คุณรู้หรือไม่ว่า Influencer Marketing เป็นกลยุทธ์ที่สามารถสร้างผลตอบแทนให้กับธุรกิจ (ROI) ได้มากเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งในปี 2020 แบรนด์ที่ทำการตลาดผ่าน Influencer หรือผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์นั้นได้ผลตอบแทนสูงถึง $5.78 เมื่อมีการลงทุนทุก ๆ $1 นั่นหมายความว่า ผลลัพธ์จากการทำการตลาดนั้น สามารถสร้างรายได้ ๆ มากถึง 5 เท่า Influencer Marketing Hub, 2020)
กลุ่ม Influencer ทั้ง 12 ประเภทที่เราจะมาพูดถึงในวันนี้จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่ม Influencer ที่แบ่งตามจำนวนผู้ติดตาม และกลุ่มที่แบ่งตามประเภทคอนเทนต์บน Instagram ค่ะ
4 ประเภทของ Influencers ที่แบ่งตามจำนวนผู้ติดตาม
- Nano influencers (1 พัน – 1 หมื่น followers)
- Micro influencers (1 หมื่น – 1 แสน followers)
- Macro influencers (1 แสน – 1 ล้าน followers)
- Mega หรือ Celebrity Influencers (1 ล้าน followers ขึ้นไป)
1. Nano-Influencers (1K–10K followers)
ตัวอย่าง: Alexis Baker, จับคู่กันกับ Winc
Nano-Influencers มีจำนวนผู้ติดตามตั้งแต่ 1 พันถึง 1 หมื่นคน ซึ่งเป็นกลุ่ม Influencer ที่มีผู้ติดตามน้อยที่สุดในบรรดาผู้มีอิทธิพลกลุ่มอื่น ๆ แต่มีปฏิสัมพันธ์ (Engagement) บนโลกโซเชียลกับผู้ติดตามสูง ซึ่งผู้ติดตามจะชอบไลฟ์สไตล์ คอนเทนต์ และคำแนะนำ Influencer ที่จริงใจ และพูดอย่างตรงไปตรงมา ทำให้ผู้มีอิทธิพลระดับนาโนได้รับความนิยมสูง
Nano-Influencers เหมาะกับ…
- แบรนด์ที่มีขนาดเล็ก และขนาดกลางที่มีงบประมาณน้อย
- เหมาะกับแผนการตลาดที่มองหากลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ บนโลกออนไลน์
- Nano-Influencer อาจไม่ได้ทำคอนเทนต์แบบยึดเป็นอาชีพจริงจัง ดังนั้นนักการตลาดอาจต้องวางแผน หรือพูดคุยกับ Influencer ให้ชัดเจนก่อนโปรโมตแคมเปญ
2. Micro-Influencers (10K–100K followers)
ตัวอย่าง: Shelby Ditch, จับคู่กันกับ Walmart
Micro Influencers มีผู้ติดตาม 1 หมื่นถึง 1 แสนคน ซึ่ง Influencer กลุ่มนี้สามารถสร้างคอนเทนต์ที่ดึงดูดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่มีความชอบ หรือไลฟ์สไตล์ที่มีความเฉพาะด้าน (Niche Market) ซึ่งแบรนด์สามารถทำการตลาดกับกลุ่ม Micro-Influencer กลุ่มนี้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อเลือก Partner ที่ตอบโจทย์
Micro-Influencers เหมาะกับ…
- การทำการตลาดที่มีเป้าหมายในการเพิ่ม Lead Generation หรือการเปลี่ยนจาก Customer Journey มาเป็นลูกค้า
- Micro-Influencer สามารถเขาถึงกลุ่มเป้าหมายที่ชื่นชอบไลฟ์สไตล์ที่มีความเฉพาะเจาะจง อย่างใดอย่างหนึ่งได้ง่าย เช่น ในด้านการออกกำลังกาย หรือด้านความงาม
- นักการตลาดสามารถค้นหา Influencer ที่เหมาะสมกับการทำการตลาดได้จากเว็บ social listening
3. Macro-Influencers (100K–1M followers)
ตัวอย่าง: Lily Pebbles, จับคู่กันกับ Wild.
