เพิ่ม Engagement ง่ายๆ! แค่เลือกประเภท Content ให้เหมาะสม กับแต่ละช่องทาง Social Media

content-type-for-each-social-media

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังลงมือผลิตคอนเทนต์บนโซเชียลมีเดีย สิ่งที่คุณควรคำนึงถึง นอกจากคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ สามารถตอบโจทย์หรือช่วยแก้ปัญหาให้ผู้อ่านได้แล้ว ยังต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของรูปแบบคอนเทนต์ ในช่องทางที่คุณเลือกลงด้วย เริ่มจากคำถามที่ว่า ประเภทของคอนเทนต์ที่คุณใช้อยู่… เหมาะสมกับช่องทางโซเชียลมีเดียนั้นๆแล้วหรือยัง?

“เพราะไม่ใช่ทุกประเภทของคอนเทนต์ จะเหมาะสมกับทุกโซเชียลมีเดีย”

จริงๆแล้วการนำเสนอคอนเทนต์ประเภทเดียวกันในแต่ละช่องทางเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่การนำเสนอผ่านรูปแบบที่แตกต่างแต่มีความเหมาะสม จะช่วยเพิ่ม Engagement เพิ่มยอดการรับชมได้มากกว่า เพราะตรงกับพฤติกรรมการรับสื่อของผู้รับชมในช่องทางนั้น หากผู้ใช้งานในช่องทางโซเชียลมีเดียที่คุณใช้มีพฤติกรรมชอบรับชมคอนเทนต์วิดีโอ แต่เรานำเสนอประเภทคอนเทนต์เป็นข้อความธรรมดา ที่ไม่มีแม้แต่ภาพประกอบ คอนเทนต์นั้นก็อาจจะได้ Engagement น้อย ประสิทธิภาพของโพสต์นั้นก็จะไม่ดีเท่าคอนเทนต์ประเภทวิดีโอ เป็นต้นค่ะ

ทางทีมงานของเราจึงนำบทความที่น่าสนใจจากเว็บไซต์ Buffer เกี่ยวกับประเภทของคอนเทนต์ที่เหมาะสมกับแต่ละโซเชียลมีเดีย ซึ่งวิเคราะห์จากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง พร้อมตัวอย่างที่จะทำให้คุณเข้าใจ และเห็นภาพมากขึ้นค่ะ

 

 

content-type-for-each-social-media

Facebook   : วิดีโอและวิดีโอสด, บทความจากบล็อค และคอนเทนต์จากแหล่งอื่นที่เพจคัดสรรมา

Instagram  : ภาพถ่ายคุณภาพสูง, คำคม และ IG Stories

Twitter       : ข่าว, บทความจากบล็อค และ GIFs

LinkedIn    : งาน, ข่าวสารของบริษัท และคอนเทนต์ความรู้วิชาการ

ช่องทาง Facebook

things-to-post-on-facebook

Videos and Live Videos : วิดีโอ และวิดีโอสด

เป้าหมายหลักของการใช้ Facebook ส่วนใหญ่แล้ว มีจุดประสงค์เพื่อทำให้คนพบเห็นและรู้จักแบรนด์ รวมไปถึงสร้างปฏิสัมพันธ์ (Engagement) ระหว่างแบรนด์และผู้ติดตาม ผู้สนใจ

ในช่วงหลังๆนี้ วิดีโอและวิดีโอสด (Live Videos) ได้ถูกยกให้เป็นรูปแบบคอนเทนต์ที่เหมาะสำหรับหน้าเพจ Facebook มากที่สุด ด้วยพฤติกรรมของผู้ใช้ที่ชอบคอนเทนต์ในรูปแบบเข้าใจได้ง่าย รวดเร็ว และปนด้วยความสนุกสนาน ทำให้คอนเทนต์ประเภทวิดีโอที่ตอบโจทย์ในเรื่องนี้และมีอัตราการรับชมที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

