Music Marketing คืออะไร แบรนด์สามารถทำการตลาดอย่างไรให้คนติดใจด้วยเสียงเพลง

ทำการตลาดด้วยเสียงเพลง

ความมหัศจรรย์ของเสียงดนตรีคือ ความสามารถในการสื่อสารอารมณ์ และ ความรู้สึก ไปยังผู้รับฟัง แม้ว่าจะเป็นเพียงเสียงจากเครื่องดนตรีโดยปราศจากคำร้องก็ยังสามารถสื่อสารอารมณ์ของเสียงดนตรีเหล่านั้นออกมาได้เป็นอย่างดี จึงไม่แปลกที่บางแบรนด์ได้มีการหยิบยกเสียงดนตรีมาใช้ในการทำการตลาดเพื่อช่วยในการส่งเสริมการตลาดของแบรนด์ให้มากยิ่งขึ้น และ เนื่องด้วยสถานการณ์ที่เรายังต้องเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลมากยิ่งขึ้น การทำการตลาดด้วยเสียงดนตรีจึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจ วันนี้ผู้เขียนจึงได้รวบรวมข้อมูลในการทำการตลาดด้วยเสียงดนตรี หรือว่า Music Marketing มาฝากผู้อ่านทุกท่านกันค่ะ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจถึงความสำคัญของ Music Marketing กันก่อนดีกว่าค่ะ

ความสำคัญของ Music Marketing

สำหรับผู้อ่านที่รับชม YouTube อยู่เป็นประจำจะสังเกตุเห็นได้ว่าในช่วงปี 2020-2021 มานี้ มีแทรนด์ที่มาแรงมากๆ ปรากฏอยู่บน YouTube อย่างแทรนด์  ASMR และ ได้มีหลายแบรนด์ที่ผลิตคอนเทนต์ในรูปแบบดังกล่าว รวมไปถึงรูปแบบของเพลงและวิดีโอเพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

ภาพแสดงผลลัพธ์การค้นหา Keyword ที่ติดเทรนด์ในช่วงปี 2017 ถึงปัจจุบัน

ภาพแสดงผลลัพธ์การค้นหา Keyword ที่ติดเทรนด์ในช่วงปี 2017 ถึงปัจจุบัน

จากรูปภาพข้างต้นเป็นข้อมูลจาก Google Trend พบว่า คำค้นหาในคำว่า ASMR มีจำนวนการค้นหาเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา เมื่อเทียบกับคำค้นหาอย่าง Candy และ Chocolate กลับพบว่าเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าทั้ง 2 คำเลยค่ะ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแทรนด์ที่กำลังมาแรงในโลกออนไลน์นั่นเองค่ะ

ตัวอย่าง Music Marketing เช่นแบรนด์ IKEA ที่ได้นำเสนอคลิปวิดีโอในรูปแบบ ASMR บรรยายการจัดเตียง และ จัดระเบียบ ตู้เสื้อผ้าพร้อมสินค้า วิดีโอมีความยาว 25 นาทีเต็ม และ มีผู้เข้าชมมากกว่า 2.4 ล้านครั้ง ซึ่งถือว่าได้รับการตอบรับที่ดีอย่างมากจากผู้รับชม และ แสดงให้เห็นถึงมิติใหม่ๆ ในการนำเสนอสินค้า

ความหมายของ Music Marketing 

การทำการตลาดด้วยเสียงเพลงภาพจาก https://ec.europa.eu

Music Marketing คือ กลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้การสื่อสารผ่านเสียงดนตรี เช่น การสร้างเคมเปญทางการตลาดด้วยการทำเพลงที่ใช้ในการโปรโมทสินค้า หรือ บริการ การสร้างความจดจำได้ของแบรนด์ (Brand Awareness) ซึ่งโดยส่วนใหญ่การทำ Music Marketing มักจะไม่เน้นเพียงการขายเพียงอย่างเดียว แต่มักจะเป็นการสร้างตัวตนของแบรนด์ในมิติอื่นๆ ผ่านทางเสียงเพลงให้แก่ผู้บริโภค

