สรุปจาก Clubhouse ในหัวข้อ “ต่อยอดกลยุทธ์ให้เกิดผลลัพธ์กับธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วย Data Marketing”  

Clubhouse on Event ร่วมสนทนากับคุณบี สโรจ ในหัวข้อ Data Marketing

 

แอปฯ โซเชียลแชทที่ยังคงมาแรงในโลกออนไลน์อย่าง Clubhouse ถือได้ว่าเป็นแพลตฟอร์มการสื่อสารรูปแบบใหม่ ที่ผู้ใช้สามารถร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล และ ประสบการณ์จากคอนเทนต์ต่าง ๆ ทั่วมุมโลก โดยมีแอปฯ เป็นพื้นที่ส่วนกลางในการสื่อสาร ซึ่ง Founder จากทาง STEPS Academy หรือคุณเอมมี่ก็ได้เข้าร่วมสนทนาในหัวข้อธุรกิจ การตลาด และคอนเทนต์อื่น ๆ ที่หลากหลายเช่นเดียวกัน

ความน่าสนใจของแพลตฟอร์ม Clubhouse คือการสื่อสารระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง ซึ่งนอกจากที่ผู้ที่เข้าร่วมฟังในห้องสนทนาจะได้รับข้อมูลดี ๆ จากผู้พูดแล้ว ทางด้านของผู้พูดเอง ก็จะต้องสรุปสาระให้ตรงกับหัวข้อคอนเทนต์นั้น ๆ เพื่อส่งมอบคุณค่าดี ๆ ให้กับผู้ฟังเช่นเดียวกัน โดยหนึ่งในหัวข้อสนทนาที่น่าสนใจที่ STEPS Academy ได้สรุปเนื้อหามาฝากกันนั้น จะเป็นเรื่องของ Data Marketing โดยคุณบี สโรจ เลาหศิริ จะมาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในคอนเทนต์นี้กันค่ะ

สรุปเนื้อหาหัวข้อ “ต่อยอดกลยุทธ์ให้เกิดผลลัพธ์กับธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วย Data Marketing”

คุณเอมมี่:  สวัสดีท่านที่อยู่ในห้องสนทนา และขอเสียงตบมือต้อนรับให้กับแขกรับเชิญของเรา นั่นก็คือ คุณบี สโรจ เลาหศิริค่ะ

คุณบี:       สวัสดีครับ

คุณเอมมี่: ตอนนี้คุณบีทำอะไรอยู่บ้างคะ

คุณบี:      ปัจจุบันผม Marketing Strategy Consultant  และก่อนหน้านี้เป็น Digital Creative Agency และทำในส่วนของ

Brand ก่อนหน้านี้ เรียกได้ว่าได้ผ่านทั้งโลกของ Corporate, โลกของ Agency และโลกของ Consultant ครับ

คุณเอมมี่: ขอบคุณค่ะ ในวันนี้จะขออนุญาตถามคำถามหลัก ๆ 4 คำถามโดยที่หลัก ๆ จะเป็นเรื่องของ Data Marketing

ซึ่งคำถามแรกที่อยากจะถามก็คือ ทำไมเราถึงต้องเรียนรู้เรื่อง Data Marketing คะ

1 ทำไมเราถึงต้องเรียนรู้เรื่อง Data Marketing

 

คุณบี:  2-3 ปีที่ผ่านมาเราได้ยินคำว่า Data มาเยอะมาก แล้วเราก็รู้ว่า ต้องเก็บ Data แต่ในวันนี้เราจะมาตอบคำถามกันว่า ทำไม เราจึงต้องใช้ Data มาเป็นรหัสผ่านของการทำการตลาด

ความจริงแล้วมนุษย์กับ Data อยู่ด้วยกันมานาน แต่ในอดีตจะเป็นรูปแบบของข้อมูลการขาย บิลเงินสด บันทึกยอดขาย และกลายมาเป็นข้อมูลดิจิทัล

ตัวอย่างเช่น สมมติเราไปที่ร้านอาหารตามสั่ง และเจ้าของร้านจำชื่อเราได้ว่า นี่คือคุณ…. เหมือนเดิมนะ