Macro-Influencers มีผู้ติดตามอยู่ที่ 1 แสนถึง 1 ล้านคน ซึ่ง Macro-Influencers บางคนอาจเป็นคนดัง (Celebrity) บนโลกโซเชียล และอาจเป็น Bloggers, Vloggers หรือ ผู้ที่ทำ Podcast ซึ่งผู้มีอิทธิพลกลุ่มนี้ไม่ได้เพียงแค่มีผู้ติดตามจำนวนมากเท่านั้น แต่ยังเป็นคนดังที่มีผู้ติดตามสั่งสมมายาวนานหลายเดือน หรือหลายปี และเนื่องจากการที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก ทำให้ Influencer ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ติดตาม ได้อย่างทั่วถึง เมื่อเทียบกับ Influencer 2 กลุ่มแรก
Macro-Influencers เหมาะกับ…
- Macro-Influencer ส่วนใหญ่จะทำคอนเทนต์ได้แบบ Professional หรือทำเป็นแบบมืออาชีพ จึงเหมาะกับแบรนด์ที่มีขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ที่ต้องการตัวแทนในการโปรโมตคอนเทนต์แบบสม่ำเสมอ
- เหมาะกับการตลาดที่เน้นสร้าง Brand Awareness หรือเพื่อเพิ่มการรับรู้แบรนด์
- เมื่อนักการตลาดต้องการสร้างกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก
- เหมาะกับการทำการตลาดผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียอย่าง YouTube, Facebook และ TikTok.
4. Mega-Influencers (1M+ followers)
ตัวอย่าง: Shraddha Kapoor ทำการตลาดร่วมกันกับ Hershey India
Mega-Influencers คือกลุ่มผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ที่มีความเป็นมืออาชีพในการทำคอนเทนต์ และส่วนมาก จะเป็นคนดังที่เป็นที่รู้จักทั่วไป ทั้งในโลกออนไลน์ หน้าจอโทรทัศน์ และหน้าจอภาพยนต์ โดยมีผู้ติดตามมากก่วา 1 ล้านคนขึ้นไป และ Mega-Influencers จะมีไลฟ์สไตล์ที่โดดเด่น เป็นที่รู้จักในช่องทางที่ชัดเจน ดังนั้นคอนเทนต์ของคนกลุ่มนี้มักจะมีอิทธิพลต่อผู้ติดตาม และผู้บริโภคทั่วไป
Mega-Influencers เหมาะกับ…
- เหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ในเชิงบวกให้กับธุรกิจ ด้วยการว่าจ้าง Mega Influencers ที่มีความเป็นมืออาชีพ
8 ประเภทของ Influencers ที่แบ่งตามลักษณะคอนเทนต์
- สาย Gamers และ Live Streamers
- สายกีฬา และฟิตเนส
- Bloggers/ Vloggers
- สายท่องเที่ยว
- สายความงาม
- สายแฟชัน
- สายครอบครัว
- สายกิน รีวิวอาหาร
5. สาย Gamers และ Live Streamers
Gaming Influencers โดยส่วนมากแล้วจะนิยมทำคอนเทนต์ประเภทเหล่านี้ ได้แก่:
- การรีวิวเกม (Game Review): ประเภท Action, First Person Shooter (FPS), Massively Multiplayer Online (MMO), การเล่นเกมที่ต้องใช้กลุยทธ์ (ขึ้นอยู่กับแต่ละเกม)
- สอนวิธีเล่นเกมเบื้องต้น เน้นแบบฝึกหัดพื้นฐานให้เข้าใจวิธีการเล่น (Tutorials) เหมาะกับผู้เล่นเริ่มต้น
- สอนแนวทางการเล่นเกม ในลักษณะการอธิบายผู้ชมว่า ทำไมถึงใช้เครื่องมือนี้ ทำไมถึงตัดสินใจวางแผนเกมแบบนี้ เป็นต้น (Game walkthroughs)
- การนำเสนอคลิปวิดีโอสั้น ๆ เพื่อนำเสนอช็อตเจ๋ง ๆ จากในเกม (Montages)
- การเล่นภายใต้กฏ หรือเงื่อนไขที่ท้าทายฝีมือผู้เล่น (Challenges)
- การแข่งขันแบบทีม (Team Matchups)
