ขั้นตอนเริ่มต้นเปิดร้านออนไลน์ ผ่าน Shopee Lazada 101

เริ่มต้นเปิดร้านออนไลน์ ผ่าน Shopee Lazada 101

ในยุคของการทำ E-Marketplace เพียงแค่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตก็สามารถ ซื้อ-ขาย สินค้าบนโลกออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็น Shopee หรือ Lazada ล้วนได้รับความเป็นนิยมจากนักชอปออนไลน์เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ซึ่ง อย่างที่เราทราบกันดีว่า ทั้งสองเว็บไซต์เป็นแหล่งชอปปิงที่มีสินค้าหลากหลายประเภทรวมไว้ด้วยกัน 

จากข้อมูลดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นประโยชน์กับ ผู้สนใจเปิดร้านออนไลน์ ที่ได้แพลตฟอร์มเหล่านี้เป็นสื่อกลางในการขาย เพื่อเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ได้โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนสูงนัก

โดยในบทความนี้ ทาง STEPS Academy ไม่เพียงแนะนำขั้นตอนการสมัครขายสินค้าออนไลน์เท่านั้น แต่ยังได้นำเอาข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ 2 เว็บไซต์นี้ว่ามีข้อดีอย่างไร และ สิ่งสำคัญที่ผู้เปิดร้านใหม่บนออนไลน์ควรต้องรู้คืออะไร เพื่อสร้างการขายผ่านแพลตฟอร์ม E-commerce ได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ

 

จุดเหมือน และ จุดต่าง ของ Shopee กับ Lazada 

 

ถึงแม้ว่าทั้ง 2 แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ที่เป็นที่รู้จักคุ้นเคยกันดี ในเรื่องของการเป็น Online Marketplace สำหรับการซื้อขายสินค้าระหว่าง Shopee และ Lazada ซึ่งเมื่อมองในมุมของผู้ขายแล้ว ทั้ง 2 เว็บไซต์นี้ มีทั้งรายละเอียดที่เหมือน และ มีบางส่วนที่แตกต่างกันอยู่บ้าง โดยอันดับแรก เราไปดูความเหมือนที่ทั้ง 2 เว็บไซต์มีกันก่อนเลยค่ะ 

สิ่งที่เหมือนกัน

  • รองรับการใช้งานทั้งบน เว็บไซต์ และ แอปพลิเคชั่น บนมือถือ ทั้งระบบ Android และ iOS
  • ไม่มีค่าใช้จ่ายในการสมัครขายสินค้า
  • มีแคมเปญให้เข้าร่วมเพื่อเป็นการโปรโมทร้านค้า

สิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง 2 แพลตฟอร์ม 

  • จะเป็นเรื่องของการการขายสินค้า โดยที่ Lazada ขายเฉพาะสินค้าใหม่เท่านั้น 
  • ผู้คนให้ความนิยมในการซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จาก Lazada เป็นส่วนใหญ่ โดยลูกค้าจะให้ความเชื่อถือมากกว่าแพลตฟอร์มอื่น
  • Lazada จะขายสินค้าที่เป็นของแท้ มีลิขสิทธิ์ ไม่เพียงเฉพาะสินค้าชิ้นใหญ่ ๆ ประเภทเครื่องใช้ เท่านั้น สินค้าแฟชั่นแบรนด์ดัง ๆ จากร้านที่ขายผ่านช่องทาง Social Media ต่างก็เข้ามาโปรโมตผ่านแพลตฟอร์มนี้หลากหลายแบรนด์เช่นกัน 
  • ทาง Shopee สามารถลงขายได้ทั้งสินค้าใหม่ และ สินค้ามือสอง โดยสินค้าที่ขายดีส่วนใหญ่เป็นสินค้าแฟชั่น เสื้อผ้า ต่าง ๆ โดยกลุ่มเป้าหมายจะเป็นกลุ่มวัยรุ่น วัยกลางคนเป็นส่วนมาก 

จากข้อมูลในส่วนนี้จะช่วยให้สามารถตัดสินใจว่า ผู้ประกอบการขายบนแพลตฟอร์มใด จะสามารถตอบโจทย์ในการนำเสนอสินค้า และ บริการ ของธุรกิจได้

 

ขายของออนไลน์บน Shopee และ Lazada ดียังไง ?