ซึ่งคำว่าเหมือนเดิม ก็คือกะเพราตามสั่งเผ็ดน้อย ๆ ตามสไตล์แบบที่เราชอบนั่นเอง ซึ่ง ข้อมูลนี้ จะอยู่ในรูปแบบของการจดจำ หรือในสมัยก่อน เราจะมีการส่งโบร์ชัวร์ไปตามบ้าน โดยการเก็บข้อมูลแบบอะนาล็อก คือ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือการเก็บเบอร์โทร เพื่อส่ง SMS หรือ  Membercard และส่งจดหมายไปตามบ้าน

 

นช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และเทคโนโลยี อย่างระบบการยิงโฆษณา ระบบจัดเก็บ Data ช่องทางโซเชียลมีเดีย และระบบ CRM ช่วยนักการตลาดได้มากในการทำการตลาด

แต่ในปัจจุบัน ยุคนี้เป็น Digital Disruption คือยุคที่นำ Data ไปใช้ในแพลตฟอร์ม ซึ่งมีการจัดเก็บไฟล์ในรูปแบบที่ สะดวกสบายมากขึ้น และใช้งานง่ายมากขึ้น นอกจากนี้ คำว่า Digital Marketing ไม่ได้เป็นเพียงแค่การสื่อสารผ่าน Digital Media แต่โดยพื้นฐานแล้ว คำว่า Digital Marketing ยังรวมทั้ง การจัดเก็บชุดข้อมูล และการประมวลข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล โดยเริ่มต้นจากตัวเลขข้อมูล Binary 0,1ซึ่งเป็นพื้นฐานของดิจิทัล

ดังนั้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และเทคโนโลยี อย่างระบบการยิงโฆษณาและมีเดีย ระบบจัดเก็บ Data ช่องทางโซเชียลมีเดีย และระบบ CRM ช่วยนักการตลาดได้มากในการทำการตลาด โดยไม่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก

คุณเอมมี่: สรุปง่าย ๆ ว่า Data อยู่กับเรามานานแล้วในรูปแบบอะนาล็อก เพียงแต่ในปัจจุบันรูปแบบของ Data นั้นเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบดิจิทัล ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่ได้หยิบยกข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

 

และคำถามถัดไป นั่นก็คือ ธุรกิจที่นำ Data มาวางแผน และธุรกิจที่ไม่ได้นำ Data มาวางแผน สุดท้ายแล้วมีผลลัพธ์แตกต่างกันอย่างไรคะ

2 ธุรกิจที่นำ Data มาวางแผน และธุรกิจที่ไม่ได้นำ Data มาวางแผน สุดท้ายแล้วมีผลลัพธ์แตกต่างกันอย่างไร

คุณบี: ปัจจุบัน Landscape ของตลาดการแข่งขันเปลี่ยนแปลงไป หมายความว่ามีทางเลือกของลูกค้ามีมากขึ้น และพฤติกรรมการบริโภคก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน อีกทั้ง Data ที่อยู่ในยุคดิจิทัลที่มีอยู่รอบตัวเรา ก็มีจำนวนมหาศาล โดยสามารถแบ่งได้ 3 V ด้วยกัน ได้แก่

 

3V of big data
ภาพจาก https://www.whishworks.com/

1 Volume   มีปริมาณที่มหาศาล

2 Velocity  ความเร็ว

3 Variety    ความหลากหลายของข้อมูล

สามสิ่งนี้ทำให้ ธุรกิจของเราเกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดธุรกิจ (Competitive Advantage )

ซึ่งในสมัยก่อน เราอาจเคยได้ยินทฤษฎีของ Michael E. Portter ที่ได้ให้คำจำกัดความเอาไว้ เกี่ยวกับความสามารถในการแข่งขันธุรกิจเอาไว้ 3 กลยุทธ์ ด้วยกันคือ

ความสามารถในการแข่งขันธุรกิจเอาไว้ 3 กลยุทธ์

1  Product Differentiation Strategy 

สินค้าหรือบริการที่มีความแตกต่างจาก แบรนด์คู่แข่ง เป็นจุดแข็งที่แบรนด์อื่นไม่มี ซึ่งความแต่งต่างในจุดนี้จะเป็นในเรื่องของ คุณภาพของสินค้า และความเป็นหนึ่งในด้านการบริการ การใช้เครื่องมือสมัยใหม่ หรืออารทำให้ภาพลักษณ์องค์กรดูโดดเด่น

