เทคนิควิเคราะห์ DATA เพื่อพัฒนาให้ลูกค้าอยู่บนเว็บไซต์ ได้นานยิ่งขึ้น

วิธีการวิเคราะห์ Data เพื่อปรับปรุงให้ลูกค้าอยู่บนเว็บไซต์ได้นานขึ้น

นอกเหนือจากการที่เราต้องพยายามดึงดูดคนให้เข้ามายังเว็บไซต์ของเราให้มากขึ้นแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ คือการทำให้ผู้คนที่เข้ามาเหล่านั้น อยู่บนเว็บไซต์ของธุรกิจเราให้นานขึ้นอีกด้วย

 

ทำไมเราจึงต้องพัฒนาให้ผู้เข้าชม อยู่บนเว็บไซต์ของเรานานขึ้น?

  • เพื่อให้เว็บไซต์ของเรามีอันดับการค้นหาที่ดีขึ้น หรือทำให้เราขึ้นเป็นอันดับต้นๆของการค้นหาบน Search Engine ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสที่คนจะคลิกเข้ามายังเว็บไซต์เราม อีกทั้งยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์เรามากขึ้นด้วยค่ะ 
  • เพื่อเพิ่มโอกาสในการพบเห็นสินค้าและบริการ บนเว็บไซต์ของเรามากขึ้น
  • เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่า คอนเทนต์ หรือหน้าสินค้าบริการนั้นๆ บนเว็บไซต์ของเรา ตรงกับสิ่งที่ผู้เข้าชม หรือลูกค้าของเราต้องการ

 

ตัวชี้วัดใดบ้าง ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ว่าลูกค้าอยู่บนเว็บไซต์ของเรานานหรือไม่ และนานเท่าไหร่?

ในเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเว็บไซต์อย่าง Google Analytics จะมี 2 ตัวชี้วัดสำคัญที่ใช้บ่งบอกว่า ลูกค้าอยู่บนเว็บไซต์เรานานหรือไม่ และอยู่นานเท่าไหร่ คือ Average Time on Page และ Bouce Rate 

 

BOUNCE RATE

Bounce Rate คืออะไร?

Bounce Rate คือเปอร์เซ็นต์การเข้าชมเว็บไซต์ “เพียงหน้าเดียว” แล้วออกจากเว็บไซต์เลย 

พูดให้เห็นภาพในทางปฏิบัติก็คือ ผู้เข้าชมเว็บไซต์เห็นบล็อกของเราบน Search Engine แล้วคลิกเข้ามา อ่านบทความจนจบ แล้วออกจากหน้าเว็บไซต์เลย โดยที่ไม่มีการคลิกลิงก์ใดๆ หรือคลิกเพื่อไปยังหน้าอื่นๆของเว็บไซต์เรา

ที่ Bounce Rate เป็นอีกตัวชี้วัดที่เราต้องพิจารณา นั่นเพราะ ค่านี้จะช่วยบ่งบอกว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์ ยังคงไปต่อ หรือวนเวียนอยู่ในเว็บไซต์ของเราหรือไม่ ถ้าเราสามารถทำให้ Bouce Rate มีค่าลดลงได้ นั่นก็หมายความว่า เราทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์อยู่ได้นานขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน

 

Bounce Rate เท่าไหร่เรียกว่า “ดี” ?

เปอร์เซ็นต์ Bounce Rate จำเป็นต้องพิจารณาควบคู่กับประเภทของคอนเทนต์ และลักษณะของหน้าเว็บไซต์นั้นๆด้วย เช่น ถ้าหากหน้าเว็บไซต์นั้นๆของเรา เป็นการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์โดยส่วนใหญ่ และไม่มีการใส่ลิงก์เพื่อไปต่อยังหน้าอื่นๆเลย ถ้าผลลัพธ์ Bounce Rate ออกมาสูง ก็คงไม่ใช่เรื่องน่าตกใจหรือผิดปกติเท่าไหร่

