ในช่วง 2 -3 เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทุกท่านคงเคยได้ยินคำว่า New Normal กันจนติดหู ซึ่งหากแปลเป็นไทยแบบตรงตัวแล้ว ความหมายของมันก็คือ “ ปกติใหม่ ”
ฟังแล้วดูย้อนแย้งใช่ไหมคะ จะว่าปกติก็ใช่ แต่จะว่าใหม่ก็ไม่เชิง
คำว่า New Normal นั้นคือคำพูดที่คนนิยมใช้กันเป็นวงกว้าง ทั้งในสื่อไทยและต่างประเทศ ซึ่งความหมายของ New Normal เกิดขึ้นจากการที่คนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีบางสิ่งมากระทบการใช้ชีวิตประจำวัน จึงทำให้ผู้คนจำเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ที่เป็นอยู่นั่นเอง เช่น พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นจากเดิม การลดระยะห่างจากสังคมเพื่อลดการแพร่บาดของเชื้อโรค และการใส่ใจดูแลสุขภาพ
ในมุมมองของการทำธุรกิจ แน่นอนว่ามีการเปลี่ยนแปลงการในระบบเศรษฐกิจครั้งใหญ่ทั่วโลก สิ่งใดที่มองว่าไม่คุ้นเคย อาจกลายมาเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว เช่น การสร้างธุรกิจออนไลน์ การลงทุนหน้าร้าน อาจเปลี่ยนมาเป็นการซื้อขายบนโซเชียลมีเดีย เพื่อลดการพบปะผู้คนในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
นอกจากนี้ การทำวิดิโอคอนเทนต์มีแนวโน้มเติบโตขึ้น และโอกาสสร้างธุรกิจให้เติบโตขึ้น บางท่านอาจเป็นก้าวใหม่ที่ต้องทำเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ซึ่งดูเหมือนว่า New Normal ในครั้งนี้สามารถสร้างโอกาสให้แบรนด์ของท่านเติบโตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งการโฆษณาเพื่อโปรโมตสินค้าออนไลน์จากเดิมที่ว่าได้ผลตอบรับดีอยู่แล้ว ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าดีมากขึ้นไปอีก
ทำวิดีโอคอนเทนต์แล้วรุ่งจริงไหม
SUMO APP ได้นำสถิติผลลัพธ์การสร้างวิดีโอคอนเทนต์ เพื่อทำการตลาดออนไลน์จาก APPSUMO มาให้ผู้อ่านได้ดูกันค่ะ
- 85% จากแบรนด์ที่ทำการตลาดออนไลน์จะใช้ YouTube เพื่อโปรโมตสินค้า
- 79% จากแบรนด์ออนไลน์ ใช้ Facebook เป็นช่องทางนำเสนอสินค้า
- การโฆษณาแบรนด์ผ่าน Instagram Stories 33% สามารถเพิ่มยอดขายได้
- วิดีโอคอนเทนต์ประเภท ฮาวทู เป็นประเภทคอนเทนต์ที่นิยมที่สุด
- ธุรกิจออนไลน์ขนาด SMEs 83% เผยว่าการทำวิดีคอนเทนต์ ช่วยทำให้เกิด Lead Generation ได้ (Lead Generation คือ การเจาะกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มว่าจะมาเป็นลูกค้าของเรา ให้กลายมาเป็นลูกค้าของเราในที่สุด)
- 71% ของผู้ประกอบการ ใช้กลยุทธ์การนำเสนอด้วยรูปแบบวิดีโอ เพื่อโปรโมตสินค้าแบบ B2B
- 66% ของผู้ประกอบการ ใช้กลยุทธ์การนำเสนอด้วยรูปแบบวิดีโอ เพื่อโปรโมตสินค้าแบบ B2C
จากข้อมูลสถิติที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ทุกท่านได้เห็นว่า การสร้างโฆษณาด้วยรูปแบบวิดีโอ เป็นคอนเทนต์ที่มีอิทธิพลต่อลูกค้าสูงมาก
ดังนั้น STEPS Academy จึงขอรวบรวบไอเดียการสร้างวิดีโอคอนเทนต์อย่างมีคุณภาพ เพื่อวางแผนการทำการตลาดออนไลน์ และตอบโจทย์ความต้องการในการใช้ชีวิตแบบ New Normal กันค่ะ