เสียงเพลงสามารถช่วยในการทำการตลาดได้อย่างไร

หากเราต้องการที่จะรู้จักใครสักคนมากยิ่งขึ้น เราสามารถดูได้จากเพลงในเพลย์ลิสต์ที่เลือกฟังค่ะ เช่นเดียวกันกับแบรนด์ ในการทำ Music Marketing แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วแบรนด์จะไม่ได้มีตัวตนเช่นเดียวกับมนุษย์ แต่แบรนด์สามารถสร้างตัวตนขึ้นมาผ่านเสียงดนตรีได้ รวมไปถึงการสร้างอารมณ์และความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้บริโภคค่ะ โดยเราจะสังเกตุได้ว่าหากเราเข้าไปในแต่ละร้านค้าของแบรนด์ เราจะสังเกตุเห็นได้ว่าแต่ละแบรนด์จะเลือกเปิดเพลงที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งบทเพลงเหล่านั้นสามารถแสดงออกถึงความเป็นแบรนด์ได้เป็นอย่างดีค่ะ 

 

1.เสียงเพลงช่วยสร้างตัวตนของแบรนด์

เมื่อเรานึกถึงตัวตนของแบรนด์ต่างๆ เรามักจะนึกถึง สินค้ายอดนิยมของแบรนด์ รูปแบบป้ายโฆษณา โลโก้ของแบรนด์ โดยเรามักจะลืมบทบาทสำคัญนั่นก็คือเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ ซึ่งข้อมูลจาก Brand Channel พบว่า 96% ของแบรนด์ที่ใช้เพลงที่เข้ากับตัวตนของแบรนด์ จะส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถจดจำแบรนด์ได้มากกว่า และ การทดลองของ HUI Research พบว่า เพลงที่เข้ากับตัวตนของแบรนด์ส่งผลให้มียอดขายเพิ่มมากขึ้น 9%

 

เสียงเพลงช่วยสร้างตัวตนของแบรนด์

ภาพจาก www.ambie.fm

2.เสียงเพลงส่งผลให้เกิด Customer Loyalty

Music Marketing สามารถเข้ามาช่วยในการส่งเสริมกลยุทธ์ทางการตลาดได้เป็นอย่างดีค่ะ เนื่องจากเสียงเพลงสามารถส่งผลต่ออารมณ์ของผู้รับฟังได้ ในแง่ของการตลาดเสียงเพลงจึงสามารถส่งผลต่อการกลับมาบริโภคซ้ำของผู้บริโภคอีกด้วย ซึ่งจากการศึกษาของ Music Works พบว่า 31% ของผู้บริโภคจะกลับไปบริโภคซ้ำซึ่งเป็นเหตุผลมาจากเสียงเพลงค่ะ เสียงเพลงจึงเปรียบเสมือนการเก็บรักษาลูกค้า หรือ Retention เพราะเสียงเพลงทำให้ผู้บริโภครู้สึกเหมือนได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากเสียงเพลงภายในร้านนั้นเองค่ะ

เสียงเพลงส่งผลให้เกิด Customer Loyalty

ภาพจาก www.ambie.fm

3.เสียงเพลงช่วยในการส่งเสริมยอดขาย

มีหลายการศึกษาที่ต้องการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเสียงดนตรี และ พฤติกรรมของลูกค้า ซึ่งผลพบว่าการทำ Music Marketing ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของยอดขายค่ะ โดยถ้าหากเพลงดังเกินไปจะส่งผลให้ผู้ซื้อเกิดความรำคาญหรืออึดอัด ทำให้ใช้เวลาอยู่ในร้านน้อยลง แต่เมื่อเสียงเพลงเบาลงผู้ซื้อมักจะใช้เวลาอยู่ในร้านนานมากขึ้น โดยทำให้ยอดขายสูงขึ้นถึง 38% แต่ถึงอย่างไรก็ตามเพลงที่เลือกเปิดจึงขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแบรนด์ด้วยนะคะ

เสียงเพลงช่วยในการส่งเสริมยอดขาย

ภาพจาก www.ambie.fm

ตัวอย่างการใช้ Music Marketing

 

เสียงดนตรีสามารถขับกล่อมจิตใจของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งแต่ละคนจะมีช่วงเวลาในการเลือกฟังเพลงที่แตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของการใช้ชีวิตเช่น บางคนชอบฟังเพลงเบาๆ ในขณะทำงาน บางคนอาจชอบฟังในช่วงก่อนนอนเพื่อความผ่อนคลาย หรือ บางคนชอบฟังในขณะขับรถ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันการทำการตลาดด้วยเสียงเพลงนี้ เราสามารถทำได้มากกว่าการทำเพลงออกมาเพื่อให้ติดหูคนฟัง หรือ ผู้บริโภคเพียงอย่างเดียวแล้วนะคะ ดังนั้นเรามาดูกรณีศึกษาในการใช้เสียงเพลงเพื่อให้เพลงเหล่านั้นสามารถเข้าไปอยู่ในช่วงเวลาต่างๆ ของผู้บริโภคกันค่ะ

