“ หนึ่งในกลยุทธ์ที่สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้อย่างคุ้มค่า ในยุคของ Digital Disruption คือการใช้ข้อมูลลูกค้า มาการขับเคลื่อนแผนการตลาด ผ่าน Influencer ”
ประโยคสั้น ๆ แต่เป็นใจความสำคัญของเนื้อหาบทความนี้ คุณผู้อ่านคงจะเห็น Keyword หลัก ๆ อยู่ 2 – 3 คำ ซึ่งในวันนี้ผู้เขียนจะมาพูดถึงความสำคัญ และวิธีการใช้ประโยชน์จาก คำสำคัญ 3 สิ่ง นั้นก็คือ
1 ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return of Investment หรือ ROI)
2 ข้อมูลลูกค้า (Customer Data)
3 ผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ (Influencer)
ทั้ง 3 สิ่งนี้ คือ สิ่งสำคัญของแผนการตลาดออนไลน์ เนื่องจากในยุคที่แบรนด์สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ ด้วยการใช้ Data ที่มีอยู่ในมือ มาวิเคราะห์การซื้อสินค้า และบริการของลูกค้าได้แล้ว นักการตลาดยังสามารถใช้ Data เพื่อคาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนแคมเปญการตลาดได้ในอนาคต ว่าจะมีทิศทางเป็นอย่างไร ซึ่งหากแคมเปญนั้น ๆ เลือกช่องทางในการทำการตลาด และกลยุทธ์ที่เหมาะสม ผล ROI ก็จะเป็นไปในทิศทางที่ดี ซึ่งหมายความว่า แคมเปญที่คุณกำลังทำอยู่นั้นประสบความสำเร็จ
และ ช่องทางทำการตลาด รวมถึงกลยุทธ์ในการทำการตลาดที่เราจะมาพูดถึงในวันนี้ เป็นกลยุทธ์การทำการตลาดที่กำลังเป็นที่นิยม และมีอิทธิพลกับกลุ่มผู้บริโภคในปัจจุบัน นั่นก็คือ Influencer Marketing ค่ะ
Data Marketing, Influencer และ ROI มีความสำคัญต่อกันอย่างไร
Influencer Marketing เป็นวิธีการทำการตลาดผ่านผู้มีอิทธิพลในโลกออนไลน์ ซึ่งผู้บริโภคในปัจจุบันมีความเชื่อ และรู้สึกไว้วางใจจากการบอกเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ผ่าน ผู้ที่มีชื่อเสียง หรือกลุ่ม Influencer อีกทั้งผู้บริโภคยังมีพฤติกรรมการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการบริโภคสินค้าและบริการบางอย่าง โดยการใช้คำบอกเล่า และประสบการณ์จากผู้ใช้จริงจาก Influencer มาประกอบการตัดสินใจ (หรือที่เราเรียกกันว่า Social Proof)
เช่นคุณเบเบ้ เป็น Influencer จาก BEBE FIT ROUTINE ที่นำเสนอคอนเทนต์ด้านการดูลรูปร่าง และเทคนิคการออกกำลังกาย ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ติดตามจากทาง YouTube เกือบ 1 ล้านคน
ภาพจาก Instagram ของ Influencer: kirarista ที่มีการโปรโมตเครื่องสำอางจากแบรนด์ TOM FORD โดยปัจจุบันมีผู้ติดตามกว่า 7 หมื่นคนบน Instagram
การทำการตลาดผ่าน Influencer เปรียบได้กับการบอกเล่ากันแบบปากต่อปากให้คนรู้จัก หรือคนสนิท ได้รับรู้ถึงข้อมูลบางอย่าง
แต่วิธีการทำงานของ Influencer นั้นสามารถวัดผลทางการตลาดได้จริง ซึ่งนักการตลาดสามารถใช้ Data ของลูกค้าที่มีอยู่ก่อนหน้านี้มาศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้า และช่องทางในการเข้าถึงแบรนด์ เมื่อนักการตลาดสามารถนำ Data มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้แล้ว ก็สามารถใช้กลยุทธ์ Influencer Marketing มาต่อยอดเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ไปจนถึงการสร้างยอดขายจากช่องทางของ Influencer
ทำไมธุรกิจควรใช้ Data ในการทำการตลาดผ่าน Influencer
