ในสายงานคอนเทนต์ครีเอเตอร์จะรู้กันดีว่ากว่าจะออกมาเป็น 1 คอนเทนต์ออกสื่อได้นั้นต้องผ่านขั้นตอนกระบวนการคิดที่ซับซ้อนมานับไม่ถ้วน กว่าจะออกมาได้ก็ใช้เวลาที่ค่อนข้างนาน กินเวลาไปหลายชั่วโมง ถ้าเยอะหน่อยก็ใช้เวลาหลายวัน หรือถ้าจะต้องวางแผนเป็นคอนเทนต์แพลนเนอร์ก็ใช้เวลาเป็นสัปดาห์เป็นเดือนเลยทีเดียว
แต่วันนี้การทํางานของคอนเทนต์ครีเอเตอร์จะไม่ยากอีกต่อไป เพราะเรามีตัวช่วยอย่าง AI ที่คุ้นชื่ออย่าง ChatGPT ซึ่งก็คือโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ที่พัฒนาโดย OpenAI สามารถใช้ในการสร้างเนื้อหาในรูปแบบต่างๆ ได้ รวมถึงงานเขียนคอนเทนต์ ซึ่ง Chat GPT สามารถทำได้หลายอย่างที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานเขียนคอนเทนต์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
วันนี้ STEPS รวบรวมเช็คลิส ChatGPT ช่วยเราทํางานในสายคอนเทนต์
1. คิด Content Pillar
ChatGPT สามารถช่วยคิด content pillar ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดย ChatGPT ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ของข้อความที่เราป้อนข้อมูลให้เข้าไป และทําการวิเคราะห์บริบทของธุรกิจและกลุ่มเป้าหมาย จากนั้น ChatGPT จะใช้ข้อมูลที่มีมากำหนดหัวข้อหลักหรือ pillar ของ content marketing ที่เหมาะสมกับธุรกิจและกลุ่มเป้าหมาย
ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นธุรกิจที่ขายสินค้าออนไลน์ ChatGPT สามารถช่วยคุณกำหนด content pillar ได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ซึ่งข้อมูลที่ต้องเตรียมไว้เพื่อให้ ChatGPT วิเคราะห์ จะเป็นข้อมูลดังต่อไปนี้
- ประเภทของสินค้าและบริการที่ธุรกิจขายอยู่
- เป้าหมายและกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ
- เทรนด์และแนวโน้มของอุตสาหกรรม
2. คิด Headline หรือ หัวข้อ
ในส่วนที่ 2 นี้ ChatGPT ก็จะนําข้อมูลที่มีจากข้อ 1 ที่เรากําหนดให้ ChatGPT กําหนด Content Pillar มาคิดต่อออกมาเป็นหัวข้อของคอนเทนต์ที่น่าสนใจและคาดว่าจะตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ทั้งนี้หากเราอยากให้ ChatGPT นําเสนอไอเดียที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของเราจริงๆ เราเองก็จําเป็นต้องป้อนข้อมูลของลูกค้าเป้าหมายของสินค้าหรือบริการที่เราขายอยู่ เพื่อให้ ChatGPT ทํางานออกมาได้โดนใจ ตรงประเด็นมากที่สุด เช่น ข้อมูลพื้นฐาน รายได้ ไลฟ์สไตล์ pain point ของลูกค้า เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นธุรกิจที่ขายสินค้าออนไลน์ ChatGPT สามารถช่วยคุณคิดหัวข้อคอนเทนต์ได้ดังนี้
- วิธีเลือกซื้อสินค้าออนไลน์
- เคล็ดลับการใช้งานสินค้าออนไลน์
- สินค้าออนไลน์ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณ
