เครื่องมือ Data Visualization คืออะไร
ก่อนที่เราจะแนะนำเครื่องมือ Data Visualization สำหรับบทความนี้ เราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือ และ ความสำคัญกันก่อนว่า Data Visualization คืออะไร และ มีความสำคัญอย่างไรกับการทำการตลาดดิจิทัลในปี 2023 กันค่ะ
คำว่า Data Visualization คือการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับตัวเลข หรือสถิติในรูปแบบกราฟต่าง ๆ เช่น แผนภูมิทรงกลม แผนภูมิเส้น ฮิสโตรแกรม หรือการนำเสนอสถิติแบบคอลัมน์ เป็นต้น ทั้งนี้การนำเสนอข้อมูลแบบรูปภาพจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น สามารถเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูลมากกว่าสองสิ่งขึ้นไป อีกทั้งยังดูน่าสนใจกว่าการอ่านค่าตัวเลขแบบปกติ
ส่วนเครื่องมือ Data Visualization คือระบบซอฟต์แวร์ หรือเครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลเชิงลึกหลังบ้าน ที่สามารถประมวลผลออกมาในรูปแบบกราฟ และ แผนภูมิต่าง ๆ เพื่อให้นักการตลาดดิจิทัล หรือผู้ใช้เครื่องมือตัดสินใจในการแก้ปัญหา หรือพัฒนาตัวแคมเปญได้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากกราฟตัวเล็กที่อ่านได้ง่าย เห็นภาพรวมทั้งแบบกว้าง และละเอียด
และ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจที่จะศึกษากระบวนการจัดการข้อมูล ตั้งแต่การเก็บข้อมูล การจัดระเบียบข้อมูล วิธีการนำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจ ไปจนถึงการนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจทางกาตลาด รวมทั้ง ต้องการลองทำเวิร์กชอปที่ได้ลงมือทำจริง เพื่อนำไปปรับใช้ได้กับธุรกิจของตนเองได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น STEPS Academy มีหลักสูตร Data Analytics for Marketing Management มาฝากกันค่ะ
สนใจ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://stepstraining.co/data-analytics-marketer
5 Data Visualization Tools น่าใช้เพื่อนำเสนอข้อมูลแบบมือโปรในปี 2023
1 Visme

Visme เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่นำเสนอ Data Visualization ได้หลายรูปแบบ ซึ่งเราจะ Customize กราฟิกเอง (การเลือกรูปแบบแผนภูมิเองตามความชอบ และ ความเหมาะสม) หรือจะเลือกตามรูปแบบที่ Visme มีให้ก็ได้ ซึ่งกราฟิกที่ Visme มีให้ใช้นั้นสวยงาม และดูทันสมัย น่าใช้งานมาก ๆ
เครื่องมือ Visme ใช้ทำอะไรได้บ้าง
ต้องบอกก่อนว่า ทาง Visme เองนั้นเป็นตัวตึงด้านการสร้างกราฟิก ซึ่งผู้ใช้สามารถสรรสร้างรูปแบบกราฟเพื่อแสดงข้อมูลได้หลากดีไซน์ สามารถปรับใช้ได้ตามสะดวกแล้ว ยังสามารถดึง Data จากระบบ Google Analytics มาใช้ได้อีกด้วย นอกจากนี้หากธุรกิจของคุณมีข้อมูลย้อนหลัง หรือมีข้อมูลเป็นจำนวนมาก ก็สามมารถโหลดข้อมูลเหล่านั้นลง ในรูปแบบ Google Sheet เพื่อประมวลผลได้อย่างง่ายดาย

เครื่องมือนี้เหมาะกับใคร
เครื่องมือ Visme สามารถใช้ได้กับธุรกิจทุกขนาด มีหลากราคาให้เลือกตั้งแต่ทดลองใช้งานฟรี ผู้ที่เริ่มต้น กลุ่ม Startup และองค์กรใหญ่ แต่โดยหลัก ๆ แล้ว Visme จะเน้นที่กราฟิกที่มีความสวยงาม สามารถออกแบบกราฟให้ดูมีมิติ หรือหากใครที่กังวลว่าจะใช้งานเครื่องมือนี้ไม่เป็น ก็มีวิดีโอสามาธิตวิธีการใช้งานให้อีกด้วย
2 Tableau