ในทางกลับกัน ถ้าหน้าเว็บไซต์นั้นของเราใส่ลิงก์ เพื่อนำผู้ชมไปยังหน้าของการสั่งซื้อสินค้าและบริการ แต่กลับมีค่า Bounce Rate ที่สูง เราอาจจะต้องกลับมาพิจารณาในหน้านั้นต่อแล้วว่า ทำไมผู้ชมเข้ามาแล้ว จึงไม่อยากคลิกไปต่อ

เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาค่า Bounce Rate ว่าดีหรือไม่ เราสามารถตรวจสอบคร่าวๆ ได้จากกราฟด้านล่าง ที่สร้างขึ้นโดย Conversion XL ซึ่งแบ่งตามประเภทของเว็บไซต์ หรือหน้าเว็บไซต์แบบต่างๆ ดังแสดงด้านล่างค่ะ

how-to-analyze-data-to-increase-time-on-site

ที่มา : ConversionXL Bounce Rate Benchmarks

 

สาเหตุที่ทำให้ Bounce Rate มีค่าสูง

1.เว็บไซต์ไม่รองรับการรับชมผ่านมือถือ 

เนื่องจากปัจจุบันผู้คนค้นหาข้อมูลผ่านมือถือกันเยอะมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถ้าผู้ชมเข้ามาค้นหาข้อมูลบนเว็บแต่หน้าเว็บไซต์เราไม่รองรับการรับชมบนมือถือ อ่านยาก ขนาดไม่พอดี นี่ก็เป็นสาเหตุสำคัญให้ผู้ใช้งานเข้ามาแล้ว กดออกจากเว็บเลย ทำให้ค่า Bounce Rate สูงได้ค่ะ

ตัวอย่างหน้อจอแสดงผลบทความแบบที่เหมาะสมกับไม่เหมาะสมบนมือถือ

how-to-analyze-data-to-increase-time-on-site

ที่มา : www.fastwebhost.com

2.ใส่ Call to action (CTA) หรือลิงก์ น้อยเกินไป

หน้าเพจที่มีการใส่ CTA น้อย มักจะมีค่า Bounce Rate ที่สูงกว่าหน้าเพจที่มีการใส่ CTA หลายๆส่วน หรือมีการใส่ลิงก์ รวมถึงลิงก์คอนเทนต์ที่เชื่อมโยงกัน ให้ผู้เข้าชมได้กดคลิกต่อค่ะ

ตัวอย่างการใส่ลิงก์ไปยังบทความอื่นๆบนเว็บไซต์เรา แทรกในบทความที่เขียน
เพื่อให้ผู้อ่านยังคงอยู่ในเว็บไซต์ของเรา ไม่ออกไปยังเว็บอื่นได้

how-to-analyze-data-to-increase-time-on-site

 

3.โครงสร้างของเว็บไซต์ที่ยังไม่ดี

ถ้า Bounce rate ของคุณสูง ให้ลองกลับเข้ามาดูด้วยมุมมองของผู้เข้าชม เพื่อตรวจสอบดูว่ามีความผิดพลาดด้าน user experience หรือเปล่า ผู้ชมเข้ามาแล้วเจอหน้า Error 404 หรือเปล่า หรือว่าคอนเทนต์ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับหัวข้อหรือคำอธิบาย (Meta Descriptions) ที่แสดงบน Google หรือเปล่า จึงทำให้ผู้ชมกดออกจากหน้านั้นค่ะ

 

4.คอนเทนต์นั้นๆบนเว็บไซต์ เป็นคอนเทนต์ยอดนิยม 

อาจจะกำลังสงสัยกันใช่ไหมคะว่า ทำไมคอนเทนต์ยอดนิยมจึงมี Bounce Rate สูง?

