การทำงานของ Algorithm มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาเพื่อพัฒนาประสบการณ์ในการใช้งานของผู้บริโภคบนแอพพลิเคชั่นให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนั้นไม่ว่าคอนเทนต์ของธุรกิจของคุณจะน่าสนใจ หรือ เป็นประโยชน์ต่อผู้ติดตามมากเพียงใด แต่หากไม่ได้คำนึงถึงการทำงานของเจ้า Algorithm ก็อาจจะทำให้การลงมือทำคอนเทนต์นั้นๆ สูญเปล่าไปได้ค่ะ
จึงเป็นหน้าที่ของนักการตลาดที่ต้องคอยปรับกลยุทธ์ทางการตลาดบน Instagram และอัปเดตให้ทันสำหรับการทำงานของ Instagram Algorithm นั่นเองค่ะ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจความหมายของ Instagram Algorithm กันก่อนดีกว่าค่ะ
Instagram Algorithm คืออะไร
Instagram Algorithm คือ ชุดของกฏและสัญญาณ ที่มีไว้เพื่อจัดอันดับของเนื้อหาที่ผู้ใช้งานจะมองเห็นบน Instagram ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาที่ผู้ใช้งานมีแนวโน้มสนใจมากที่สุดผ่าน Metrics ต่างๆ เช่น hashtags, Engagement, Network เป็นต้น
ดังนั้นหากนักการตลาดต้องการให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงคอนเทนต์จากแบรนด์ จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องหันมาทำความเข้าใจ Instagram Algorithm ก่อนนั่นเองค่ะ
การทำงานของ Instagram Algorithm
ก่อนอื่นนักการตลาดต้องทำความเข้าใจก่อนว่าผู้ใช้งานบน Instagram นั้น จะถูกนำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไป โดยในการแสดงเนื้อหาจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
- โพสต์ที่ด้านบนสุดของหน้าฟีด (newsfeeds) และ ลำดับของโพสต์
- โพสต์ในแท็บสำรวจ ( Explore tab)
- และ ลำดับของ Reels, Stories และ Live videos ที่ขึ้นมาในหน้าฟีด
โดยเนื้อหาที่ผู้ใช้งานจะมองเห็นในแต่ละส่วนดังกล่าวจะถูกพิจารณาจาก
- ความเกี่ยวข้องของเจ้าของคอนเทนต์กับผู้ติดตาม เช่น การ Direct Message หากัน, การ Comment, การ Tag post หรือผู้ติดตามที่มีร่วมกัน
- ความเกี่ยวข้องของเนื้อหา โดย Algorithm จะวิเคราะห์ว่าคอนเทนต์ความเกี่ยวข้องกันหรือไม่โดยการวิเคราะห์สิ่งที่อยู่ในภาพหรือวิดีโอ
- และระยะเวลาที่โพสต์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่โพสต์ที่ขึ้นเป็นอันดับต้นๆ จะเป็นโพสต์ที่ใหม่กว่าอันดับท้ายๆ (ในหน้า Feed)
ซึ่งปัจจัยที่จะกำหนดโพสต์ในฟีด แท็บสำรวจ และ Reels นั้นจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันเล็กน้อย
วิธีการที่ Instagram Algorithm กำหนดอันดับของฟีดโพสต์ และ Stories
ปัจจัยที่จะมากำหนดอันดับมี 3 ปัจจัยดังนี้
- ข้อมูลเกี่ยวกับโพสต์ : ลงเมื่อไหร่? มีไลค์กี่ไลค์? มีตำแหน่งแท็กหรือไม่? ถ้าเป็นวิดีโอจะยาวแค่ไหน? สัญญาณเหล่านี้ช่วยให้อัลกอริทึมกำหนดว่าโพสต์นั้นได้รับความนิยมและมีความเกี่ยวข้องมากน้อยแค่ไหนค่ะ
- ข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของโพสต์: Instagram จะติดตามจำนวนครั้งที่คุณมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ติดตาม ไม่ว่าจะเป็น การไลค์ การComment Profile Views เพื่อสรุปว่าคุณน่าสนใจสำหรับผู้ติดตามมากน้อยแค่ไหน