1) Vlog
กระแสการสร้างวิดีโอในโลกโซเชียลเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เกิดอาชีพ Vlogger หรือผู้ที่สร้างคอนเทนต์ผ่านโลกโซเชียล การทำ Vlog เพื่อสื่อสารแก่ผู้ชม แทนการนำเสนอภาพนิ่ง และการร้อยเรียงบทความผ่านบล็อก สามารถสร้างจุดขายให้แก่แบรนด์ได้อย่างมหาศาล เนื่องจากแบรนด์สามารถสร้างตัวตนผ่านภาพเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้เกิดภาพจำได้ง่ายขึ้น อีกทั้งผู้ชมยังได้อรรถรสจากการรับชมรับฟัง ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเกิดอารมณ์ หรือความประทับใจในตัวแบรนด์
จากภาพด้านล่าง ทุกท่านจะเห็นการนำเสนอคอนเทนต์ในรูปแบบของวิดีโออย่างแพร่หลายในทุก ๆ วงการ ในปี 2019 เช่น การเป็นยูทูปเบอร์ด้านความงาม การรีวิวสถานที่ท่องเที่ยว การแคสเกมส์ และอื่น ๆ อีกมายมาย ซึ่งรายได้จากการสร้าง Vlog ของยูทูบเบอร์ที่ติดอันดับโลก สามารถสร้างรายได้มากกว่า $100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กันเลยทีเดียว
Vlogger หรือผู้สร้าง Vlog ที่เป็นที่รู้จักระดับโลก 3 อันดับแรกได้แก่
- T-Series (ช่องเพลงและสื่อบันเทิงสัญชาติอินเดีย )
- Pewdiepie (นักแคสเกมส์และสร้างคอนเทนต์เพื่อความบันเทิง)
- 5-Minute Craft (รายการที่นำเสนอคอนเทนต์ในรูปแบบฮาวทู )
2) วิดีโอเบื้องหลังเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร
การสร้างผลงานให้ออกมาในรูปแบบการเล่าเรื่อง เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กร กำลังอยู่ในกระแสการทำวิดีโอคอนเทนต์เช่นเดียวกันค่ะ
จุดเด่นของการนำเสนอคอนเทนต์ด้วยรูปแบบวิดีโอเบื้องหลังความสำเร็จของแบรนด์ นอกจากการสร้างวัฒนธรรมในองค์กร เพื่อให้พนักงานเข้าใจถึงแนวคิดและการปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันแล้ว ยังทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจในแง่มุมที่แบรนด์นำเสนอได้อีกด้วย
เช่น การแต่งกายของพนักงาน ลักษณะคำพูด หรือวิธีการบริการลูกค้าผ่านการโปรโมต และสภาพแวดล้อมการทำงานของแบรนด์ เป็นต้น
วิธีการนำเสนอวิดีโอคอนเทนต์เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กร นักการตลาดสามารถสร้างความแตกต่างในการนำเสนอได้โดย การทำวิดีโอในภาพงานอีเวนต์ การถ่ายเบื้องหลังเมื่อพนักงานระดมความคิดทำโปรเจค หรือขั้นตอนการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความปราณีต
ตัวอย่างวิดีโอคอนเทนต์ที่นำเสนอเรื่องราวเบื้องหลังของร้านอาหารย่านนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา
3) การสัมภาษณ์ และการตอบคำถามต่างๆ
ตัวอย่างจากบริษัทเอเจนซีรับทำการตลาดออนไลน์ที่มีชื่อว่า Single Grain ได้สัมภาษณ์นักการตลาด และผู้ก่อตั้งธุรกิจจากอุตสหกรรมที่หลากหลาย โดยทุก ๆ สัปดาห์จะมีแขกรับเชิญมาร่วมตอบคำถาม เกี่ยวกับการสร้างธุรกิจผ่าน Podcast ช่อง Growth Every Where
การสร้างวิดีโอคอนเทนต์เกี่ยวกับการให้สัมภาษณ์มีข้อดีดังนี้