สังเกตได้จากค่าเฉลี่ยสถิติที่ถูกสำรวจมาจากหลายๆแหล่งไม่ว่าจะเป็น Hootsuite (71% ของผู้ใช้ Facebook ทั้งหมด รับชมวิดีโอเพิ่มมากขึ้น) จากผลลัพธ์การใช้งานคอนเทนต์ประเภทวิดีโอของทางเว็บไซต์ Buffer เอง ดังแสดงด้านล่าง หรือจากที่มาอื่นๆ ซึ่งให้ผลลัพธ์ในทางเดียวกันว่า วิดีโอ เป็นประเภทของคอนเทนต์ที่ผู้ใช้งาน Facebook ชื่นชอบ มี Engagement เยอะที่สุดค่ะ

ดังตัวอย่างผลลัพธ์ด้านล่างของทาง Buffer ยืนยันว่าคอนเทนต์ประเภทวิดีโอ ให้ค่าเฉลี่ยการเข้าถึงผู้คน (Reach) มากที่สุด และมี Engagement ที่สูงอีกด้วย

engagement of buffer

ที่มา : https://buffer.com/

นอกเหนือจากนี้ทาง Buzzsumo ยังได้ทำการวิเคราะห์ 68 ล้านโพสต์บน Facebook  ซึ่งให้ผลลัพธ์ไปทางเดียวกันว่า “คอนเทนต์ประเภทวิดีโอมีค่าเฉลี่ยของ Engagement สูงกว่ารูปภาพ และลิงก์”

ข้อแนะนำ :

ให้อัพโหลดวิดีโอลงบน Facebook โดยตรงเลย เพราะรูปแบบวิดีโอมี Engagement และมีการแชร์ต่อมากกว่ารูปแบบการโพสต์ลิงก์จาก Youtube ค่ะ

Blog Posts and Curated Content : บทความจากบล็อค และคอนเทนต์จากแหล่งอื่นที่เพจคัดสรรมา

blog-post-buffer

ที่มา : https://www.facebook.com/bufferapp/

นอกเหนือจากวิดีโอ ประเภทคอนเทนต์อย่าง Blog Posts หรือบทความจากบล็อค ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ให้ผลลัพธ์ดีสำหรับเพจ Facebook แม้ว่าคอนเทนต์ประเภทวิดีโอ จะทำให้ผู้รับชมเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย แต่บางครั้งก็ไม่สามารถลงรายละเอียดได้ทั้งหมด ทำให้ผู้ใช้งานที่ต้องการศึกษารายละเอียดลึกลงไปในคอนเทนต์นั้นๆ ชอบที่จะศึกษาจากคอนเทนต์ในรูปแบบบทความจากบล็อคด้วยค่ะ

นอกเหนือจากการแชร์บทความจากบล็อคของตนเองแล้ว ทาง Buffer ยังคัดเลือกคอนเทนต์ที่มีคุณภาพจากเพจ หรือเว็บไซต์อื่นๆ มาเผยแพร่ในช่องของตนเองด้วย กลยุทธ์การโพสต์บน Facebook รูปแบบนี้ ช่วยให้จำนวนผู้คนที่เข้าถึง (Reach), การ Engagement และยอดกดถูกใจ (Likes) เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องในช่วงปีที่ผ่านมา

ดังรูปภาพด้านล่างที่แสดงให้เห็นจำนวนการกด Likes เพจของ Buffer มีอัตราการเติบโตขึ้นถึง 40% ในระยะเวลาภายในหนึ่งปี

facebook-page-likes-growth

ที่มา : https://buffer.com/

ตัวอย่างด้านล่างเป็นโพสต์จากแหล่งอื่นๆ ที่ทาง Buffer หยิบยกมา ซึ่งเนื้อหาของโพสสามารถให้ความรู้ และแทรกความสนุกสนานหรือความบันเทิงเข้าไปด้วย ทำให้โพสต์ดังกล่าวนี้ให้ผลลัพธ์ดีมากบนหน้าเพจ Facebook

buffer-curated-content

ที่มา : https://buffer.com/

ช่องทาง Instagram

things-to-post-on-instagram

High-Resolution Photos : ภาพถ่ายคุณภาพสูง

Instagram ในทุกวันนี้ กลายเป็นช่องทางที่ผู้คนให้ความสำคัญกับรูปภาพและวิดีโอ ซึ่งผู้ใช้งานจะเลือกโพสต์รูปภาพที่ดีที่สุด หรือวิดีโอที่ดีที่สุดลงบนโปรไฟล์ของเขาเท่านั้น