3. คิด USP หรือ จุดขายที่แตกต่าง
จริงๆ ในส่วนของ USP หรือ Unique Selling Point การตลาดทุกที่จะเป็นผู้กําหนดส่วนนี้ออกมาก่อนทําการสื่อสารออกสื่อสาธารณะเพื่อโปรโมทสินค้าหรือบริการ แต่เมื่อคนเราคิดออกมาแล้วยังไม่โดนใจหรือใช้ระยะเวลาคิดที่ค่อนข้างนาน การใช้ ChatGPT ช่วยเกลาข้อมูลส่วนนี้ออกมาให้ก็ถือว่าเป็นโบนัสของคนทํางานอย่างเราเลย แล้วจะใช้ได้ยังไง เราก็จําเป็นต้องป้อนข้อมูลที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของเราโดยการกําหนด บริบทของตัวเราก่อน เช่น บริบท: ตําแหน่งงาน ประสบการณ์ ประเภทธุรกิจของเรา
จากนั้นกําหนดหน้าที่ เช่น หน้าที่: ผลิตคอนเทนต์ วางแผนการสื่อสารการตลาด สร้างจุดขายที่แปลกใหม่ให้แตกต่างจากคู่แข่ง
และทําการกําหนดขอบเขตที่เราต้องการ คือ จํานวนของ USP ที่ต้องการ ใช้ภาษายังไง สําหรับลูกค้ากลุ่มไหน และใช้ช่วงเวลาไหน
สุดท้ายของการป้อนข้อมูลก่อนกด enter ส่งข้อมูลให้ ChatGPT คิด USP ให้เรา นั่นคือ การกําหนดจุดประสงค์ของงาน เช่น เพื่อจุดประสงค์สําหรับทําแคมเปญการตลาด กระตุ้นยอดขาย ตีตลาดลูกค้ากลุ่มใหม่ เป็นต้น
ลองทําตาม STEPS ที่เราบอกไปกันดู รับรองว่าจะได้จุดขายที่บางทีคนเองก็ยังคิดได้ไม่เท่าเจ้า ChatGPT เลย
4. คิด Key message หรือ ข้อความสําคัญ
ส่วนที่ 4 Key message หรือข้อความสําคัญซึ่งจะเกิดขึ้นจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและจุดขายที่เราสร้างขึ้น จะออกมาเป็นข้อความหลักที่เราจะใช้สื่อสารในแผนการตลาดหรือคอนเทนต์ที่เราจะเขียนออกไป ส่วนนี้ในการทํางานจําเป็นต้องใช้ความครีเอทีฟและใช้ความคิดค่อนข้างเยอะ เราเลยอยากให้ทุกคนลองใช้ ChatGPT ช่วยคิด เพราะ ChatGPT ช่วยคิด key message ที่ชัดเจนและกระชับ สื่อถึงจุดประสงค์ของคอนเทนต์และสามารถดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้ โดย ChatGPT สามารถใช้ข้อมูลที่เราป้อนเข้าไปโดยเคล็ดลับของการที่จะทําให้ ChatGPT ป้อนข้อมูลออกมาได้ดีที่สุดคือการค่อยๆ คุยกับเขาไปเรื่อยๆ เหมือนเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ตัวอย่างของการคิด key message หากคุณเป็นธุรกิจที่ขายสินค้าออนไลน์ ChatGPT สามารถช่วยคุณคิด key message ดังนี้
- สินค้าออนไลน์คุณภาพดี ราคาถูก
- สินค้าออนไลน์ตอบโจทย์ทุกความต้องการ
- สินค้าออนไลน์ที่ช่วยให้ชีวิตคุณง่ายขึ้น
สรุป
เช็คลิสที่ ChatGPT สามารถช่วยคอนเทนต์ครีเอเตอร์ช่วยทํางานมี 4 ส่วนด้วยกัน นั่นคือ คิด Content pillar คิด Headline คิด USP และคิด Key message โดยเคล็ดลับของการให้ ChatGPT ช่วยคิดงานให้ออกมาได้ตรงประเด็นมากที่สุดคือการคุยแบบต่อเนื่อง คิดส่วนที่ 1 เสร็จให้คิดส่วนที่ 2 ต่อเลย เป็นต้น เพราะ ChatGPT ก็ต้องการการเรียนรู้เหมือนกับคนเรานั่นเอง
ลอง save เช็คลิสนี้ไว้เปิดดูตอนทํางานกับ ChatGPT กันนะ