Gaming Influencers โดยปกติแล้วมักจะนำเสนอคอนเทนต์แบบ Live Stream ผ่านแพลตฟอร์ม Twitch และ นิยมทำคอนเทนต์ต่าง ๆ เพื่อโปรโมตแบรนด์ของเกมที่เล่น นอกจากนี้ แบรนด์ที่ต้องการให้กลุ่ม Gamer รีวิวสินค้าอาจจะเป็นการนำเสนอสินค้าประเภทเครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว หรือเสื้อผ้าที่ใส่ก็ได้ค่ะ
6. สายกีฬา และฟิตเนส
ตัวอย่าง Influencer: Mirna Valerio, Paid Partnership กับแบรนด์ Hydro Flask
สำหรับ Influencer สายออกกำลังกาย และฟิตเนส จะมีคอนเทนต์ที่หลากหลายเช่นกัน โดยขึ้นอยู่กับประเภทกีฬา และแนวทางการดูแลสุขภาพ อย่างเช่น
- โยคะ
- การวิ่ง
- ยกน้ำหนัก
- CrossFit
- Healthy lifestyle
- วิธีการลดน้ำหนัก เป็นต้น
คอนเทนต์ของ Influencers กลุ่มนี้จะเน้นไปที่การสร้างแรงบันดาลใจ และแรงกระตุ้นในการออกกำลังกายให้ได้ผล ซึ่งหากคุณเป็นแบรนด์เสื้อผ้ากีฬา อาหารเสริมหรือเครื่องดื่มที่ให้พลังงานก่อนออกกำลังกาย หรือธุรกิจฟิตเนส ธุรกิจด้านการออกกำลังกาย จะเหมาะกับการทำการตลาดผ่านผู้มีอิทธิพลกลุ่มนี้ค่ะ
7. Bloggers และ Vloggers
Bloggers และ Vloggers เป็นผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะมีผู้ติดตามจำนวนมาก ในระดับ Macro และ Mega (1 แสนถึง 1 ล้าน) เรียกได้ว่า มีผู้ติดตามส่วนใหญ่มากกว่าหนึ่งแสนคนขึ้นไป ซึ่ง Bloggers และ Vloggers จะนิยมทำ YouTube Channel และบล็อกส่วนตัว เพื่อสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ มีเนื้อหาน่าติดตามและได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก
ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่ม Bloggers and Vloggers บางคนสามารถทำการตลาดด้วยการใช้เทคนิค SEO ทำคอนเทนต์ได้อย่างมีคุณภาพ และสามารถทำ Backlink เข้าหาแบรนด์ได้ จึงทำให้แบรนด์ส่วนใหญ่มักลงทุน และว่าจ้างกลุ่ม Influencer ที่มีความเป็นมืออาชีพกลุ่มนี้ เพื่อช่วยสร้าง Brand Awareness เพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์ และกระตุ้นยอดขาย
8. สายท่องเที่ยว
ตัวอย่าง Influencer Eric Stoen, Paid Partnership กับสายการบิน Qatar Airways
Influencer สายท่องเที่ยวจะเน้นทำคอนเทนต์แนะนำการเดินทาง ซึ่งมีตั้งแต่การแบกเป้ลุยเดี่ยว การท่องเที่ยวแบบหรูหรา การท่องเที่ยวในฤดูกาลต่าง ๆ การรีวิวสถานที่ท่องเที่ยว และรวมทั้งคำแนะนำในการเลือกที่พัก ร้านอาหารยอดนิยม และสายการบิน
ดังนั้นธรุกิจการท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร เอเจนซี่ท่องเที่ยวและวีซ่า หรือแบรนด์สินค้าทั่วไปสามารถทำการตลาดผ่าน Influencer กลุ่มนี้เพื่อช่วยโปรโมตร้านค้า หรือแบรนด์ของเราได้ค่ะ
9. สายความงาม
ตัวอย่าง Influencer Jordan, Paid Partnership กับแบรนด์ The Body Shop
สถิติจากเว็บไซต์ Influencermarketing เผยว่า 43% ของผู้บริโภคยุคใหม่ นิยมติดตาม Influencers สายความงาม ซึ่งคอนเทนต์ของผู้มีอิทธิพลกลุ่มนี้ จะเน้นการแชร์ประสบการณ์การดูแลผิว การแต่งหน้า ฮาวทูต่าง ๆ และการรีวิวสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับความงาม ซึ่งเหมาะกับการทำการตลาดที่มีกลุ่มเป้าหมายที่ชื่นชอบเครื่องสำอาง การแต่งหน้า และความงามด้านต่าง ๆ
10. สาย Fashion
ตัวอย่าง Influencer Louis Polo ที่ทำงานร่วมกับแบรนด์ Express.