หลังจากทำการสำรวจ และสัมภาษณ์ผู้ใช้งาน Instagram จำนวน 11,000 คน ที่มีอายุในช่วงตั้งแต่ 13-24 ปีจากทั่วโลกพบว่า

“ผู้ใช้งาน Instagram มักจะชื่นชอบคอนเทนต์ที่มีความสวยงาม ให้ความรู้สึกสุนทรีย์เมื่อพบเห็น และมีพฤติกรรมชอบที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งธรรมดาๆให้ดูสวยงามมากขึ้น แบรนด์ที่ต้องการการมีส่วนร่วมจากวัยรุ่น หรือหนุ่มสาววัยทำงานที่เป็นผู้ใช้ Instagram เหล่านี้ จะต้องใช้รูปภาพที่มีความสวยงาม สุนทรีย์ และนำเสนอออกมาได้อย่างมีศิลปะ”

และนี่คือประเภทของรูปภาพที่มักใช้โพสต์บน Instagram

Product Photos : รูปถ่ายผลิตภัณฑ์

ถ้าแบรนด์ของคุณจำหน่ายสินค้าที่เป็นชิ้นงาน จับต้องได้ อย่างเช่น สินค้าแฟชั่น หรืออาหาร คุณสามารถโพสต์ภาพถ่ายผลิตภัณฑ์ที่มีความละเอียดสูง สวยงามเพื่อดึงดูดให้เกิดความน่าสนใจได้

“ตัวอย่างรูปถ่ายผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหาร”

example-product-photo-instagram

ที่มา : https://www.instagram.com/kfc/

“ตัวอย่างรูปถ่ายผลิตภัณฑ์ ประเภทแฟชั่น”

product-photo-fashion

ที่มา : https://www.instagram.com/p/ByUVo6ophVf/

Behind-The-Scenes: ภาพเบื้องหลัง

รูปภาพบน Instagram ที่แบรนด์นิยมใช้กันอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ ภาพถ่ายเบื้องหลัง (Behind-The-Scenes) อาจจะเป็นรูปถ่ายพนักงานในบริษัท ภาพจากงานอีเวนต์ หรือภาพขั้นตอนการผลิตสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ เป็นต้น

ดังตัวอย่างด้านล่างเป็นโพสต์ของแบรนด์ Gucci ที่นำเสนอภาพถ่ายเบื้องหลังของนายแบบในการถ่ายทำแคมเปญหนึ่งของทางแบรนด์ค่ะ

behind-the-scence content gucci

ที่มา : https://www.instagram.com/p/BSTj-hdlSrm/

ตัวอย่างด้านล่างเป็นการนำเสนอ Behind-The-Scenes ของทีมงานในบริษัท Hootsuite แสดงถึงความสนุกสนาน และมีความสุข

behind the scene content hootsuite

ที่มา : https://www.toprankblog.com/2017/05/company-culture-instagram/

อีกหนึ่งตัวอย่างเป็นของบริษัท Tortus ที่โพสต์ภาพเบื้องหลัง ระหว่างการผลิตเครื่องเซรามิกของแบรนด์ค่ะ

behind-the-scene-produce-product

ที่มา : https://www.plannthat.com/behind-the-scenes-on-instagram/

User-Generated Content : คอนเทนต์ที่มาจากลูกค้า ผู้ใช้สินค้าบริการโดยตรง

ถ้ายังไม่สามารถหารูปภาพผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม หรือไม่มีภาพเบื้องหลังที่เพียงพอ คุณสามารถโพสต์คอนเทนต์ที่มาจากลูกค้า จากความรู้สึกของผู้ใช้งาน (User-Generated Content) ซึ่งเป็นคอนเทนต์ที่พวกเขาผลิตขึ้นมาเองนี้ทดแทนได้ โดยมีข้อดีคือ เป็นคอนเทนต์ที่สร้างมาจากคนที่เป็นลูกค้าโดยตรง ทำให้ผู้ที่สนใจเกิดความเชื่อถือและตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น และการใช้ User-Generated Content นี้เองทำให้อัตราการเติบโตของเพจ Instagram ของ Buffer เพิ่มสูงขึ้นถึง 500 เปอร์เซ็นต์ใน 1 ปี