2 Cost Leadership Strategy 

การใช้กลยุทธ์กำหนดราคาให้ต่ำกว่าราคาตลาด เหมาะกับการแข่งขันที่มีสนามแข่งขันขนาดใหญ่ ซึ่งข้อดีของการที่เรานำเสนอราคาที่ต่ำกว่าตลาดจะทำให้ แบรนด์คู่แข่งน้อยเนื่องจากไม่อยากอยู่ในความเสี่ยงหากมีกำไรน้อย แต่แบรนด์ของเราควรมีจำนวนฐานลูกค้าที่มากพอ

3  Focus Strategy

การที่เรามุ่งทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ดีที่สุด

เป็นการมุ่งการทำการตลาดเฉพาะ ที่มีกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มตลาดทั่วไป (Niched Market) ทำให้แบรนด์สามารถตั้งราคาสินค้าและบริการได้สูง เนื่องจากมีคู่แข่งไม่มาก

แต่ในยุคดิจิทัลนั้น การใช้ทฤษฎีเหล่านี้อาจไม่เพียงพอ ซึ่งสิ่งที่นักการตลาดควรต้องโฟกัสนั้น คือการหาความแตกต่างให้กับแบรนด์ เพื่อสร้างจุดแข็งในการทำการตลาด ซึ่งได้แก่

1 Accessibility การที่เรามีตัวตนอยู่ สามารถเข้าถึงได้ง่าย 

หากในวันนี้คุณไม่มีข้อมูลของลูกค้า จะทำให้แบรนด์ต่อสู่ในสนามการตลาดยากขึ้น เนื่องจาก นักการตลาดไม่มีข้อมูลว่าลูกค้าของเราอยู่ที่ไหนในปัจจุบัน หมายความว่า แบรนด์ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรมการซื้อสินค้าและบริการ และไม่รู้ถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งทำให้เข้าถึงลูกค้าได้ยาก

การที่แบรนด์สามารถเป็น Top of Mind คือการที่แบรนด์ทำโฆษณา หรือการทำคอนเทนต์ให้อยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้ลูกค้านึกถึงสินค้าและบริการ เราเป็นอันดับต้น ๆ เพราะแบรนด์ของเราสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่า แบรนด์อื่น

เช่น เมื่อผู้ใช้งานค้นหา สินค้าและบริการบน Google แล้วเจอแบรนด์เราเป็นเจ้าแรก ๆ ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าเข้าถึงแบรนด์ และเพิ่มยอดขายได้ง่ายขึ้น

2 Speed ความรวดเร็ว

Speed of Service & Speed of Available Value หรือ ความรวดเร็วในการให้บริการ และการส่งมอบคุณค่าให้กับผู้บริโภค

เช่น แบรนด์ JIB ที่สร้าง E-Commerce จากการขายคอมพิวเตอร์ในอดีต ได้กระโดดเข้าสู่สนามแข่งขันการบริการกับ Lazada และ Amazon  โดยใช้กลยุทธ์ความเร็วในการขาย โดยลูกค้าสั่งช่วงบ่าย อาจได้ขายช่วงเย็นเลย ซึ่งจุดแข็งในเรื่องความเร็วนี้ แบรนด์อื่นเทียบได้ยาก

3 Data ข้อมูลลูกค้า 

หากในวันนี้คุณไม่มีข้อมูลของลูกค้า จะทำให้แบรนด์ต่อสู่ในสนามการตลาดยากขึ้น เนื่องจาก นักการตลาดไม่มีข้อมูลว่าลูกค้าของเราอยู่ที่ไหนในปัจจุบัน หมายความว่า แบรนด์ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรมการซื้อสินค้าและบริการ และไม่รู้ถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งทำให้เข้าถึงลูกค้าได้ยาก

ตัวอย่างเช่น

  • ในด้านการทำแคมเปญโฆษณา

เมื่อเวลาที่เราใช้สมาร์ทโฟนในปัจจุบัน เราอาจจะเข้าไปที่ YouTube และ Facebook สลับไปมา หรืออาจจะเป็นแพลตฟอร์มอื่น ไปด้วยในช่วงเวลาสั้น ๆ  ซึ่งช่วงเวลาที่ผู้ใช้งานเข้าไปในแต่ละแพลตฟอร์มนั้น มีการกระจายไปหลายช่องทาง ซึ่งหากแบรนด์ไม่ได้ทำการ Personalized Marketing หรือการทำการตลาดเฉพาะบุคคล นักการตลาดก็จะไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จริง ๆ

