5 ทักษะที่ต้องมีสำหรับผู้อยากเปลี่ยนสายงานมาด้าน Data Marketing

สัมภาษณ์ผู้เปลี่ยนสายงานมาด้าน data marketing

สำหรับใครที่สนใจอยากทำงานด้าน Data Marketing ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ไม่มีประสบการณ์มาก่อน หรือผู้ที่อยากย้ายมาทำสายงานด้านนี้ ทาง STEPS Academy ขอแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับเรื่องราวของคุณอ้อม วรัญญา สัมมาสาร ผู้ทำงานด้าน Data Marketing ที่บริษัท OMD ณ เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ตำแหน่งงานปัจจุบันของคุณอ้อมคือ Activation Executive ด้าน Programmatic และ Data ค่ะ

คุณอ้อม วรัญญา สัมมาสาร
คุณอ้อม วรัญญา สัมมาสาร

ลองมาดูกันว่าอะไรเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คุณอ้อมเปลี่ยนตัวเองจากคนที่เรียนจบด้านภาษาให้ย้ายสายงานมาทำด้าน Data Marketing อย่างเต็มตัว เรื่องราวของคุณอ้อมจะเป็นอย่างไร มาติดตามไปพร้อม ๆ กันนะคะ

จุดเริ่มต้นของการทำงานด้าน Digital Marketing 

ย้อนกลับไปในสมัยปริญญาตรี คุณอ้อมเรียนจบจากคณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหลังจากนั้นในปี 2013 – ปี 2015 คุณอ้อมได้ทำงานประจำในตำแหน่ง Human Resource Executive ทำให้ได้เรียนรู้ว่างานบริหารองค์กรเป็นเรื่องสนุกน่าสนใจ 

ต่อมาช่วงปลายปี 2015 คุณอ้อมได้เข้ามาทำงานที่ STEPS Academy เป็นครั้งแรกในตำแหน่ง Marketing Coordinator ทำให้ได้เรียนรู้เนื้องานมากมาย เช่น การวางกลยุทธ์ด้านโฆษณา การวางแผนแคมเปญด้านการตลาด การวิเคราะห์และทำการพยากรณ์ด้านยอดขาย (Sales Forecast) 

ซึ่งนอกจากงานการตลาดแล้วคุณอ้อมยังได้รับประสบการณ์ประสานงานด้านการจัดอีเวนต์สำหรับคอร์สเรียนต่าง ๆ ที่เป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักของทาง STEPS Academy อีกด้วย

ด้วยประสบการณ์ทำงานเหล่านี้จึงทำให้คุณอ้อมมั่นใจขึ้นว่าตัวเองสนใจด้านการตลาดและธุรกิจอย่างจริงจัง คุณอ้อมเลยใช้เวลาค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนต่อปริญญาโทถึงหนึ่งปีเต็ม และสุดท้ายในปี 2016 คุณอ้อมได้เลือกเรียนต่อปริญญาโทด้านการตลาดที่ Macquarie University ประเทศออสเตรเลียด้วยหลายเหตุผล

โลโก้ macquarie university
โลโก้ Macquarie University
  • เหตุผลแรก คือ Macquarie University เปิดโอกาสให้ผู้ที่เรียนจบมาไม่ตรงสายหรือไม่มีประสบการณ์มาก่อนสามารถเรียนต่อด้านการตลาดได้ ในขณะที่มหาวิทยาลัยอื่นมีข้อกำหนดว่าคุณสมบัติของผู้เรียนจะต้องเรียนจบปริญญาตรีด้านบริหาร การตลาด หรือต้องมีประสบการณ์ด้านธุรกิจอย่างน้อยสองปี 
  • เหตุผลที่สอง คือออสเตรเลียเป็นประเทศที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ส่วนตัว เพราะออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย และมีสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติมากมาย อีกทั้งยังสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ในทุก ๆ วัน ซึ่งตรงกับสายที่เรียนจบมาในปริญญาตรี ทำให้ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ตอบโจทย์ทั้งด้านการศึกษาและการย้ายมาอยู่อาศัยในระยะยาว 
บรรยากาศ macquarie university
บรรยากาศ Macquarie University

หลังเรียนจบปริญญาโทที่ Macquarie University คุณอ้อมได้กลับมาทำงานประจำตำแหน่ง Digital Marketing Specialist ที่ STEPS Academy ในปี 2020 ซึ่งจากการทำงานตำแหน่งนี้ทำให้คุณอ้อมได้สะสมทักษะและประสบการณ์ทำงานหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น 