- การตอบคำถามเกี่ยวกับแบรนด์ การสร้างแบรนด์ และการทำธุรกิจโดยตัวผู้ก่อตั้งบริษัทเอง สามารถเพิ่มแรงบันดาลใจให้แแก่ผู้ชมได้
- คำตอบจากการสัมภาษณ์ที่ดีมีคุณภาพ คือคำแนะนำที่ผู้ชมสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้จริง
- ทำให้ผู้ชมได้รับประสบการณ์ใกล้ชิดกับผู้บริหารมากขึ้น
หากคุณต้องการทำวิดีโอคอนเทนต์ในรูปแบบการให้สัมภาษณ์ ผู้เขียนมีข้อแนะนำว่า หากผู้ประกอบการสามารถเชิญแขกรับเชิญ ที่อยู่ในธุรกิจสายเดียวกันกับคุณมาให้สัมภาษณ์และสร้างเป็นซีรีส์ความสำเร็จ หรือรวบรวมการเล่าประสบการณ์ การทำธุรกิจ เป็นกรณีศึกษา จะทำให้แบรนด์ของคุณสามารถสร้าง Lead Generation ได้ค่ะ
4) Webinar
Webinar คือ การประชุมหรือการสัมนาออนไลน์โดยมีผู้นำเสนอและผู้ฟังเข้าร่วมประชุมกันแบบ Real-Time โดยที่ผู้รับชมจะลงทะเบียนออนไลน์ ซึ่งวิธีนี้กำลังเป็นที่นิยมในโลกโซเชียล เนื่องจากต้นทุนต่ำ ไม่จำเป็นต้องหาสถานที่จัดงาน ผู้ชมสามารถรับชมวิดีโอได้ทุกที่ ๆ ต้องการ
ภาพด้านล่าง เป็นตัวอย่างสถิติที่นำมาจาก Go to Webinar ในปี 2019 ที่ผ่านมา ซึ่งเห็นได้ว่าผลลัพธ์จากการทำการประชุม หรือสัมนาออนไลน์ในหัวข้อการตอบคำถามเกี่ยวกับการตลาดเป็นที่นิยมมากถึง 78 %
นอกจากนี้ หนึ่งในช่องทางการสร้าง Webinar ที่ผู้ชมให้ความสนใจและใช้มากที่สุด คงไม่พ้น Google Hangout
ประโยชน์จากการสร้างวิดีโอคอนเทนต์เกี่ยวกับการวิเคราะห์การตลาดผ่าน Webinar คือการเพิ่มยอดคลิกจากการสมัครเข้าร่วมสัมนาผ่าน Facebook Ads ได้อีกด้วย ซึ่งนอกจากจะเพิ่มโอกาสให้กลุ่มเป้าหมาย กลายมาเป็นลูกค้าแล้ว แบรนด์ยังมีโอกาสในการขายสินค้าและบริการได้มากขึ้นค่ะ
ตัวอย่างการทำสัมนาออนไลน์ในหัวข้อต่าง ๆ
- Hosting an FAQ section to answer consumer queries
- การรีวิวสินค้าที่แบรนด์ต้องการนำเสนอ
- การพูดคุยกับกูรู หรือผู้มีประสบการณ์เฉพาะ
5) อีเวนต์
การสร้างวิดีโอคอนเทนต์ในรูปแบบของอีเวนต์ มีอิทธิพลที่ทรงพลังต่อผู้ชมในระดับหนึ่ง เนื่องจากการสร้างอีเวนต์ เป็นกลยุทธ์ที่ใช้จิตวิทยาในการอัปเดตสิ่งที่เกิดขึ้น หรือเป็นกิจกรรมห้ามพลาดในเดือนนี้ ซึ่งผู้บริโภคอาจจะรู้สึกว่าไม่อยากตกเทรนด์และพลาดโอกาสนี้ไม่ได้ ซึ่งอาการกลัวตกกระแสอย่างที่กล่าวมานั้น เรียกว่า The Fear of Missing Out หรือ FOMO ค่ะ
ตัวอย่างการสร้างวิดีโอโดยการจัดงานอีเวนต์
ข้อมูลสถิติจาก trustpulse.com เปิดเผยเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับกลุ่มคนในยุค Millennial (กลุ่มคนที่เกิดในปี 2424 เป็นต้นมา) จำนวน 69 % จะมีอาการ FOMO จึงต้องคอยอัปเดตข่าวสารผ่านโซเชียลอยู่ตลอดเวลา และ 49 % จากผู้ที่คอยตามกระแสข่าวบนโลกโซเชียลจะคอยอัปเดตเรื่องราวใหม่ ๆ ในทุก ๆ 12 ชั่วโมง
นอกจากนี้ การทำวิดีโอเกี่ยวกับอีเวนต์พิเศษที่จะเกิดขึ้น สามารถสร้าง Engagement ด้วยการแชร์วิดีโอ และการแท็กเพื่อนให้เข้ามารับชมวิดีโอได้ค่ะ
6) การนำเสนอ Presentation