เนื่องจาก คอนเทนต์ยอดนิยม มักจะเป็นคอนเทนต์ที่ติดอันดับแรกๆของการค้นหาบน Search Engine ซึ่งผู้คนกลุ่มนี้ที่เข้ามาอ่าน มักจะเข้ามาเพื่อหาคำตอบบางอย่างของคำถามที่พวกเขาสงสัย

ดังนั้น เมื่อพวกเขาเข้ามาแล้วเจอคำตอบที่ต้องการจึงมักจะออกจากหน้าเว็บไป หรือแม้จะยังไม่ได้คำตอบที่ครบถ้วน ก็มักจะออกจากหน้าเว็บนั้นๆ เพื่อไปยังเว็บไซต์อื่นเพื่อหาคำตอบเพิ่มเติม หรือหาคำตอบในมุมมองอื่นๆ แทนที่จะไปต่อในหน้าเว็บไซต์เดิมนั่นเองค่ะ

อีกทั้งคอนเทนต์ที่มีจำนวนการรับชมเยอะ มักจะส่งผลให้มีโอกาสที่อัตราการออกจากเว็บสูงกว่าคอนเทนต์อื่นๆไปด้วยเช่นกันค่ะ

 

วิธีตรวจสอบค่า Bounce Rate บน Google Analytics

เราสามารถตรวจสอบค่าเฉลี่ยของ Bounce Rate บนเว็บไซต์ได้ โดยไปที่หมวด Behavior หัวข้อ Overviews ดังรูปที่แสดงด้านล่าง

how-to-analyze-data-to-increase-time-on-site

และสามารถดู Bounce rate แบบแยกแต่ละหน้าได้โดยไปที่หมวด Behavior หัวข้อ Site Content และคลิกที่ All Pages ดังรูปที่แสดงด้านล่าง ก็จะสามารถดู Bouce Rate เทียบกันแต่ละหน้าได้เลยค่ะ

how-to-analyze-data-to-increase-time-on-site

ลองวิเคราะห์ดูนะคะว่า หน้าไหนที่มีค่า Bouce Rate สูงบ้าง และสูงเพราะอะไร ควรจะพัฒนาต่อไปอย่างไรให้ดีขึ้นค่ะ

 

วิธีพัฒนาให้ค่า Bounce Rate ต่ำลง

  • หลีกเลี่ยงการใช้ Pop-ups หรือหน้าแสดงผลที่เด้งออกมาเมื่อเราเปิดเข้าไปในหน้าเพจเว็บไซต์ เพราะ Pop-ups สามารถสร้างความรำคาญให้แก่ผู้ที่เข้ามา และมีโอกาสที่จะปิดหน้าเว็บเพื่อไปยังเว็บอื่นได้ ถ้าหากจำเป็นต้องมีจริงๆ ควรจะออกแบบให้ลูกค้าสามารถกดปิดได้โดยง่าย เพื่อไม่ให้รู้สึกถูกบังคับให้คลิกบางอย่างบน Pop-ups มากจนเกินไป จะช่วยลด Bounce Rate ที่สูง ให้ต่ำลงได้ค่ะ
  • พยายามเขียนคำบรรยาย หรือข้อความ รวมถึงออกแบบ calls-to-action (CTAs) ดึงดูดผู้ชมให้อยากจะคลิกต่อมากขึ้น ก็จะช่วยให้ Bounce Rate ลดลงได้ค่ะ

    ดังตัวอย่างด้านล่างที่มีการเขียนคำบรรยายดึงดูดใจ รวมถึงใส่ CTA ชัดเจน และเน้นย้ำความน่าสนใจด้วยคำว่า Free ในปุ่ม CTA เพื่อดึงดูดให้คนสนใจมากขึ้นค่ะ
how-to-analyze-data-to-increase-time-on-site

 

  • ออกแบบระบบเว็บไซต์ให้เปิดแถบหน้าต่างใหม่ (new tabs) เมื่อมีการคลิกลิงก์ เพื่อไม่ให้เกิดการเด้งออกจากหน้าเดิม ซึ่งเป็นผลทำให้ค่า Bounce Rate สูงขึ้นค่ะ
how-to-analyze-data-to-increase-time-on-site

 

  • แทรกลิงก์คอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องลงในบทความ เพื่อให้ผู้เข้าชม คลิกไปยังคอนเทนต์อื่นๆภายในเว็บไซต์ของเรา ก็จะช่วยลด %Bounce Rate ให้ลดลงได้เช่นเดียวกันค่ะ
how-to-analyze-data-to-increase-time-on-site

 

AVERAGE  TIME ON PAGE

Average Time On Page คืออะไร?