 

ขายของออนไลน์บน Shopee Lazada

 

  • สมัครง่าย ไม่ต้องลงทุนสร้างแพลตฟอร์ม เว็บไซต์เอง

เพียงแค่มีสินค้าที่ต้องการขายอยู่แล้ว ก็สามารถนำสินค้านั้นมาลงขายได้เลย ซึ่งส่วนนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยอย่างมากสำหรับผู้ที่เริ่มต้นขายของออนไลน์ เนื่องจาก ไม่มีค่าใช้จ่าย ในการสมัครขายสินค้าทั้ง 2 แพลตฟอร์ม 

 

  • สามารถเข้าถึงฐานลูกค้าจำนวนมาก

Lazada และ Shopee เป็นตัวเลือกในการเปิดร้านค้าออนไลน์ ด้วยความที่ทั้ง 2 แพลตฟอร์มออนไลน์นี้นี้มียอดขายมากเป็นอันดับ 1 และ 2 ของประเทศ และ เป็นเว็บไซต์ที่ลูกค้ามักนึกถึงเป็นอันดับต้น ๆ ในการเลือกซื้อสินค้า 

 

  • ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านก็สามารถขายสินค้าได้ 24 ชม.

จากพฤติกรรมของลูกค้าที่นิยมจัดการซื้อสินค้าด้วยตัวเองทันที โดยไม่ต้องรอให้ร้านค้ามาสรุปยอด และ แจ้งเลขที่บัญชีให้ จากตรงนี้ก็นับว่าเป็นข้อดีในการที่ผู้ขายอาจจะไม่ต้องใช้เวลากับการโต้ตอบกับลูกค้า และยังสามารถทำการขายสินค้าได้ตลอดเวลา เพียงแค่ต้องหมั่นตรวจสอบการสั่งซื้อของลูกค้าที่ได้ทำรายการเข้ามา นอกจากนี้ การเปิดร้านออนไลน์ ยังช่วยกำจัดต้นทุนด้านสถานที่จัดจำหน่าย และ ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการฝากสินค้าขาย ผ่านหน้าร้านอื่น ๆ เป็นต้น

 

  • ลดขั้นตอนการทำงาน และ สามารถจัดการออเดอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป็นอีกหนึ่งข้อดี ของการมีระบบหลังบ้านให้ความสะดวกสบายกับผู้ขาย ด้วยขั้นตอนการจัดการออเดอร์ที่เป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การแจ้งสถานะการชำระเงิน สถานะการขนส่ง การยกเลิกสินค้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะแตกต่างจากการขายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียทั่วไป ที่ร้านค้าอาจจะต้องใช้เวลา ใช้แรง เพิ่มเติม เช่น ในเรื่องของการแจ้งหมายเลขพัสดุด้วยตัวเอง เพื่อให้ลูกค้าสามารถติดตามสถานะการจัดส่ง เป็นต้น

 

  • ได้รับความไว้วางใจจากผู้ซื้อ มีช่องทางให้ลูกค้าเข้ามารีวิว และ ให้คะแนน

Lazada และ Shopee สร้างประวัติความน่าเชื่อถือ ให้กับร้านค้า และ สินค้า ได้ อีกทั้งยังทำให้โอกาสที่ลูกค้าจะมาซื้อซ้ำผ่าน ‘ประวัติการซื้อ’ ได้อีกด้วย นอกจากนี้ร้านค้ายังเพิ่มเติมการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ผ่านความใส่ใจในการตอบคำถาม ข้อความ การตอบกลับความคิดเห็น การแสดงความขอบคุณต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจ และ ไว้วางใจร้านค้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ร้านค้าของคุณกลายเป็น ‘ร้านในใจ’ ที่ลูกค้านึกถึงได้ 

 

ช่องทางให้ลูกค้าเข้ามารีวิว และ ให้คะแนน บน Lazada

ตัวอย่างที่ลูกค้าซื้อสินค้า และ รีวิว ให้กับแบรนด์ Keeps Design บน Lazada

 

Check List สิ่งที่ผู้ขายต้องทำเมื่อเปิดร้านออนไลน์

 

  • ข้อมูลสินค้าที่ครบถ้วน

ขั้นตอนนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการขายสินค้าบนออนไลน์ เพราะลูกค้าจะใช้วิธีการ เสิร์จชื่อของสินค้า ในการเลือกหาสินค้าที่ตรงใจ ดังนั้นร้านค้าควรมีการตั้งชื่อสินค้าโดยใช้ Keyword ที่ลูกค้าอาจจะใช้ในการค้นหา ประกอบคำบรรยายรายละเอียดของสินค้า โดยนำหลักการ SEO เข้ามาใช้ด้วย เพื่อให้สินค้าของร้านค้านั้น มีโอกาสที่จะถูกมองเห็น ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงช่องทางการขายได้มากขึ้น