ตัวอย่าง User-generated content  ของ Buffer

ugc-of-buffer

ที่มา : https://buffer.com/

ตัวอย่าง User-generated content  ของ Starbucks

ugc-starbucks

ที่มา : https://blog.hubspot.com/marketing/best-user-generated-content-campaigns

ข้อแนะนำ :

ก่อนที่เราจะนำ User-generated content ของใครมาใช้ ต้องได้รับการอนุญาติจากเจ้าของโพสต์นั้นๆก่อนเสมอนะคะ

Quotes : คำคม

คำคมหรือคำพูดโดนๆ เป็นหนึ่งในประเภทคอนเทนต์ยอดนิยมบน Instagram ( มีผู้ใช้งานมากกว่า 42 ล้านคน โพสต์รูปภาพพร้อมใช้แท็ค #quotes)

ทั้งนี้คำคมที่ใช้ของแต่ละแบรนด์ก็มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ไม่ว่าจะเป็น Awareness Engagement หรืออื่นๆ นอกจากนี้การเลือกใช้ Quote ต่างๆต้องขึ้นกับอัตลักษณ์ของแบรนด์ และลักษณะนิสัยของกลุ่มเป้าหมายนั้นๆด้วย

หนึ่งในแบรนด์ที่ทำได้ดี ในเรื่องของการใช้ Quote หรือคำคมบนโปรไฟล์ Instagram ของแบรนด์ คือ WeWork เนื่องจาก WeWork เป็นบริษัทเกี่ยวกับการให้บริการสถานที่การทำงานให้กับลูกค้าที่เป็น Startups เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก หรือฟรีแลนซ์ต่างๆ ทำให้คำคมที่ใช้มีความเกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ของลูกค้าเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น “Do What You Love” หรือ “You’re Good get Better” ดังรูปตัวอย่างด้านล่าง เป็นต้นค่ะ

quote-weworkที่มา : https://buffer.com/

อีกหนึ่งตัวอย่างการใช้ Quote ที่น่าสนใจเป็นของแบรนด์ @brooklinen ที่ใช้ Quote เพื่อสร้าง Brand Awareness ด้วยถ้อยคำที่ว่า “I only love my bed and my momma” ทำให้กลุ่มเป้าหมายที่รักการนอนเห็นโพสต์แล้วรู้สึกสนใจ และเกิดความรู้สึกร่วมกับแบรนด์

quote-for-awareness

ที่มา : https://www.instagram.com/p/Bf0zomzBs8H/

ถ้าไม่สามารถหารูปภาพที่มีคำคมโดนๆได้ คุณสามารถสร้างสรรค์เป็นภาพกราฟิกด้วยตนเองแทน โดยใช้เครื่องมือฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายอย่าง Canva หรือ Freepik ได้ค่ะ

สามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือที่น่าสนใจนี้ ได้จากบทความ “ 7 เครื่องมือ สร้าง Photo Content จบถ้วนอย่างง่าย (ไม่จำเป็นต้องทำ Photoshop เป็น)” ดังลิงก์ด้านล่างได้เลยค่ะ

https://stepstraining.co/content/7-tools-photo-contenthttps://stepstraining.co/content/7-tools-photo-content