1. Uniqlo: Life Wear Music

เคมเปญเพลงจาก Uniqlo

ภาพจาก https://mixmag.asia

Uniqlo แบรนด์เสื้อผ้าจากญี่ปุ่นเปิดโปรเจ็ค Lifewear Music ซึ่งเป็นภาพแบบ Long Take ความยาวประมาณ 30 นาที ถ่ายผู้คนในขณะทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นเพลงแนวสบายๆ สื่อสารความเป็นแบรนด์เสื้อผ้าสไตล์ญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดีค่ะ ซึ่งบทเพลงจากโปรเจ็คนี้ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ฟังในช่วงที่หลายท่านยังคงต้องกักตัว หรือทำงานอยู่ที่บ้านกันค่ะ 

 

2. Starbuck

การตลาดด้วยเสียงจาก Starbuck

ภาพจาก www.starbuck.com

สำหรับผู้อ่านที่เข้าร้านกาแฟของสตาร์บัคอยู่เป็นประจำ คงทราบกันดีว่าแบรนด์กาแฟนี้ ยังมีเอกลักษณ์สำคัญคือการเปิดเพลงสบายๆ ให้กับลูกค้าในขณะทานกาแฟ หรือ นั่งทำงานยาวๆ ในร้านนั่นเองค่ะ โดยล่าสุดสตาร์บัคได้จัดทำเพลย์สลิสต์บน Spotify คัดเลือกเพลงมาให้ผู้ที่ชื่นชอบสามารถเข้าไปรับฟังกันได้ด้วยค่ะ ซึ่งการจัดทำเพลย์ลิสต์เพลงที่เลือกเปิดในร้านออกมาถือเป็นอีก 1 กลยุทธ์ที่สามารถช่วยในการสื่อสาร และ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าได้

3. Disneyland

ทำการตลาดด้วยเสียงเพลงจาก Disneyland

ภาพจาก https://disneyparks.disney.go.com

อีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในด้านของความโดดเด่นของเสียงเพลงนั่นก็คือ Disneyland นั่นเองค่ะ ซึ่งในสวนสนุกของ Disneyland ก็จะมีเพลงบรรเลงตามแต่ละโซนของสวนสนุกที่แตกต่างกันออกไป โดยล่าสุด Disneyland Paris ได้เปิดตัวช่องอย่างเป็นทางการใน Spotify และ YouTube Music ให้เข้าไปรับฟังเพลงจาก Disney กันได้แล้วค่ะ

4. H&M

ทำการตลาดด้วยเสียงเพลงจาก H&Mภาพจาก Spotify

H&M แบรนด์เสื้อผ้าจากประเทศอังกฤษ ซึ่งเพลงที่เลือกเปิดในร้านจะมีทำนองค่อนข้างเร็ว และให้อารมณ์สนุกสนาน ซึ่งทาง H&M ก็ได้เปิดตัวใน Spotify  จัดทำเพลย์สลิสต์ที่ใช้เปิดภายในร้านเช่นเดียวกันค่ะ ซึ่งถือได้ว่ามีผู้ที่ชื่นชอบบทเพลงจากทาง H&M เป็นจำนวนมากและจะเห็นได้ว่ามีผู้จัดทำเพลย์ลิสต์เพลงบน YouTube อยู่เป็นจำนวนมากเลยค่ะ

5. Headspace

การตลาดด้วยเสียงเพลงของ Headspace

ภาพจาก www.headspace.com

 

ตัวอย่างสุดท้ายของการทำ Music Marketing นี้เป็นแอพลิเคชั่นที่น่าสนใจ นั่นก็คือ Headspace ค่ะ Headspace เป็นแอปลิเคชั่นที่รวบรวมเพลงที่ช่วยในการนอน การลดความเครียด การทำสมาธิ และ การทำงานค่ะ รวบไปถึงบทความที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการนอนค่ะ ซึ่งทำออกมาในรูปแบบของการสมัครสมาชิกรายเดือนในการเข้าไปรับฟังค่ะ

 

อ้างอิง

https://www.sleepfoundation.org

https://www.headspace.com

https://www.ambie.fm

https://blog.hootsuite.com

 

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Metaverse คืออะไร และทำไมต้องการทำการตลาดผ่านโลกเสมือนแห่งอนาคต
7 วิธีถ่ายรูปสินค้า เพื่อสร้างรายได้ให้ดีกว่าเดิม