นอกจากนี้ควรมีการระบุข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เช่น ประเภทของวัสดุ ขนาดของสินค้า และ รายละเอียดอื่น ๆ ที่จำเป็นอย่างชัดเจน เพราะส่วนนี้จะทำให้ ร้านค้าได้เปรียบด้านข้อมูล เมื่อเทียบกับคู่แข่งเจ้าอื่น ๆ บนแพลตฟอร์ม ยกตัวอย่าง กรณีที่ร้านค้าบางร้านมีรายละเอียดของสินค้าไม่เพียงพอ อาจจะทำให้ผู้เลือกซื้อไม่มั่นใจในตัวสินค้า และ หาร้านอื่นที่ให้ข้อมูลที่มากกว่า ครบถ้วนกว่า จึงทำให้ร้านค้านั้นเสียโอกาสในการขายไปได้ง่าย ๆ 

 

  • รูปสินค้าที่ดึงดูดลูกค้าได้

ควรมีการถ่ายภาพของสินค้า เพื่อนำเสนอหลากหลายมุม ให้ลูกค้าได้ประกอบการตัดสินใจ รวมถึงในบางกรณีหากพบว่าสินค้าชิ้นนั้นมีลักษณะ คล้ายกันกับร้านอื่น ๆ หรือ มีขายจำนวนมากบนแพลตฟอร์ม วิธีการแก้ปัญหานี้ คือ การที่ร้านค้าต้องสร้างความแตกต่าง โดยการนำเสนอรูปภาพเพื่อให้ดึงดูดความสนใจจากกลุ่มลูกค้าได้ เช่น การลงภาพถ่ายจากสินค้าจริง ซึ่งนอกจากจะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังลดอัตราการเกิดเหตุการณ์ ‘สินค้าไม่ตรงตามปก’ ที่นำมาสู่ คะแนนร้านค้าที่ตกลง จากความไม่พอใจของลูกค้าได้

 

  • ติดตามแคมเปญต่าง ๆ และ สร้างคูปองส่วนลด

เป็นการที่ร้านค้าได้เข้าร่วมกับแคมเปญต่าง ๆ กับ Shopee หรือ Lazada เช่น 

  • Flash Sale
  • โปรโมชั่นในแต่ละเดือน เช่น 5.5, 11.11  
  • การแจกคูปองส่วนลด เพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขาย
  • การนำสินค้าของทางร้านไปอยู่ในหน้าหลัก ทำให้เกิดการมองเห็นสินค้าได้มากขึ้น โดยไม่ต้องโปรโมทสินค้าเองทั้งหมด

 

11.11 บน Shopee ของแบรนด์ Inthanin
ภาพจาก: https://shopee.co.th

ตัวอย่าง แคมเปญ 11.11 บน Shopee ของแบรนด์ Inthanin

 

  • อัปเดตสถานะให้ Active อยู่เสมอ

นอกจากคะแนนร้านค้าแล้ว การอัปเดตร้านให้ปัจจุบันเสมอจะเป็นการสื่อให้เห็นชัดเจนว่า ร้านค้านั้น ๆ พร้อมที่จะให้บริการแก่ลูกค้า ทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือ และ ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่า ร้านค้าจะดำเนินการจัดเตรียม จัดส่ง สินค้าได้ทันที โดยการแสดงความเคลื่อนไหวของร้านค้าจะช่วยลดความกังวลของลูกค้า ที่อาจจะกลัวว่า ร้านค้าอาจจะใช้เวลานานเกินไปในการจัดส่งสินค้าให้ หรือ สินค้าอาจจะผิดพลาด จากการที่ร้านค้าไม่ได้ปรับปรุงสินค้าที่ขายภายในร้าน

 

ขั้นตอนการขายสินค้าออนไลน์บน Shopee

 

ในส่วนต่อมาจะเป็นวิธีการลงขายสินค้าง่าย ๆ บน Shopee โดยใช้โทรศัพท์มือถือเพียงอย่างเดียว และ บัญชี Shopee ที่ใช้งานอยู่แล้ว ก็สามารถเปิดร้านขายออนไลน์ได้ ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดเวลามากที่สุด มีขั้นตอนดังนี้

 

ขั้นตอนที่ 1: เริ่มขาย

ไปที่หน้า “ฉัน” >> จากนั้นกด “เริ่มการขาย” บริเวณมุมบนด้านซ้าย

 

ขั้นตอนการขายสินค้าออนไลน์บน Shopee

 

ขั้นตอนที่ 2: การเพิ่มสินค้า

หน้าถัดมาจะมีให้กด “เพิ่มสินค้า”

 

ขั้นตอนการเพิ่มสินค้า บน Shopee

 

หลังจากที่กด “เพิ่มสินค้า” แล้ว เป็นส่วนของรายละเอียดของสินค้า ให้กดที่ สี่เหลี่ยมเส้นประ “เพิ่มรูปภาพ” โดยสามารถกดเลือกรูปได้จาก กล้องถ่ายภาพ คลังภาพ และ จาก Instagram สามารถเพิ่มได้ถึง 9 ภาพต่อสินค้าหนึ่งรายการ