  • การรักษาความสัมพันธ์ของลูกค้าเดิม

การที่แบรนด์ไม่สามารถรักษาความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าเดิมที่มี เพราะเราไม่เคยเก็บ Data หรือไม่ได้ทำการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าจริง ๆ ว่ามีความต้องการอะไร ก็จะทำให้แบรนด์เข้าถึงลูกค้าได้ยากมากขึ้น

คุณเอมมี่: ฟังแล้วมีไฟในการทำการตลาดขึ้นมาเลยนะคะ สรุปคือการทำ Data Marketing ในปัจจุบันจะต้องมีการเข้าถึงง่าย เพื่อเป็น Top of Mind ความเร็วในการบริการและการนำเสนอ และเรื่องของ Data ที่มีงบประมาณการโฆษณาค่อนข้างสูง ซึ่งอาจจะมากถึง 5 เท่าเมื่อเทียบกับปัจจุบัน ดังนั้นการนำข้อมูลมาทำการตลาดแบบ Personalization จะช่วยให้เราทำการตลาดได้แบบตอบโจทย์ได้ดีขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น

 

และคำถามต่อมา คุณบีมีตัวอย่างกรณีศึกษาจากแบรนด์ชื่อดังไหมคะ ว่ามีวิธีการจัดการ Data อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

3 กรณีศึกษาแบรนด์ที่มีการใช้ Data ในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ

คุณบี: จริง ๆ ในเรื่องของการใช้ Data ในการทำธุรกิจผมมี Case Study จากห้าง Macy’s มาฝากครับ

  • ห้างสรรพสินค้า Macy’s 
Case Study: กรณีศึกษาแบรนด์ที่มีการใช้ Data ในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ

ทางห้างสรรพสินค้า Macy’s ได้ส่งแคตาล็อกเกี่ยวกับเด็กอ่อนไปให้ลูกค้าทางบ้าน แต่กลับโดนตำหนิผ่านทางโทรศัพท์ว่าเป็นการเสียมารยาท ที่นำเสนอสินค้าเหล่านี้ไป เนื่องจาก ทางครอบครัวของลูกค้าได้มีลูกสาวที่เพิ่งแต่งงาน และยังไม่ได้ตั้งครรภ์ ทำให้ทาง Macy’s ได้ขอโทษในความผิดพลาดในครั้งนั้น และเข้าใจว่าข้อมูลที่มีอยู่อาจผิดพลาดจากนั้นทาง Macy’s ได้โทรศัพท์ไปขอโทษอีกครั้ง และแจ้งให้คุณพ่อได้ทราบว่าทางแบรนด์ได้ลบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว  แต่ในครั้งนี้คุณพ่อได้แจ้งว่า ลูกสาวของเขาท้องจริง ๆ และขอโทษทางแบรนด์กลับไป

คำถาม

ทำไม Macy’s ถึงรู้ว่าลูกค้าจะตั้งท้อง แถมยังรู้ก่อนคุณพ่อที่เป็นคนในครอบครัวเสียอีก

คำตอบ

Macy’s ใช้ Data ในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า จากสินค้าที่เคยซื้อ นั่นก็คือผลไม้ แต่ผลไม้ที่ลูกค้าซื้อในช่วงหลัง เป็นผลไม้ที่มีรสชาติเปรี้ยวและผลิตภัณฑ์โลชันที่มีกลิ่นเปลี่ยนไป โดยโลชั่นนั้นมีกลิ่นอ่อน และจางลงดังนั้น Macy’s ได้ทำการตลาดที่คาดการณ์อนาคตว่าลูกค้าต้องการสินค้าประเภทไหน เหมือนกับว่าทางแบรนด์รู้ใจลูกค้า และแสดงสินค้าให้ลูกค้าก่อนจะรู้ตัว หรือในปัจจุบันเรียกว่า Personalized Marketing ซึ่งแบรนด์จะเสนอสินค้าให้กับลูกค้าก่อนที่ลูกค้าจะหาไปตัวเลือกอื่น ๆ หรือเรียกว่าการตลาดทแบบ Share of mind