Fashion Influencers เน้นไปที่การนำเสนอคอนเทนต์ทางด้านแฟชัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับ รองเท้า เสื้อผ้า กระเป๋า ซึ่งมีทั้งการรีวิว ทั้งสินค้าทั่วไปในย่านท้องถิ่น ไปจนถึงสินค้าแบรนด์หรูระดับโลก
ลักษณะการโปรโมตคอนเทนต์ของคนกลุ่มนี้จะเป็นการรีวิวสืนค้า การทำงานโดยตรงกับแบรนด์เสื้อผ้า การทำ Haul Video ซึ่งเป็นวิดีโอที่นักชอปทั้งหลายนำเสนอกับผู้ชมว่ามีสินค้าอะไรใหม่ ๆ บ้างในฤดูกาลนี้
11. สายครอบครัว
Parenting Influencer หรือ Influencer ที่แชร์คอนเทนต์ประเภทแม่ และเด็ก หรือรีวิวประสบการณ์การเป็นพ่อแม่ กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ซึ่งแบรนด์ประเภทสินค้าที่ใช้ภายในบ้าน สินค้าเพื่อลูกน้อย หรือธุรกิจทั่วไป สามารถทำการตลาดผ่าน Influencer กลุ่มนี้ได้
12. สายอาหาร สายกิน
ปัจจุบัน Influencer ประเภทรีวิวอาหาร หรือแนะนำร้านอาหารมีจำนวนมาก ซึ่งร้านอาหาร ร้านคาเฟ่ หรือแบรนด์ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร สามารถเลือก Influencer เพื่อช่วยในการทำการตลาดได้หลากหลายทั้งในรูปแบบการโฆษณาตรง ๆ การทำ Advertorial เนียน ๆ การบอกเล่าประสบการณ์การได้ไปลองชิมอาหารถึงร้าน รวมทั้งการรีวิวสินค้า และการส่งเดลิเวอรี่
วิธีการเลือก Influencers ให้เหมาะสมกับแบรนด์
1 ตรวจสอบให้แน่ใจว่ากลุ่มเป้าหมายตรงกับแบรนด์หรือไม่ (Audience Match)
เมื่อนักการตลาดสามารถเลือก Influencer ได้แล้ว หรืออาจทำลิสต์เลือกเอาไว้คร่าว ๆ ได้แล้ว คุณสามารถดูได้ว่าผู้ติดตามของ Influencer คนนั้นสามารถกลายมาเป็นกลุ่มเป้าหมายของเราได้หรือไม่ หรือ มีแนวโน้มเปลี่ยนใจมาซื้อสินค้า และบริการจากการรีวิวหรือไม่ นอกจากนี้คุณยังสามารถตรวจสอบวิธีการที่ Influencer แสดงปฎิสัมพันธ์กับผู้ที่เข้ามาแสดงความเห็นบนโพสต์ การตอบคำถามผ่าน Live ได้ว่าคนที่คุณจะร่วมงานด้วยมีมนุษยสัมพันธ์ดีต่อผู้บริโภคระดับไหน
ตัวอย่าง Influencer ที่นำเสนอคอนเทนต์เกี่ยวกับ Illustration ซึ่งกลุ่มเป้าหมายจะเป็นคนที่มีไลฟ์สไตล์ หรือมีงานอดิเรกชอบวาดรูป
2 คอนเทนต์ที่นำเสนอมีความจริงใจ ให้ความรู้ และดูไม่หลอกลวงผู้บริโภค (Authenticity, Passion, and Knowledge )