จากนั้นให้ใส่รายละเอียด เช่น หมวดหมู่ ราคา จำนวนสินค้าที่มีอยู่ในคลัง ตัวเลือกสินค้า เป็นต้น

 

ขั้นตอนการเพิ่มรูปภาพและใส่รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า

 

ต่อมาในส่วนของ “ค่าจัดส่ง” ให้ร้านค้าระบุ น้ำหนักสินค้า ขนาดพัสดุ เพื่อเป็นการคำนวณราคาค่าขนส่งสำหรับการขายสินค้ารายการนี้

 

ขั้นตอนการกรอกข้อมูลจัดส่ง ระบุน้ำหนัก และขนาดของสินค้า บน Shopee

 

โดยเมื่อได้ทำการใส่ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ร้านค้าจะสามารถ กด “ลงขาย” ได้ทันที

 

ขั้นตอนที่ 3: เพิ่มบัญชีธนาคาร

หลังจากที่ลงสินค้าแล้ว ให้ทำการเพิ่มบัญชีธนาคารที่ต้องการให้ Shopee โอนเงินค่าสินค้าให้กับร้านค้า เมื่อมีการซื้อขาย เมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้าแล้ว

 

การเพิ่มบัญชีธนาคารบน Shopee
ภาพจาก: https://help.shopee.co.th

 

 

ขั้นตอนการขายสินค้าออนไลน์บน Lazada

 

การเปิดร้านค้าออนไลน์บน Lazada จะสามารถเลือกได้ว่าจะเป็นในนามของ บุคคลทั่วไป หรือ นิติบุคคล ในส่วนนี้ทาง STEPS Academy ขอยกตัวอย่างการสมัคร ร้านค้าภายในประเทศ แบบบุคคล โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

ขั้นตอนที่ 1: ลงทะเบียนเป็นผู้ขาย

กรอกหมายเลขโทรศัพท์มือถือ >> เลื่อนเพื่อยืนยัน >> จากนั้นจะได้รับรหัส OTP 6 หลัก >> นำรหัสนั้นมากรอกในช่องที่กดเลื่อนเมื่อครู่

 

ขั้นตอนการขายสินค้าออนไลน์บน Lazada

 

จากนั้น ให้กรอกอีเมลที่ไม่เคยลงทะเบียนกับลาซาด้า >> ตั้งค่ารหัสผ่าน อย่างน้อย 8 หลัก ประกอบด้วย ตัวอักษร ตัวเลข และ สัญลักษณ์พิเศษ >> ชื่อร้านค้า

 

ขั้นตอนกรอกข้อมูลอีเมล รหัสผ่าน ชื่อร้าน บนลาซาด้า

 

ขั้นตอนที่ 2: จัดการที่อยู่

ขั้นตอนถัดมา เป็นการบันทึกข้อมูลที่อยู่คลังสินค้า ที่อยู่ร้านค้า และ ที่อยู่ในการคืนสินค้า

 

การบันทึกข้อมูลที่อยู่คลังสินค้า ที่อยู่ร้านค้า และ ที่อยู่ในการคืนสินค้า บนลาซาด้า

 

ขั้นตอนที่ 3 : ยืนยันตัวตน

ระบบของทาง Lazada จำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนก่อนการขายสินค้า

กรอกชื่อและนามสกุล >> หมายเลขบัตรประชาชน >> อัปโหลด รูปภาพบัตรประชาชนด้านหน้า

 

ยืนยันตัวตนบน Lazada Seller

 

ขั้นตอนที่ 4 : กรอกข้อมูลธนาคาร

กรอกชื่อของเจ้าของบัญชี (ภาษาอังกฤษ) >> หมายเลขบัญชี >> เลือกชื่อธนาคาร จากนั้นในส่วนของรหัสของธนาคาร และ รหัสที่ใช้สำหรับระบุธนาคาร สาขาของธนาคารทั่วโลก จะใส่ข้อมูลให้อัตโนมัติ >> อัปโหลด สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร

 

กรอกข้อมูลธนาคารบน Lazada Seller

 

เมื่อได้ทำการกรอกข้อมูล และ อัปโหลดเอกสาร ครบแล้ว จะต้องมีการยืนยันตนภายใน 96 ชั่วโมง

 

ขั้นตอนที่ 5 : การเพิ่มสินค้า เริ่มขายสินค้า

การเพิ่มสินค้า และ การจัดการสินค้าบน Seller Center

 

ข้อมูลจาก:

https:// help.shopee.co.th

https:// pages.lazada.co.th

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

5 เหตุผลทำไมมนุษย์ถึงชอบฟังเรื่องเล่าที่ใช้หลัก “Storytelling”
Marketing 5.0 คืออะไร: สรุปแนวคิดจากหนังสือ "Marketing 5.0 Technology for Humanity"