Tableau เป็นเครื่องมือยอกนิยมมาอย่างยาวนาน สำหรับนักการตลาดดิจิทัลตัวหนึ่งที่มีชื่อในด้านการช่วยวิเคราะห์ข้อมูล และเพื่อนำไปตัดสินใจในการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเครื่องมือนี้เน้นการวิเคระห์ที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นทาง จนถึงปลายทางแบบละเอียด ด้วยการเล่าเรื่องผ่านภาพแผนภูมิ และ กราฟต่าง ๆ
เครื่องมือ Tableau ใช้ทำอะไรได้บ้าง
ความน่าสนใจของเครื่องมือนี้ คือ การที่ Tableau ได้ออกแบบ และ พัฒนามาโดยตลอดจากผู้เชี่ยวชาญด้านกราฟิก Data Base และ Human-Computer Interaction ทำให้เครื่องมือตัวนี้โด่งดังในด้านความเป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน และการทำงานฝั่ง IT ค่ะ
นอกจากนี้ Tableau ยังใช้สามารถทดลองให้ใช้งานฟรีสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลแบบทั่วไป และ ตัดสินใจซื้อในภายหลังได้ หากต้องการใช้ฟังก์ชันอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เครื่องมือนี้ยังสามารถดีไซน์ Data Visualization ได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถนำ Data จากแหล่งข้อมูลเหล่านี้มาประมวลผลได้ อาทิ
- Google Analytics โดยการดึงข้อมูลมาเก็บในรูปแบบของ Tableau เอง ก่อนที่จะนำไปประมวลผล
- Google Sheet และ Excel Sheet
- Cloud service ต่างๆจาก Amazon
เครื่องมือนี้เหมาะกับใคร

หากธุรกิจของเราเป็นธุรกิจขนาดกลาง และ ใหญ่ และมีจุดประสงค์ต้องวิเคราะห์ Big Data แต่สามารถประมวลผลได้ไว Tableau เป็นเครื่องมือที่เหมาะมาก ๆ ในการช่วยผู้ใช้งานตัดสินใจแก้ไขปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น นักการตลาด และ ผู้ประกอบการในยุค 2023 ที่มีการเดินทาง และ ทำงานนอกสถานที่ ยังสามารถเปิดดู Dashboard ผ่านสมาร์ทโฟน และ แท็บเล็ตได้โดยไม่สะดุด
และหากใครที่กังวลว่า การจัดการข้อมูลแบบ Big Data เป็นเรื่องยุ่งยาก และ ซับซ้อน การใช้ Tableau สามารถลดความกดดันจุดนี้ได้ดี เนื่องจากผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเพิ่ม ก็สามารถวิเคราะห์ข้อมูลผ่านตัวกราฟิกที่มีได้อย่างลื่นไหล
3 Social Listening Tool: Fanpage Karma
ต้องยอมรับว่าเราอยู่ในยุคที่โซเชียลมีเดียเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ ดังนั้นการทำความเข้าใจ และรู้จักพฤติกรรมของผู้บริโภคผ่าน Data ช่องทางโซเชียลคือหัวใจหลักในการปรับปรุงแคมเปญการตลาด ไม่แพ้ทางด้ายเว็บไซต์ ดังนั้น การทำความรู้จัก Social Listening Tool หรือเครื่องมือการฟังสื่อโซเชียลจึงสำคัญ โดยในวันนี้ผู้เขียนขอแนะนำ Fanpage Karma ให้ผู้อ่านกันค่ะ

FanpageKarma เป็นเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ Data หลังบเานที่เชื่อมต่อกับเพจ Facebook ของธุรกิจ รวมทั้งกรุ๊ป Facebook เพื่อช่วยสร้าง Engagement บนช่องทางโซเชียล และ วิเคราะห์หาช่วงเวลา Engagement ดี ๆ บนหน้าเพจในการลงคอนเทนต์ การแสดงผลว่าข้อความไหนที่มีคนทักเข้ามา แล้วยังไม่ได้ตอบ และ ดึงรายงานออกมาให้ในรูปแบบ Data Visualization น่ารัก ๆ อ่านง่าย และ ใช้งานได้ไม่ยาก
เครื่องมือ Fanpage Karma ใช้ทำอะไรได้บ้าง