 

  • Netflix 
 สิ่งที่ Netflix ยืนหนึ่งได้บนวงการสตรีมมิ่งคือการเก็บ Data ลูกค้า โดยการจัดเก็บข้อมูลทที่เป็นหนังผิดกฎหมายที่ถูกดาวน์โหลดมากที่สุด เพื่อดูว่าผู้บริโภคกำลังอินกับหนังเรื่องได้ในช่วงนี้

สิ่งที่ Netflix ยืนหนึ่งได้บนวงการสตรีมมิ่งคือการเก็บ Data ลูกค้า โดยการจัดเก็บข้อมูลทที่เป็นหนังผิดกฎหมายที่ถูกดาวน์โหลดมากที่สุด เพื่อดูว่าผู้บริโภคกำลังอินกับหนังเรื่องได้ในช่วงนี้นอกจากนี้ หน้าแรกของ Netflix ก็ใช้วิธีการคำนวณ Data ควบคู่กันกับการคำนวณคอมพิเวตอร์ เพื่อค้นหาความสนใจ และประวัติการดูหนังและซีรีส์ของผู้ใช้งาน

คุณเอมมี่: จากกรณีศึกษาของ Netflix เรียกได้ว่าเป็นการใช้ Data ในการวิเคราะห์บุคลิกของผู้ใช้งานเพื่อแนะนำหนังใช่ไหมคะ

คุณบี: ใช่ครับ นั่นคือเหตผลที่ทำไมผู้ใช้งานติด Netflix และมีหนังที่น่าสนใจ ตรงใจกว่าแบรนด์คู่แข่งอื่น ๆ

คำถาม

ทำไม Netflix ถึงครองใจผู้บริโภคได้ทั่วโลกทั้ง ๆ ที่ตัวเลือกของหนังและซีรีส์อาจมีน้อยกว่าแบรนด์คู่แข่ง แถมยังมีค่าใช้จ่ายรายเดือนที่สูงกว่า

คำตอบ

Netflix กลยุทธ์ Personalized Marketing  โดยการใช้ Data เพื่อหาผลลัพธ์ที่ผู้ใช้งานต้องการได้แบบเฉพาะบุคคล เพื่อมากกว่าทำให้ลูกค้าได้สินค้าและบริการที่ถูกใจกว่า และใช้เวลาในการเก็บ Data มาอย่างยาวนาน

คุณเอมมี่: การทำ Personalization ของ Netflix เรียกได้ว่าถึงแม้จะมีคอนเทนต์น้อยกว่าแบรนด์คู่แข่ง แต่ครองใจผู้ใช้งานมากกว่า เนื่องจากมีการวิเคราะห์การใช้งานของลูกค้าแบบเฉพาะเจาะจง จึงทำให้ประสบความสำเร็จใช่ไหมคะ

คุณบี: ถูกต้องครับ

คุณเอมมี่: ขอบคุณค่ะ ต่อไปเป็นคำถามสุดท้าย ซึ่งเป็น 2 คำถามย่อยก่อนที่เราจะเปิดโอกาสให้ผู้ฟังร่วมแสดงความเห็นกัน โดยเราจะเห็นว่า Data มีหลายมิติและหลากหลาย ถ้าหากทั้งแบรนด์ระดับองค์กรและ Startup ต้องการเริ่มต้นทำ Data-driven Marketing จะต้องเริ่มเก็บ Data อย่างไรคะ

4 หากทั้งแบรนด์ระดับองค์กรและ Startup ต้องการเริ่มต้นทำ Data-driven Marketing จะต้องทำอย่างไรบ้าง

คุณบี: ก่อนที่เราจะเริ่มทำ Data-driven Marketing ทั้งแบรนด์ขนาดใหญ่และขนาดย่อย จะต้องตั้งเป้าหมายเสียก่อน เช่น

  • แบรนด์ต้องการใช้ Data เพื่อวิเคราะห์และพัฒนาสินค้า
  • พัฒนาความพึงพอใจของลูกค้า (CRM)
  • เพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมายที่จะกลายเป็นลูกค้าใหม่ ๆ
ก่อนที่เราจะเริ่มทำ Data-driven Marketing ทั้งแบรนด์ขนาดใหญ่และขนาดย่อย จะต้องตั้งเป้าหมายเสียก่อน