สถิติจาก SocialPubli รายงานว่าการทำการตลาดผ่าน Influencer ในปี 2019 ที่ผ่านมา อัตราการเติบโตของพอร์ตเฉลี่ยต่อปีแบบทบต้น หรือ Compound Annual Growth Rate (CAGR) เพิ่มขึ้น 32.4% และอาจสร้างรายได้ได้มากถึง $22.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2024 ซึ่งหากเทียบกับปี 2019 ที่สามารถสร้างรายได้อยู่ที่ $5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐแล้วนั้น นักการตลาดคาดการณ์ว่ารายได้อาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 4 เท่า
นอกจากนี้ 84% ของนักการตลาดเผนว่า Influencer Marketing มีประสิทธิภาพมากถึง 35.3% ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สร้างผล ROI ได้ดีที่สุด
แต่อย่างไรก็ตาม สถิติจาก Statista เผยว่า การวัดผล ROI จากการทำการตลาดผ่าน Iinfluencer เป็นสิ่งท้าทายสำหรับนักการตลาดอยู่ไม่น้อย ซึ่ง 78% ของนักการตลาดคิดว่า 1 ใน 3 ของความท้าทายนั้นมาจากการทำแคมเปญผ่าน Influencer
ความท้าทายของการทำ Influencer Marketing นั้นสามารถแก้ไขได้หากนักการตลาดรู้วิธีจัดการกับ Data ของลูกค้าเพื่อวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งแบรนด์ยังสามารถเลือกประเภทของ Influencer ได้อย่างเหมาะสม ว่าควรทำงานร่วมกับ Influencer ที่มีผู้ติดตามจำนวนเท่าไหร่ และควรเลือก Influencer ที่นำเสนอคอนเทนต์แบบไหนให้กับกุล่มเป้าหมาย เพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ตอบโจทย์ ซึ่งในวันนี้เราจะไปดูกันว่า 4 วิธีการในการใช้ Big Data ในการพัฒนากลยุทธ์ Influncer Marketing กันว่าสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลกำไร หรือได้ ROI ที่คุ้มค่ากันค่ะ
1. กำหนดเป้าหมายในการทำแคมเปญที่สอดคล้องกับความเป็นจริง
ทุก ๆ แคมเปญการตลาดจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายอยู่แล้วว่า ผลลัพธ์จากการลงทุนเป็นอย่างไร วิธีการทำการตลาดคุ้มค่าหรือไม่ แต่สิ่งสำคัญในการกำหนดเป้าหมายตั้งแต่แรกเริ่ม คือการตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกับความเป็นจริง ด้วยการนำผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ Data มาใช้ด้วยการใช้ระบบ Customer Relationship Management (CRM) เพื่อพิจารณาข้อมูลลูกค้าในช่องทาง Social Media เช่น
- ลูกค้าประทับใจสินค้า หรือบริการอะไรของแบรนด์เราบ้าง
- ผลิตภัณฑ์ชิ้นไหนขายดีที่สุดในรอบปี หรือในช่วงฤดูกาลนี้
- คุณใช้วิธีการการวัดผลแบบไหนบ้าง และวิธีการไหนประสบความสำเร็จมากที่สุด เช่น แบรนด์มียอด Traffic การเข้าเว็บไซต์ค่อนข้างสูง การตอบรับของการรับรู้แบรนด์อยู่ในเกณฑ์ที่ดี Conversion Rate สูง หรือ มีรายได้เพิ่มขึ้นเมื่อทำการตลาดผ่าน Facebook สิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณสามารถรู้ถึงจัดแข็งของตนเอง
- กลุ่มเป้าหมายแบบไหนที่มี Engagement สูงที่สุด
สิ่งที่ยกตัวอย่างมานี้เป็น Data ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจว่า แบรนด์เรามีจุดแข็ง และจุดที่ได้เปรียบในสนามการแข่งขันอย่างไรบ้าง และคุณนั้นยังสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาต่อยอดทางการตลาดในอนาคตได้ เพื่อปรับปรุงแผนการตลาดให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกช่องทางโซเชียลมีเดียที่มียอด Engagement ที่ดี การปรับปรุงคอนเทนต์ และการตั้งเป้าหมาย KPIs (Key Performance Indicators) ในการวัดผลครั้งต่อไป