และอีกตัวอย่างการใช้กราฟิกในการเขียน quote นี้เป็นของ Kelli Pease (@happster) บล็อคที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความสุขของชีวิต ซึ่งมีผู้ติดตามมากเกือบ 100,000 คน โดยส่วนใหญ่ใช้เพียงกราฟิกใส่คำคมเพียงเท่านั้น ดังรูปตัวอย่างด้านล่างค่ะ

quote-graphic

ที่มา : https://buffer.com/

Instagram Stories

ในขณะที่การรักษาธีมของรูปภาพบน Instagram โปรไฟล์ค่อนข้างเป็นเรื่องสำคัญ แต่ไม่ใช่สำหรับ Instagram Stories ที่สามารถยืดหยุ่นได้มากกว่า เพราะผู้ใช้สามารถโพสต์รูปภาพหรือวิดีโอที่ต้องการ ด้วยความรู้สึกที่แตกต่างกันในแต่ละวันได้ เช่นเดียวกับการนำเสนอสินค้าของแบรนด์ที่ในบางครั้งก็มีการคุมโทน แต่บางครั้งก็จะมีการนำเสนอสไตล์ของสินค้าที่แตกต่างกันไป หรือบางแคมเปญที่มีลูกเล่นบางอย่างใหม่ๆ สร้างความแตกต่างจากเดิมที่แบรนด์เคยทำมา ทำให้ไม่เกิดความจำเจ และยังเป็นโอกาสที่จะนำเสนอสิ่งใหม่จากแบรนด์อีกด้วย Instagram Stories จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะโพสต์ของ Instagram Stories มีระยะเวลาการปรากฏแค่เพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้น

คุณสามารถใช้ Instagram Stories เพื่อทำการตลาดได้หลากหลายแนวทางตัวอย่างเช่น

  • Storytelling : บอกเล่าเรื่องราว
  • Share How-To Tutorials : แบ่งปันบทเรียนความรู้
  • Promote a Blog Post : โปรโมทบล็อค
  • Announce Limited Time Offers and Promotions : ประกาศระยะเวลาจำกัดของข้อเสนอและโปรโมชั่น
  • Offer Giveaways and Discount Coupons : แจกของรางวัลและคูปองส่วนลด
  • Share Data, Research, and Statistics : แบ่งปันข้อมูล การค้นคว้า สถิติ
  • Share Quotes and Inspiration : แบ่งปันคำคม หรือข้อความสร้างแรงบันดาลใจ
  • Share Announcements, News, and Updates : ประกาศข่าวสาร ข้อมูลอัพเดท

ด้านล่างคือตัวอย่างโพสต์รูปแบบ IG Stories ของทาง Buffer ค่ะ

ig-stories

ที่มา : https://buffer.com/

ช่องทาง Twitter

content type twitter

News : ข่าวสาร

เหตุผลการใช้งาน Twitter ส่วนใหญ่ใช้เพื่ออัพเดทข่าวสาร จากผลสำรวจของผู้คนกว่า 3,000 คน (จาก The American Press Institute) พบว่า 40% ใช้ Twitter เพื่ออ่านข่าวใหม่ๆ ข่าวที่เป็นกระแส 39% อ่านข่าวสารทั่วๆไป ดังรูปตัวอย่างด้านล่างค่ะ

why-people-use-twitter

ที่มา : https://buffer.com/

ด้วยเหตุผลนี้ ทำให้ Twitter เป็นแพลตฟอร์มที่ดีที่สุดสำหรับการแบ่งปันข่าวสารใหม่ๆแก่ผู้ติดตาม ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมธุรกิจของคุณ ข่าวสารของบริษัท หรือบอกเล่าถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

และนี่คือตัวอย่างโพสต์ข่าวสารอัพเดทที่ทาง Buffer แบ่งปันให้ผู้อ่านในช่องทาง Twitter

sharing news in twitter

ที่มา : https://buffer.com/

Blog Posts and Curated Content : บทความจากบล็อค และคอนเทนต์จากแหล่งอื่นที่เพจคัดสรรมา

นอกเหนือจากช่องทาง Facebook แล้ว Twitter ยังเป็นอีกช่องทางที่ดีที่สุดในการแชร์บทความจากบล็อคของตนเอง หรือคอนเทนต์คุณภาพจากเพจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

เนื่องจากผู้ใช้งานทั่วไป และแบรนด์ต่างๆใน Twitter มีพฤติกรรมในการ Tweet หรือแชร์ข้อมูลหลายๆครั้งในแต่ละวัน ช่องทางนี้จึงเหมาะแก่การแชร์บทความของบล็อค หรือคอนเทนต์คุณภาพที่เกี่ยวข้องได้หลายๆโพสต์ในหนึ่งวัน มากกว่าช่องทางอื่นๆอย่างเช่น Facebook