  • การวิเคราะห์คีย์เวิร์ดสำหรับทำ SEO ให้คอนเทนต์ติดอันดับการค้นหาบน Google
  • การหาวิธีเก็บข้อมูลด้าน Performance ของคอนเทนต์ เพื่อวิเคราะห์และปรับปรุงคอนเทนต์ให้เป็นไปตาม KPIs 
  • การวางกลยุทธ์การตลาดโดยคำนึงถึง Conversion Rate Optimization (CRO) หรือการปรับเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเปลี่ยนผู้เข้าชมเว็บไซต์ให้กลายเป็นลูกค้า
  • การวางกลยุทธ์การซื้อโฆษณาและการตลาดผ่านโซเชียลมีเดียช่องทางต่าง ๆ
  • การใช้เครื่องมือต่างทางการตลาดเพื่อประกอบการทำงาน เช่น Google Analytics, Google Search Console, Google Keyword Planner

เมื่อทำงานตำแหน่ง Digital Marketing Specialist ได้ระดับหนึ่งแล้ว คุณอ้อมพบว่าความรู้เรื่อง Data จำเป็นต่อการการวิเคราะห์ผลลัพธ์และปรับปรุงแคมเปญด้านการตลาด คุณอ้อมจึงตัดสินใจศึกษาด้านนี้เพิ่มเติม เพื่อเตรียมพร้อมทดลองทำงานใหม่ในสายงานที่ท้าทายอย่าง Data Marketing

สำหรับการทำงานด้าน Data Marketing ในแต่ละวันต้องทำอะไรบ้าง

ในปี 2021 คุณอ้อมได้เข้าทำงานที่บริษัท OMD Australia ในตำแหน่ง Activation Assistant โดยในเนื้องานที่ดูแลมีทั้งงานด้าน Data Marketing และ Ads Optimization หรือการซื้อโฆษณาผ่านระบบแพลตฟอร์ม Automatic ด้วย ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Programmatic Buying

โลโก้ omd australia
โลโก้ OMD Australia

สำหรับงานด้าน Data จะมีการวิเคราะห์ข้อมูลและทำ Report หลากหลายรูปแบบ จึงแบ่งการวิเคราะห์ Data ออกเป็นแบบรายวันและรายเดือน ซึ่งการดู Data แต่ละแบบจะมี Key Performance แตกต่างกันออกไป 

เช่น การดู Data แบบรายวัน ต้องดูว่าโฆษณารันตามงบประมาณที่วางไว้หรือไม่ สมมติว่าเรายิงโฆษณา 100 บาทต่อวัน เราต้องดูว่าทางระบบใช้งบประมาณตามที่วางเป้าหมายหรือไม่ หากราย

งานข้อมูลไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ มีเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง หรือถ้าตั้งใจว่าจะยิงโฆษณา 100 บาทต่อวัน แต่ปรากฏว่าไม่มีคนคลิกเข้ามาเลยเราก็ต้องวิเคราะห์ว่าเป็นเพราะสาเหตุอะไร 

ส่วนการวิเคราะห์ Data แบบรายเดือน เราต้องดูภาพรวมทั้งหมด เช่น ถ้ามี 30 แคมเปญ เราจะเก็บข้อมูลทั้งหมด ว่ามีงบประมาณเท่าไร แล้วเราสามารถเพิ่มลดต้นทุนส่วนไหนได้บ้าง และถ้าไม่มีงบประมาณเพิ่มมากกว่านี้ เราจะทำอย่างไรให้แคมเปญเหล่านั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

บริษัท omd australia

นอกจากตัวเนื้องานแล้ว ลักษณะการทำงานที่ออสเตรเลียมีความน่าสนใจคือคนออสเตรเลียจะมีความตรงไปตรงมา ถ้าคาดหวังหรืออยากได้อะไรจากการทำงาน พวกเขาจะสื่อสารอย่างตรงจุด เช่น หัวหน้าจะบอกเลยว่าเป้าหมายการทำงานในแต่ละเดือน แต่ละไตรมาส หรือแต่ละปีเป็นอย่างไร ดังนั้น เมื่อทำงานกับพวกเขา เราเลยจำเป็นต้องสื่อสารให้กระชับและตรงประเด็น 

