หนึ่งในศาสตร์ของการวางแผน Digital Marketing คือการให้บุคคลที่ 3 พูดแทนแบรนด์ เข้าสูตรว่า เสียงของบุคคลที่ 3 นั้นมักจะดังกว่าแบรนด์ ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อถือมากกว่า และนำพาไปสู่การกระตุ้นให้ค้นหาข้อมูลเพิ่มมากขึ้น จนไปถึงสามารถทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้เลย
แต่อีกประเด็นสำคัญคือการใช้ Influencer กลายเป็นปัจจัยหลักสำคัญของการทำให้แบรนด์เสียงบประมาณที่มีอยู่จำกัดออกไป บางแบรนด์ได้ผลลัพธ์กลับมาหากมีการวางแผนการใช้ Influencer ได้เป็นอย่างดี บางแบรนด์ใช้จ่ายงบประมาณไป ก็เหมือนการตำนํ้าพริกละลายแม่นํ้า มีหลายต่อหลายแบรนด์เริ่มหาทางออกในการสร้าง Internal Influencer คือการเปิดโอกาสให้ทีมงานที่มีความชื่นชอบการเป็น Influencer ได้เป็นเหมือน Brand Ambassador ของบริษัทไปในตัว
หรือบางแบรนด์ก็หาทางออกด้วยการสร้าง Character ขึ้นมาพูดแทน เพื่ออธิบายให้เห็นภาพก็เปรียบเสมือนการมี Mascot ประจำแบรนด์นั้นเอง ซึ่งแบรนด์ Mascot เหล่านี้ก็ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่ต้องถูกสร้างจากคาแรคเตอร์ของแบรนด์ และทำให้แบรนด์มีตัวตนมากขึ้น เรียกว่าแบรนด์ไหนที่มีการสื่อสารที่ค่อนข้างยาก หรืออยากอธิบายให้ผู้บริโภคเข้าใจสินค้า หรือ บริการในทางที่ง่ายมากขึ้น
ตัว Brand Character เหล่านี้จะเป็นตัวที่ทำให้แบรนด์เข้าถึงง่าย และเรียกความสนใจได้จากผู้คนบนโลกออนไลน์ได้ดีเลยทีเดียว หากจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ชัดเจนและแม่นยำมากขึ้น
ก็จะเป็นกลยุทธ์ การสร้าง Mascot ของเมืองต่างๆในญี่ปุ่น ที่ทำให้เมืองต่างๆ ที่มีผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 กลับมาดูสดใสมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ตัวอย่างจากธุรกิจต่างๆ
ตัวอย่างจาก Travelocity’s Roaming Gnome
ตัวอย่างจาก Flo from Progressive
ตัวอย่างจาก Captain Morgan
ตัวอย่างจาก The GEICO Gecko
ตัวอย่างจาก The M&Ms Characters
ตัวอย่างจาก Tony the Tiger
ตัวอย่างจาก Wendys
ตัวอย่างจาก John’s Salad
แต่ละแบรนด์ก็มีวิธีการตีโจทย์คาแรคเตอร์ของแบรนด์ออกมาเป็น Mascot และ ใช้ประโยชน์จาก Mascot เหล่านี้ในการสื่อสารกับผู้ติดตามในโลกโซเชียลมีเดียได้เป็นอย่างดีทำให้ตอบโจทย์เรื่องของ
Visibility * Quality * Interactive หรือ การมีตัวตน และมีปฏิสัมพันธ์ แบบคุณภาพกับผู้ติดตามบนโลกออนไลน์ได้เป็นอย่างดี ทำให้ไอเดียในการคิดสร้างสรรค์คอนเทนต์ไม่ตันอีกต่อไป
เพราะการใช้ Character Marketing ก็เปรียบเสมือนทิศทางที่ทำให้ทีมงานมีภาพของคาแรคเตอร์แบรนด์ที่ชัดเจนมากขึ้น ลดการตีความซํ้าซ้อน และลดการตีความการสื่อสารของแบรนด์ที่แตกต่าง
ทำให้แบรนด์มีทิศทางที่ชัดเจนขึ้น
เมื่อทิศทางชัดเจน คาแรคเตอร์ชัดเจน การสื่อสารผ่านคอนเทนต์ก็เริ่มชัดเจน ผู้ติดตามก็เริ่มเข้าใจ และ จดจำแบรนด์ได้เป็นอย่างดี การใช้ Character Marketing ก็จะทำให้เป้าหมายของแบรนด์ในเรื่องของ Awareness Interest Engagement บรรลุได้เป็นอย่างดี และก็เหมือนเรากลับมาตีโจทย์กลยุทธ์ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องของการพัฒนา Own Media ช่องทาง หรือทุนของการตลาดในแง่ช่องทางที่แบรนด์มีอยู่นั้นเอง ก่อนที่จะเริ่มต้นไปใช้สื่ออื่นๆ หรือ Paid Media เพราะฉะนั้นแล้ว Character ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถตอบโจทย์ ธุรกิจเกือบทุกขนาด
แต่สำหรับธุรกิจไหนที่คาแรคเตอร์ของแบรนด์ต้องการรักษาความเป็น B2B ไม่จำเป็นต้องเข้าถึงง่ายมากนัก รักษาภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพ การสร้าง Character หรือ การสร้าง Mascot มาพูดแทนแบรนด์นั้นอาจจะไม่ใช่ทางเลือก อย่าลืมว่าเราต้องกลับมาศึกษาเรื่องข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าเชิงลึกของเราว่าเขาต้องการการสื่อสารผ่านทาง Character Marketing หรือไม่ ถ้าต้องการเพราะกลุ่มลูกค้าของเราเป็นคนรุ่นใหม่ และต้องการเข้าใจธุรกิจของเราแบบง่ายขึ้นต้องการสัมผัสแบรนด์ในทางที่เป็นมิตรมากขึ้น Character Marketing ก็จะตอบโจทย์อย่างแน่นอน
แต่คำถามต่อมาคือเรายังคงต้องใช้ Influencer Marketing หรือการตลาดผ่านผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์อีกหรือไม่ การใช้ Influencer Marketing ไม่ใช่คำตอบของทุกธุรกิจ และไม่ใช่คำตอบของทุกช่วงธุรกิจ
หากเราจะมี Influencer Marketing ก็ขอให้มั่นใจว่าเราได้ออกแบบ Communication Plan ที่ชัดเจนแล้ว และเราเข้าใจจุดประสงค์ในการสื่อสาร และวิเคราะห์ให้ดีก่อนว่า Influencer คนไหนที่ตรงกับแบรนด์ของเราจริงๆ
จับมือร่วมกันกับ Influencer ผลิตคอนเทนต์ในเชิงที่เป็นประโยชน์กับผู้ติดตามบนโลกออนไลน์ ก่อนตัดสินใจจะใช้ Influencer เพื่อการขายเท่านั้น ก็จะสามารถสร้างผลลัพธ์ความรู้สึกเชิงบวกให้เกิดขึ้นได้ทั้งระหว่างผู้ติดตามกับแบรนด์ ผู้ติดตามกับ Influencer และ ระหว่าง Influencer กับแบรนด์เองก็ตาม