เมื่อใดก็ตามที่แชร์คอนเทนต์ประเภทนี้ คุณควรแนบสื่อประเภทอื่นๆดังที่จะยกตัวอย่างต่อไปนี้ แนบลงไปด้วยค่ะ

  • Link : ลิงก์ ที่จะพาไปยังเว็บไซต์
  • Photo หรือ Infographic : รูปภาพหรืออินโฟกราฟิกประกอบ
  • Video : วิดีโอ
  • GIF : วิดีโอสั้นๆที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ .gif

และนี่คือตัวอย่างของการนำเสนอ Blog Post ลงใน Twitter ที่มีการแนบลิงก์ไว้ เพื่อนำผู้ชมไปยังหน้าเว็บไซต์หลัก เพื่ออ่านข้อมูลเนื้อหาของบทความต่อค่ะ

blog-post-with-links

ที่มา : https://buffer.com/

GIFs

ภาพ GIFs คือภาพเคลื่อนไหวง่ายๆ ระยะเวลาสั้นๆ แต่สื่อความหมายได้ โดยส่วนใหญ่ภาพ GIFs จะเน้นสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึก และแฝงด้วยความสนุกสนาน ทำให้ผู้พบเห็นรู้สึกร่วมและชื่นชอบ ซึ่ง Twitter เป็นหนึ่งในโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม ที่รูปแบบคอนเทนต์ประเภท GIFs กลายเป็นที่นิยมเป็นที่แรก และยังคงนิยมอยู่ต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้

ถ้าคุณต้องการสร้าง GIFs สำหรับดึงดูดคนให้ไปยังบล็อค หรือใช้เพื่อเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ Twitter คือแพลตฟอร์มที่เหมาะสมที่สุดค่ะ

ข้อแนะนำ :

คุณสามารถใช้เครื่องมือ อย่าง Canva,Wzgif และ Giphy เพื่อสร้าง GIFs แบบง่ายและรวดเร็วสำหรับใช้ในโซเชียลมีเดียได้ค่ะ

ช่องทาง LinkedIn

content type for linkedin

Jobs and Career Information : ข้อมูลเกี่ยวกับงาน และอาชีพ

เนื่องด้วย LinkedIn เป็นแพลตฟอร์มเครือข่ายของผู้คนที่เป็นมืออาชีพ มีความเป็นทางการมากกว่าช่องทางอื่นๆ คอนเทนต์ที่เหมาะสมส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของตำแหน่งงาน ข้อมูลสายอาชีพต่างๆ

เพจของบริษัทใน LinkedIn จึงเป็นช่องทางที่ดีที่สุดในการรับสมัครงาน เป็นที่ซึ่งผู้คนสามารถเรียนรู้บริษัทผ่านช่องทางนี้ได้ ตัวอย่างเช่น Google ที่ใช้เพจบริษัทบน LinkedIn เพื่อนำเสนอข้อมูลต่างๆดังต่อไปนี้

  • วัฒนธรรมของบริษัท
  • ประสบการณ์ที่พนักงานจะได้รับจาก Google
  • ความสำเร็จของพนักงาน
  • ตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัคร

และนี่คือรูปแบบโพสต์ที่เรามักจะเห็นบนเพจของบริษัทต่างๆใน LinkedIn ค่ะ

job-in-company-page-linkedIn

ที่มา : https://buffer.com/

ตัวอย่างการแสดงตำแหน่งงานใน LinkedIn

linkedIn-job-description

ที่มา : https://careers.appstate.edu/how-well-do-you-match-up-with-your-dream-job-in-linkedin

ข้อแนะนำ :

ถ้าคุณต้องการเพิ่ม Engagement ให้กับโพสต์บน LinkedIn ของคุณ ให้ใช้วิธีการแนบด้วยรูปภาพ หรือวิดีโอลงไปด้วย