- กิจกรรมผู้ใช้งานทั่วทั้งแพลตฟอร์ม : มีการโต้ตอบกับโพสต์ประเภทใดมากที่สุด ประเภทของเนื้อหาที่มีส่วนร่วมมากที่สุด จึงทำให้ Instagram สามารถนำเสนอโพสต์อื่นๆ ที่คุณอาจสนใจที่จะดูบนฟีดได้
วิธีการที่ Instagram Algorithm กำหนดเนื้อหาใน Explore Tab
ปัจจัยหลักๆ ที่ Instagram ใช้กำหนดเนื้อหาในหน้า Explore Tab มีดังนี้
- ข้อมูลเกี่ยวกับโพสต์นั้นๆ : ดูจากความนิยมของโพสต์เช่น มีกี่คนที่ Like แสดงความคิดเห็น แชร์ และบันทึกโพสต์ และความเร็วที่ผู้คนมีส่วนร่วมในโพสต์นั้นๆ
- ประวัติของผู้ใช้งานในการโต้ตอบกับเจ้าของโพสต์ : เนื้อหาส่วนใหญ่ใน Explore Tab จะมาจากบัญชีใหม่ๆ แต่บางครั้ง Instagram จะวางเนื้อหาจากบัญชีที่ผู้ใช้งานเคยโต้ตอบด้วยมาก่อน (แม้ว่าจะไม่ได้ติดตามก็ตาม)
- ข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของโพสต์: หากเจ้าของโพสต์ได้รับ Engagement อย่างมากในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา Instagram จะนำเสนอโพสต์โพสต์นั้นๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะมีผู้ใช้งานส่วนใหญ่ชื่นชอบ
วิธีการที่ Instagram Algorithm กำหนดเนื้อหาใน Reels
- กิจกรรมบนแพลตฟอร์ม : Instagram จะพิจารณาReels ที่ผู้ใช้งานชอบ แสดงความคิดเห็น กดแชร์ และบันทึกไว้เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งจะช่วยให้ระบุสิ่งที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานได้
- ประวัติการโต้ตอบของผู้ใช้กับผู้โพสต์ : Instagram จะตรวจสอบว่าผู้ใช้เคยมีส่วนร่วมกับ Reels ของผู้โพสต์ในอดีตหรือไม่ หากมีผู้ใช้จะมีแนวโน้มเห็น Reels อีกครั้งในฟีด
- ข้อมูลเกี่ยวกับ Reels: Instagram พยายามกำหนดว่าวิดีโอนั้นเกี่ยวกับอะไร โดยพิจารณาจากเสียง ความนิยม พิกเซลและเฟรมของวิดีโอ
- ข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของโพสต์: Engagement ที่ผู้โพสต์ได้รับ มีการไลค์และการแชร์อย่างต่อเนื่องหรือไม่? หากได้รับ Engagement สูง Instagram จะแชร์เนื้อหานั้นๆมากขึ้นบนฟีดของผู้คน
สรุป
ในการพัฒนาคอนเทนต์บน Instagram ให้เข้าถึงผู้ใช้งานได้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม จะต้องคำนึงถึงประเด็นหลักๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ
- เนื้อหาของคอนเทนต์ หากเป็นเนื้อหาที่ได้รับ Engagement สูงในช่วงต้น หรือโดนใจผู้ใช้งานก็จะส่งผลให้สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานในจำนวนมากต่อไป
- การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้ใช้งาน
- ช่วงเวลาในการลงคอนเทนต์ให้เหมาะสมกับช่วงเวลาการใช้งานของกลุ่มเป้าหมาย
- มีการวางแผนกลยุทธ์ในการทำการตลาดบน Instagram อย่างครอบคลุม โดย STEPS Academy เรามีหลักสูตร “Digital Marketing Strategy” หลักสูตรที่จะทำให้คุณสามารถกลายเป็นนักกวางกลยุธ์ที่ดี พร้อมกับมีความเข้าใจในธรรมชาติของแต่ละช่องทาง คลิก🔗 : https://stepstraining.co/digital-marketing-specialist
ที่มา
https:// adespresso.com