เรื่องการเปิดใจคุยภายในทีมก็เช่นเดียวกัน ทุกคนสามารถฟีดแบ็กกันอย่างเปิดเผยเลยว่าใครทำอะไรได้ดี และใครมีส่วนไหนต้องพัฒนาบ้าง หรือหากเรารู้สึกกดดันจากการทำงาน เราก็พูดคุยกับหัวหน้าได้โดยตรงว่ากำลังพยายามอยู่ แม้จะยังปรับตัวได้ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ตาม เพราะอย่างน้อยหัวหน้าจะได้รู้ว่าเรากำลังผลักดันตัวเองในเรื่องไหน ในทางกลับกัน ถ้าเราไม่สื่อสารความรู้สึกบางอย่างออกไป คนอื่น ๆ ในทีมจะไม่รู้เลยว่าเรากำลังต้องการความช่วยเหลือเรื่องไหนอยู่

โดยการทำงานที่นี่จะมีการตั้งเป้าหมายร่วมกัน และหัวหน้าจะคอยแนะนำว่าทักษะหรือการทำงานแบบใดที่ทางทีมต้องการ รวมทั้งยังมีหลักสูตรทั้งรูปแบบออนไลน์และการเทรนด์แบบตัวต่อตัว เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานเมื่อต้องทำงานด้วยตนเอง

นอกจากนี้ บริษัทปัจจุบันที่คุณอ้อมทำงานอยู่ยังมีเซสชันที่ชื่อว่า Are You OK? เพื่อเช็กว่าพนักงานแต่ละคนมีสุขภาพจิตโอเคอยู่ไหม และถ้าใครต้องการปรึกษาปัญหาที่ค้างคาอยู่ในใจก็สามารถส่งข้อความไปที่ฝ่าย Human Resource (HR) หรือผู้ที่เป็นนักจิตวิทยาประจำองค์กร เพื่อปรับอารมณ์ให้พร้อมกับการทำงาน เพราะทางบริษัทมองว่าไม่ว่าจะทำงานตำแหน่งอะไร แต่ละคนย่อมมีความเครียดลึก ๆ อยู่ไม่มากก็น้อย 

สรุปทักษะสำคัญสำหรับคนอยากทำงานด้าน Digital Marketing และ Data Marketing

หลังจากเห็นภาพรวมการทำงานทั้งของตำแหน่ง Digital Marketing Specialist และ Activation Executive แล้ว ลองมาดูกันว่าสำหรับคนที่อยากก้าวมาทำในสายงานนี้ควรมีทักษะอะไรบ้าง 

1.ทักษะการใช้เครื่องมือทางการตลาด (Marketing Technology) 

เครื่องมือทางการตลาด
รูปจาก Grazitti Interactive

ตัวอย่างเช่น Google Analytics หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่คล้ายกันแต่มีจุดประสงค์ต่างกันออกไป และเรายังควรติดตามอัปเดตความเปลี่ยนแปลงของเครื่องมือเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ด้านการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพดีที่สุด 

ที่สำคัญ อย่ากลัวเครื่องมือเหล่านี้ เพราะจุดประสงค์ของเครื่องมือต่าง ๆ คือการอำนวยความสะดวกให้คนใช้งานง่ายขึ้น แม้ต้องใช้เวลาเรียนรู้สักหน่อยในช่วงแรก แต่ถ้าทำได้เมื่อไรเราจะนำทักษะไปปรับใช้ให้แคมเปญครั้งต่อไปดีขึ้นได้ 

2.ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล (Analytical Thinking) 

กระบวนการคิดวิเคราะห์
รูปจาก Breeze – Sundar Thiagarajan

ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลจะช่วยให้เราวางกลยุทธ์ปรับปรุงแบรนด์และผลิตภัณฑ์ได้ เพราะในสมัยนี้ดูแค่ยอดขายดีแค่ไหนไม่เพียงพอแล้ว เราต้องดูด้วยว่าควรปรับและพัฒนาการตลาดช่องทางใดให้ดีมากยิ่งขึ้น อีกหนึ่งหัวใจสำคัญคือเมื่อต้องวิเคราะห์ข้อมูล เราควรมีความใส่ในใจรายละเอียด (Detail-Oriented) ด้วย เพราะ Data ที่ใช้ในธุรกิจต่าง ๆ นั้นมีตัวเลขอยู่มากมาย 

อย่างคนทำงานสายนี้อาจจะต้องดูข้อมูลหมื่นช่องอยู่เป็นประจำ เราเลยควรใส่ใจตัวเลขต่าง ๆ และวิเคราะห์ Metrics หรือ Performance อย่างละเอียด เพราะงบประมาณที่ใช้ไปกับการตลาดเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าตัวเลขตกหล่นหรือเพิ่มเข้ามาเพียงตัวเดียว การประมวลผลใด ๆ ก็จะเปลี่ยนไปด้วย

