9 พระราชกรณียกิจด้านการสื่อสาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

9 พระราชกรณียกิจด้านการสื่อสาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าทุกพระราชกรณียกิจที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช ได้ทรงทำนั้นไม่ได้ทำเพียงเพื่อตัวของพระองค์เอง แต่พระองค์ทรงทำเพื่อพสกนิกรชาวไทยของพระองค์ ให้มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วยอัฉริยะภาพของพระองค์ได้เล็งเห็นความสำคัญในการใช้เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยี ทีมงาน STEPS Training ขอรวบรวมพระราชกรณียกิจ เกี่ยวกับการสื่อสารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้

1. วิทยุสื่อสาร

9 พระราชกรณียกิจด้านการสื่อสาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

มีการพัฒนาด้านระบบวิทยุสื่อสาร ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พระองค์ทรงใช้เครื่องมือสื่อสารพกติดพระองค์ เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ และรับสั่งผ่านทางวิทยุถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น การปฏิบัติการฝนเทียมในระยะแรก ได้ประสบปัญหาเรื่องงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยไม่ทราบล่วงหน้า การที่ยังไม่มีการติดต่อสื่อสาร ระหว่างผู้ปฏิบัติการด้วยกัน ส่งผลให้การปฏิบัติงานไม่ได้ผลเท่าที่ควร  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบถึงปัญหาการขาดการติดต่อสื่อสารที่ดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ติดตั้งวิทยุให้แก่หน่วยปฏิบัติการฝนเทียม ทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดิน

 

2. วิทยุกระจายเสียง

9 พระราชกรณียกิจด้านการสื่อสาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ในปี พ.ศ. 2495 พระองค์ได้ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้นที่พระราชวังสวนดุสิต และชื่อสถานีวิทยุดังกล่าวได้ทรงนำมาจากอักษรย่อของพระที่นั่งอัมพรสถานซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ออกอากาศครั้งแรก ต่อมาจึงย้ายสถานีวิทยุอ.ส. เข้าไปตั้งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อเปิดโอกาสให้พสกนิกรมีช่องทางในการติดต่อกับพระองค์ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนตามพิธีการเหมือนในสมัยก่อน ทรงใช้สถานีวิทยุเพื่อเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ติดต่อข่าวสารกับประชาชน และเป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างพระองค์และประชาราษฎร์

เมื่อเกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกในปี พ.ศ. 2505 โดยมีพระราชดำริให้ใช้สถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรม จนเป็นบ่อเกิดของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ นโยบายหลักเกี่ยวกับการบริหารงานของสถานี ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ก็คือ การเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือเอกชน ได้เข้ามาสนองพระมหากรุณาธิคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของสถานีจึงเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น และทรงรับภาระต่างๆ ด้านสถานีด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ พระองค์ทรงใช้นโยบายประหยัดและใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุด

 

3. คอมพิวเตอร์

9 พระราชกรณียกิจด้านการสื่อสาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ใน 2529 ม.ล.อัศนี ปราโมช องคมนตรี ได้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช พลัส ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นขึ้นทูลเกล้าฯถวาย พระองค์ท่านจึงทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยพระองค์เองเป็นครั้งแรก ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงแต่ทรงงานด้วยคอมพิวเตอร์เท่านั้น หากแต่ทรงสนพระทัยในการศึกษาเทคนิคการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ บางครั้งได้ทรงเปิดเครื่องออกดูระบบภายในเครื่องด้วยพระองค์เอง ทรงปรับปรุงซอฟต์แวร์ใหม่ขึ้นมาใช้เอง และบางครั้งทรงแก้ไขปรับปรุงซอฟต์แวร์ในเครื่อง เช่น โปรแกรมภาษาไทย CU Writer ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ (โปรแกรมประมวลคำ Word Processor ในช่วงที่ประเทศไทยเพิ่งมีการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) อย่างแพร่หลาย ซึ่งพัฒนาโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