ไอเดียการทำวิดีโอคอนเทนต์แบบ Presentation สามารถเลือกหัวข้อได้หลากหลาย โดยขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการนำเสนอ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องพูดในหัวข้อที่เกี่ยวกับทฤษฎีทางการตลาด หรือการวิเคราะห์ธุรกิจก็ได้ แต่การนำเสนอ Presentation ให้แก่ผู้ชม เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ การแลกเปลี่ยนความคิด และการมอบประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้แก่ผู้ชมคือหัวใจสำคัญค่ะ
ตัวอย่างการทำคอนเทนต์แบบ Presentation ที่กำลังนิยมทั่วโลกอยู่ในขณะนี้คือ TED Talks
Ted Talks คือการจัดงานประชุมที่มีวิทยากรรับเชิญ ขึ้นมาพูดในหัวข้อต่าง ๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและไอเดียสร้างสรรค์ให้แก่ผู้ฟัง โดยใช้เวลาไม่เกิน 18 นาทีต่อหัวข้อ ซึ่งประเด็นการพูดจะไม่ได้มีแค่เรื่องการทำธุรกิจ แต่ผู้พูด สามารถพูดเรื่องอะไรก็ได้ที่มีประโยชน์ และควรค่าแก่การเปิดเผยสู่ที่สาธารณะ
ไอเดียการนำเสนอเช่นนี้ แบรนด์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการทำคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับการสร้างธุรกิจ เช่น
- ประสบการณ์ในการขายสินค้าในวงการออนไลน์
- จุดเริ่มต้นธุรกิจ
- แรงบันดาลใจของผู้ประกอบการ
7) วิดีโอการสอน/ ฮาวทู
จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นค่ะว่า ช่องยูทูบ 1 ใน 3 อันดับที่สร้างรายได้มากที่สุดในโลก คือ วิดีโอคอนเทนต์ประเภทฮาวทู ซึ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่นิยมรับสื่อด้วยการชมวิดีโอ และให้ความสำคัญกับวิธีการทำที่เป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้ห็นผลลัพธ์จากการทำจริง ๆ
ตัวอย่างวิดีโอฮาวทูที่ฮิตเป็นวงกว้าง คงหนีไม่พ้นจากฮาวทูการแต่งหน้า ซึ่งวันนี้ผู้เขียนได้หยิบยกช่องยูทูบคนดังอย่าง Michelle Phan มาให้ดูเป็นตัวอย่างค่ะ
ตัวอย่างการทำวิดีโอสอนการแต่งหน้าโดย Michelle Phan
Michelle Phan คือบิวเตอร์บล็อกเกอร์ ผู้สร้างคอนเทนต์ความงามบนโลกดิจิทัล ซึ่งมีผู้ติดตามมากกว่า 9 ล้านคน และสามารถสร้างรายได้จากการทำวิดีโอฮาวทูการแต่งหน้าสูงถึง $50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
8) การรีวิว
ทุกท่านอาจจะเห็นวิดีโอคอนเทนต์การรีวิวในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านตากันมาบ้าง ซึ่งคำว่ารีวิวนั้น คือ การที่ผู้สร้างวิดีโอต้องการบอกเล่าประสบการณ์ ไม่ว่าจะด้านการท่องเที่ยว การใช้สินค้า การชิมอาหาร หรือการพูดถึงประสบการณ์จากการใช้บริการ
ข้อดีจากการรีวิวสินค้า คือแบรนด์สามารถโฆษณาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่ให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็น Customer Journey ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะยังไม่เคยมีประสบการณ์กับการซื้อสินค้า หรือใช้บริการกับทางแบรนด์ แต่พวกเขาจะเข้ามาเยี่ยมชมแบรนด์จากการรีวิว ซึ่งทำให้กลุ่มคนเหล่านี้เกิดความสนใจ และตัดสินใจซื้อในอนาต
ตัวอย่างการรีวิวกล้อง HERO7 Black จากแบรนด์ Go Pro ที่มีลูกเล่นในการถ่ายภาพระดับมืออาชีพ และการเลือกเพลงที่เหมาะกับการผจญภัย
