอย่างโพสต์ที่กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของลูกค้าอย่างเดียว

 ที่มา wishpond.com

รู้สึกคุ้นเคยกันไหมครับ กับคอนเทนต์ที่ขึ้นด้วยคำประเภทคลิกเบตอย่าง “แชร์ถ้าคุณ…” หรือ ประเภทที่ใช้คำกระตุ้นให้เกิดการการมีส่วนร่วมของลูกค้ากันอย่างโฉ่งฉ่าง แบบ “ช่วยกดไลค์ กดแชร์ ให้….ด้วย” ซึ่งตอนนี้ Facebook ไม่ค่อยจะถูกใจการใช้คำเหล่านี้เท่าไหร่แล้วครับ

ที่เราควรทำไม่ใช่การใช้คำเหล่านั้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมครับ แต่คือการทำเนื้อหาคอนเทนต์ที่คนจะแชร์ หรือ คอมเมนต์กันโดยธรรมชาติ ซึ่ง Facebook จะชอบมาก ๆ เลยครับ

คอยตรวจสอบผลลัพธ์ (KPI) ของคอนเทนต์ที่เราลง

ตัวอย่าง หน้าข้อมูลเชิงลึกของ Facebook
ตัวอย่าง หน้าข้อมูลเชิงลึกของ Facebook

ที่มา tinuiti.com

การหมั่นเข้าไปดูผลลัพธ์ของคอนเทนต์ที่เราลงไป ด้วยการใช้ดูหน้าข้อมูลเชิงลึก (Facebook Insight) ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่เราจะรู้ได้ครับว่าแต่ละคอนเทนต์ที่เราลงไปมีผลลัพธ์อย่างไรบ้าง ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างคอนเทนต์ใหม่ ๆ ได้ครับ

ที่มา

https://adespresso.com/blog/top-updates-facebook-monthly-need-know-now/

https://marketingland.com/facebook-to-limit-number-of-ads-pages-can-run-simultaneously-270449

https://revealbot.com/blog/facebook-update-algorithm-changes-news/

https://tinuiti.com/blog/paid-social/facebook-algorithm/

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

5 ประเภท #Hashtag ทำการตลาดบนโซเชียลมีเดียให้ปัง
3 เหตุผลทำไมผู้ดูแลเพจควรใช้เครื่องมือ Creator Studio