ตัวอย่างการตั้งเป้าหมายที่สามารถนำไปปรับใช้
คุณตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า คุณต้องการทำ Influencer Marketing เพื่อให้ได้ยอดผู้ติดตามใน Instaram เพิ่มขึ้น 30 % ภายในระยะเวลา 6 เดือน ดังนั้น KPI ควรพิจารณา
- ยอด Reach จาก Accounts ใหม่
- จำนวนการแชร์ และ ความคิดเห็นบนโพสต์
- ยอด Engagement
- จำนวนผู้ติดตามใหม่
ตัวอย่างหน้าตา Instagram Insight ที่ใช้ในการเก็บ Data บน Instagram
การวัดผล KPIs ที่สามารถบอกได้เป็นจำนวนตัวเลข หรือการแสดงผลทางรูปภาพ (Data Visualization) จะสามารถบ่งชี้ได้ว่า ทิศทางในการทำการตลาดของคุณนั้นมาถูกทางแล้วหรือยัง และยังเป็นการตั้งเป้าหมายแบบสมจริง หมายความว่า เป้าหมายเหล่านั้นสามารถทำการตลาดได้ และวัดผลได้จริง
2. เลือก Influencer ที่ใช่
การเลือก Influencer เข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ในการทำการตลาด ไม่ใช่แค่เพียงการพิจารณาที่จำนวนผู้ติดตามบน Instagram ที่มีจำนวนมาก หรือเลือกแค่เฉพาะกลุ่ม Celebrity เพียงเท่านั้น แต่ควรพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวแบรนด์และ แคมเปญด้วยเช่นกัน ซึ่งการเลือก Influencer ที่ใช่ ถือได้กว่าเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของนักการตลาดเลยทีเดียว
จากสถิติด้านล่าง เป็นการแสดงความคิดเห็นของนักการตลาดที่เกี่ยวกับความท้าทายในการทำการตลาดผ่าน Influencer ซึ่ง 61% ของนักการตลาดพบว่าความท้าทายอันดับต้น ๆ คือการเลือก Influencer ที่เหมาะสมกับแบรนด์
ดังนั้น อันดับแรก เราควรวิเคราะห์ Data เพื่อหากลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ก่อนการเลือก Influencer โดยการตั้งคำถาม เช่น
- ใครคือ กลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการจะเข้าถึงในการทำการตลาด
- เป้าหมายในด้านประชากรศาสตร์ (Demographic) คือใคร โดยการวิเคราะห์ Data หา เพศ อายุ สถานที่ ๆ กลุ่มเป้าหมายอยู่อาศัย เป็นต้น
- คุณต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจบางอย่างเป็นพิเศษ หรืออยู่ในพื้นที่ใดเป็นพิเศษหรือไม่
เช่น แคมเปญนี้ต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในกรุงเทพ และบริเวณปริมณฑลเท่านั้น หรือ
กลุ่มเป้าหมายมีความสนใจด้านกีฬา หรือ การอกกำลังกายเท่านั้น เป็นต้น
- ช่องทางในการทำการตลาดนอกเหนือจากเว็บไซต์มีอะไรบ้าง
- แฮชแท็กใดบ้างที่คนในโลกโซเชียลนิยมใช้ค้นหา และ มีความเกี่ยวข้องกับแคมเปญ
นักการตลาดควรตอบคำถามเบื้องต้นให้ได้เสียก่อน เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจตัวลูกค้า เพื่อที่จะเจาะหา Influencer ในช่องทางที่ถูกต้อง โดยนักการตลาดทั้งหลายควรคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ในการเลือก Influencer
ตัวอย่างการโปรโมตสินค้าจาก Uniqlo ที่ทำการร่วมกับคุณ บิว วราภรณ์
- ประเภทอุตสาหกรรม:
เช่น Influencer มีผู้ติดตามแบบ Niche หรือแบบเฉพาะบุคคลหรือไม่ เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชื่นชอบสินค้าและบริการแบบใด
- ประเภทกลุ่มผู้ติดตาม Influencer:
ศึกษาว่า ฐานลูกค้าของเรา และกลุ่มผู้ติดตามของ Influencer มีข้อมูลใกล้เคียงกันหรือไม่ในด้านประชากรศาสตร์
- Reach:
พิจารณาว่าผู้ที่เข้าถึงคอนเทนต์ หรือโพสต์ของ Influencer มีจำนวนมากน้อยเท่าไหร่
- ช่องทางการโปรโมต:
พิจารณาว่าช่องทางใดบนโลกโซเชียลมีเดียของแบรนด์ สามารถเข้าถงกลุ่มเป้าหมายได้ดี
อย่างไรก็ตาม นักการตลาดบางคนอาจเกิดคำถามว่า ถ้าหากสินค้าและบริการของเราเป็นประเภท Niche ที่มีความชอบเฉพาะกลุ่ม หรือ ซื้อสินค้าและบริการแบบเฉพาะเจาะจงที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ ก็สามารถพิจารณา Influencer ประเภท Nano และ Macro ได้
ตัวอย่างจาก Instagram ของ projectlowcarb_ Nano-Influencer ที่ทำคอนเทนต์ประเภท Niche: การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการรับประทานอาหารแบบ Keto Diet
ถึงแม้ว่าจะมีผู้ติดตามน้อยกว่าผู้มีอิทธิพลกลุ่มอื่น ๆ แต่ Influencer เหล่านี้มีผู้ติดตามที่ชื่นชอบไลฟ์สไตล์ หรือความพิเศษแบบเฉพาะทาง ที่ผู้ติดตามชอบ และมีการสร้าง Engagement ได้ในระดับดีมาก จึงทำให้ Nano และ Macro Influencer ได้รับการว่าจ้างเพื่อทำการตลาดร่วมกับแบรนด์เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน
ใช้ Data เลือกหา Influencer ที่เหมาะสมกับแบรนด์
บางท่านอาจเคนได้ยินคำว่า Influencer vetting กันมาบ้าง ซึ่งความหมายของมันก็คือ การใช้ Data เพื่อประเมินหาประเภท Influencer ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายหรือการเลือก Influencer ที่ใช่ในการทำแคมเปญการตลาดนั้น ๆ นั้นเอง ซึ่งนักกการตลาดควรวิเคราะห์ Data จาก
- ข้อความแบบไหนมีอิทธิพลต่อกลุ่มเป้าหมาย
- คุณภาพของคอนเทนต์
- Engagement ที่ได้รับจากกลุ่มเป้าหมาย
- ประเภทคอนเทนต์ที่กระตุ้นกลุ่มเป้าหมายให้ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า
ตัวอย่าง Influencer ที่มีชื่อว่า dr.teganadel_vet จาก Instagram ที่มักมีการมอบความรู้ดี ๆ ไปยังผู้อ่าน
นอกจากนี้ คุณยังสามารถวิเคราะห์ศักยภาพของ Influencer ได้จากการวิเคราะห์ Engagement Data ของผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ เช่น
- การเติบโตของจำนวนผู้ติดตามมีความสม่ำเสมอหรือไม่
- มีจำนวนลดลงของผู้ติดตามที่ผิดปกติหรือไม่ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากภาพลักษณ์เชิงลบ หรือการกระทำบางอย่างของตัว Influencer
- การแสดงความคิดเห็นในแต่ละโพสต์มีทิศทางที่ดีหรือไม่ มีความผิดปกติหรือไม่อย่างไร
หากสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ยังทำให้คุณไม่แน่ใจว่าจะสามารถเลือก Influencer ที่ใช่ ในการทำการตลาดในอนาคตหรือไม่ ลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือบริษัทเอเจนซี่เพื่อช่วยตัดสินใจจะช่วยให้คุณลดความกังวลลง และไม่เสียงบประมาณไปอย่างสูญเปล่า
3. ใช้ผลลัพธ์จาก Data สร้างให้คอนเทนต์ตอบโจทย์ผู้บริโภค
หนึ่งในข้อดีของการใช้ เครื่องมือเพื่อวิเคราะห์ Data คือการสร้างคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค ซึ่งนักการตลาดสามารถเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ในการทำคอนเทนต์ ด้วยการตั้งคำถามที่เป็นประโยชน์ เช่น
- คอนเทนต์แบบไหนตอบโจทย์กับกลุ่มลูกค้ามากที่สุด
- กลุ่มเป้าหมายชอบอ่านบทความแบบไหน
- Keyword ที่กลุ่มเป้าหมายนิยมใช้ค้นหาสินค้าและบริการ
- คอนเทนต์ประเภทใดที่ได้รับ Engagement มากที่สุด เช่น วิดีโอ รูปภาพ หรือลิงก์