ในกรณีที่แบรนด์เรามีผลิตภัณฑ์ชิ้นเดียว หรือนักการตลาดยังไม่มี Data หรือการมี Data อยู่ในระบบ Microsoft แต่หมดอายุไปแล้ว (เช่นลูกค้าย้ายที่อยู่ และไม่ได้ใช้เบอร์โทรศัพท์เดิมแล้ว) หรือการที่เรามี Data กระจัดกระจายไป และไม่ได้ถูกจัดเก็บ คุณสามารถเลือกช่องทางการเก็บ Data ด้วยการตั้งคำถามว่า จุดประสงค์ของการทำ Data Marketing คืออะไร

เมื่อเรารู้แล้ว ก็สามารถเลือกเครื่องมือให้เหมาะสม และจัดงบประมาณที่ต้องการลงทุนได้ง่ายขึ้น

  • กรณีที่แบรนด์อยู่ในจุดของ Startup: 

นักการตลาดสามารถเลือกเก็บข้อมูลของลูกค้าแบบ Small Data  ที่เป็น Feedback จากลูกค้าก่อน และค่อย ๆ ทะยอยเก็บข้อมูลอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์การตลาดของเรา

และนักการตลาดตรวจสอบว่า Data ที่มีนั้นหมดอายุหรือไม่ ใช้งานได้จริงไหม และมีการจัดเก็บแล้วสามารถนำไปใช้ได้จริงหรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้วจะต้องใช้เวลาพอสมควร

 

คุณเอมมี่: ถ้าในกรณีที่ธรุกิจ Startup ไม่ได้มีเครื่องมือเก็บ Data แต่ยังใช้ระบบ Google Sheet หรือสมุดจดบันทึกมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ แทนแพลตฟอร์มดิจิทัล ตรงนี้คุณบีมีความเห็นอย่างไรบ้างคะ

คุณบี:     ครับในกรณีนี้ผมมองว่า ให้ผู้ประกอบการโฟกัสที่ Small Data ก่อน Big Data ก่อน และหากการจัดเก็บ Data ของเรายังอยู่ในรูปแบบของ Microsoft Excel หรือ Google Sheet และยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ไม่ต้องรีบไปหาเครื่องมือมาใช้ให้เกิดความยุ่งยากก็ได้ ซึ่งจะทำให้เรามองว่า Data ดูเป็นเรื่องที่น่ากลัวน้อยลงครับ

  • กรณีที่แบรนด์อยู่ในจุดขององค์กรขนาดใหญ่: 

ในกรณีที่องค์กรมีขนาดใหญ่ระดับที่มีรายได้เป็นพันล้าน อันดับแรกผู้ประกอบการควรตั้งคำถามว่า คุณสามารถหาผู้เชี่ยวชาญมาทำงานในด้าน Data ได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการไหม และมองหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำปรึกษาเพื่อจัดการข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจก่อน

คุณเอมมี่: แบรนด์จะต้องเริ่มจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาจัดการระบบ Data Marketing แบบจริงจังเป็นทีมไหม และจะต้องเขียน Code แบบจริงจังเลยไหมคะ

คุณบี: ในกรณีที่แบรนด์เป็นลักษณะของ Corporate ผมมองว่าจะต้องมองหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยในการจัดการ Data จะเป็นผลดีกว่าการเริ่มใช้เครื่องมือก่อน เพราะเรามีบุคลากรที่มีประสบการณ์และเข้าใจในเรื่องของ Data ครับ

คุณเอมมี่: เห็นด้วยค่ะ เอมมี่มองว่า อยากให้ผู้ประกอบการลองขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญก่อนการลองใช้แพลตฟอร์มในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา และงบประมาณนะคะ

ต่อไปนะคะ เอมมี่จะขอเชิญผู้ฟังเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน 3 ท่านนะคะ

5  มุมมองต่าง ๆ จากผู้ฟัง

 

ความสำคัญของการใช้ประโยชน์จาก Data เพื่อทำการตลาดนั้นสำคัญมากในยุคดิจิทัล เนื่องจากการศึกษาพฤติกรรมลูกค้า และการทำความเข้าใจการบริโภคสินค้