Average Time on Page คือตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงเวลาเฉลี่ย ที่ผู้เข้าชมใช้บนหน้าเพจนั้นๆ เป็นเครื่องยืนยันว่าผู้เข้าชมได้อ่านคอนเทนต์ หรือเนื้อหาที่เรานำเสนอจริงหรือไม่ เช่น ถ้าผลลัพธ์ของค่า Average Time on Page หน้านั้นอยู่ที่ 10 วินาที ก็เป็นเครื่องการันตีได้ว่า ผู้ที่เข้ามาเว็บไซต์ยังไม่ได้อ่านหน้านั้นเลย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะคอนเทนต์ที่ไม่ตอบโจทย์ หรืออาจจะมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นภายในหน้าเพจนั้นๆ เป็นต้น

 

Average Time On Page เท่าไหร่เรียกว่า “ดี” ?

เวลาเฉลี่ยบนหน้าเว็บไซต์ขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย และจำเป็นต้องพิจารณาควบคู่กับตัวแปรอื่นๆด้วย เช่น 

ถ้าหากเวลาเฉลี่ยที่ผู้ชมอยู่ในหน้าเว็บไซต์ของคุณน้อย บวกกับค่า %Exit มีค่าสูงด้วย แสดงว่าหน้าเพจนั้นๆของคุณกำลังมีปัญหา อาจจะเป็นเพราะผู้ชมเข้ามา แล้วไม่ได้เจอกับคอนเทนต์ หรือหน้าสินค้าบริการที่พวกเขาต้องการ 

Exit กับ Bounce Rate แตกต่างกันอย่างไร?

  • Exit คือ “เปอร์เซ็นต์ที่ผู้เข้าชมอยู่บนหน้าเพจนั้นเป็นหน้าสุดท้ายก่อนที่จะกดออกจากเว็บไซต์” หรือเข้าใจง่ายๆว่า ผู้ชมได้เข้ามาดูเว็บไซต์เป็นจำนวนหลายหน้า ก่อนที่จะออกจากเว็บไซต์
  • Bounce Rate คือ “เปอร์เซ็นต์การเข้าชมเว็บไซต์ เพียงหน้าเดียว แล้วออกจากเว็บไซต์เลย” หรือเข้าใจง่ายๆว่า เป็นหน้าแรกที่คนเข้ามาแล้วตัดสินใจออกจากเว็บไซต์เลย นั่นเองค่ะ

อีกกรณีหนึ่ง ถ้าผู้ชมของคุณใช้เวลาในหน้าเว็บไซต์น้อย แต่ยังคงมีอัตรา Conversions หรือการลงมือทำบางสิ่ง เช่นคลิกลิงก์ หรือกดลงทะเบียนที่สูง พูดง่ายๆก็คือ เมื่อผู้ชมเข้ามาหน้าเว็บนั้น แล้วกดคลิกลิงก์หรือคลิกลงทะเบียนเลย นั่นแปลว่า หน้าเว็บนั้นของคุณตอบโจทย์ความต้องการพวกเขาได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง 

เพราะฉะนั้น คุณจะต้องพิจารณาตัวชี้วัดนี้ ควบคู่กับค่าอื่นๆ รวมถึงเป้าหมายของการเข้ามาสู่หน้าเพจนั้นๆของคุณด้วย

 

วิธีตรวจสอบค่า Average Time On Page บน Google Analytics

สำหรับวิธีการตรวจสอบค่า Time On Page หรือเวลาที่ผู้ใช้อยู่บนหน้าเว็บนั้นๆ สามารถเข้าดูได้ที่

  1. คลิกที่เมนู Behavior 
  2. คลิกที่ Site Content -> All Pages.