เพราะ LinkedIn ได้ค้นพบว่า รูปภาพ มีอัตราการแสดงความคิดเห็นต่อโพสต์สูงกว่า 98% และรูปแบบของลิงก์ Youtube ที่แสดงในหน้าฟีดของ LinkedIn ก็มีอัตราการแชร์ต่อสูงกว่า 75% อีกด้วย

Company News : อัพเดทข่าวสารของบริษัท

นอกเหนือจากการโพสต์เกี่ยวกับโอกาสในการทำงานและข้อมูลด้านอาชีพแล้ว คุณยังสามารถแบ่งปันข่าวสารของบริษัท และเหตุการณ์สำคัญๆ บนหน้าเพจบริษัทใน LinkedIn ได้อีกด้วย

และนี่คือตัวอย่างเพจบริษัทของ Facebook ที่อัพเดทข้อมูลบัญชีผู้ใช้งาน ผ่านช่องทาง LinkedIn ค่ะ

facebook-page-in-linkedin

ที่มา : https://buffer.com/

company-news-linkedin

ที่มา : https://www.tourismcurrents.com/how-to-build-a-successful-linkedin-page-for-tourism/

ข้อแนะนำ :

ใช้เครื่องมือวิเคราะห์เพจ เพื่อค้นหาโพสต์ที่ให้ผลลัพธ์ดีที่สุด อาจจะเป็นจำนวนการมองเห็นโพสต์สูงที่สุด (Impression) จำนวนคลิกมากที่สุด หรือมีอัตราการ Engagement มากที่สุด เป็นต้น เพื่อหาให้ได้ว่าคอนเทนต์เกี่ยวกับอะไรที่ผู้ติดตามให้ความสนใจมากที่สุด คุณก็สามารถสร้างสรรค์คอนเทนต์ในรูปแบบที่ใกล้เคียง หรือรีโพสต์คอนเทนต์นั้นได้อีกในสัปดาห์ถัดๆมา

Professional Content :

ในบางครั้ง คุณไม่สามารถแบ่งปันคอนเทนต์เกี่ยวกับอาชีพ หรือข่าวสารของบริษัทอย่างเดียวให้เพียงพอต่อการนำเสนอในแต่ละวันได้ จึงต้องหาคอนเทนต์รูปแบบอื่นที่เกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญของกลุ่มเป้าหมายของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรมผ่านเว็บไซต์ บทความ หรือบทเรียนความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมธุรกิจนั้นๆ

และนี่คือตัวอย่างจาก HubSpot ที่นำเสนอคอนเทนต์ประเภทวิดีโอสด แยกย่อยเป็นซีรีย์ 4 วัน โดยแต่ละวันก็มีหัวข้อที่แตกต่างกันไป ซึ่งเนื้อหาโดยรวมเกี่ยวกับการใช้ Facebook เพื่อพัฒนาธุรกิจ

professional content in linkedin

ที่มา : https://buffer.com/

ข้อแนะนำ :

คุณจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มคนที่เป็นผู้ติดตามเพจของคุณ โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจว่า คอนเทนต์อะไรที่กลุ่มเป้าหมายของคุณให้ความสนใจมากที่สุด

และนี่คือแนวทางการเลือกประเภทคอนเทนต์ทั้งหมดที่เหมาะสมกับแต่ละโซเชียลมีเดีย ซึ่งผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะช่วยแนะแนวทางให้ผู้อ่านสามารถเลือกใช้คอนเทนต์แต่ละประเภทให้เหมาะกับแต่ละโซเชียลมีเดียที่คุณมีอยู่ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น รวมถึงช่องทางอื่นๆที่ผู้อ่านกำลังสนใจจะเปิดใช้เพื่อกิจการธุรกิจในอนาคต ก็จะมีแนวทางการเลือกประเภทคอนเทนต์ที่เหมาะสมได้ก่อนใครและง่ายมากขึ้น แบบไม่ต้องลองผิดลองถูกเองค่ะ

ที่มา

https://www.entrepreneur.com

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

7 สูตรการเล่าเรื่อง Storytelling ให้แบรนด์ของคุณเป็นที่น่าจดจำ
3 เทคนิคการเขียน Headline ง่ายๆที่ทำให้คนอ่านอยากคลิกหัวข้อของคุณ