1  สิ่งที่แบรนด์ควรตระหนักในการทำ Data-Driven Marketing คือการฟังเสียงผู้บริโภคถึงความต้องการจริง ๆ รวมทั้ง Customer Journey และเทรนด์ของผู้บริโภคตั้งแต่ต้น ก่อนจะก้าวไปสู่การใช้เทคโนโลยี  หรือเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อวิเคราะห์ Data ออกมา นอกจากที่แบรนด์จะพยายามทำความเข้าใจลูกค้า นักการตลาดจะต้องสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์ด้วย เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงสินค้าและบริการ หมายความว่า ตัวหน้าบ้านและหลังบ้านของธุรกิจของเราจะต้องตอบโจทย์กับตลาด (คุณแบงค์)

2  Physical Touchpoint ของผู้บริโภคสำคัญมาก เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นในการวางแผนการตลาด ก่อนที่จะทำการเก็บ Data (คุณบี)

3  ในกรณีที่แบรนด์ Startup ยังไม่รู้ว่าจะหาข้อมูลจากไหน ผู้ประกอบการและนักการตลาดสามารถใช้ฐานลูกค้าใหม่ ๆ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเก็บข้อมูลเบื้องต้นได้ ( Customer Acquisition )

เช่น การเก็บ Data จากช่องทาง Facebook และ Instagram เพื่อหา Segment ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ และใช้เครื่องมือที่ใช้งานง่าย ๆ อย่าง Spreadsheet เพื่อจัดเรียงข้อมูล

ในกรณีที่แบรนด์ระดับ Corporate ที่ต้องการทำ Data Marketing ควรโฟกัสหาผู้เชี่ยวชาญ หรือ ทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ data ก่อนการหาเครื่องมือเช่น Data Scientist Data Engineer, Data Qualifier หรือ Data Model Team เพื่อจัดการข้อมูลได้แบบครบครัน (คุณชวลิต)

4  คุณนิวขอเสริมข้อมูลจากที่คุณชวลิตได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ในเรื่องของผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ Data ว่าองค์กรควรสร้างบุคคลเหล่านี้ขึ้นมาก่อน เพื่อให้แบรนด์หาวิธีการรับมือกับ Data ที่มีความซับซ้อน และมีขนาดใหญ  (คุณนิว)

5  การเปลี่ยนทัศนคติขององค์กร ให้เข้าใจกลยุทธ์ Data-Driven Marketing เสียก่อน โดยนักการตลาดควรตั้งคำถามเพื่อนำ Data มาใช้ในการ “แก้ปัญหา ก่อนที่จะเริ่มสร้าง Model ใหม่ ๆ (คุณชวลิต)

6  Data Management เป็นหัวใจในการบริหาร Data ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการมีทีม Data ที่มีคุณภาพ โดยนักการตลาดจะต้อง คอยอัปเดตข้อมูล และจัดเก็บไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล และนำส่งข้อมูลที่มีการอัปเดตได้อย่างทั่วถึงเนื่องจากข้อมูลตัวนี้เป็น Single Source  โดยเริ่มจัดเก็บข้อมูลให้ดีตั้งแต่เริ่มต้น (คุณนิว)

 

สรุป

ความสำคัญของการใช้ประโยชน์จาก Data เพื่อทำการตลาดนั้นสำคัญมากในยุคดิจิทัล เนื่องจากการศึกษาพฤติกรรมลูกค้า และการทำความเข้าใจการบริโภคสินค้า และการบริการของคนยุคใหม่จะต้องอาศัยเครื่องมือ (MarTech) เข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลว่าแนวโน้มการตลาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นอย่างไร และมีวิธีไหนที่จะเข้าถึงลูกค้าได้บ้าง ซึ่งไม่ว่าแบรนด์ของคุณจะเพิ่งเริ่มต้น หรือมีขนาดใหญ่ระดับองค์กร แน่นอนว่าการขับเคลื่อนการตลาดด้วยการใช้ Data จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะเข้าถึงผู้บริโภคได้ในเชิงลึก และมีประสิทธิภาพ

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

Google Analytic 4 Property: อัปเดตแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลเวอร์ชั่นใหม่
Personalized Marketing คืออะไร