- ช่องทางใดบ้างที่ลูกค้านิยมใช้เวลาบนโลกโซเชียลมีเดีย ที่นอกเหนือจากเว็บไซต์
- ช่วงเวลาที่กลุ่มเป้าหมายเข้ามายังหน้าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย
ตัวอย่างจาก Instagram ของ milliebobbybrown ที่โปรโมตสินค้าของแบรนด์ Converse ซึ่งผู้ติดตามของ Millie ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น ที่เล่น Instagram อยู่แล้ว ซึ่งตรงกับกลุ่มเป้าหมายของ Converse ที่เป็นเด็กวัยรุ่นไปจนถึงผู้ใหญ่ตอนต้น
เมื่อเราวิเคราะห์ Data เพื่อหาผลลัพธ์ได้แล้ว จากนี้ไป จะเป็นหน้านที่ ๆ นักการตลาด ต้องอธิบายให้ Influencer ที่จะมาทำแคมเปญร่วมกันให้เข้าใจว่า คอนเทนต์ที่เราจะใช้ควรเป็นแบบไหน ใช้ช่องทางอะไรบ้าง ซึ่ง Influencer บางคนที่ทำคอนเทนต์มากกว่า 1 ช่องทาง นักการลาดก็สามารถทำข้อตกลงในการโปรโมตได้ว่าต้องนำเสนอสินค้าผ่านแพลตฟอร์มไหนบ้าง หรือช่วงเวลาใดเป็นพิเศษ
4. วัดผลจากการทำแคมเปญทุกครั้ง
การวัดผลลัพธ์จากการทำแคมเปญการตลาดจะช่วยให้นักการตลาดทราบว่า KPI ที่กำหนดมาในตอนต้นได้ผลลัพธ์เป็นไปตามที่วางแผนหรือไม่ และผล ROI นั้นคุ้มค่าตามที่ต้องการหรือเปล่า ซึ่งการวัดผล KPI จากกลยุทธ์ Influencer Marketing ควรคำนึงถึง
- อัตราการคลิกจากช่องทางออนไลน์แพลตฟอร์มต่าง ๆ มายังเว็บไซต์ (Click-Through Rate)
- ประเภทของ Traffic ที่เข้ามายังเว็บไซต์ผ่านทาง “Link” จากเว็บไซต์อื่นๆ (Referral Traffic)
- จำนวนผู้เข้าชมใหม่ ๆ (Number of New Visitors)
- จำนวน Reach หรือจำนวนคนที่เห็นคอนเทนต์ (Reach and Impressions)
- ยอดการกดถูกใจ การแสดงความเห็น การแท็ก และการแชร์ที่มีต่อโพสต์นั้น ๆ (Engagement Rate)
- การเติบโตของผู้ติดตาม (Audience / Follower Growth)
- จำนวนการเอ่ยถึงแบรนด์เราในโลกออนไลน์ (Number of Brand Mentions)
- ยอด Conversion ต่าง ๆ เช่น การดาวน์โหลด การขาย การกดสมัครสมาชิก เป็นต้น (Number of Conversions เช่น New Subscribers, Downloads, Sales)
ซึ่ง โซเชียลมีเดีย ไม่ได้เป็นแค่เป็นแพลตฟอร์มหนึ่งที่สำคัญ ในการทำการตลาดออนไลน์เพื่อการนำเสนอสินค้าเพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถนำ Data ที่ได้มาจากพฤติกรรมของลูกค้ามาวิเคราะห์หาแนวทาง การทำการตลาดผ่าน Influencer โดยการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ Data ที่เหมาะสม
ถึงเวลาของคุณแล้ว ที่จะเริ่มต้นทำ Influencer Campaigns เพื่อสร้าง ROI
กุญแจสำคัญในการทำ Influencer Marketing ให้ประสบความสำเร็จนั้นสามารถทำได้ด้วย 4 ขั้นตอนนี้คือ
- การกำหนดเป้าหมายในการทำแคมเปญ
- การเลือก Influencer ที่ใช่
- การที่ Influencer สร้างคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมาย
- การวัดผลลัพธ์ด้วยเครื่องมือทางการตลาด
แน่นอนว่า งบประมาณที่คุณได้ลงทุนไป จะกลายเป็นกำไรทั้งยอดขายที่เพิ่มขึ้น และสร้างชื่อเสียงให้กับแบรนด์ในเชิงบวก เมื่อมี Influencer เป็นตัวแทนในการสร้างภาพลักษณ์ และการทำคอนเทนต์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่ง STEPS Academy หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับทุกท่านที่กำลังเริ่มต้นหา Influencer ในการทำการตลาดร่วมกันกับคุณ และสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดแผนการตลาดได้ในอนาคตนะคะ
ที่มา
https:// blog.crowdfireapp.com