Fanpage Karma เป็นเครื่องมือที่น่าสนใจตัวหนึ่ง ซึ่งเหมาะกับการวิเคราะห์ข้อมูลหรือดูรายงานหลังบ้านของ Facebook Page ทำให้นักการตลาด หรือคนที่เป็นแอดมินเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย และ ลูกค้าบนแพลตฟอร์มนี้ ยิ่งไปกว่านั้น Fanpage Karma ยังช่วยสร้างกราฟเพื่อเปรียบเทียบระหว่างคอนเทนต์ในแต่ละสัปดาห์ หรือเดือน หรือเทียบตัว CTS ที่มียอดคลิกมากที่สุด รวมทั้งการเปรียบเทียบตัวแบรนด์ และ คู่แข่งทำให้เราเห็นทั้งจุดอ่อน และ จุดแข็งของคู่แข่งทางการตลาด และเดินเกมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการกรอกข้อมูลแบรนด์อื่น ๆ เพื่อเทียบกันแบบชัด ๆ
นอกจากนี้การนำเสนอ Data Visualization ยังใช้งานง่าย ประหยัดเวลาเพื่อศึกษาระบบหลังบ้าน และดึงข้อมูลที่จำเป็นออกมาดูได้ตรงจุด โดยรูปแบบดีไซน์ค่อนทางทันสมัย น่าใช้งานค่ะ
เครื่องมือนี้เหมาะกับใคร
Fanpage Karma เหมาะกับนักการตลาดที่ต้องการเคาะข้อมูลผ่าน Facebook Page แบบไว ๆ ใช้งานได้ง่าย ไม่ซับซ้อน และแอดมิน Facebook Group ที่ต้องการดูแลลูกเพจอย่างทั่วถึง เพื่อรักษา Engagement เอาไว้ ซึ่งขนาดธุรกิจแบบ Startup สามารถลองใช้งานได้ฟรีสำหรับฟังก์ชันเบื้องต้นด้วยนะคะ
4 Social Listening Tools: Google Trends
เพราะการเข้าถึงเทรนด์ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์มีความหมายต่อการวางกลยุทธ์ ดังนั้นผู้เขียนขอแนะนำเครื่องมือ Google Trends เพื่อทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายในปี 2023 ค่ะ
Google Trends เป็นเครื่องมือที่สามารถดูรายงานเกี่ยวกับ Keyword ต่าง ๆ ที่ผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตค้นหาบนหน้า Google โดยรูปแบบรายงานจะเป็นลักษณะกราฟเส้น ที่สามารถเปรียบเทียบระหว่าง 1 – 3 Keyword ตามช่วงเวลาต่าง ๆ ตั้งแต่ Real Time จนไปถึงการดู Data ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2004 ทั้งนี้ การแสดง Data Visualization จะเป็นการเกี่ยวกับ “คำค้นหา” ที่คนนิยมใช้ (หรือไม่นิยมก็เป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับคำที่เราใส่ลงไปค่ะ)

ตัวอย่าง Data Visualization ด้านบนนี้เป็นการแสดงผลกราฟเกี่ยวกับหัวข้อข่าว หรือ กระแสที่เกิดขึ้นตามช่วงเวลา ว่าคนบนโลกออนไลน์กำลังพูดคุยเรื่องอะไรบ้าง โดยสีของกราฟจะแบ่งไปตามประเภทของข่าวค่ะ
เครื่องมือ Google Trends ใช้ทำอะไรบ้าง
นอกจากความสามารถค้นหา keyword ข้างต้น เรายังสามารถดูผลลัพธ์ได้ในระดับ Subregion (ภูมิภาคย่อย) แบบเฉพาะเจาะจง นอกจากนี้ เรายังสามารถหาคำค้นหาอื่น ๆ ได้ เพื่อประกอบการตัดสินใจ ดังนี้
- Compared Breakdown by Subregion: เป็นการแสดงผล Data Visualization เชิงเปรียบเทียบระหว่าง 2 – 3 Keyword ผ่านภูมิภาค โดยเราสามารถเลือกประเทศที่อาศัยอยู่ได้ ทำให้นักการตลาดเข้าใจความสนใจของผู้ใช้งานจริง ๆ ตามพื้นที่เหล่านั้น
- Related Queries : ชุดคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้งาน ซึ่งในการแสดงผลของทั้งสองส่วน Google Trend จะให้เราเลือกได้ 2 ตัวเลือกว่าจะแสดงเป็นผลลัพธ์แบบไหน
- Rising : หัวข้อหรือคำค้นหาที่มียอดการเติบโตของจำนวนการค้นหาสูงสุดในช่วงเวลานั้น ๆ
เครื่องมือนี้เหมาะกับใคร

Google Trends เหมาะกับนักการตลาดสายคอนเทนต์ ที่ต้องการเปิดโลก และ หาไอเดียการทำคอนเทนต์ที่ติดเทรนด์รวมทั้งสามารถใช้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ คำที่ควรใช้ในการยิงแอด เพื่อเลือกคำที่คนนิยมหามากที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถดูรายงานเปรียบเทียบ Keyword เพื่อเลือกคำในการใช้ให้ตอบโจทย์บนเว็บไซต์มากที่สุด