นอกจากนี้ พระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารว่า การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจทุกประเภท, การสื่อสารเป็นหัวใจของความมั่นคงของประเทศ และการสื่อสารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศให้ประชาชนอยู่ดีกินดี

 

4. ดาวเทียม

9 พระราชกรณียกิจด้านการสื่อสาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ดาวเทียมไทยคม คือ จุดเปลี่ยนที่ทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมของไทย ก้าวสู่ยุคแห่งความล้ำหน้า มีการนำดาวเทียมไทยคม เข้าไปใช้ในกิจการด้านการเรียนการสอน เป็นการสนองตอบความต้องการของประชาชน และเป็นการปรับปรุงในเรื่องของการศึกษาให้สอดคล้องกับยุคสมัย

กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นอเนกอนันต์ต่อประเทศชาติ ที่ได้มีพระราชดำริ ให้มีการพัฒนางานทางระบบวิทยุสื่อสารขึ้นในประเทศอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพราะสังคมปัจจุบันนั้น การสื่อสารก็เปรียบเสมือนกับระบบประสาทของร่างกายมนุษย์ ดังนั้นจึงนับได้ว่า พระองค์ท่านนั้นมีสายพระเนตรที่ยาวไกล ทรงเห็นบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการสื่อสาร

 

5. ICT กับเศรษฐกิจพอเพียง

9 พระราชกรณียกิจด้านการสื่อสาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เศรฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสใช้เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย สำหรับประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ตลอดจนถึงระดับประเทศ ปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 หลัก กับ 2 เงื่อนไข คือ

  1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไป และ ไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่นและตนเอง
  2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
  3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

อีก 2 เงื่อนไข คือ

  1. คุณธรรม คือ ผู้ที่ปฏิบัติหรือผู้ที่ตัดสินใจนั้น ควรจะตัดสินใจด้วยคุณธรรม เช่น ความซื่อสัตย์ ความเพียร ความอดทน
  2. ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง ไม่ใช่มีความรู้แค่ในตำรา แต่ต้องเป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์

ด้วยในปัจจุบันระบบสารสนเทศมีความสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูล การส่งข้อมูลข่าวสาร การติดต่อสื่อสาร ซึ่งต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง และในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นถ้าเราจะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ร่วมด้วย ก็จะต้องมีการวางแผนซื้อซอฟต์แวร์ที่เราจำเป็นต้องใช้จริง ๆ ถึงแม้ว่าจะมีราคาสูง เราก็ต้องตัดสินใจซื้อตามความเหมาะสมเพราะว่าประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตซอฟต์แวร์ใช้เองได้ เรายังต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ โดยต้องดูความคุ้มทุนด้วย แต่ถ้าเรานำแนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สมาใช้แก้ปัญหา ก็จะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดการผูกขาดสินค้าจากต่างประเทศ เพราะว่าเราสามารถผลิตซอฟต์แวร์ใช้ได้เอง และการผลิตก็ต้องเหมาะสมกับการใช้งานของคนไทย รวมทั้งลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธ์ของต่างประเทศ ถึงแม้ว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์อาจจะเป็นเรื่องยาก แต่หากมีการปฏิบัติได้จริง ก็จะช่วยให้คนไทยมีงานทำเพิ่มขึ้น และอาจมีการพัฒนาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย

 

6. ประดิษฐ์ตัวอักษรไทยบนคอมพิวเตอร์

9 พระราชกรณียกิจด้านการสื่อสาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ทรงสนับสนุน ให้มีการค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ด้วยพระองค์เอง ทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยที่มีลักษณะงดงาม เพื่อแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์

เมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2530 หลังจากที่พระองค์ทดลองใช้งานโปรแกรม Fontastic สร้างตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษรูปแบบและขนาดต่างๆ สิ่งที่ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษคือการ ประดิษฐ์ตัวอักษรไทย