9) Testimonial
Testimonial คือหนึ่งในวิธีการรีวิวสินค้าและบริการ จากบุคคลอื่น ๆ เพื่อยืนยันถึงคุณภาพของสินค้าว่าใช้แล้วดีจริง โดยที่ผู้รีวิวสินค้า สามารถเป็นได้ทั้ง Influencer และลูกค้าด้วยกันเอง ทั้งนี้การทำ วิดีโอคอนเทนต์ในรูปแบบ Testimonial จะทำให้แบรนด์และสินค้ามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้นค่ะ
ตัวอย่างการรีวิวสินค้าจากยูทูบเบอร์ชื่อดัง
เรามาดูสถิติเกี่ยวกับผลลัพธ์จากการสร้างคอนเทนต์วิดีโอด้วยการทำ Testimonial จากเว็บไซต์ Wyzowl กันค่ะ
- 79% จากผู้ชมที่ได้ดูการรีวิว testimonial จะทำการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับตัวแบรนด์และสินค้า
- 2 ใน 3 ของผู้ชมต้องการดูรีวิวก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ
- ผู้ชม Testimonial 59% นิยมดูรีวิวจากวิดีโอมากกว่าบทความ
- ผู้ชม Testimonial 39% กล่าวว่าวิดีโอมีอิทธพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า และบริการเนื่องจากได้เห็นภาพจริง และได้รับคำแนะนำ
- 42% จากผู้ชม เชื่อใจผู้ที่รีวิวสินค้า
10) แอนิเมชัน
การนำเสนอในรูปแบบแอนิเมชัน คือการนำเสนอสินค้าและบริการในรูปแบบของการ์ตูนภาพเคลื่อนไหว ซึ่งแบรนด์นิยมสร้างคอนเทนต์ประเภทนี้ ด้วยการเล่าเรื่อง (Storytelling) เพื่อสร้างอารมณ์ร่วม ให้ผู้ชมเกิดควาสนใจ
ตัวอย่างด้านบนคือ วิดีโอแอนิเมชันจาก Airbnb
11) Live Streaming
การทำคอนเทนต์ด้วยการถ่ายทอดสด หรือ Live Streaming เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคนิยมมาก เมื่อมองย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นในปี 2015 ผลลัพธ์จากการ Live บน Facebook ทำให้ยอดการค้นหา Facebook Live Stream พุ่งสูงถึง 330 %
การ Live Streaming สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้แก่ผู้ประกอบการได้อย่างไรบ้าง เราสามารถดูได้จากข้อมูลสถิติด้านล่างนี้ กันได้เลยค่ะ
- ผู้ชม Live Streaming มียอดสูงขึ้น 47% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ( ปี 2019 )
- มีการคาดการณ์ว่า อุตสหกรรมการสร้างวิดีโอคอนเทนต์แบบ Live Streaming จะสร้างรายได้มากถึง 7 หมื่นล้านดอลลา์สหรัฐ
- การทำคอนเทนต์ในรูปแบบการ Live โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นช่องรายการแข่งขันเกมส์และกีฬา ซึ่งผู้ชมโดนปกติมักเป็นกลุ่มคนที่ไม่อยากตกกระแส และชอบการอัปเดตบนโลกโซเชียล
- การทำ Live Stream ยังสร้าง Engagement ได้มากกว่า 10 เท่าเมื่อเทียบกับการทำวิดีโอคอนเทนต์แบบทั่วไป (ข้อมูลจาก เว็บไซต์ 99firms)
- การ Live Streaming สามารถสร้างยอด Reach ได้เพิ่มขึ้นถึง 222% (ข้อมูลจากเว็บไซต์ Agora Pulse)
12) Brand Film
การสร้างวิดีโอคอนเทนต์ ไม่จำเป็นต้องสร้างเป็นคลิปสั้น ๆ ก็ได้
ความจริงแล้ว การสร้างคอนเทนต์ไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัว ว่าจะต้องมีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการนำเสนอแบรนด์โดยการทำเป็นภาพยนต์ก็น่าสนใจมากเช่นเดียวกันค่ะ