เนื่องจากผู้บริโภคยุคใหม่ ให้ความสำคัญกับการนำเสนอสินค้า และบริการที่จริงใจ ได้ความรู้และประโยชน์ ดังนั้น Influencer ที่จะมาช่วยนำเสนอแบรนด์ควรใช้สินค้าและบริการจากแบรนด์ของเราจริง ๆ มีการรีวิวที่จริงใจ ไม่อวยหรือยกยอจนเกินความเป็นจริง เพราะผู้บริโภคมองออกว่าคอนเทนต์ หรือคำพูดแบบไหนที่ดูน่าเชื่อถือ หรือดูหลอกลวง ซึ่งผู้ที่ติดตามกลุ่ม Influencer รวมถึงผู้ที่ค้นหารีวิวบนโลกออนไลน์สามารถเข้ามาดู Influencer รีวิวได้ เพื่อตัดสินใจก่อนซื้อสินค้า
ตัวอย่างการรีวิวสินค้าที่ Influencer ชอบ และอยากรีวิว จากเว็บไซต์ Amazon
3 เป้าหมายในการนำเสนอคอนเทนต์
ก่อนที่แบรนด์จะทำการตกลงว่าอยากให้นำเสนอ หรือรีวิวสินค้าอะไร นักการตลาดจะต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่า แคมเปญการตลาดนี้ทำขึ้นเพื่อวัตถประสงค์อะไร วัดผลได้หรือไม่ และมีวิธีการอะไรในการเก็บข้อมูล เพื่อให้การลงทุนกับการตลาดไม่เสียเปล่า เช่น
- การสร้างการรับรู้แบรนด์
- การสร้างยอดขาย
- ต้องการเพิ่มยอด Conversion ในระยะ 3 เดือน
- การเพิ่มฐานลูกค้าในกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ เป็นต้น
4 แพลตฟอร์มที่ใช้
Influencer มีช่องทางในการนำเสนอคอนเทนต์ที่ต่างกันออกไป บางคนมีการโปรโมตหลายช่องทาง หรือบางคนอาจโปรโมตผ่าน Instagram เพียงอย่างเดียว และ Influencer บางคนอาจไม่ทำวิดีโอคอนเทนต์เลยก็ได้ ดังนั้น นักการตลาดควรศึกษาช่องทางที่ Influencer มักใช้โปรโมตคอนเทนต์ ว่าเป็นช่องทางโซเชียลมีเดียที่ต้องการหรือไม่ หรือกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์อยู่ในแพลตฟอร์มนี้มากน้อยเพียงใด
ตัวอย่าง Influencer ที่ Uniqlo ร่วมทำการตลาดด้วยผ่าน YouTube
5 การตกลงว่าจ้าง
การว่าจ้าง Influencer นั้น นักการตลาดควรติดต่อให้เป็นลักษณะทางการในรูปแบบธุรกิจ เพราะเรากำลังจะทำการตลาดแบบจริงจัง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการให้เกียติ Partner ที่จะมาทำการตลาดกับเรา ซึ่งนักการตลาดจะต้องเจรจา และอธิบายให้ Influencer ที่ต้องการว่าจ้างให้ละเอียด ว่าต้องการนำเสนอสินค้าอะไรบ้าง แบรนด์มีลักษณะเป็นแบบไหน ต้องการเข้าหากลุ่มเป้าหมายแบบใด และค่าจ้างในการรีวิว ซึ่ง Influencer บางกลุ่มอาจตกลงค่าจ้างกันได้ในรูปแบบของสินค้า แต่บางคนจะต้องมีการเซ็นต์สัญญาอย่างชัดเจน ว่าจะลงคอนเทนต์ช่องทางใดบ้าง ช่วงเวลา และวันไหนเพื่อไม่ให้เกิดการสื่อสารที่ผิดพลาด หรืออาจติดต่อกับเอเจนซี่เพื่อทำการตลาดกับ Influencer อาจเป็นช่องทางที่สะดวกสบายต่อผู้ประกอบการในการติดต่อ Influencer ค่ะ
ข้อมูลจาก
https://influencermarketinghub.com