พระองค์ทรงใช้เวลาที่พอว่างจากพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ในการสร้างตัวอักษรด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น ฟอนต์จิตรลดา, ฟอนต์ภูพิงค์ ฯลฯ ที่ทรงประดิษฐ์ด้วยพระองค์เอง ทรงสนพระทัยประดิษฐ์อักษรขนาดใหญ่ที่สุดจนถึงขนาดเล็กที่สุด นอกจากนี้ยังตั้งพระทัยในการประดิษฐ์อักษร ภาษาอื่นๆ เพิ่มขึ้น คือภาษาสันสกฤต

 

7. ตรวจสภาวะอากาศผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

9 พระราชกรณียกิจด้านการสื่อสาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ได้เกิดเหตุไต้ฝุ่นแองเจล่า (Angela) ทำความเสียหายให้กับประเทศฟิลิปปินส์ และคาดว่าจะเข้าสู่ประเทศไทย ในเวลาต่อมาทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้แจ้งเตือนประชาชนชาวไทยให้เตรียมระวังอันตรายที่เกิดขึ้น

ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 วันที่พระองค์ทรงกำลังเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลังในอีก 5 ชั่วโมง ทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารไปติดตั้งเดินสายระบบออนไลน์ไว้ เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ พระองค์จะได้ติดตามความเคลื่อนไหวนี้อยู่ตลอดเวลา ได้พระราชทานความเห็นว่าไม่ควรตระหนกแต่อย่างใดเนื่องจากไต้ฝุ่นได้อ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศเวียดนาม และได้แปรสภาพเป็นความกดอากาศขนาดย่อมเท่านั้น

 

8. พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์

9 พระราชกรณียกิจด้านการสื่อสาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

โครงการพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ เป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริ เพื่อทำให้การศึกษาพระไตรปิฎกและชุดอรรถกถา เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและแม่นยำ รวมทั้งยังสะดวกต่อการเผยแพร่อีกด้วย เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2534 พระองค์ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ บริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้กับมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อจัดทำโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถา ในชื่อ BUDSIR IV (ระบบค้นหาพระไตรปิฎก รุ่นที่ 4)

 

9. ส.ค.ส. พระราชทานด้วยคอมพิวเตอร์

9 พระราชกรณียกิจด้านการสื่อสาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประดิษฐ์บัตร ส.ค.ส.พระราชทานพรแก่พสกนิกรชาวไทย ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่เป็นประจำทุกปี

เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น จึงได้ทรงเริ่มต้นประดิษฐ์ ส.ค.ส. พระราชทาน ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยทรงพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ขาวดำ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โทรสาร (แฟกซ์) พระราชทานไปยังหน่วยงานต่าง ๆ โดยข้อความใน ส.ค.ส. พระราชทาน แต่ละปี จะประมวลขึ้นจากเหตุการณ์บ้านเมือง เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ ที่ประเทศไทยต้องประสบ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ในปีต่อ ๆ มา หนังสือพิมพ์รายวัน ได้นำลงตีพิมพ์ ในฉบับเช้าวันที่ 1 มกราคม เพื่อให้พสกนิกรได้ชื่นชมอย่างทั่วถึง

 

Source :

  • https://soscity.co/article/newhorizon/the-genius-of-king-bhumibol-in-ict
  • http://www.chaoprayanews.com/2009/02/05/%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5-%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3/
  • http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000107276
  • http://www.thaihealth.or.th/Content/21663-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C.html

เรียนสอบถาม คอนเทนต์นี้ คุณชอบไหมคะ

ความคิดเห็นของคุณมีความสำคัญกับเรา ขอบคุณนะคะ

Learn More

Recommended Topics

3 บทสรุปพัฒนาการของ AI (Artificial Intelligence) ที่มีผลกระทบต่อนักการตลาดในปี 2017 ที่ผ่านมา
3 สิ่งที่ต้องโฟกัสสำหรับการทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ในครึ่งปีหลัง 2016