เหตุผลที่แบรนด์ควรสร้างหนัง คือการทำให้ผู้ชมได้เห็นมุมมองของแบรนด์ คุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับจากการบริโภคสินค้าชนิดนั้น ๆ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถออกแบบเรื่องเล่าในมุมที่หลากหลายได้ เช่น การทำสารคดีสั้น การทำกิจกรรมบางอย่างโดยผ่านมุมมองคนธรรมดาทั่วไปที่ใช้แบรนด์ของเรา เป็นต้น
เช่น แบรนด์เสื้อผ้า Patagonia นำเสนอประสบการณ์การใช้สินค้าของแบรนด์ ผ่านการทำกิจกรรมของผู้บริโภคในรูปแบบการผจญภัย
Patagonia นำเสนอวิดีโอคอนเทนต์ในรูปแบบของการสร้างหนังสั้น
วิดีโอตัวอย่าง จาก Patagonia
13) การส่งอีเมลในรูปแบบของวิดีโอ
วิธีการสร้างวิดีโอคอนเทนต์นำเสนอลูกค้าผ่านอีเมล ดูสร้างสรรค์ดีใช่ไหมคะ เทคนิคนี้ไม่ใช่แค่ความสร้างสรรค์เพียงอย่างเดียวที่จะได้ใจลูกค้า แต่ข้อดีของการส่งอีเมล แล้วใส่หัวข้อว่า “วิดีโอ” ลงไป สามารถเพิ่มโอกาสในการเปิดอีเมลได้อีก 19% ค่ะ
เทคนิคการทำวิดีโอคอนเทนต์สามารถทำได้ง่าย ด้วยวิธีการต่อไปนี้ค่ะ
- นำเสนอคลิปวิดีโอสั้น ๆ 1-2 นาที
- นำเสนอความเป็นมาเล็กน้อยในช่วงต้น หลังจากนั้น วิดีโอควรสามารถสื่อสารกับผู้ชมได้ ว่าคลิปนี้ต้องการจะส่งสารอะไรให้แก่ลูกค้า
- อย่าลืมใส่ปุ่ม Call to Action ให้ชัดเจน เพื่อลิงก์ให้ลูกค้าไปเปิดยังหน้าเว็บไซต์ หรือหน้าเพจโซเชียลมีเดียอื่น ๆ ที่ต้องการ
ตัวอย่างการทำวิดีโอคอนเทนต์ในรูปแบบ Email Marketing ซึ่งลูกค้าสามารถกดปุ่ม Register Now เพื่อเข้าสมัครได้เลย
14) เทคโนโลยีโลกเสมือน
หลายท่านคงคุ้นชินกับคำว่า Virtual Reality (VR) หรือ เทคโนโลยีโลกเสมือนกันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบการเล่นเกม หรือจากสื่อด้านอื่น ๆ ซึ่งอุตสาหกรรมจากการสร้าง VR ทั่วโลกสามารถกวาดรายได้ไปมากกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020 เท่านั้น
ความน่าสนใจของการใช้เทคโนโลยีโลกเสมือน มาแสดงภาพเคลื่อนไหวกันแบบ 360 องศา ซึ่งหากแบรนด์สามารถมอบประสบการณ์พิเศษที่ไม่เหมือนใคร ให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้ แน่นอนค่ะว่าลูกค้าจะต้องประทับใจอย่างแน่นอน
ตัวอย่างการนำเสนอเสนอวิดีโอคอนเทนต์ในรูปแบบของเทคโนโลยีโลกเสมือน โดยแบรนด์ Lexus
“ride along with the heroes of ABC’s Quantico to explore its power and capability in this 360° experience”:
15) User-Generated Content
User-Generated Content คือ การที่ผู้บริโภคสินค้า หรือกลุ่มเป้าหมาย พูดถึงสินค้าและบริการจากแบรนด์ของเราในเชิงบวก โดยที่แบรนด์นั้น ๆ ไม่ได้จ้างคนกลุ่มเหล่านี้มา
อย่างที่ทราบกันว่า กลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคในยุคดิจิทัล อาจไม่เชื่อคำเชิญชวนจากโฆษณาง่าย ๆ ทำให้แบรนด์ออนไลน์ ต่างหาทางสร้างกลยุทธ์เพื่อเพิ่มความเชื่อใจให้แก่ลูกค้า ซึ่งไอเดียการทำ User-Generated Content เป็นหนึ่งในทางออกของหลาย ๆ แบรนด์ โดยที่ กลุ่มคนเหล่านี้จะกล่าวถึงสรรพคุณ ข้อดีต่าง ๆ จากการได้ใช้บริการ หรือผลลัพธ์จากการทดลองผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้ชมที่ได้ดูวิดีโอเกิดความมั่นใจในสินค้าแและบริการค่ะ