ดังรูปที่แสดงด้านล่าง

how-to-analyze-data-to-increase-time-on-site

จากรูปภาพจะเห็นว่าเรา สามารถเปรียบเทียบแต่ละคอนเทนต์ได้ว่า หน้าไหนที่ผู้เข้าชมใช้เวลาน้อยที่สุด และหน้าไหนที่ผู้เข้าชมใช้เวลามากที่สุดได้ค่ะ

 

วิธีพัฒนาให้ค่า Average Time On Page สูงขึ้น

  • ออกแบบระบบเว็บไซต์ให้เปิดแถบหน้าต่างใหม่ (New Tabs) เมื่อมีการคลิกลิงก์ เพื่อไม่ให้เกิดการเด้งออกจากหน้าเดิม เพราะโดยพฤติกรรมแล้ว เมื่อมีการกดเข้าอ่านลิงก์คอนเทนต์เพิ่มเติม ผู้อ่านก็มักจะกลับมายังหน้าเดิมเพื่ออ่านต่อ ทำให้สามารถรักษา Time On Page ได้นานขึ้นค่ะ
how-to-analyze-data-to-increase-time-on-site

 

  • ไม่เขียนคอนเทนต์สั้นจนเกินไป เพราะจำนวนตัวอักษรส่งผลต่อระยะเวลาในการอยู่บนหน้าเพจนั้นโดยตรง หน้าไหนที่มีเนื้อหารายละเอียดที่มากกว่า ผู้อ่านก็ย่อมใช้เวลาในหน้านั้นมากกว่าด้วยเช่นเดียวกัน
  • เพิ่มสื่ออื่นๆอย่างเช่น วิดีโอ, พอดแคสต์, แผนภูมิ, แบบทดสอบ, เกม อินโฟกราฟิก หรือสื่อรูปแบบอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่หลากหลายในการอ่านบทความนั้นๆ ให้ผู้อ่านชื่นชอบ พึงพอใจ และใช้เวลาอยู่บนหน้าบทความเว็บไซต์ของเราได้นานขึ้น
    • คนที่ชอบวิดีโอก็จะใช้เวลาในการดูวิดีโอ YouTube ในบทความของเรา 
    • คนที่ชอบอ่านจะอ่านเนื้อหาในบทความของเรา 
    • คนที่ชอบฟังก็จะใส่หูฟังและฟังพอดแคสต์ของเรา

ตัวอย่างการใส่ วิดีโอ ในบทความ

how-to-analyze-data-to-increase-time-on-site
  • นำเสนอคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ และเป็นประโยชน์จริงๆ เพื่อให้ผู้อ่าน รู้สึกอยากจะอ่านต่อไปเรื่อยๆค่ะ

และทั้งหมดนี้คือข้อมูล ที่เราใช้พิจารณาว่าเว็บไซต์ของเราเป็นอย่างไร ผู้คนใช้เวลาอยู่บนเว็บไซต์ของเรานานหรือไม่ รวมถึงเข้ามาแล้วยังคงอยากที่จะไปหน้าอื่นๆต่อหรือเปล่า 

เมื่อเราทราบข้อมูลแล้ว เราก็จะสามารถพัฒนาให้เว็บไซต์ของเราดีขึ้นได้ แน่นอนว่าถ้าเราสามารถทำให้ผู้ชมอยู่บนเว็บไซต์เราได้นานขึ้น ก็เปรียบเหมือนเราสามารถชนะใจให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์รักเรามากขึ้น และส่งผลต่อการตัดสินใจต่อสินค้าและบริการมากขึ้นด้วย

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกคนนะคะ 🙂

ที่มา
https://www.weidert.com/blog/average-bounce-rate-and-time-on-page
https://databox.com/improve-average-time-on-page

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

รู้จักกับ Instagram Insight กับ 5 ปัจจัยชี้วัดความสำเร็จของแบรนด์
7 แนวทางสร้างยอดขายด้วย Data-Driven Marketing