3.ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving) 

ขั้นตอนการแก้ปัญหา
รูปจาก Slide Model

เพราะการทำงานที่ออสเตรเลีย เราจะบอกปัญหาแล้วรอให้หัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานมาช่วยแก้ไขไม่ได้ เราจึงควรรู้วิธีแก้ไขปัญหาเบื้องต้นด้วยตัวเอง เช่น ถ้าปัญหานี้เข้ามาจะมีขั้นตอนการแก้ไขอย่างไร และเราควรรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าให้ไวด้วย 

ซึ่งการที่เราจะแก้ไขปัญหาได้อย่างนี้ เราต้องมีทัศนคติที่ดี (Growth Mindset) คือเปิดใจยอมรับความผิดพลาด ล้มแล้วลุกขึ้นไว ยอมรับสิ่งใหม่ ๆ เพื่อทำให้ตัวเองมีความยืดหยุ่นในการทำงานมากยิ่งขึ้น และต้องมีทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Self-Learning) เช่น เรียนรู้ว่าถ้าเกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมาจะแก้ไขอย่างไร ทำให้รับมือกับปัญหาที่จะเข้ามาได้ดีขึ้นด้วย ถือเป็นการช่วยกระตุ้นความคิดอยู่เสมอ

4.ทักษะการวางกลยุทธ์ (Strategic Planning)

การวางแผนเชิงกลยุทธ์
รูปจาก Revive Group

โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการวางกลยุทธ์และประเมินผล KPIs ด้าน SEO (Search Engine Optimization) หรือการเลือกใช้คีย์เวิร์ดที่คนนิยมค้นหา รวมทั้งด้าน SEM (Search Engine Marketing) ซึ่งเป็นการวางกลยุทธ์การซื้อโฆษณาบน Google 

นอกจากนี้ เรายังสามารถปรับใช้ทักษะการวางกลยุทธ์ไปกับการวางแผนคอนเทนต์แบบรายเดือนโดยอ้างอิงจาก Data ที่เคยเก็บมาได้ด้วย เช่น ถ้าจากข้อมูลที่ผ่าน ๆ มาระบุว่าคอนเทนต์แบบไหนทำให้คนตัดสินใจซื้อได้ดี เราก็สามารถทำคอนเทนต์แนวทางนั้นอีก เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น

5.ทักษะการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ (Growth Mindset)

growth mindset และ fixed mindset
รูปจาก Telenor U

เนื่องจากโลกการตลาดมีความเปลี่ยนแปลงและเทรนด์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอด เราเลยควรมีความกระหายใคร่รู้ เพื่ออัปเดตความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับธุรกิจ หรือโซเชียลมีเดียก็ตาม อย่างถ้าเราไม่รู้ว่าโซเชียลมีเดียที่ใช้ทำการตลาดมีอัลกอริทึมเปลี่ยนไปอย่างไร เราจะเผลอใช้กลยุทธ์แบบเดิมทำให้เสียค่าใช้จ่ายเปล่า ๆ 

หรืออย่างกรณีที่คุณอ้อมเคยดูแลด้านการทำคอนเทนต์มาก่อน ทักษะการหาไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ และเรียนรู้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ออกแบบคอนเทนต์ให้ดูอินเทรนด์ สนุก ตลก น่าสนใจก็จะส่งผลดีต่อตัวธุรกิจมากพอสมควร

หากคุณเป็นหนึ่งคนที่สนใจและอยากวางแผนกลยุทธ์การตลาดด้วย Data เราขอแนะนำหลักสูตร ‘Data Analytics for Marketers’ ที่จะช่วยให้คุณวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างแหลมคมขึ้น รวมถึงสร้างจุดแข็งที่โดดเด่นให้กับธุรกิจ พร้อมประหยัดเวลาลองผิดลองถูก

อ่านรายละเอียดคอร์สเรียนเพิ่มเติมได้ที่ :

 https://stepstraining.co/data-analytics-marketer

สำรองที่นั่งหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :

Facebook: Inbox STEPS Academy m.me/digitalmarketingacademythailand

LINE OA: @STEPStraining https://lin.ee/jRRdsrN

หรือโทร 065-494-6646

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

ถอดรหัสความสำเร็จ Loopers ธุรกิจที่ใช้ Digital Marketing ยกระดับการซื้อขายเสื้อผ้ามือสองผ่านช่องทางออนไลน์ในไทย
4 ตัวอย่างแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จจากการใช้กลยุทธ์ Hyper-Personalization