จากภาพด้านบน เป็นข้อมูลงานวิจัย Crowd Riff เปิดเผยว่า
- 85% ของผู้บริโภคได้รับอิทธิพลจากการนำเสนอในรูปแบบของ User-Generated Content
- คอนเทนต์ที่มาจากผู้บริโภค 60% มีอิทธพลในการตัดสินใจซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ได้รับการรีวิว
16) วิดีโอการแข่งขัน หรือการร่วมชิงรางวัล
การสร้างวิดีโอคอนเทนต์ เพื่อการโปรโมตสินค้า หรือทำแคปเปญขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เป็นเทคนิคที่แบรนด์สามารถสร้าง Lead Generation และเพิ่ม Traffic (จำนวนที่มีคนคลิกเข้ามาในหน้าเว็บไซต์)ให้แก่แบรนด์ได้
ภาพจากด้านบน เป็นการทำวิดีโอเชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายร่วมชิงรางวัลเพื่อรับสินค้าไปใช้ฟรี โดยผ่านแพล็ตฟอร์ม Instagram Story
17) Personalized Video
การนำเสนอวิดีโอคอนเทนต์ในรูปแบบของ Personalized Video คือการทำวิดีโอนำเสนอให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด ซึ่งผู้ประกอบการ จะต้องเข้าใจความต้องการผู้บริโภคของแบรนด์ตัวเอง และสิ่งที่แบรนด์ต้องการมอบให้แก่ลูกค้าจริง ๆ ซึ่งการทำการตลาดในแนวทางนี้ จะดีกว่าการทำการตลาดแบบโฆษณาทั่วไป
เนื่องจากการสร้างประสบการณ์เฉพาะให้แก่ลูกค้า เช่นการเรียกชื่อลูกค้า การจดจำการสินค้าที่ลูกค้าชอบ เป็นการมอบประสบการณ์ที่พิเศษที่ลูกค้าจะเกิดความประทับใจได้มากกว่า
ตัวอย่างวิดีโอแบบ Personalization มีจุดเด่นในการโฆษณาด้วยการเรียกชื่อลูกค้า เพื่อดึงความสนใจจากผู้ชม ซึ่งผู้ที่อยู่ในคลิปวิดีโอ ( Barclays) นำเสนอการกู้ยืมเงินเพื่อนำไปซื้อรถในฝันให้แก่ลูกค้าที่ชื่อ Claire ว่าเธอสามารถช่วยได้จริง โดยทะเบียนรถในวิดีโอ มีหมายเลขทะเบียน CL4R3 ซึ่งมีตัวสะกดคล้ายกับชื่อของ Claire เอง
สรุป
การทำวิดีโอคอนเทนต์ คือการนำเสนอสินค้าและบริการ ที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างมากในยุคดิจิทัล สิ่งที่ผู้เขียนต้องการมอบให้แก่ทุกท่าน คือ การแนะนำไอเดียการทำวิดีโอในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อนำไปปรับใช้กับกลยุทธ์ที่แบรนด์ของท่านมี เพื่อรองรับพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป หรือที่เราเรียกกันว่า New Normal ในปัจจุบันค่ะ
และนอกจากนี้ STEPS Academy มีคอร์สเรียนมาให้ทุกท่านที่สนใจการทำธุรกิจออนไลน์มาฝากกันค่ะ
เตรียมตัวให้พร้อมกับคอร์สเรียน Content Marketing เพื่อผู้ประกอบการ นักการตลาด และผู้ที่สนใจทั่วไป
ซึ่งผู้ที่ต้องการพัฒนางาน Content ให้ตอบโจทย์ทั้งทางการตลาดและลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น เพิ่มการรับรู้ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจ เพิ่มยอดขาย หรือการช่วยให้เกิดการซื้อซ้ำ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่เว็บไซต์ด้านล่างนี้เลยค่ะ
ข้อมูลจาก :
blog.appsumo.com
blog.gotomeeting.com
www.singlegrain.com